- ๑. แม่จ๋า
- ๒. อดีตมหาราชสดุดี
- ๓. วารสดุดี
- ๔. คลื่นแห่งสังสารวัฏฏ
- ๕. ภาพและสภาพ
- ๖. จริงกับแต่ง
- ๗. สังสารวัฏฏ
- ๘. รส
- ๙. ธรรมชาติกับมนุษย์
- ๑๐. แม้เมฆดำยังแรขอบน้ำเงิน
- ๑๑. ราตรี
- ๑๒. เตรียมชรา
- ๑๓. น้ำมันระกำ
- ๑๔. หัวไม้เก่าใหม่
- ๑๕. กิเลส
- ๑๖. นักกีฬา
- ๑๗. กีฬาไม่ถือชาติ
- ๑๘. น้ำใจนักกีฬา
- ๑๙. บทเพลงกราวกีฬา
- ๒๐. คำวิพากย์
- ๒๑. มิตรามิตร
- ๒๒. ภาพ ๔
- ๒๓. รามรันทด
- ๒๔. สามสอน
- ๒๕. มฤตยู
- ๒๖. ออปติมิสัมกับเป็สสิมิสัม
- ๒๗. สองนักสิทธ์
- ๒๘. ฉันเป็นหญิงหรือชาย
- ๒๙. ฉันเป็นชายหรือหญิง
- ๓๐. ชิงสุกก่อนห่าม
- ๓๑. ฉันขยันจริงๆ
- ๓๒. เขาเป็นคนขลาด
- ๓๓. เป็นตัวเราดีกว่า
- ๓๔. หัวหน้ากับลูกน้อง
- ๓๕. ไม้เรียว
- ๓๖. กถาศึกษาของเก่า
- ๓๗. นรี-นรุปฐาก
- ๓๘. พร
- ๓๙. โหราศาสตร์
- ๔๐. ดาราทองแห่งการแข่งขันยานยนตร์
- ๔๑. นักกีฬา
- ๔๒. การฝึกซ้อม Training
- ๔๓. แม่สำอาง
- ๔๔. จันทรชิต
- ๔๕. ดอกไม้
- ๔๖. หมอคงกับอาจารย์คำ
- ๔๗. ยถากรรม
- ๔๘. กระดูกสันหลัง
- ๔๙. เศรษฐเสนา สู้เศรษฐสงคราม
- ๕๐. เศรษฐกิจตกต่ำ
- ๕๑. โลกกับเครื่องจักร
- ๕๒. ภัยโลก
- ๕๓. พระของเรา
- ๕๔. ทำไม ?
- ๕๕. โจกโลก
- ๕๖. วัฏฏโก โลโก
- ๕๗. ชัยก่อกับชัยทำลาย
- ๕๘. กรรมงาม
- ๕๙. ยิหวาวิทยุ
- ๖๐. งานหกสิบ
- ๖๑. พฤษภ. ๒๔๗๙
- ๖๒. พรสี่
- ๖๓. ศานติสมัย
- ๖๔. อุดมคติกับสัมฤทธิคติ
- ๖๕. ใครและอะไรเอ่ย
- ๖๖. ดิม็อคระซีกับดิกเตเตอร์ชิป
- ๖๗. ไข้สันนิบาต
- ๖๘. คติพบใหม่
- ๖๙. สงครามจำแลง
- ๗๐. ชำร่วยโลก
- ๗๑. เงาะถอดรูป
- ๗๒. มัชฌิมาปฏิปทา
- ๗๓. ระบอบไหนแน่ ?
- ๗๔. ผีบุญ (๑)
- ๗๕. ผีบุญ (๒)
- ๗๖. ฝัน ?
- ๗๗. กฤษณา ?
กระดูกสันหลัง
ข้าแต่สูเจ้าชาวนา | ข้าขอบูชา |
ว่าสูเลิศมนุษย์สุดแสวง | |
รูปร่างกำยำดำแคง | เจ้าเป็นหัวแรง |
กระดูกสันหลังรัฐเรา | |
เลี้ยงเทศเลี้ยงไทยไม่เบา | ด้วยข้าวปลาเอา |
แลกเปลี่ยนสินค้าควรเมือง[๑] | |
ครั้งกิจพาณิชย์รุ่งเรือง | เจ้าไม่ฝืดเคือง |
วัดวาอารามจำเริญ | |
กินบ้างเล่นบ้างอย่างเพลิน | ทำบุญเหลือเกิน[๒] |
กับวัดกับพระดะไป | |
ยามยากยังพอทนได้ | ทองสะสมไว้ |
ขายหมด[๓]จำนองไร่นา | |
โอ้สูผู้พร่องศึกษา[๔] | อดทนนักหนา |
โทษใดไป่โทษโทษกรรม | |
สูไม่มากปากมากคำ | สูเป็นคนทำ |
ทำได้เท่าไรทำไป | |
ขาดแคลนแสนเข็ญเป็นไฉน | สูเจ้าอยู่ได้ |
ด้วยดวงหน้ายิ้มพริ้มพราย | |
อิ่มประโยชน์โปรดคนทั้งหลาย | เอือมกายใจสบาย |
ฤๅพ่อเพื่อนยากแห่งสยาม | |
เป็นไฉนอย่างไรก็ตาม | เจ้ายอดพยายาม |
เป็นผู้คู่ควรบูชา |
เมษ. ๗๗
[๑] ......เมือง สยามต้องอาศัยสินค้าต่างประเทศ เช่นเครื่องอุปโภค แต่ได้ส่งข้าวเป็นส่วนใหญ่ออกไปแลกเปลี่ยน
[๒] ......เหลือเกิน เราถือคติการบำรุงพระ ว่าเป็นการกุศลที่ฝังไว้ในพระศาสนาราษฎรของเราถึงจะอยู่ชั่วปากถึงท้องก็จะออกปากอยู่เสมอว่า “หาได้มาก็กินบ้าง ทำบุญบ้าง”
[๓] ......หมด พ.ศ. ๒๔๗๕ ทองออกจากประเทศ ราคา ๒๒,๔๖๔,๙๒๔ บาท พ.ศ. ๒๔๗๖ ทองออกจากประเทศ ๑๔,๑๒๓,๓๕๕ บาท นี้แสดงสถิติเวลาเศรษฐกิจตกต่ำในบ้านเมืองเรา เพราะราษฎรเก็บทองรูปพรรณเครื่องแต่งตัวไว้ แทนที่จะเก็บเงินในธนาคาร
[๔] ......ศึกษา พระราชบัญญัติประถมศึกษา เพื่อให้การศึกษาแก่ทวยราษฎร์ ออกใช้แต่ พ.ศ. ๒๔๖๔ แต่ถึง พ.ศ. ๒๔๗๗ ยังไม่มีเงินลงทุนในทางนี้ให้สมประกอบได้ วิชาชั้นประถม ๕-๖ ยังเพียงเริ่มเล็กน้อยเท่านั้น จะเรียกว่ายังไม่ทำก็ได้