- ๑. แม่จ๋า
- ๒. อดีตมหาราชสดุดี
- ๓. วารสดุดี
- ๔. คลื่นแห่งสังสารวัฏฏ
- ๕. ภาพและสภาพ
- ๖. จริงกับแต่ง
- ๗. สังสารวัฏฏ
- ๘. รส
- ๙. ธรรมชาติกับมนุษย์
- ๑๐. แม้เมฆดำยังแรขอบน้ำเงิน
- ๑๑. ราตรี
- ๑๒. เตรียมชรา
- ๑๓. น้ำมันระกำ
- ๑๔. หัวไม้เก่าใหม่
- ๑๕. กิเลส
- ๑๖. นักกีฬา
- ๑๗. กีฬาไม่ถือชาติ
- ๑๘. น้ำใจนักกีฬา
- ๑๙. บทเพลงกราวกีฬา
- ๒๐. คำวิพากย์
- ๒๑. มิตรามิตร
- ๒๒. ภาพ ๔
- ๒๓. รามรันทด
- ๒๔. สามสอน
- ๒๕. มฤตยู
- ๒๖. ออปติมิสัมกับเป็สสิมิสัม
- ๒๗. สองนักสิทธ์
- ๒๘. ฉันเป็นหญิงหรือชาย
- ๒๙. ฉันเป็นชายหรือหญิง
- ๓๐. ชิงสุกก่อนห่าม
- ๓๑. ฉันขยันจริงๆ
- ๓๒. เขาเป็นคนขลาด
- ๓๓. เป็นตัวเราดีกว่า
- ๓๔. หัวหน้ากับลูกน้อง
- ๓๕. ไม้เรียว
- ๓๖. กถาศึกษาของเก่า
- ๓๗. นรี-นรุปฐาก
- ๓๘. พร
- ๓๙. โหราศาสตร์
- ๔๐. ดาราทองแห่งการแข่งขันยานยนตร์
- ๔๑. นักกีฬา
- ๔๒. การฝึกซ้อม Training
- ๔๓. แม่สำอาง
- ๔๔. จันทรชิต
- ๔๕. ดอกไม้
- ๔๖. หมอคงกับอาจารย์คำ
- ๔๗. ยถากรรม
- ๔๘. กระดูกสันหลัง
- ๔๙. เศรษฐเสนา สู้เศรษฐสงคราม
- ๕๐. เศรษฐกิจตกต่ำ
- ๕๑. โลกกับเครื่องจักร
- ๕๒. ภัยโลก
- ๕๓. พระของเรา
- ๕๔. ทำไม ?
- ๕๕. โจกโลก
- ๕๖. วัฏฏโก โลโก
- ๕๗. ชัยก่อกับชัยทำลาย
- ๕๘. กรรมงาม
- ๕๙. ยิหวาวิทยุ
- ๖๐. งานหกสิบ
- ๖๑. พฤษภ. ๒๔๗๙
- ๖๒. พรสี่
- ๖๓. ศานติสมัย
- ๖๔. อุดมคติกับสัมฤทธิคติ
- ๖๕. ใครและอะไรเอ่ย
- ๖๖. ดิม็อคระซีกับดิกเตเตอร์ชิป
- ๖๗. ไข้สันนิบาต
- ๖๘. คติพบใหม่
- ๖๙. สงครามจำแลง
- ๗๐. ชำร่วยโลก
- ๗๑. เงาะถอดรูป
- ๗๒. มัชฌิมาปฏิปทา
- ๗๓. ระบอบไหนแน่ ?
- ๗๔. ผีบุญ (๑)
- ๗๕. ผีบุญ (๒)
- ๗๖. ฝัน ?
- ๗๗. กฤษณา ?
พระของเรา
เราสืบสาโลหิตจากบิดา | จึงเกิดภาระเจือทางเชื้อสาย |
ต้องไหว้จ้าวเข้าอั้งยี่ลี้อันตราย | ได้ซื้อขายสะดวกพวกเดียวกัน |
ยิ่งเคยไปเมืองบิดากลับมาด้วย | ก็ยิ่งช่วยให้รู้จักรักแม่นมั่น |
พบปู่ย่าอาลุงยุ่งเหยิงครัน | ล้วนผูกพันเพิ่มภารประสานรัก |
ถึงไม่ข้ามสมุทรประดุจว่า | การศึกษาอบรมก็แรงหนัก |
ทางชนกนั้นเห็นจำเป็นนัก | ชนนีสิมิพักจะทัดทาน |
ถึงได้พ่อไม่มีพิถีพิถัน | หรือได้แม่แข็งขันเข้าต่อต้าน |
ก็ยังมีอั้งยี่วิธีการ | คอยประสานรุกเร้าให้เข้าทาง |
คือพาณิชย์กิจศึกษาสมาคม | ธรรมนิยม[๑]แนวประหยัด[๒]วัตรต่างต่าง |
เช่นถือชาติกำพืดไม่จืดจาง | จึงเหมือนอย่างอั้งยี่ฉะนี้แล |
เมื่อเหตุการณ์บันดาลดังพรรณนา | ก็จะให้อาตมาเป็นใครแน่ |
เป็นครึ่งครึ่งหรือเป็นหนึ่งอย่างแน่แท้ | ไปข้างพ่อหรือข้างแม่แต่ทางเดียว |
อนิจจาเกิดมาเป็นมนุษย์ | พ่อแม่ดุจสรณะที่ยึดเหนี่ยว |
ต้องนับถือเท่ากันมั่นคงเจียว | เพื่อกลมเกลียวกลอยฤดีชั่วชีวิต |
อันบ้านเมืองอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก | ถิ่นเกิดใครใครอยากสงวนสิทธิ์ |
สยามเป็นของเราเราต้องคิด | บำเพ็ญกิจชาวสยามตามกรณี |
อาชีพเราบ้านเราชีวิตเรา | ล้วนถือเอาสยามเป็นถิ่นที่ |
ใครจะหวงจะกันนั้นไม่มี | ขอเสียทีเถอะอย่าหลงงงงมเงอะ |
ใครไม่เข้าหลักเกณฑ์เช่นยุบล | เขาเป็นคนต่างด้าวช่างเขาเถอะ |
สยามของชาวสยามอย่าลามเลอะ | ใครขืนฝันคนนั้นเคอะเลอะเองเอย |
มิถุน. ๗๗