- ๑. แม่จ๋า
- ๒. อดีตมหาราชสดุดี
- ๓. วารสดุดี
- ๔. คลื่นแห่งสังสารวัฏฏ
- ๕. ภาพและสภาพ
- ๖. จริงกับแต่ง
- ๗. สังสารวัฏฏ
- ๘. รส
- ๙. ธรรมชาติกับมนุษย์
- ๑๐. แม้เมฆดำยังแรขอบน้ำเงิน
- ๑๑. ราตรี
- ๑๒. เตรียมชรา
- ๑๓. น้ำมันระกำ
- ๑๔. หัวไม้เก่าใหม่
- ๑๕. กิเลส
- ๑๖. นักกีฬา
- ๑๗. กีฬาไม่ถือชาติ
- ๑๘. น้ำใจนักกีฬา
- ๑๙. บทเพลงกราวกีฬา
- ๒๐. คำวิพากย์
- ๒๑. มิตรามิตร
- ๒๒. ภาพ ๔
- ๒๓. รามรันทด
- ๒๔. สามสอน
- ๒๕. มฤตยู
- ๒๖. ออปติมิสัมกับเป็สสิมิสัม
- ๒๗. สองนักสิทธ์
- ๒๘. ฉันเป็นหญิงหรือชาย
- ๒๙. ฉันเป็นชายหรือหญิง
- ๓๐. ชิงสุกก่อนห่าม
- ๓๑. ฉันขยันจริงๆ
- ๓๒. เขาเป็นคนขลาด
- ๓๓. เป็นตัวเราดีกว่า
- ๓๔. หัวหน้ากับลูกน้อง
- ๓๕. ไม้เรียว
- ๓๖. กถาศึกษาของเก่า
- ๓๗. นรี-นรุปฐาก
- ๓๘. พร
- ๓๙. โหราศาสตร์
- ๔๐. ดาราทองแห่งการแข่งขันยานยนตร์
- ๔๑. นักกีฬา
- ๔๒. การฝึกซ้อม Training
- ๔๓. แม่สำอาง
- ๔๔. จันทรชิต
- ๔๕. ดอกไม้
- ๔๖. หมอคงกับอาจารย์คำ
- ๔๗. ยถากรรม
- ๔๘. กระดูกสันหลัง
- ๔๙. เศรษฐเสนา สู้เศรษฐสงคราม
- ๕๐. เศรษฐกิจตกต่ำ
- ๕๑. โลกกับเครื่องจักร
- ๕๒. ภัยโลก
- ๕๓. พระของเรา
- ๕๔. ทำไม ?
- ๕๕. โจกโลก
- ๕๖. วัฏฏโก โลโก
- ๕๗. ชัยก่อกับชัยทำลาย
- ๕๘. กรรมงาม
- ๕๙. ยิหวาวิทยุ
- ๖๐. งานหกสิบ
- ๖๑. พฤษภ. ๒๔๗๙
- ๖๒. พรสี่
- ๖๓. ศานติสมัย
- ๖๔. อุดมคติกับสัมฤทธิคติ
- ๖๕. ใครและอะไรเอ่ย
- ๖๖. ดิม็อคระซีกับดิกเตเตอร์ชิป
- ๖๗. ไข้สันนิบาต
- ๖๘. คติพบใหม่
- ๖๙. สงครามจำแลง
- ๗๐. ชำร่วยโลก
- ๗๑. เงาะถอดรูป
- ๗๒. มัชฌิมาปฏิปทา
- ๗๓. ระบอบไหนแน่ ?
- ๗๔. ผีบุญ (๑)
- ๗๕. ผีบุญ (๒)
- ๗๖. ฝัน ?
- ๗๗. กฤษณา ?
มิตรามิตร
อุ่นเรือนเพื่อนพี่แล้ว | เรียมสุข |
สามัคคีรสครอง | ค่ำเช้า |
แม้นแม่อมิตร, ทุกข์ | ใดเท่า เทียมนอ? |
บ้านบ่เป็นบ้านเข้า | เขตต์อบาย |
สามีศรีมิตรแท้ | ใครเทียม? |
ใครบ่รักช่างใคร | เถิดเน้อ! |
ผัวติดอมิตรเหนียม | แหนงหน่าย เมียนอ |
ทั้งคู่อยู่เก้อเก้อ | สู่กรรม |
พ่อแม่มีลูกแล้ว | ได้ลูก เป็นมิตร |
หน้าเบิกใจบานหนอ | คู่นั้น |
สบลูกอมิตรถูก | กรรมเก่า สนองฤๅ? |
จิ้งจอกขุนแล้วปั้น | ปึ่งเอา |
ลูกมีพ่อแม่แม้ | เหมือนมิตร |
ตื้นลึกหนาบางบอก | ท่านได้ |
ท่านมิใช่มิตรผิด | แบบอย่าง ธรรมเนียม |
ลาภหลุดมือแล้วให้ | เร่งหวง ทวงคืน[๑] |
ครูศิษย์มิตรเหมาะแท้ | ธรรมดา |
ศิษย์มอบมโนครู | กล่อมเกลี้ยง |
ครูมอบศิลปวิชา | อาชีพ ชักนำ |
ครูศิษย์กิจล้วนเลี้ยง | โลกเจริญ |
อมิตรครูศิษย์หม้าย | หมันประโยชน์ |
ศิษย์ลบหลู่ครูเรียน | ไม่รู้ |
ครูโปรดศิษย์โหดโปรด | ยากอยู่ |
ครูศิษย์ดังนี้ผู้ | เปล่าผล |
ลูกจ้างมิตรจิตต์ได้ | งานดี |
นายบ่าวผูกมิตรกัน | กิจเกื้อ |
ต่างฝ่ายต่างสามัคคี | มีสุข |
ต่างรักต่างเอื้อเฟื้อ | ต่อกัน |
ตรงข้ามงามหน้าแล้ว | เป็นไร |
งานหยุดทิ้งงานกัน | กึกก้อง |
คนใช้เปลี่ยนนายไป | ไม่หยุด |
นายบ่าวเดือดร้อนร้อง | ร่ำโหย[๒] |
มิตรภาพภายนอกล้วน | ควรบำเพ็ญ |
มากมิตรมากกำลัง | เลิศผู้ |
ฐานะเหมาะกันเป็น | มิตรยั่ง- ยืนดี |
มวลมนุษยจำต้องรู้ | เลือกสรร สมาคม[๓] |
ปลูกชังตั้งหน้าแต่ | ตระหนี่ตัว |
รู้สึกเหม็นสาบมนุษย์ | นั่นแล้ว |
เห็นท่าน, หมั่นไส้มัว | ‘ขวาง’ หมด |
เพ่งแต่โทษทิ้งแผ้ว | ผ่องคุณ ดีฤๅ ? |
เมษ. ๗๗
[๑] ......คืน มีบิดามารดาเหมือนมีลาภ ท่านเป็นผู้รักใคร่อุ้มชูตลอดมา เมื่อท่านหมดความเอ็นดูรักใคร่ กลับกลายเป็นเหมือนคนอื่นไป จึ่งเสมอด้วยหมดลาภ ลาภเป็นของควรหวง ควรรักษาไว้ให้อยู่
[๒] ......โหย นายเดือดร้อนเพราะต้องหาคนใช้ใหม่ร่ำไป และคนใหม่ไม่รู้จักน้ำใจกันก็ไว้ใจยาก คนใช้เดือดร้อนเพราะต้องหางานใหม่ร่ำไป และนายใหม่ที่ยังไม่รู้จักน้ำใจกันก็ไว้ใจยากเหมือนกัน ขณะที่ยังหางานยังไม่ได้นั้นเล่า ก็เป็นความเดือดร้อน
[๓] ......สมาคม “คบพาล ๆ พาไปหาผิด คบบัณฑิต ๆ พาไปหาผล” สุนทรภู่