- ๑. แม่จ๋า
- ๒. อดีตมหาราชสดุดี
- ๓. วารสดุดี
- ๔. คลื่นแห่งสังสารวัฏฏ
- ๕. ภาพและสภาพ
- ๖. จริงกับแต่ง
- ๗. สังสารวัฏฏ
- ๘. รส
- ๙. ธรรมชาติกับมนุษย์
- ๑๐. แม้เมฆดำยังแรขอบน้ำเงิน
- ๑๑. ราตรี
- ๑๒. เตรียมชรา
- ๑๓. น้ำมันระกำ
- ๑๔. หัวไม้เก่าใหม่
- ๑๕. กิเลส
- ๑๖. นักกีฬา
- ๑๗. กีฬาไม่ถือชาติ
- ๑๘. น้ำใจนักกีฬา
- ๑๙. บทเพลงกราวกีฬา
- ๒๐. คำวิพากย์
- ๒๑. มิตรามิตร
- ๒๒. ภาพ ๔
- ๒๓. รามรันทด
- ๒๔. สามสอน
- ๒๕. มฤตยู
- ๒๖. ออปติมิสัมกับเป็สสิมิสัม
- ๒๗. สองนักสิทธ์
- ๒๘. ฉันเป็นหญิงหรือชาย
- ๒๙. ฉันเป็นชายหรือหญิง
- ๓๐. ชิงสุกก่อนห่าม
- ๓๑. ฉันขยันจริงๆ
- ๓๒. เขาเป็นคนขลาด
- ๓๓. เป็นตัวเราดีกว่า
- ๓๔. หัวหน้ากับลูกน้อง
- ๓๕. ไม้เรียว
- ๓๖. กถาศึกษาของเก่า
- ๓๗. นรี-นรุปฐาก
- ๓๘. พร
- ๓๙. โหราศาสตร์
- ๔๐. ดาราทองแห่งการแข่งขันยานยนตร์
- ๔๑. นักกีฬา
- ๔๒. การฝึกซ้อม Training
- ๔๓. แม่สำอาง
- ๔๔. จันทรชิต
- ๔๕. ดอกไม้
- ๔๖. หมอคงกับอาจารย์คำ
- ๔๗. ยถากรรม
- ๔๘. กระดูกสันหลัง
- ๔๙. เศรษฐเสนา สู้เศรษฐสงคราม
- ๕๐. เศรษฐกิจตกต่ำ
- ๕๑. โลกกับเครื่องจักร
- ๕๒. ภัยโลก
- ๕๓. พระของเรา
- ๕๔. ทำไม ?
- ๕๕. โจกโลก
- ๕๖. วัฏฏโก โลโก
- ๕๗. ชัยก่อกับชัยทำลาย
- ๕๘. กรรมงาม
- ๕๙. ยิหวาวิทยุ
- ๖๐. งานหกสิบ
- ๖๑. พฤษภ. ๒๔๗๙
- ๖๒. พรสี่
- ๖๓. ศานติสมัย
- ๖๔. อุดมคติกับสัมฤทธิคติ
- ๖๕. ใครและอะไรเอ่ย
- ๖๖. ดิม็อคระซีกับดิกเตเตอร์ชิป
- ๖๗. ไข้สันนิบาต
- ๖๘. คติพบใหม่
- ๖๙. สงครามจำแลง
- ๗๐. ชำร่วยโลก
- ๗๑. เงาะถอดรูป
- ๗๒. มัชฌิมาปฏิปทา
- ๗๓. ระบอบไหนแน่ ?
- ๗๔. ผีบุญ (๑)
- ๗๕. ผีบุญ (๒)
- ๗๖. ฝัน ?
- ๗๗. กฤษณา ?
ดอกไม้
ฉันเห็นดอกไม้ที่ไหนงาม | พยายามเด็ดดมชมชื่น |
ทิ้งโรยทำไมไม่ยั่งยืน | รสรื่นนาสายิ่งน่าชม |
จะของใครปลูกไว้ฉันไม่ว่า | ดูเป็นธรรมดาหาได้ถม |
ใครเพิกเฉยเลยไปไม่เด็ดดม | เขากลับสมเป็นงั่งชังดอกไม้ |
การเก็บบุบผามาชม | ฉันอบรมแต่เล็กคุ้มใหญ่ |
ไม่เห็นเสียหายอะไร | ใครๆก็เห็นเป็นธรรมดา |
ไม่ว่าของฉันหรือของใคร | ดอกไม้เมื่อบานก็น่า |
เก็บดมชมเล่นเป็นขวัญตา | ดีกว่าทิ้งขว้างร้างโรยไป |
วันหนึ่งฉันไถลไปเยือน | เจ้าเยื้อนเพื่อนงานในบ้านใหญ่ |
เห็นบานชื่อบานจ้าน่าชื่นใจ | ที่ร่องใหญ่ใกล้ทางดังเชิญชม |
ฉันกรากใส่เก็บให้สมใจรัก | กำลังหักยายบ้าด่าขรม |
จากหน้าต่างข้างสนามสงครามลม | ฟังขื่นขมฉันขยาดไม่อาจรอ |
รีบเดินรี่หนีออกประตูบ้าน | กำบานชื่นไม่ชื่นบานรำคาญหนอ |
แต่นั้นมาได้รู้เป็นครูพอ | ว่าเขาก็เราก็ย่อมเหมือนกัน |
บุบผชาติปลูกไว้จะใคร่ชม | อภิรมย์เริงใจในสวนขวัญ |
ของสงวนควรรู้อยู่ทั้งนั้น | ทำไมฉันไม่รู้?ดูน่าเคอะ |
อันนารีนี้เช่นบุบผชาติ | งามเกลื่อนกลาดจริงอยู่ดูเอาเถอะ! |
ฉันเชื่อข้างลามปามลวนลามเลอะ | จึงสะเออะเข้าที่ไหนเป็นได้การ |
เพื่อนฉันชมฉันว่าเจ้าชู้ | มันก็ดูเก๋ดีนะ! ท่าน |
เสือผู้หญิงกรุ้งกริ่งหยิ่งทะยาน | ได้รับการป้อยอก็พอดี |
กำเริบใจได้ชัยซ้อนชัย | หมูไม่กินก็ใครจะกินคี่? |
ความรู้สึกเป็นไปได้เช่นนี้ | สมุฏฐานอยู่ที่ความนิยม |
ครั้นต่อมาเขาพากันคว่ำบาตร | ว่าสัญชาติเจ้าชู้อย่าสู่สม |
ไม่มีใครคบหาสมาคม | ต้องระทมทุกข์เพลียเป็นเหี้ยไป |
ความนิยมอย่างหลังย่อมยังผล | ให้คนเป็นคนขึ้นได้ |
ตรงข้ามกับนิยมชมใช้ | ให้คนใกล้สัตว์บัดสีเอย |
กันย์. ๗๗