- คำนำ
- ไว้อาลัย
- ไว้อาลัย (๒)
- ยมราชานุสสร
- ไว้อาลัย (๓)
- ไว้อาลัย (๔)
- All my recollections...
- เรื่องประวัติเจ้าพระยายมราช
- ร.ศ. ๑๒๔
- ร.ศ. ๑๒๕
- วันที่ ๑๔ สิงหาคม ร.ศ. ๑๒๕
- วันที่ ๓ กันยายน ร.ศ. ๑๒๕
- วันที่ ๑๑ กันยายน ร.ศ. ๑๒๕
- วันที่ ๑ ตุลาคม ร.ศ. ๑๒๕
- วันที่ ๖ ตุลาคม ร.ศ. ๑๒๕
- วันที่ ๒๓ ตุลาคม ร.ศ. ๑๒๕
- วันที่ ๙ พฤศจิกายน ร.ศ. ๑๒๕
- วันที่ ๑๐ มกราคม ร.ศ. ๑๒๕
- วันที่ ๑๒ มกราคม ร.ศ. ๑๒๕
- วันที่ ๓๑ มกราคม ร.ศ. ๑๒๕
- วันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ร.ศ. ๑๒๕
- วันที่ ๑ มีนาคม ร.ศ. ๑๒๕
- วันที่ ๒ มีนาคม ร.ศ. ๑๒๕
- วันที่ ๓ มีนาคม ร.ศ. ๑๒๕
- วันที่ ๕ มีนาคม ร.ศ. ๑๒๕
- วันที่ ๒๕ มีนาคม ร.ศ. ๑๒๕
- วันที่ ๒๕ มีนาคม ร.ศ. ๑๒๕ (๒)
- ร.ศ. ๑๒๖
- วันที่ ๑๕ เมษายน ร.ศ. ๑๒๖
- วันที่ ๑๑ พฤษภาคม ร.ศ. ๑๒๖
- วันที่ ๒๑ พฤษภาคม ร.ศ. ๑๒๖
- วันที่ ๒๓ พฤษภาคม ร.ศ. ๑๒๖
- วันที่ ๒๓ พฤษภาคม ร.ศ. ๑๒๖ (๒)
- วันที่ ๒๔ พฤษภาคม ร.ศ. ๑๒๖
- วันที่ ๒ มิถุนายน ร.ศ. ๑๒๖
- วันที่ ๙ มิถุนายน ร.ศ. ๑๒๖
- วันที่ ๑๒ มิถุนายน ร.ศ. ๑๒๖
- วันที่ ๒๖ มิถุนายน ร.ศ. ๑๒๖
- วันที่ ๑ สิงหาคม ร.ศ. ๑๒๖
- วันที่ ๒ สิงหาคม ร.ศ. ๑๒๖
- วันที่ ๔ กันยายน ร.ศ. ๑๒๖
- วันที่ ๒๔ ตุลาคม ร.ศ. ๑๒๖
- วันที่ ๒๔ ตุลาคม ร.ศ. ๑๒๖ (๒)
- วันที่ ๓ พฤศจิกายน ร.ศ. ๑๒๖
- วันที่ ๖ พฤศจิกายน ร.ศ. ๑๒๖
- วันที่ ๖ พฤศจิกายน ร.ศ. ๑๒๖(๒)
- วันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ร.ศ. ๑๒๖
- วันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ร.ศ. ๑๒๖
- วันที่ เดือน ร.ศ. ๑๒
- วันที่ ๖ ธันวาคม ร.ศ. ๑๒๖
- วันที่ ๖ ธันวาคม ร.ศ. ๑๒๖(๒)
- วันที่ ๑๒ ธันวาคม ร.ศ. ๑๒๖
- วันที่ ๑๕ ธันวาคม ร.ศ. ๑๒๖
- วันที่ ๓๐ ธันวาคม ร.ศ. ๑๒๖
- วันที่ ๓ มกราคม ร.ศ. ๑๒๖
- วันที่ ๔ มกราคม ร.ศ. ๑๒๖
- วันที่ ๑๐ มกราคม ร.ศ. ๑๒๖
- วันที่ ๒๒ มกราคม ร.ศ. ๑๒๖
- วันที่ ๒๖ มกราคม ร.ศ. ๑๒๖
- วันที่ ๕ กุมภาพันธ์ ร.ศ. ๑๒๖
- วันที่ ๒๒ มีนาคม ร.ศ. ๑๒๖
- วันที่ ๒๘ มีนาคม ร.ศ. ๑๒๖
- วันที่ ๒๙ มีนาคม ร.ศ. ๑๒๖
- ร.ศ. ๑๒๗
- วันที่ ๖ เมษายน ร.ศ. ๑๒๗
- วันที่ ๒๑ เมษายน ร.ศ. ๑๒๗
- วันที่ ๒๔ เมษายน ร.ศ. ๑๒๗
- วันที่ ๖ พฤษภาคม ร.ศ. ๑๒๗
- วันที่ ๖ พฤษภาคม ร.ศ. ๑๒๗(๒)
- วันที่ ๗ พฤษภาคม ร.ศ. ๑๒๗
- วันที่ ๗ พฤษภาคม ร.ศ. ๑๒๗(๒)
- วันที่ ๘ พฤษภาคม ร.ศ. ๑๒๗
- วันที่ ๑๐ พฤษภาคม ร.ศ. ๑๒๗
- วันที่ ๒๒ พฤษภาคม ร.ศ. ๑๒๗
- วันที่ ๒๒ พฤษภาคม ร.ศ. ๑๒๗(๒)
- วันที่ ๒๒ มิถุนายน ร.ศ. ๑๒๗
- วันที่ ๒๒ มิถุนายน ร.ศ. ๑๒๗(๒)
- วันที่ ๒๗ มิถุนายน ร.ศ. ๑๒๗
- วันที่ ๒ กรกฎาคม ร.ศ. ๑๒๗
- วันที่ ๑๒ สิงหาคม ร.ศ. ๑๒๗
- วันที่ ๑๔ สิงหาคม ร.ศ. ๑๒๗
- วันที่ ๑ ตุลาคม ร.ศ. ๑๒๗
- วันที่ ๑๕ ตุลาคม ร.ศ. ๑๒๗(๒)
- วันที่ ๒๐ ตุลาคม ร.ศ. ๑๒๗
- วันที่ ๒๑ ตุลาคม ร.ศ. ๑๒๗
- วันที่ ๒๘ ตุลาคม ร.ศ. ๑๒๗
- วันที่ ๒๙ ตุลาคม ร.ศ. ๑๒๗
- วันที่ ๒๙ ตุลาคม ร.ศ. ๑๒๗(๒)
- วันที่ ๓๑ ตุลาคม ร.ศ. ๑๒๗
- วันที่ ๒ พฤศจิกายน ร.ศ. ๑๒๗
- วันที่ ๒ พฤศจิกายน ร.ศ. ๑๒๗(๒)
- วันที่ ๓ พฤศจิกายน ร.ศ. ๑๒๗
- วันที่ ๓ พฤศจิกายน ร.ศ. ๑๒๗(๒)
- วันที่ ๕ พฤศจิกายน ร.ศ. ๑๒๗
- วันที่ พฤศจิกายน ร.ศ.
- วันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ร.ศ. ๑๒๗
- วันที่ ๔ ธันวาคม ร.ศ. ๑๒๗
- วันที่ ๖ ธันวาคม ร.ศ. ๑๒๗
- วันที่ ๑๘ ธันวาคม ร.ศ. ๑๒๗
- วันที่ ๒ มกราคม ร.ศ. ๑๒๗
- วันที่ ๓ มกราคม ร.ศ. ๑๒๗
- วันที่ ๑๒ มกราคม ร.ศ. ๑๒๗
- วันที่ ๒๓ มกราคม ร.ศ. ๑๒๗
- วันที่ ๑๒ มีนาคม ร.ศ. ๑๒๗
- วันที่ ๒๕ มีนาคม ร.ศ. ๑๒๗
- ร.ศ. ๑๒๘
- วันที่ ๑ เมษายน ร.ศ. ๑๒๘
- วันที่ ๒ เมษายน ร.ศ. ๑๒๘
- วันที่ ๖ เมษายน ร.ศ. ๑๒๘
- วันที่ ๑๗ เมษายน ร.ศ. ๑๒๘
- วันที่ ๒๔ เมษายน ร.ศ. ๑๒๘
- วันที่ ๑๙ มิถุนายน ร.ศ. ๑๒๘
- วันที่ ๒๒ มิถุนายน ร.ศ. ๑๒๘
- วันที่ ๖ กรกฎาคม ร.ศ. ๑๒๘
- วันที่ ๘ กรกฎาคม ร.ศ. ๑๒๘
- วันที่ ๑๑ กรกฎาคม ร.ศ. ๑๒๘
- วันที่ ๒๘ กรกฎาคม ร.ศ. ๑๒๘
- วันที่ ๒๘ สิงหาคม ร.ศ. ๑๒๘
- วันที่ ๒๘ สิงหาคม ร.ศ. ๑๒๘(๒)
- วันที่ ๑ กันยายน ร.ศ. ๑๒๘
- วันที่ ๒ กันยายน ร.ศ. ๑๒๘
- วันที่ ๒ กันยายน ร.ศ. ๑๒๘(๒)
- วันที่ ๓ กันยายน ร.ศ. ๑๒๘
- วันที่ ๖ กันยายน ร.ศ. ๑๒๘
- วันที่ ๑๑ กันยายน ร.ศ. ๑๒๘
- วันที่ ๑๔ กันยายน ร.ศ. ๑๒๘
- วันที่ ๑๘ กันยายน ร.ศ. ๑๒๘
- วันที่ ๒๑ กันยายน ร.ศ. ๑๒๘
- วันที่ ๒๓ กันยายน ร.ศ. ๑๒๘
- วันที่ ๒๓ กันยายน ร.ศ. ๑๒๘(๒)
- วันที่ ๒๙ กันยายน ร.ศ. ๑๒๘
- วันที่ ๑ ตุลาคม ร.ศ. ๑๒๘
- วันที่ ๔ ตุลาคม ร.ศ. ๑๒๘
- วันที่ ๔ ตุลาคม ร.ศ. ๑๒๘(๒)
- วันที่ ๕ ตุลาคม ร.ศ. ๑๒๘
- วันที่ ๑๐ ตุลาคม ร.ศ. ๑๒๘
- วันที่ ๑๕ ตุลาคม ร.ศ. ๑๒๘
- วันที่ ๑๗ ตุลาคม ร.ศ. ๑๒๘
- วันที่ ๑๙ ตุลาคม ร.ศ. ๑๒๘
- วันที่ ๒๐ ตุลาคม ร.ศ. ๑๒๘
- วันที่ ๒๔ ตุลาคม ร.ศ. ๑๒๘
- วันที่ ๒๕ ตุลาคม ร.ศ. ๑๒๘
- วันที่ ๓ พฤศจิกายน ร.ศ. ๑๒๘
- วันที่ ๗ พฤศจิกายน ร.ศ. ๑๒๘
- วันที่ ๙ พฤศจิกายน ร.ศ. ๑๒๘
- วันที่ ๑๓ พฤศจิกายน ร.ศ. ๑๒๘
- วันที่ ๑๙ พฤศจิกายน ร.ศ. ๑๒๘
- วันที่ ๑๙ พฤศจิกายน ร.ศ. ๑๒๘(๒)
- วันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ร.ศ. ๑๒๘
- วันที่ ๒๒ พฤศจิกายน ร.ศ. ๑๒๘
- วันที่ ๒๔ พฤศจิกายน ร.ศ. ๑๒๘
- วันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ร.ศ. ๑๒๘
- วันที่ ๒ ธันวาคม ร.ศ. ๑๒๘
- วันที่ ๖ ธันวาคม ร.ศ. ๑๒๘
- วันที่ ๙ ธันวาคม ร.ศ. ๑๒๘
- วันที่ ๑๐ ธันวาคม ร.ศ. ๑๒๘
- วันที่ ๑๕ ธันวาคม ร.ศ. ๑๒๘
- วันที่ ๒๘ ธันวาคม ร.ศ. ๑๒๘
- วันที่ ๒๘ ธันวาคม ร.ศ. ๑๒๘(๒)
- วันที่ ๒๙ ธันวาคม ร.ศ. ๑๒๘
- วันที่ ๑๘ มกราคม ร.ศ. ๑๒๘
- วันที่ ๑๙ มกราคม ร.ศ. ๑๒๘
- วันที่ ๑๙ มกราคม ร.ศ. ๑๒๘(๒)
- วันที่ ๒๑ มกราคม ร.ศ. ๑๒๘
- วันที่ ๒๘ มกราคม ร.ศ. ๑๒๘
- วันที่ ๗ กุมภาพันธ์ ร.ศ. ๑๒๘
- วันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ร.ศ. ๑๒๘
- วันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ ร.ศ. ๑๒๘
- วันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ร.ศ. ๑๒๘
- วันที่ ๕ มีนาคม ร.ศ. ๑๒๘
- วันที่ ๕ มีนาคม ร.ศ. ๑๒๘(๒)
- วันที่ ๒๔ มีนาคม ร.ศ. ๑๒๘
- วันที่ ๒๕ มีนาคม ร.ศ. ๑๒๘
- ร.ศ. ๑๒๙
- วันที่ ๕ เมษายน ร.ศ. ๑๒๙
- วันที่ ๑๗ เมษายน ร.ศ. ๑๒๙
- วันที่ ๑๘ เมษายน ร.ศ. ๑๒๙
- วันที่ ๓๐ เมษายน ร.ศ. ๑๒๙
- วันที่ ๘ พฤษภาคม ร.ศ. ๑๒๙
- วันที่ ๑๐ พฤษภาคม ร.ศ. ๑๒๙
- วันที่ ๑๑ พฤษภาคม ร.ศ. ๑๒๙
- วันที่ ๑๓ พฤษภาคม ร.ศ. ๑๒๙
- วันที่ ๒๔ พฤษภาคม ร.ศ. ๑๒๙
- วันที่ ๒๘ พฤษภาคม ร.ศ. ๑๒๙
- วันที่ ๓๐ พฤษภาคม ร.ศ. ๑๒๙
- วันที่ ๑ มิถุนายน ร.ศ. ๑๒๙
- วันที่ ๑ มิถุนายน ร.ศ. ๑๒๙(๒)
- วันที่ ๒ มิถุนายน ร.ศ. ๑๒๙
- วันที่ ๓ มิถุนายน ร.ศ. ๑๒๙
- วันที่ ๔ มิถุนายน ร.ศ. ๑๒๙
- วันที่ ๔ มิถุนายน ร.ศ. ๑๒๙(๒)
- วันที่ ๖ มิถุนายน ร.ศ. ๑๒๙
- วันที่ ๘ มิถุนายน ร.ศ. ๑๒๙
- วันที่ ๙ มิถุนายน ร.ศ. ๑๒๙
- วันที่ ๙ มิถุนายน ร.ศ. ๑๒๙(๒)
- วันที่ ๑๑ มิถุนายน ร.ศ. ๑๒๙
- วันที่ ๑๒ มิถุนายน ร.ศ. ๑๒๙
- วันที่ ๑๓ มิถุนายน ร.ศ. ๑๒๙
- วันที่ ๑๔ มิถุนายน ร.ศ. ๑๒๙
- วันที่ ๒๒ มิถุนายน ร.ศ. ๑๒๙
- วันที่ ๖ กรกฎาคม ร.ศ. ๑๒๙
- วันที่ ๘ กรกฎาคม ร.ศ. ๑๒๙
- วันที่ ๑๐ กรกฎาคม ร.ศ. ๑๒๙
- วันที่ ๑๐ กรกฎาคม ร.ศ. ๑๒๙(๒)
- วันที่ ๑๑ กรกฎาคม ร.ศ. ๑๒๙
- วันที่ ๑๒ กรกฎาคม ร.ศ. ๑๒๙
- วันที่ ๑๔ กรกฎาคม ร.ศ. ๑๒๙
- วันที่ ๑๔ กรกฎาคม ร.ศ. ๑๒๙
- วันที่ ๒๔ กรกฎาคม ร.ศ. ๑๒๙
- วันที่ ๒๗ กรกฎาคม ร.ศ. ๑๒๙
- วันที่ ๒๘ กรกฎาคม ร.ศ. ๑๒๙
- วันที่ ๓๑ กรกฎาคม ร.ศ. ๑๒๙
- วันที่ ๖ สิงหาคม ร.ศ. ๑๒๙
- วันที่ ๖ สิงหาคม ร.ศ. ๑๒๙(๒)
- วันที่ ๘ สิงหาคม ร.ศ. ๑๒๙
- วันที่ ๘ สิงหาคม ร.ศ. ๑๒๙(๒)
- วันที่ ๘ สิงหาคม ร.ศ. ๑๒๙(๓)
- วันที่ ๙ สิงหาคม ร.ศ. ๑๒๙
- วันที่ ๑๑ สิงหาคม ร.ศ. ๑๒๙
- วันที่ ๑๕ สิงหาคม ร.ศ. ๑๒๙
- วันที่ ๑๖ สิงหาคม ร.ศ. ๑๒๙
- วันที่ ๒๒ สิงหาคม ร.ศ. ๑๒๙
- วันที่ ๒๓ สิงหาคม ร.ศ. ๑๒๙
- วันที่ ๒๔ สิงหาคม ร.ศ. ๑๒๙
- วันที่ ๒๔ สิงหาคม ร.ศ. ๑๒๙(๒)
- วันที่ ๒๕ สิงหาคม ร.ศ. ๑๒๙
- วันที่ ๒๗ สิงหาคม ร.ศ. ๑๒๙
- วันที่ ๒๗ สิงหาคม ร.ศ. ๑๒๙(๒)
- วันที่ ๒๘ สิงหาคม ร.ศ. ๑๒๙
- วันที่ ๒๘ สิงหาคม ร.ศ. ๑๒๙(๒)
- วันที่ ๓๐ สิงหาคม ร.ศ. ๑๒๙
- วันที่ ๓๐ สิงหาคม ร.ศ. ๑๒๙(๒)
- วันที่ ๓๑ สิงหาคม ร.ศ. ๑๒๙
- วันที่ ๑ กันยายน ร.ศ. ๑๒๙
- วันที่ ๑ กันยายน ร.ศ. ๑๒๙(๒)
- วันที่ ๒ กันยายน ร.ศ. ๑๒๙
- วันที่ ๒ กันยายน ร.ศ. ๑๒๙(๒)
- วันที่ ๓ กันยายน ร.ศ. ๑๒๙
- วันที่ ๔ กันยายน ร.ศ. ๑๒๙
- วันที่ ๕ กันยายน ร.ศ. ๑๒๙
- วันที่ ๕ กันยายน ร.ศ. ๑๒๙(๒)
- วันที่ ๖ กันยายน ร.ศ. ๑๒๙
- วันที่ ๗ กันยายน ร.ศ. ๑๒๙
- วันที่ ๗ กันยายน ร.ศ. ๑๒๙(๒)
- วันที่ ๙ กันยายน ร.ศ. ๑๒๙
- วันที่ ๑๐ กันยายน ร.ศ. ๑๒๙
- วันที่ ๑๕ กันยายน ร.ศ. ๑๒๙
- วันที่ ๒๕ กันยายน ร.ศ. ๑๒๙
- วันที่ ๑๒ ตุลาคม ร.ศ. ๑๒๙
ไว้อาลัย
ท่านเจ้าพระยายมราช ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
----------------------------
พระยาสุขุมนัยวินิต บุตรชายคนใหญ่ของท่านเจ้าพระยายมราชมีหนังสือมาขอให้ข้าพเจ้าเขียนคำไว้อาลัยแด่ท่านเจ้าพระยายมราช เพื่อจะเข้าเล่มพิมพ์เป็นหนังสือแจกในงานพระราชทานเพลิงศพ ข้าพเจ้ายินดีรับเขียนให้ตามความประสงค์ ด้วยท่านผู้ถึงอสัญญกัมม์ได้เป็นผู้ที่ข้าพเจ้าเคยเคารพนับถือรักใคร่กับท่านมาเป็นเวลาช้านานประการหนึ่ง กับทั้งได้ร่วมราชการในคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ด้วยกันจนถึงวาระสุดท้ายที่ท่านได้ถึงอสัญญกัมม์
อันเกียรติคุณความดีของท่านเจ้าพระยายมราชมีเพียงใด เห็นจะเป็นการยากที่จะพรรณนาให้ละเอียดได้ ณ ที่นี้ เข้าใจว่าจะปรากฎอยู่ในประวัติของท่านแล้ว ข้าพเจ้าขอกล่าวแต่บางส่วนเท่าที่ข้าพเจ้าได้เคยร่วมเคยเห็นและด้วยความรู้สึกที่ข้าพเจ้าพอจะรำลึกได้ไว้พอเป็นสังเขป
ท่านเจ้าพระยายมราช ท่านเป็นผู้ที่ตั้งอยู่ในความซื่อสัตย์สุจจริต พร้อมด้วยความจงรักภักดีต่อชาติศาสนาและพระมหากษัตริย์เป็นอย่างยอดเยี่ยมผู้หนึ่ง ในสมัยที่การปกครองแผ่นดินเปลี่ยนเป็นระบอบประชาธิปไตย ท่านก็มั่นอยู่ในรัฐธรรมนูญเป็นอย่างดี ราชการแผ่นดินและราชการส่วนพระองค์ของพระมหากษัตริย์นับว่าท่านได้รับราชการสนองพระเดชพระคุณมาในตำแหน่งสูงและสำคัญๆ ล้วนเป็นคุณประโยชน์แก่แผ่นดินมาเป็นอเนกประการ เป็นที่พอพระราชหฤทัยแก่พระมหากษัตริย์ในรัชชกาลก่อนๆ เป็นอันมาก ดังจะเห็นได้จากที่ท่านได้รับพระราชทานยศบรรดาศักดิ์ และเครื่องราชอิสสริยาภรณ์ล้วนแต่ชั้นสูงสุดกว่าอำมาตย์ทั้งหลาย
ในสมัยรัชชกาลที่ ๖ ข้าพเจ้าเคยได้รับราชการร่วมกับท่านมาหลายคราว เช่นในคราวมีการประลองยุทธกองเสือป่าแทบจะทุกปี เพราะท่านมีตำแหน่งเป็นนายกองใหญ่เสือป่า บังคับบัญชากองเสือป่ากรุงเทพ ฯ และลูกเสือ ฯลฯ เข้าทำการประลองยุทธกับกองเสือป่าเสนาหลวงรักษาพระองค์ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นผู้นำ ข้าพเจ้าสังเกตว่าท่านได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความสุขุมรอบคอบ ประกอบด้วยความโอบอ้อมอารีมีเมตตาจิตต์ คอยช่วยเหลือเกื้อหนุนเอาใจใส่ดูแลในสุขภาพและอนามัยของบรรดาผู้ที่อยู่ในใต้บังคับบัญชาประดุจบิดากับบุตร จนเป็นที่นิยมรักใคร่นับถือ ต่างพากันสรรเสริญโดยทั่วไป ทั้งนี้เป็นที่ตระหนักในคุณงามความดีของท่านอันมีอยู่แก่บุคคลทั่วไปทุกรูปทุกนามทุกชั้นทุกวัย จึงเป็นที่น่าเลื่อมใสยิ่งนัก
ครั้นมาในรัชชสมัยแห่งรัชชกาลที่ ๘ เมื่อสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นทรงราชย์ ท่านเจ้าพระยายมราชก็ได้รับตั้งเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ด้วยผู้หนึ่ง ตลอดมาจนถึงวาระสุดท้ายที่ท่านถึงอสัญญกัมม์ ข้าพเจ้าได้มีโอกาสเข้าร่วมราชการในหน้าที่ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์กับท่านด้วย ตามความสังเกตของข้าพเจ้ากล่าวได้ว่า ถึงแม้ว่าท่านจะเป็นผู้มีอายุย่างเข้าในเขตต์ปัจฉิมวัยแล้วก็ดี ท่านก็ได้ปฏิบัติราชการในหน้าที่ด้วยความเข้มแข็งมานะอดทนสำเร็จประโยชน์เป็นอย่างดียิ่งเสมอ ความทรงจำในกิจการหรือขนบธรรมเนียมประเพณีใดๆ ที่ท่านเคยผ่านมาแล้ว ท่านยังจำได้และชี้แจงแสดงเหตุผลได้อย่างแม่นยำ ท่านให้ความคิดความเห็นเป็นคุณประโยชน์แก่การบริหารราชการในหน้าที่ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เป็นอันมาก อันราชการทางส่วนพระองค์ท่านก็ปฏิบัติมาด้วยความซื่อสัตย์สุจริตจงรักภักดีอยู่เป็นเนืองนิจ เป็นที่โปรดปรานพอพระราชหฤทัยยิ่ง จนได้รับพระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ชั้นที่ ๑ แลด้วยเหตุว่าท่านเจ้าพระยายมราชได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสสริยาภรณ์และเครื่องอิสสริยยศอื่นๆ สูงกว่าข้าราชการทั้งหลายจะพึงได้รับพระราชทานมาแล้วแต่ในรัชชกาลก่อนๆ จึงเนื่องในงานพระราชพิธีสมโภชในการเสด็จพระราชดำเนินกลับมาเยี่ยมราชอาณาจักรครั้งนี้ ท่านเจ้าพระยายมราชได้รับพระราชทานถาดชาทองคำ อันเป็นเครื่องอิสสริยยศสูงศักดิ์เทียบเท่าที่พระราชทานแก่สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์เป็นเกียรติยศ นับว่าท่านเป็นข้าราชการที่ประกอบด้วยเกียรติคุณเกียรติยศ อันสูงสุดยากที่จะหาผู้เสมอเหมือนได้ยาก เมื่อท่านได้มาถึงอสัญญกัมม์ลงดังนี้ จึงกระทำให้บังเกิดความเสร้าสลดใจอันสุดซึ้งของข้าพเจ้าและผู้ที่คุ้นเคยเคารพนับถือท่านโดยทั่วกัน.
พิชเยนทรโยธิน
บ้านถนนพระอาทิตย์
พระนคร
กุมภาพันธ์ ๒๔๘๑