- คำนำ
- ไว้อาลัย
- ไว้อาลัย (๒)
- ยมราชานุสสร
- ไว้อาลัย (๓)
- ไว้อาลัย (๔)
- All my recollections...
- เรื่องประวัติเจ้าพระยายมราช
- ร.ศ. ๑๒๔
- ร.ศ. ๑๒๕
- วันที่ ๑๔ สิงหาคม ร.ศ. ๑๒๕
- วันที่ ๓ กันยายน ร.ศ. ๑๒๕
- วันที่ ๑๑ กันยายน ร.ศ. ๑๒๕
- วันที่ ๑ ตุลาคม ร.ศ. ๑๒๕
- วันที่ ๖ ตุลาคม ร.ศ. ๑๒๕
- วันที่ ๒๓ ตุลาคม ร.ศ. ๑๒๕
- วันที่ ๙ พฤศจิกายน ร.ศ. ๑๒๕
- วันที่ ๑๐ มกราคม ร.ศ. ๑๒๕
- วันที่ ๑๒ มกราคม ร.ศ. ๑๒๕
- วันที่ ๓๑ มกราคม ร.ศ. ๑๒๕
- วันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ร.ศ. ๑๒๕
- วันที่ ๑ มีนาคม ร.ศ. ๑๒๕
- วันที่ ๒ มีนาคม ร.ศ. ๑๒๕
- วันที่ ๓ มีนาคม ร.ศ. ๑๒๕
- วันที่ ๕ มีนาคม ร.ศ. ๑๒๕
- วันที่ ๒๕ มีนาคม ร.ศ. ๑๒๕
- วันที่ ๒๕ มีนาคม ร.ศ. ๑๒๕ (๒)
- ร.ศ. ๑๒๖
- วันที่ ๑๕ เมษายน ร.ศ. ๑๒๖
- วันที่ ๑๑ พฤษภาคม ร.ศ. ๑๒๖
- วันที่ ๒๑ พฤษภาคม ร.ศ. ๑๒๖
- วันที่ ๒๓ พฤษภาคม ร.ศ. ๑๒๖
- วันที่ ๒๓ พฤษภาคม ร.ศ. ๑๒๖ (๒)
- วันที่ ๒๔ พฤษภาคม ร.ศ. ๑๒๖
- วันที่ ๒ มิถุนายน ร.ศ. ๑๒๖
- วันที่ ๙ มิถุนายน ร.ศ. ๑๒๖
- วันที่ ๑๒ มิถุนายน ร.ศ. ๑๒๖
- วันที่ ๒๖ มิถุนายน ร.ศ. ๑๒๖
- วันที่ ๑ สิงหาคม ร.ศ. ๑๒๖
- วันที่ ๒ สิงหาคม ร.ศ. ๑๒๖
- วันที่ ๔ กันยายน ร.ศ. ๑๒๖
- วันที่ ๒๔ ตุลาคม ร.ศ. ๑๒๖
- วันที่ ๒๔ ตุลาคม ร.ศ. ๑๒๖ (๒)
- วันที่ ๓ พฤศจิกายน ร.ศ. ๑๒๖
- วันที่ ๖ พฤศจิกายน ร.ศ. ๑๒๖
- วันที่ ๖ พฤศจิกายน ร.ศ. ๑๒๖(๒)
- วันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ร.ศ. ๑๒๖
- วันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ร.ศ. ๑๒๖
- วันที่ เดือน ร.ศ. ๑๒
- วันที่ ๖ ธันวาคม ร.ศ. ๑๒๖
- วันที่ ๖ ธันวาคม ร.ศ. ๑๒๖(๒)
- วันที่ ๑๒ ธันวาคม ร.ศ. ๑๒๖
- วันที่ ๑๕ ธันวาคม ร.ศ. ๑๒๖
- วันที่ ๓๐ ธันวาคม ร.ศ. ๑๒๖
- วันที่ ๓ มกราคม ร.ศ. ๑๒๖
- วันที่ ๔ มกราคม ร.ศ. ๑๒๖
- วันที่ ๑๐ มกราคม ร.ศ. ๑๒๖
- วันที่ ๒๒ มกราคม ร.ศ. ๑๒๖
- วันที่ ๒๖ มกราคม ร.ศ. ๑๒๖
- วันที่ ๕ กุมภาพันธ์ ร.ศ. ๑๒๖
- วันที่ ๒๒ มีนาคม ร.ศ. ๑๒๖
- วันที่ ๒๘ มีนาคม ร.ศ. ๑๒๖
- วันที่ ๒๙ มีนาคม ร.ศ. ๑๒๖
- ร.ศ. ๑๒๗
- วันที่ ๖ เมษายน ร.ศ. ๑๒๗
- วันที่ ๒๑ เมษายน ร.ศ. ๑๒๗
- วันที่ ๒๔ เมษายน ร.ศ. ๑๒๗
- วันที่ ๖ พฤษภาคม ร.ศ. ๑๒๗
- วันที่ ๖ พฤษภาคม ร.ศ. ๑๒๗(๒)
- วันที่ ๗ พฤษภาคม ร.ศ. ๑๒๗
- วันที่ ๗ พฤษภาคม ร.ศ. ๑๒๗(๒)
- วันที่ ๘ พฤษภาคม ร.ศ. ๑๒๗
- วันที่ ๑๐ พฤษภาคม ร.ศ. ๑๒๗
- วันที่ ๒๒ พฤษภาคม ร.ศ. ๑๒๗
- วันที่ ๒๒ พฤษภาคม ร.ศ. ๑๒๗(๒)
- วันที่ ๒๒ มิถุนายน ร.ศ. ๑๒๗
- วันที่ ๒๒ มิถุนายน ร.ศ. ๑๒๗(๒)
- วันที่ ๒๗ มิถุนายน ร.ศ. ๑๒๗
- วันที่ ๒ กรกฎาคม ร.ศ. ๑๒๗
- วันที่ ๑๒ สิงหาคม ร.ศ. ๑๒๗
- วันที่ ๑๔ สิงหาคม ร.ศ. ๑๒๗
- วันที่ ๑ ตุลาคม ร.ศ. ๑๒๗
- วันที่ ๑๕ ตุลาคม ร.ศ. ๑๒๗(๒)
- วันที่ ๒๐ ตุลาคม ร.ศ. ๑๒๗
- วันที่ ๒๑ ตุลาคม ร.ศ. ๑๒๗
- วันที่ ๒๘ ตุลาคม ร.ศ. ๑๒๗
- วันที่ ๒๙ ตุลาคม ร.ศ. ๑๒๗
- วันที่ ๒๙ ตุลาคม ร.ศ. ๑๒๗(๒)
- วันที่ ๓๑ ตุลาคม ร.ศ. ๑๒๗
- วันที่ ๒ พฤศจิกายน ร.ศ. ๑๒๗
- วันที่ ๒ พฤศจิกายน ร.ศ. ๑๒๗(๒)
- วันที่ ๓ พฤศจิกายน ร.ศ. ๑๒๗
- วันที่ ๓ พฤศจิกายน ร.ศ. ๑๒๗(๒)
- วันที่ ๕ พฤศจิกายน ร.ศ. ๑๒๗
- วันที่ พฤศจิกายน ร.ศ.
- วันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ร.ศ. ๑๒๗
- วันที่ ๔ ธันวาคม ร.ศ. ๑๒๗
- วันที่ ๖ ธันวาคม ร.ศ. ๑๒๗
- วันที่ ๑๘ ธันวาคม ร.ศ. ๑๒๗
- วันที่ ๒ มกราคม ร.ศ. ๑๒๗
- วันที่ ๓ มกราคม ร.ศ. ๑๒๗
- วันที่ ๑๒ มกราคม ร.ศ. ๑๒๗
- วันที่ ๒๓ มกราคม ร.ศ. ๑๒๗
- วันที่ ๑๒ มีนาคม ร.ศ. ๑๒๗
- วันที่ ๒๕ มีนาคม ร.ศ. ๑๒๗
- ร.ศ. ๑๒๘
- วันที่ ๑ เมษายน ร.ศ. ๑๒๘
- วันที่ ๒ เมษายน ร.ศ. ๑๒๘
- วันที่ ๖ เมษายน ร.ศ. ๑๒๘
- วันที่ ๑๗ เมษายน ร.ศ. ๑๒๘
- วันที่ ๒๔ เมษายน ร.ศ. ๑๒๘
- วันที่ ๑๙ มิถุนายน ร.ศ. ๑๒๘
- วันที่ ๒๒ มิถุนายน ร.ศ. ๑๒๘
- วันที่ ๖ กรกฎาคม ร.ศ. ๑๒๘
- วันที่ ๘ กรกฎาคม ร.ศ. ๑๒๘
- วันที่ ๑๑ กรกฎาคม ร.ศ. ๑๒๘
- วันที่ ๒๘ กรกฎาคม ร.ศ. ๑๒๘
- วันที่ ๒๘ สิงหาคม ร.ศ. ๑๒๘
- วันที่ ๒๘ สิงหาคม ร.ศ. ๑๒๘(๒)
- วันที่ ๑ กันยายน ร.ศ. ๑๒๘
- วันที่ ๒ กันยายน ร.ศ. ๑๒๘
- วันที่ ๒ กันยายน ร.ศ. ๑๒๘(๒)
- วันที่ ๓ กันยายน ร.ศ. ๑๒๘
- วันที่ ๖ กันยายน ร.ศ. ๑๒๘
- วันที่ ๑๑ กันยายน ร.ศ. ๑๒๘
- วันที่ ๑๔ กันยายน ร.ศ. ๑๒๘
- วันที่ ๑๘ กันยายน ร.ศ. ๑๒๘
- วันที่ ๒๑ กันยายน ร.ศ. ๑๒๘
- วันที่ ๒๓ กันยายน ร.ศ. ๑๒๘
- วันที่ ๒๓ กันยายน ร.ศ. ๑๒๘(๒)
- วันที่ ๒๙ กันยายน ร.ศ. ๑๒๘
- วันที่ ๑ ตุลาคม ร.ศ. ๑๒๘
- วันที่ ๔ ตุลาคม ร.ศ. ๑๒๘
- วันที่ ๔ ตุลาคม ร.ศ. ๑๒๘(๒)
- วันที่ ๕ ตุลาคม ร.ศ. ๑๒๘
- วันที่ ๑๐ ตุลาคม ร.ศ. ๑๒๘
- วันที่ ๑๕ ตุลาคม ร.ศ. ๑๒๘
- วันที่ ๑๗ ตุลาคม ร.ศ. ๑๒๘
- วันที่ ๑๙ ตุลาคม ร.ศ. ๑๒๘
- วันที่ ๒๐ ตุลาคม ร.ศ. ๑๒๘
- วันที่ ๒๔ ตุลาคม ร.ศ. ๑๒๘
- วันที่ ๒๕ ตุลาคม ร.ศ. ๑๒๘
- วันที่ ๓ พฤศจิกายน ร.ศ. ๑๒๘
- วันที่ ๗ พฤศจิกายน ร.ศ. ๑๒๘
- วันที่ ๙ พฤศจิกายน ร.ศ. ๑๒๘
- วันที่ ๑๓ พฤศจิกายน ร.ศ. ๑๒๘
- วันที่ ๑๙ พฤศจิกายน ร.ศ. ๑๒๘
- วันที่ ๑๙ พฤศจิกายน ร.ศ. ๑๒๘(๒)
- วันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ร.ศ. ๑๒๘
- วันที่ ๒๒ พฤศจิกายน ร.ศ. ๑๒๘
- วันที่ ๒๔ พฤศจิกายน ร.ศ. ๑๒๘
- วันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ร.ศ. ๑๒๘
- วันที่ ๒ ธันวาคม ร.ศ. ๑๒๘
- วันที่ ๖ ธันวาคม ร.ศ. ๑๒๘
- วันที่ ๙ ธันวาคม ร.ศ. ๑๒๘
- วันที่ ๑๐ ธันวาคม ร.ศ. ๑๒๘
- วันที่ ๑๕ ธันวาคม ร.ศ. ๑๒๘
- วันที่ ๒๘ ธันวาคม ร.ศ. ๑๒๘
- วันที่ ๒๘ ธันวาคม ร.ศ. ๑๒๘(๒)
- วันที่ ๒๙ ธันวาคม ร.ศ. ๑๒๘
- วันที่ ๑๘ มกราคม ร.ศ. ๑๒๘
- วันที่ ๑๙ มกราคม ร.ศ. ๑๒๘
- วันที่ ๑๙ มกราคม ร.ศ. ๑๒๘(๒)
- วันที่ ๒๑ มกราคม ร.ศ. ๑๒๘
- วันที่ ๒๘ มกราคม ร.ศ. ๑๒๘
- วันที่ ๗ กุมภาพันธ์ ร.ศ. ๑๒๘
- วันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ร.ศ. ๑๒๘
- วันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ ร.ศ. ๑๒๘
- วันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ร.ศ. ๑๒๘
- วันที่ ๕ มีนาคม ร.ศ. ๑๒๘
- วันที่ ๕ มีนาคม ร.ศ. ๑๒๘(๒)
- วันที่ ๒๔ มีนาคม ร.ศ. ๑๒๘
- วันที่ ๒๕ มีนาคม ร.ศ. ๑๒๘
- ร.ศ. ๑๒๙
- วันที่ ๕ เมษายน ร.ศ. ๑๒๙
- วันที่ ๑๗ เมษายน ร.ศ. ๑๒๙
- วันที่ ๑๘ เมษายน ร.ศ. ๑๒๙
- วันที่ ๓๐ เมษายน ร.ศ. ๑๒๙
- วันที่ ๘ พฤษภาคม ร.ศ. ๑๒๙
- วันที่ ๑๐ พฤษภาคม ร.ศ. ๑๒๙
- วันที่ ๑๑ พฤษภาคม ร.ศ. ๑๒๙
- วันที่ ๑๓ พฤษภาคม ร.ศ. ๑๒๙
- วันที่ ๒๔ พฤษภาคม ร.ศ. ๑๒๙
- วันที่ ๒๘ พฤษภาคม ร.ศ. ๑๒๙
- วันที่ ๓๐ พฤษภาคม ร.ศ. ๑๒๙
- วันที่ ๑ มิถุนายน ร.ศ. ๑๒๙
- วันที่ ๑ มิถุนายน ร.ศ. ๑๒๙(๒)
- วันที่ ๒ มิถุนายน ร.ศ. ๑๒๙
- วันที่ ๓ มิถุนายน ร.ศ. ๑๒๙
- วันที่ ๔ มิถุนายน ร.ศ. ๑๒๙
- วันที่ ๔ มิถุนายน ร.ศ. ๑๒๙(๒)
- วันที่ ๖ มิถุนายน ร.ศ. ๑๒๙
- วันที่ ๘ มิถุนายน ร.ศ. ๑๒๙
- วันที่ ๙ มิถุนายน ร.ศ. ๑๒๙
- วันที่ ๙ มิถุนายน ร.ศ. ๑๒๙(๒)
- วันที่ ๑๑ มิถุนายน ร.ศ. ๑๒๙
- วันที่ ๑๒ มิถุนายน ร.ศ. ๑๒๙
- วันที่ ๑๓ มิถุนายน ร.ศ. ๑๒๙
- วันที่ ๑๔ มิถุนายน ร.ศ. ๑๒๙
- วันที่ ๒๒ มิถุนายน ร.ศ. ๑๒๙
- วันที่ ๖ กรกฎาคม ร.ศ. ๑๒๙
- วันที่ ๘ กรกฎาคม ร.ศ. ๑๒๙
- วันที่ ๑๐ กรกฎาคม ร.ศ. ๑๒๙
- วันที่ ๑๐ กรกฎาคม ร.ศ. ๑๒๙(๒)
- วันที่ ๑๑ กรกฎาคม ร.ศ. ๑๒๙
- วันที่ ๑๒ กรกฎาคม ร.ศ. ๑๒๙
- วันที่ ๑๔ กรกฎาคม ร.ศ. ๑๒๙
- วันที่ ๑๔ กรกฎาคม ร.ศ. ๑๒๙
- วันที่ ๒๔ กรกฎาคม ร.ศ. ๑๒๙
- วันที่ ๒๗ กรกฎาคม ร.ศ. ๑๒๙
- วันที่ ๒๘ กรกฎาคม ร.ศ. ๑๒๙
- วันที่ ๓๑ กรกฎาคม ร.ศ. ๑๒๙
- วันที่ ๖ สิงหาคม ร.ศ. ๑๒๙
- วันที่ ๖ สิงหาคม ร.ศ. ๑๒๙(๒)
- วันที่ ๘ สิงหาคม ร.ศ. ๑๒๙
- วันที่ ๘ สิงหาคม ร.ศ. ๑๒๙(๒)
- วันที่ ๘ สิงหาคม ร.ศ. ๑๒๙(๓)
- วันที่ ๙ สิงหาคม ร.ศ. ๑๒๙
- วันที่ ๑๑ สิงหาคม ร.ศ. ๑๒๙
- วันที่ ๑๕ สิงหาคม ร.ศ. ๑๒๙
- วันที่ ๑๖ สิงหาคม ร.ศ. ๑๒๙
- วันที่ ๒๒ สิงหาคม ร.ศ. ๑๒๙
- วันที่ ๒๓ สิงหาคม ร.ศ. ๑๒๙
- วันที่ ๒๔ สิงหาคม ร.ศ. ๑๒๙
- วันที่ ๒๔ สิงหาคม ร.ศ. ๑๒๙(๒)
- วันที่ ๒๕ สิงหาคม ร.ศ. ๑๒๙
- วันที่ ๒๗ สิงหาคม ร.ศ. ๑๒๙
- วันที่ ๒๗ สิงหาคม ร.ศ. ๑๒๙(๒)
- วันที่ ๒๘ สิงหาคม ร.ศ. ๑๒๙
- วันที่ ๒๘ สิงหาคม ร.ศ. ๑๒๙(๒)
- วันที่ ๓๐ สิงหาคม ร.ศ. ๑๒๙
- วันที่ ๓๐ สิงหาคม ร.ศ. ๑๒๙(๒)
- วันที่ ๓๑ สิงหาคม ร.ศ. ๑๒๙
- วันที่ ๑ กันยายน ร.ศ. ๑๒๙
- วันที่ ๑ กันยายน ร.ศ. ๑๒๙(๒)
- วันที่ ๒ กันยายน ร.ศ. ๑๒๙
- วันที่ ๒ กันยายน ร.ศ. ๑๒๙(๒)
- วันที่ ๓ กันยายน ร.ศ. ๑๒๙
- วันที่ ๔ กันยายน ร.ศ. ๑๒๙
- วันที่ ๕ กันยายน ร.ศ. ๑๒๙
- วันที่ ๕ กันยายน ร.ศ. ๑๒๙(๒)
- วันที่ ๖ กันยายน ร.ศ. ๑๒๙
- วันที่ ๗ กันยายน ร.ศ. ๑๒๙
- วันที่ ๗ กันยายน ร.ศ. ๑๒๙(๒)
- วันที่ ๙ กันยายน ร.ศ. ๑๒๙
- วันที่ ๑๐ กันยายน ร.ศ. ๑๒๙
- วันที่ ๑๕ กันยายน ร.ศ. ๑๒๙
- วันที่ ๒๕ กันยายน ร.ศ. ๑๒๙
- วันที่ ๑๒ ตุลาคม ร.ศ. ๑๒๙
วันที่ ๑๔ กรกฎาคม ร.ศ. ๑๒๙
ที่ ๒๘/๖๒๐
สวนดุสิต
วันที่ ๑๔ กรกฎาคม รัตนโกสินทรศก ๑๒๙
ถึง เจ้าพระยายมราช
ด้วยเรื่องถนนเมืองเพ็ชรบุรีนั้น ตามที่จดหมายมาแลที่พูดกันวันนี้ ยังหาสิ้นกระแสความไม่
ถนนนั้นเป็น ๒ อย่าง ๆ หนึ่งถนนของเมือง คือถนนราชดำเนิน ดำรงรักษ์ แลราชดำริห์ตัดแล้ว ถนนบริพัตรฝั่งตวันออกยังไม่ได้ตัด...........................................................................................................................................................................................................................................
ส่วนพระยาเพชร์ชฎาแลพระรัถยาซึ่งขอเอาไปจากกรมสุขาภิบาลนั้น ทำถนนส่วนพระคลังข้างที่ คือในบริเวณวัง มีถนนสายใหญ่คือสนามไชย แลคันธนู ซึ่งยาวอยู่ใน ๑๒-๑๓ เส้นทั้ง ๒ สาย นอกนั้นยังมีถนนสั้นๆ ฤๅเล็กๆ แคบๆ เป็นถนนในในสวนมีมาก แต่ถ้าจะรวมเข้าหมด งานทำไม่เกิน ๒ เดือนเป็นต้องแล้ว พอเป็นรูปเว้นไว้แต่การทำท่อแลถมศิลาซึ่งเป็นการภายหลัง ซึ่งมีคนอย่างดีทั้งพระยาเพชร์ชฎาแลพระรัถยา ๒ คนออกไปทำงาน จะแยกด้านกันทำได้เร็วขึ้น แต่งานไม่สมมือ เพราะคน ๒ นี้อาจจะทำการได้มากกว่านี้
คราวนี้ว่าด้วยการฝ่ายที่บ้านเมืองทำ ถนนที่ทำเสียไว้แล้วซึ่งพรรณามายังหาที่สุดสิ้นเรื่องไม่ จึงขอตั้งคำอธิบายใหม่ ว่าที่ตำบลบ้านปืนนี้เป็นที่ดอนสันถานเป็นชายธง ข้างโตอยู่ริมน้ำเรียวเข้าไปในทุ่งเกินเขตรวังไปอีกมาก บนดอนนี้น้ำฝนไม่ขัง น้ำท่าไม่ท่วม สืบสวนการแต่โบราณแลตรวจสอบมา ๖ ปีแล้ว เพราะเหตุฉนั้นได้สร้างพระที่นั่งขึ้นบนหลังที่ตอนนั้น ไม่ได้ถมให้สูงขึ้นอีกเลย ด้วยสูงกว่ารดับน้ำแม่น้ำเวลาน้ำมากอยู่ศอกหนึ่งแล้ว
ส่วนในการทำถนนราชดำเนิน....................................ให้เอาระดับน้ำเท่าถนนราชวิถี คือถนนตั้งแต่แม่น้ำขึ้นไปถึงพระนครคีรีซึ่งน่าน้ำสูงกว่าน้ำอยู่ศอกหนึ่ง เป็นที่สงไสยว่าถนนสายนี้ บางทีระดับตอนบนเมื่อใกล้เขาขึ้นไป จะสูงกว่าข้างริมน้ำก็อาจจะเป็นได้ แต่หาได้ตรวจสอบไม่
ถนนราชดำเนินขวางข้ามถนนราชวิถีค่อนขึ้นไปข้างเขา อาจจะทำให้ระดับถนนราชดำเนินสูงกว่าถนนราชวิถี ตอนล่างได้อยู่ชั้นหนึ่ง แต่ถึงดังนั้นยังไม่พอแก่เหตุซึ่งปลายถนนราชดำเนินตอนข้างใต้คือเหนือน้ำ จะสูงมากเหลือเกินถึงเพียงนั้น
ได้ให้จับระดับดูปลายถนนราชดำเนินสูงกว่าพื้นที่ดอนที่ก่อพระที่นั่งศอกหนึ่ง สูงกว่าคันนา ๒ ศอก จึงเป็นสูงกว่าพื้นนา ๓ ศอก แบบที่เขียนไว้ขุดดินเป็นรางขึ้นพูนถนน เมื่อถนนสูงถึงเพียงนั้นแล้ว ดินก็ไม่พอ จึงได้ขุดดินท้องนาแลบนดอนที่ทำวังนั้น ตามแต่จะควักได้ ไม่เป็นรูปร่างอะไรมาพูนขึ้นเป็นถนน ที่มุมบังเวียนปลายถนนต่อถนนราชดำริห์ ซึ่งจะเป็นประตูวังได้ไปวัดหยั่งดู ผลที่ได้นั้นคือ ถนนสูงจากพื้นนา ๓ ศอก พื้นนาต้องขุดเอาดินขึ้นมาถมถนนอีก ๒ ศอก จึงเป็นอันลึกตั้งแต่พื้นขึ้นมาถึงหลังถนน ๕ ศอก เป็นป้อมแลเชิงเทินมากกว่าเป็นถนน คราวนี้ถ้าจะทำกำแพงฤๅประตู ทำสูง ๘ ศอกเท่าที่สวนดุสิตนี้ จะแลเห็นเป็นกำแพงสูง ๓ ศอกเท่านั้น เรือกสวนรั้ววังลงไปจมดิ่งอยู่ถ้าจะเปรียบให้เข้าใจง่าย ก็เหมือนอย่างว่า ถนนซางฮี้ที่ผ่านน่าตำหนักพญาไท ยกขึ้นให้สูงเสมอแนวรั้วไผ่ รถใครไปมาแล่นอยู่บนยอดไผ่ที่สวนแลวังอยู่อย่างเช่นสนามแลตำหนักพญาไทดังนี้จะสนุกฤๅไม่ ถนนนี้สูงพ้นน้ำ ๒ ศอกเศษ เพราะไม่มีเลยที่น้ำจะท่วมคันนา.....................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
กรมหลวงดำรงได้ปฤกษากรมขุนสรรพสาตรที่จะแก้ไข กรมขุนสรรพสาตรคิดให้ขุดคลอง ๒ ข้างเอาดินมาถมที่ซึ่งถูกขุด ประมาณว่าเงินสัก ๕๐๐๐ บาท น่ากลัวจะไม่พอ ครั้นเวลาเช้าวันนี้เมื่อจะกลับมา ได้เลียบมาดูตามถนน เห็นเจ๊กได้ลงมือทำงานกำลังลงมือทลายคันนาลามเข้าไปในเขตรสวนวัง คิดว่าถ้าปล่อยให้ทำ คงจะรื้อดินคันนาในเขตรวังนั้นมาถมที่ซึ่งถูกขุดเท่านั้น ดินซึ่งจะเกลี่ยกลบรอยระแหงที่ในวังก็จะไม่มี จึงได้บอกอายัตไว้แล้วห้ามไม่ให้เข้าไปขุด
ส่วนถนนซึ่งพระยาเพชรชฎา พระรัถยาทำนั้น ถ้าจะให้มาต่อกับถนนราชดำเนินจะต้องยกขึ้นมาเป็นรูปช้อนหอย เพราะถ้าจะถมให้ได้ระดับถนนราชดำเนิน จะต้องขุดแม่น้ำอ้อม รอบวังให้เป็นคูลึกกว้างจึงจะมีดินขึ้นไปถมพอ แต่เดี๋ยวนี้ได้ให้รอไว้ยังไม่ให้ต่อ ให้ทำที่ราบไปก่อน เมื่อจะต้องงอขึ้นมาเป็นช้อนหอยจึงค่อยงอขึ้นมาต่อภายหลัง
คิดเห็นว่า ถนนราชดำเนินนั้น สูงไม่เข้าเรื่อง หาประโยชน์ก็ไม่ได้ งามก็ไม่งาม ถ้าหากว่าน้ำจะท่วมสพานอุรุพงษ์น้ำท่วมก่อน เพราะถนนราชดำริห์ระดับต่ำลงไปหาแม่น้ำ อีกประการหนึ่งเมื่อพิเคราะห์ดูด้วยตา เข้าใจว่าถนนราชดำเนินนั้นไม่มีระดับดูเหมือนจะแอ่นกลาง แต่จะเอาแน่ไม่ได้ทั้งนั้น ว่าแต่ส่วนตอนข้างบ้านปืน ถ้าจะถากหลังถนนลงไปเสีย ๒ ศอก ขนดินมาแต่งข้างวัง น้ำคงจะยังไม่ท่วมถนนเป็นแน่ ได้นึกว่าถ้าหากว่ามอบงานให้พระรัถยาทำ แยกออกไปเสียขาหนึ่ง พระยาเพชร์ชฎาทำขาหนึ่ง การก็คงจะสำเร็จ แต่จะสั่งปาวๆ ไปเปล่าๆ ไม่ได้ สอบสวนดูระดับให้แน่นอนเกรงจะพลาด..................................................................................................................................................................................................................................................................................................................และสงไสยมากว่าฝรั่งนั้นจะเข้าใจในการทำระดับฤๅไม่ กลัวจะเป็นสักแต่ว่าฝรั่งก็ใช้ไปเชื่อไป จึงไม่กล้าจะสั่งลง ถ้าได้คนในกรมสุขาภิบาลไประดับเสียให้รู้แน่นอนสักคนหนึ่งจะดี เพราะเหตุฉนั้นจึงได้งดไว้ ให้กรมหลวงดำรงมาพูดกับเจ้าพระยายมราชเอง
ถ้าหากว่าจะหั่นถนนลงให้บางเช่นนั้นก็ต้องปลูกต้นไม้ใหม่สะใจพระยามหาเทพ อยู่บ้าง ออกจะไปทั้งทีจะมาบอกสักคำหนึ่งว่าถนนมันสูงเกินไปก็ไม่ได้ ไม่สังเกตสังกาอะไรเสียเลย เกณฑ์ให้ไปปลูกต้นไม้ใหม่ก็จะได้เข็ดดี
.....................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
สยามินทร์