- คำนำของผู้จัดพิมพ์
- ๑. สภากาชาด
- ๒ นิราศ
- ๓. โคบุตร
- ๔. ไวต์ชาวสยาม
- ๕. ผสมผสาน
- ๖. พม่าประเทศราช
- ๗. ผสมผสาน (๒)
- ๘. สำคัญอะไรที่ชื่อ
- ๙. ทุนสำรองพิกัด
- ๑๐. ผสมผสาน (๓)
- ๑๑. ประชาธิปัตย์แลความลับ
- ๑๒. เมื่อเจียงไคเช็คถูกจับ
- ๑๓. ขอโทษ
- ๑๔. เซี่ยงไฮ้
- ๑๕. อ๊อกซฟอด
- ๑๖. ดินเนอร์ใหญ่
- ๑๗. สามก๊ก
- ๑๘. หมู่ประเทศ “ออสโล”
- ๑๙. เซี่ยงไฮ้
- ๒๐. โรตารี่ในประเทศเยอรมัน
- ๒๑. ผสมผสาน (๔)
- ๒๒. รัฐคติ
- ๒๓. ล่าผัว
- ๒๔. โลกนี้ครึ่งหนึ่ง
- ๒๕. สก๊อตแลนด์กับอิงแลนด์
- ๒๖. สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์
- ๒๗. ขัติยมานะ
- ๒๘. เมื่อวันประกาศมหาสงคราม
- ๒๙. ปเกียรณกะ
- ๓๐. ในอินเดีย
- ๓๑. ในเมืองอังกฤษ
- ๓๒. คำราม
- ๓๓. ศัพท์รอยัลลิซต์
- ๓๔. อารยะชน อานารยะชน
- ๓๕. หนังสือพิมพ์
- ๓๖. กล่องดวงใจ
- ๓๗. ธนาธิปัตย์ยังไม่ตาย
- ๓๘. ฉากละคร
- ๓๙. ราชพิธีอังกฤษ
- ๔๐. ผสมผสาน (๕)
- ๔๑. นึกเมื่อฟังเทศน์
- ๔๒. บรรดาศักดิ์อังกฤษ
- ๔๓. กาพย์เห่เรือ
- ๔๔. โอวาทสำหรับชายหนุ่ม
- ๔๕. ราชาธิราชประเทศเม็กซิโก
- ๔๖. มุกดาดำ
- ๔๗. ประปา
- ๔๘. อุตสาหกรรมในกระท่อม
- ๔๙. ปนคำพูด
- ๕๐. วังแก้ว
- ๕๑. แซะประธาน
- ๕๒. ครึ่งสตางค์
- ๕๓. ฝักซ้ายฝ่ายขวา
- ๕๔. ประชาธิปัตย์สองแห่ง
- ๕๕. ยิวแลอาหรับ
- ๕๖. เฮ็บราย
- ๕๗. ประเทศอิราค
- ๕๘. พระเจ้าแผ่นดินอังกฤษ
- ๕๙. รัฐแฟรงก์
- ๖๐. ศัพท์
- ๖๑. …ิสม์
- ๖๒. ท่านเสือ
- ๖๓. ส่องกระจก
- ๖๔. พระสังตปาปา
- ๖๕. นานาภาษิต
- ๖๖. สำนวนหนังสือ
- ๖๗. อาศา
- ๖๘. คณะสงฆ์
แซะประธาน
ผู้เขียนนึกอยากรู้ว่า ในปาลิเม็นต์อังกฤษ ซึ่งตั้งมาแล้วหลายร้อยปี ได้เคยมีญัตติแซะประธาน (สปีเกอร์) จะให้ตกบัลลังก์บ่อยอยู่หรือ ได้เปิดหนังสืออ่านดู พบแห่งหนึ่งเล่าถึงผู้ถาม เมื่อวันที่ ๑๔ พฤษภาคม ๑๙๒๐ ว่า ถ้าสปีเกอร์ (ประธาน) บัญชาผิดไป จะมีทางแก้ไขอย่างไรบ้าง ท่านสปีเกอร์ ตอบว่า “ประธานอย่างเดียวกับโป๊ป ไม่รู้จักผิดเลย” คำตอบของท่านสปีเกอร์นี้ทำให้หัวเราะลั่น แต่ไม่มีใครคัดค้านว่ากระไร เพราะสมมติว่าเป็นอย่างนั้น
ในหนังสืออีกแห่งหนึ่งมีความว่า บัญชาของท่านสปีเกอร์ในเรื่องระเบียบของสภานั้น ไม่มีอุทธรณ์ฎีกา ที่กล่าวนี้เป็นปกติ แต่ก็มีตัวอย่างเป็นอย่างอื่นบ้าง คือ ๒ ครั้งที่จะนำมาเล่าต่อไปนี้
ในเรื่องญัตติซึ่งเสนอเพื่อจะแซะประธานให้ตกบัลลังก์ หรือจะพูดทื่อ ๆ กว่าเพื่อจะไล่ประธานนั้น ในปาลิเม็นต์อังกฤษมิรู้กี่ร้อยต่อกี่ร้อยปี ได้เคยมีเพียง ๒ ครั้ง ครั้งหนึ่งญัตติว่า ประธานทำนอกอำนาจ ครั้นโหวตกันเข้า ญัตติก็แพ้โดยคะแนน ๒๙ ต่อ ๔๒๑ หรือแพ้กัน ๓๙๒ คะแนน อีกครั้งหนึ่งญัตติว่า คำพูดของสมาชิกคนหนึ่งก้าวร้าว แต่ประธานว่าไม่ก้าวร้าว ครั้นโหวตกันเข้า ญัตติก็แพ้ ๖๓ ต่อ ๓๙๓ หรือแพ้ ๓๓๕ คะแนน โหวตทั้ง ๒ รายนี้แพ้ชนะกันโดยคะแนนอันนับว่าเป็นอย่างมากในปาลิเม็นต์อังกฤษ ในอายุคนรุ่นนี้ การเสนอญัตติแซะประธานไม่เคยได้ยินว่ามีเลย ปาลิเม็นต์อังกฤษ เป็นปาลิเม็นต์เก่าแก่กว่าปาลิเม็นต์ไหน ๆ จะเกิดเรื่องอะไร ๆ ก็มักจะเคยมีตัวอย่างมาแล้วทั้งนั้น แต่ในหลายร้อยปีเคยมีญัตติแซะประธาน ๒ ครั้งเท่านั้นเอง แลมีก่อนอายุคนรุ่นปัจจุบัน