- คำนำของผู้จัดพิมพ์
- ๑. สภากาชาด
- ๒ นิราศ
- ๓. โคบุตร
- ๔. ไวต์ชาวสยาม
- ๕. ผสมผสาน
- ๖. พม่าประเทศราช
- ๗. ผสมผสาน (๒)
- ๘. สำคัญอะไรที่ชื่อ
- ๙. ทุนสำรองพิกัด
- ๑๐. ผสมผสาน (๓)
- ๑๑. ประชาธิปัตย์แลความลับ
- ๑๒. เมื่อเจียงไคเช็คถูกจับ
- ๑๓. ขอโทษ
- ๑๔. เซี่ยงไฮ้
- ๑๕. อ๊อกซฟอด
- ๑๖. ดินเนอร์ใหญ่
- ๑๗. สามก๊ก
- ๑๘. หมู่ประเทศ “ออสโล”
- ๑๙. เซี่ยงไฮ้
- ๒๐. โรตารี่ในประเทศเยอรมัน
- ๒๑. ผสมผสาน (๔)
- ๒๒. รัฐคติ
- ๒๓. ล่าผัว
- ๒๔. โลกนี้ครึ่งหนึ่ง
- ๒๕. สก๊อตแลนด์กับอิงแลนด์
- ๒๖. สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์
- ๒๗. ขัติยมานะ
- ๒๘. เมื่อวันประกาศมหาสงคราม
- ๒๙. ปเกียรณกะ
- ๓๐. ในอินเดีย
- ๓๑. ในเมืองอังกฤษ
- ๓๒. คำราม
- ๓๓. ศัพท์รอยัลลิซต์
- ๓๔. อารยะชน อานารยะชน
- ๓๕. หนังสือพิมพ์
- ๓๖. กล่องดวงใจ
- ๓๗. ธนาธิปัตย์ยังไม่ตาย
- ๓๘. ฉากละคร
- ๓๙. ราชพิธีอังกฤษ
- ๔๐. ผสมผสาน (๕)
- ๔๑. นึกเมื่อฟังเทศน์
- ๔๒. บรรดาศักดิ์อังกฤษ
- ๔๓. กาพย์เห่เรือ
- ๔๔. โอวาทสำหรับชายหนุ่ม
- ๔๕. ราชาธิราชประเทศเม็กซิโก
- ๔๖. มุกดาดำ
- ๔๗. ประปา
- ๔๘. อุตสาหกรรมในกระท่อม
- ๔๙. ปนคำพูด
- ๕๐. วังแก้ว
- ๕๑. แซะประธาน
- ๕๒. ครึ่งสตางค์
- ๕๓. ฝักซ้ายฝ่ายขวา
- ๕๔. ประชาธิปัตย์สองแห่ง
- ๕๕. ยิวแลอาหรับ
- ๕๖. เฮ็บราย
- ๕๗. ประเทศอิราค
- ๕๘. พระเจ้าแผ่นดินอังกฤษ
- ๕๙. รัฐแฟรงก์
- ๖๐. ศัพท์
- ๖๑. …ิสม์
- ๖๒. ท่านเสือ
- ๖๓. ส่องกระจก
- ๖๔. พระสังตปาปา
- ๖๕. นานาภาษิต
- ๖๖. สำนวนหนังสือ
- ๖๗. อาศา
- ๖๘. คณะสงฆ์
ผสมผสาน
ในหน้า ๕ ประมวญวัน วันที่ ๑๙ (สิงหาคม ๒๔๘๐) ได้เขียนปีผิดไว้แห่งหนึ่ง ซึ่งได้บอกแก้เมื่อวานนี้แล้ว (๒๐ สิงหาคม ๒๔๘๐) คำที่ว่าผิดนั้นคือคำที่ว่า “ค.ศ. ๑๔๗๘” ขอให้แก้เป็น “พ.ศ. ๒๔๗๘”
แต่ยังมีอีกแห่งหนึ่งซึ่ง น.ม.ส. ได้กล่าวไว้ว่า ไม่เคยทราบมาก่อนว่า มีชายอังกฤษคนหนึ่งชื่อไวต์ เป็นข้าราชการสยามในแผ่นดินพระนารายณ์มหาราช หรือถ้าได้เคยเห็นชื่อชายคนนั้นในหนังสือก็จำไม่ได้ วันนี้ (๒๑ ส.ค. ๒๔๘๐) ได้รับจดหมายจากผู้อ่านของเราผู้หนึ่ง ซึ่งใส่ใจในเรื่องพงศาวดารบอกมาว่า เมื่อได้เห็นสมุด “ไวต์ชาวสยาม” ภาษาอังกฤษตั้งแต่แรก ก็ได้ค้นหนังสือต่าง ๆ ภาษาไทยได้ความดังนี้
ใน “พงศาวดารเรื่องเรารบพม่าครั้งกรุงศรีอยุธยา” ซึ่งสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงนิพนธ์ที่หน้า ๒๗๗ และ ๒๗๘ ว่า “เจ้าพระยาวิชาเยนทร์เป็นชาติกรีก เดิมชื่อเยราวี แต่เปลี่ยนชื่อตัวเป็นว่า ฟอลคอน ซึ่งหมายความตามภาษาอังกฤษว่า เหยี่ยวนกเขาเหมือนกัน ฟอลคอนรับจ้างลงเรือกำปั่นของพ่อค้าอังกฤษคนหนึ่ง ชื่อ ยอร์ช ไฮวต์ ออกมาค้าขายทางประเทศตะวันออก มาถึงกรุงสยามปีเถาะ พ.ศ. ๒๒๑๘ ยอร์ช ไฮวต์เห็นว่าฟอลคอนเป็นคนฉลาด จึงให้อยู่ซื้อสินค้าที่กรุงศรีอยุธยา ต่อมาฟอลคอนเข้ารับราชการในกรมคลัง ในบังคับบัญชาเจ้าพระยาโกษาธิบดี (ขุนเหล็ก) แลฟอลคอนได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นลำดับมา จนถึงเป็นเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ ริชาร์ด เบอร์นาบี คน ๑ แซมวล ไฮวต์ คน ๑ เกิดวิวาทกับบริษัทอังกฤษ ออกมาสมัครรับราชการ เห็นจะเป็นสองคนนี้ที่มาขยายความให้ปรากฏว่า อังกฤษอยากได้เมืองมะริศไปเป็นท่าค้าขายของบริษัทอังกฤษ โดยอ้างว่าเพราะไทยไม่ทำนุบำรุงการค้าขายให้เจริญตามสมควร เจ้าพระยาวิชาเยนทร์จึงทูลขอให้สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงตั้งเมืองมะริศเป็นสถานีค้าขายหลวง แลให้ริชาร์ด เบอร์นาบี เป็นที่ออกยาเจ้าเมืองมะริศ แลตั้งแซมวล ไฮวต์ เป็นเจ้าท่า ไปจัดการค้าขายของรัฐบาลที่เมืองมะริศ”