- คำนำของผู้จัดพิมพ์
- ๑. สภากาชาด
- ๒ นิราศ
- ๓. โคบุตร
- ๔. ไวต์ชาวสยาม
- ๕. ผสมผสาน
- ๖. พม่าประเทศราช
- ๗. ผสมผสาน (๒)
- ๘. สำคัญอะไรที่ชื่อ
- ๙. ทุนสำรองพิกัด
- ๑๐. ผสมผสาน (๓)
- ๑๑. ประชาธิปัตย์แลความลับ
- ๑๒. เมื่อเจียงไคเช็คถูกจับ
- ๑๓. ขอโทษ
- ๑๔. เซี่ยงไฮ้
- ๑๕. อ๊อกซฟอด
- ๑๖. ดินเนอร์ใหญ่
- ๑๗. สามก๊ก
- ๑๘. หมู่ประเทศ “ออสโล”
- ๑๙. เซี่ยงไฮ้
- ๒๐. โรตารี่ในประเทศเยอรมัน
- ๒๑. ผสมผสาน (๔)
- ๒๒. รัฐคติ
- ๒๓. ล่าผัว
- ๒๔. โลกนี้ครึ่งหนึ่ง
- ๒๕. สก๊อตแลนด์กับอิงแลนด์
- ๒๖. สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์
- ๒๗. ขัติยมานะ
- ๒๘. เมื่อวันประกาศมหาสงคราม
- ๒๙. ปเกียรณกะ
- ๓๐. ในอินเดีย
- ๓๑. ในเมืองอังกฤษ
- ๓๒. คำราม
- ๓๓. ศัพท์รอยัลลิซต์
- ๓๔. อารยะชน อานารยะชน
- ๓๕. หนังสือพิมพ์
- ๓๖. กล่องดวงใจ
- ๓๗. ธนาธิปัตย์ยังไม่ตาย
- ๓๘. ฉากละคร
- ๓๙. ราชพิธีอังกฤษ
- ๔๐. ผสมผสาน (๕)
- ๔๑. นึกเมื่อฟังเทศน์
- ๔๒. บรรดาศักดิ์อังกฤษ
- ๔๓. กาพย์เห่เรือ
- ๔๔. โอวาทสำหรับชายหนุ่ม
- ๔๕. ราชาธิราชประเทศเม็กซิโก
- ๔๖. มุกดาดำ
- ๔๗. ประปา
- ๔๘. อุตสาหกรรมในกระท่อม
- ๔๙. ปนคำพูด
- ๕๐. วังแก้ว
- ๕๑. แซะประธาน
- ๕๒. ครึ่งสตางค์
- ๕๓. ฝักซ้ายฝ่ายขวา
- ๕๔. ประชาธิปัตย์สองแห่ง
- ๕๕. ยิวแลอาหรับ
- ๕๖. เฮ็บราย
- ๕๗. ประเทศอิราค
- ๕๘. พระเจ้าแผ่นดินอังกฤษ
- ๕๙. รัฐแฟรงก์
- ๖๐. ศัพท์
- ๖๑. …ิสม์
- ๖๒. ท่านเสือ
- ๖๓. ส่องกระจก
- ๖๔. พระสังตปาปา
- ๖๕. นานาภาษิต
- ๖๖. สำนวนหนังสือ
- ๖๗. อาศา
- ๖๘. คณะสงฆ์
ผสมผสาน (๕)
นักเขียนคนหนึ่งใน “ศรีกรุง” กล่าวว่า ทำไมไม่มีใครนำเอาคำเก่า คือ “พณหัวเจ้าท่าน” กลับมาใช้กันบ้าง
ผู้เขียนในที่นี้เห็นด้วยว่าน่าใช้ คำนี้เคยใช้เป็นคำนำน่าเรียกขุนนางผู้มีตำแหน่งใหญ่หรือใช้เป็นสรรพนาม เช่นพณหัวเจ้าท่านที่สมุหนายก แลในรัชกาลที่ ๕ ใช้กันว่า พณหัวเจ้าท่านที่เกษตราธิบดีเป็นต้น คำพณหัวเจ้าท่านนี้เคยใช้คล้ายที่ใช้ว่าเจ้าคุณ ถ้าไปบ้านสมุหนายก จะถามทนายหน้าหอว่า “พณหัวเจ้าท่านอยู่ไหม” ก็ได้
ผู้เขียนค่อนจะเห็นว่า คำนี้น่าใช้เรียกผู้ไม่มีบรรดาศักดิ์ซึ่งมีตำแหน่งใหญ่โตเป็นหัวหน้าราชการในประเทศ เช่นพณหัวเจ้าท่านฮิตเล่อร์ แลพณหัวเจ้าท่านมุสโซลินีเป็นตัวอย่าง ท่านผู้เป็นประมุขในประเทศเยอรมัน ก็เป็นผู้ไม่มีบรรดาศักดิ์ ท่านผู้เป็นหัวหน้าราชการ ในประเทศอิตาลีก็เช่นกัน จะเรียกว่านายนั่นนายนี่ก็ดูน้อยไป จะใช้คำว่า “ท่านนั่นท่านนี่” ก็ออกจะไม่ค่อยพอ ส่วนคำว่า พณหัวเจ้าท่านนั้น เป็นคำสูงที่สุดที่เรามี อันจะใช้แก่ผู้อยู่ในตำแหน่งใหญ่ ซึ่งมิได้รับตั้งแต่งให้มีฐานันดรศักดิ์ได้
ดังนี้ ผู้เขียนจึงเห็นด้วย แลสมัครที่จะนำศัพท์นั้นกลับมาใช้นำชื่อบุคคลบางคน แต่ในที่นี้จะใช้จำกัดให้น้อยตัวที่สุด