- คำนำของผู้จัดพิมพ์
- ๑. สภากาชาด
- ๒ นิราศ
- ๓. โคบุตร
- ๔. ไวต์ชาวสยาม
- ๕. ผสมผสาน
- ๖. พม่าประเทศราช
- ๗. ผสมผสาน (๒)
- ๘. สำคัญอะไรที่ชื่อ
- ๙. ทุนสำรองพิกัด
- ๑๐. ผสมผสาน (๓)
- ๑๑. ประชาธิปัตย์แลความลับ
- ๑๒. เมื่อเจียงไคเช็คถูกจับ
- ๑๓. ขอโทษ
- ๑๔. เซี่ยงไฮ้
- ๑๕. อ๊อกซฟอด
- ๑๖. ดินเนอร์ใหญ่
- ๑๗. สามก๊ก
- ๑๘. หมู่ประเทศ “ออสโล”
- ๑๙. เซี่ยงไฮ้
- ๒๐. โรตารี่ในประเทศเยอรมัน
- ๒๑. ผสมผสาน (๔)
- ๒๒. รัฐคติ
- ๒๓. ล่าผัว
- ๒๔. โลกนี้ครึ่งหนึ่ง
- ๒๕. สก๊อตแลนด์กับอิงแลนด์
- ๒๖. สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์
- ๒๗. ขัติยมานะ
- ๒๘. เมื่อวันประกาศมหาสงคราม
- ๒๙. ปเกียรณกะ
- ๓๐. ในอินเดีย
- ๓๑. ในเมืองอังกฤษ
- ๓๒. คำราม
- ๓๓. ศัพท์รอยัลลิซต์
- ๓๔. อารยะชน อานารยะชน
- ๓๕. หนังสือพิมพ์
- ๓๖. กล่องดวงใจ
- ๓๗. ธนาธิปัตย์ยังไม่ตาย
- ๓๘. ฉากละคร
- ๓๙. ราชพิธีอังกฤษ
- ๔๐. ผสมผสาน (๕)
- ๔๑. นึกเมื่อฟังเทศน์
- ๔๒. บรรดาศักดิ์อังกฤษ
- ๔๓. กาพย์เห่เรือ
- ๔๔. โอวาทสำหรับชายหนุ่ม
- ๔๕. ราชาธิราชประเทศเม็กซิโก
- ๔๖. มุกดาดำ
- ๔๗. ประปา
- ๔๘. อุตสาหกรรมในกระท่อม
- ๔๙. ปนคำพูด
- ๕๐. วังแก้ว
- ๕๑. แซะประธาน
- ๕๒. ครึ่งสตางค์
- ๕๓. ฝักซ้ายฝ่ายขวา
- ๕๔. ประชาธิปัตย์สองแห่ง
- ๕๕. ยิวแลอาหรับ
- ๕๖. เฮ็บราย
- ๕๗. ประเทศอิราค
- ๕๘. พระเจ้าแผ่นดินอังกฤษ
- ๕๙. รัฐแฟรงก์
- ๖๐. ศัพท์
- ๖๑. …ิสม์
- ๖๒. ท่านเสือ
- ๖๓. ส่องกระจก
- ๖๔. พระสังตปาปา
- ๖๕. นานาภาษิต
- ๖๖. สำนวนหนังสือ
- ๖๗. อาศา
- ๖๘. คณะสงฆ์
ในอินเดีย
ในอินเดียมีชนชาติต่ำที่เรียกกันว่า “แตะต้องไม่ได้” ถึง ๓๐ ล้านหรือ ๔๐ ล้าน หรืออาจถึง ๕๐ ล้านคน ในเวลานี้ (พ.ศ. ๒๔๗๘) อินเดียแสดงความประสงค์จะเป็นชาติอิศระ แต่ชาติอิศระซึ่งมีพลเมืองไม่อิศระหลายสิบล้านคนนั้น ดูเป็นการเถียงกันอยู่เองในตัว พวกไม่อิศระหรือพวก “แตะต้องไม่ได้” นั้นเป็นตระกูลคนที่มีฐานะต่ำต้อยตามศาสนาฮินดู (หินทู) พวกอยู่ในสกุลสูงตามศาสนาถือว่าพวกอยู่ในสกุลต่ำไม่มีสิทธิอะไร ถ้ามิถือฉนี้ ก็ผิดตามลัทธิศาสนา การเป็นเช่นนี้ ถ้าอินเดียจะเป็นประเทศอิสระ แลพลเมืองทุกคนมีความเป็นไทยแก่ตนเสมอกัน ก็จะแบ่งเป็นพวกแตะต้องได้ แลแตะต้องไม่ได้ มีสิทธิแลไม่มีสิทธิกระไรได้
ในบัดนี้ (พ.ศ. ๒๔๘๐) พวกที่แตะต้องไม่ได้ มีหัวหน้าที่ได้เล่าเรียนแลมีกำลังปัญญากำลังทรัพย์ไม่น้อยหน้าใคร พวกนั้นแสดงตนออกมาว่า เมื่อศาสนาที่ต้องมีขีดคั่นสิทธิของคนตามชาติตามตระกูล เป็นเครื่องยุ่งยากไม่รู้แล้วไม่รู้รอด เพราะฉนั้นจะพากันออกจากศาสนาฮินดู ไปเข้ารีดศาสนาอื่น เพื่อจะได้เลิกปัญหาเรื่องแตะต้องได้หรือแตะต้องไม่ได้กันเสียที
การเป็นเช่นนี้ ก็ทำให้พวกสกุลสูงวิตก ถึงแก่คิดกันเวลานี้ (พ.ศ. ๒๔๗๘) ว่า จะต้องแก้ปัญหาด้วยวิธีจัดให้เกิดสกุลใหม่ อีกตระกูลหนึ่งให้อยู่ระหว่างพวกแตะต้องไม่ได้กับพวกแตะต้องได้ เพื่อจะได้ปรองดองกัน แต่เราเห็นว่าเป็นปัญหายากนัก เพราะหลักของการแยกคนตาม “วรรณ” เป็นสี่เหล่านั้น จะแก้ให้ลงรอยกับหลักประชาธิปัตย์นั้นยาก