- คำนำของผู้จัดพิมพ์
- ๑. สภากาชาด
- ๒ นิราศ
- ๓. โคบุตร
- ๔. ไวต์ชาวสยาม
- ๕. ผสมผสาน
- ๖. พม่าประเทศราช
- ๗. ผสมผสาน (๒)
- ๘. สำคัญอะไรที่ชื่อ
- ๙. ทุนสำรองพิกัด
- ๑๐. ผสมผสาน (๓)
- ๑๑. ประชาธิปัตย์แลความลับ
- ๑๒. เมื่อเจียงไคเช็คถูกจับ
- ๑๓. ขอโทษ
- ๑๔. เซี่ยงไฮ้
- ๑๕. อ๊อกซฟอด
- ๑๖. ดินเนอร์ใหญ่
- ๑๗. สามก๊ก
- ๑๘. หมู่ประเทศ “ออสโล”
- ๑๙. เซี่ยงไฮ้
- ๒๐. โรตารี่ในประเทศเยอรมัน
- ๒๑. ผสมผสาน (๔)
- ๒๒. รัฐคติ
- ๒๓. ล่าผัว
- ๒๔. โลกนี้ครึ่งหนึ่ง
- ๒๕. สก๊อตแลนด์กับอิงแลนด์
- ๒๖. สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์
- ๒๗. ขัติยมานะ
- ๒๘. เมื่อวันประกาศมหาสงคราม
- ๒๙. ปเกียรณกะ
- ๓๐. ในอินเดีย
- ๓๑. ในเมืองอังกฤษ
- ๓๒. คำราม
- ๓๓. ศัพท์รอยัลลิซต์
- ๓๔. อารยะชน อานารยะชน
- ๓๕. หนังสือพิมพ์
- ๓๖. กล่องดวงใจ
- ๓๗. ธนาธิปัตย์ยังไม่ตาย
- ๓๘. ฉากละคร
- ๓๙. ราชพิธีอังกฤษ
- ๔๐. ผสมผสาน (๕)
- ๔๑. นึกเมื่อฟังเทศน์
- ๔๒. บรรดาศักดิ์อังกฤษ
- ๔๓. กาพย์เห่เรือ
- ๔๔. โอวาทสำหรับชายหนุ่ม
- ๔๕. ราชาธิราชประเทศเม็กซิโก
- ๔๖. มุกดาดำ
- ๔๗. ประปา
- ๔๘. อุตสาหกรรมในกระท่อม
- ๔๙. ปนคำพูด
- ๕๐. วังแก้ว
- ๕๑. แซะประธาน
- ๕๒. ครึ่งสตางค์
- ๕๓. ฝักซ้ายฝ่ายขวา
- ๕๔. ประชาธิปัตย์สองแห่ง
- ๕๕. ยิวแลอาหรับ
- ๕๖. เฮ็บราย
- ๕๗. ประเทศอิราค
- ๕๘. พระเจ้าแผ่นดินอังกฤษ
- ๕๙. รัฐแฟรงก์
- ๖๐. ศัพท์
- ๖๑. …ิสม์
- ๖๒. ท่านเสือ
- ๖๓. ส่องกระจก
- ๖๔. พระสังตปาปา
- ๖๕. นานาภาษิต
- ๖๖. สำนวนหนังสือ
- ๖๗. อาศา
- ๖๘. คณะสงฆ์
ขัติยมานะ
“กอบเกอดขัติยะมา นะนึก หาญเฮย”
มโนคติซึ่งรวมอยู่ในศัพท์ที่ไทยใช้ว่า “ขัติยมานะ” นี้ ในสมัยปัจจุบัน ย่อมจะมีลดน้อยลงไปกว่าแต่ก่อนทั่ว ๆ ไปในโลก ถ้าจะยกเว้น ก็จะยังมีอยู่แต่ในประเทศอังกฤษดอกกระมัง พระเจ้าแผ่นดินได้หมดไปแล้ว ในประเทศหลายประเทศที่เคยมีพระราชาทรงศักดิ์ใหญ่เป็นผู้ปกครอง หากราชสกุลหรือราชวงศ์ของพระราชานั้น ๆ จะยังมีกระเรี่ยกระราดอยู่ในประเทศของตน หรือพึ่งพำนักอยู่ในประเทศอื่นบ้างก็จริง แต่เมื่อไม่มีความเกี่ยวเนื่องกับการปกครองบ้านเมืองนานเข้า จนถึงเจ้านายรุ่นหลังไม่เคยเห็นหรือเคยเข้าใกล้ราชบัลลังก์เลย มโนคติชนิดที่เรียกขัติยมานะนี้ ก็ย่อมจะลดน้อยลงไปอยู่เอง ถ้าเราจะยกตัวอย่างซึ่งไม่มีระแวงว่าผิดเลย ก็เห็นจะกล่าวเป็นอุทาหรณ์ได้ว่า เผ่าพันธุ์ของพระเจ้าแผ่นดินอาหม ซึ่งเคยมีบรรพบุรุษทรงบุญหนักศักดิ์ใหญ่ จนถึงฝรั่งเรียกว่าเอ็มไปร์ อยู่ในภาคหนึ่งแห่งอินเดีย ถ้ามีเหลืออยู่ในเวลานี้ ก็เห็นจะไม่มีมโนคติชนิดที่เรียกว่าขัติยมานะ อาจมีมานะชนิดอื่น ๆ ก็ได้ แต่ไม่ใช่ขัติยมานะ
พูดถึงสยามโดยเฉพาะ ถึงหากสยามจะเป็นประเทศซึ่งมีพระราชาเป็นอธิบดีแห่งประเทศ ก็ควรเป็นที่เข้าใจว่า บุคคลผู้มีมานะชนิดที่เรียกว่าขัติยมานะ ย่อมจะมีจำนวนลดน้อยลงไป เพราะพระเจ้าแผ่นดินในพระราชวงศ์ปัจจุบันถึงสองรัชกาลมีพระราชธิดาพระองค์เดียวเท่านั้น แลพระเจ้าแผ่นดินพระองค์ที่ ๘ ก็ทรงพระชนมพรรษาเพียง ๑๒ ปีเท่านั้น (ทรงเรื่องนี้ใน พ.ศ. ๒๔๘๐) การเป็นดังนี้ เจ้าฟ้าแลพระองค์เจ้า ถ้าทรงกำเนิดมาใหม่ ๆ ก็น้อยจนนับได้ด้วยนิ้วมือข้างเดียว ส่วนหม่อมเจ้านั้น ก็ย่อมจะทรงกำเนิดโดยจำนวนน้อยเหมือนกัน เพราะพระองค์เจ้าซึ่งทรงพระยศถึงชั้นที่จะมีพระหน่อเป็นหม่อมเจ้านั้น เวลานี้ก็มีนับพระองค์ถ้วน เหตุฉะนี้เราจึงกล่าวโดยมิคำนึงถึงบุคคลเลย กล่าวแต่โดยจำนวนเท่านั้น ว่ามโนคติชนิดที่เรียกว่าขัติยมานะนี้ ในสยามก็น้อยลงไปเหมือนกับประเทศอื่น ๆ ทั่ว ๆ ไปในโลก
ข้อที่ว่าขัติยมานะเป็นของดีควรสรรเสริญ หรือเป็นของไม่ดีควรติเตียนนั้น ก็แล้วแต่ความเห็นคนส่วนมากในสมัยที่ต่างกัน แต่ถ้าจะกล่าวทางพุทธศาสนา ก็จำต้องกล่าวว่า มานะไม่ใช่ของดี