- คำนำของผู้จัดพิมพ์
- ๑. สภากาชาด
- ๒ นิราศ
- ๓. โคบุตร
- ๔. ไวต์ชาวสยาม
- ๕. ผสมผสาน
- ๖. พม่าประเทศราช
- ๗. ผสมผสาน (๒)
- ๘. สำคัญอะไรที่ชื่อ
- ๙. ทุนสำรองพิกัด
- ๑๐. ผสมผสาน (๓)
- ๑๑. ประชาธิปัตย์แลความลับ
- ๑๒. เมื่อเจียงไคเช็คถูกจับ
- ๑๓. ขอโทษ
- ๑๔. เซี่ยงไฮ้
- ๑๕. อ๊อกซฟอด
- ๑๖. ดินเนอร์ใหญ่
- ๑๗. สามก๊ก
- ๑๘. หมู่ประเทศ “ออสโล”
- ๑๙. เซี่ยงไฮ้
- ๒๐. โรตารี่ในประเทศเยอรมัน
- ๒๑. ผสมผสาน (๔)
- ๒๒. รัฐคติ
- ๒๓. ล่าผัว
- ๒๔. โลกนี้ครึ่งหนึ่ง
- ๒๕. สก๊อตแลนด์กับอิงแลนด์
- ๒๖. สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์
- ๒๗. ขัติยมานะ
- ๒๘. เมื่อวันประกาศมหาสงคราม
- ๒๙. ปเกียรณกะ
- ๓๐. ในอินเดีย
- ๓๑. ในเมืองอังกฤษ
- ๓๒. คำราม
- ๓๓. ศัพท์รอยัลลิซต์
- ๓๔. อารยะชน อานารยะชน
- ๓๕. หนังสือพิมพ์
- ๓๖. กล่องดวงใจ
- ๓๗. ธนาธิปัตย์ยังไม่ตาย
- ๓๘. ฉากละคร
- ๓๙. ราชพิธีอังกฤษ
- ๔๐. ผสมผสาน (๕)
- ๔๑. นึกเมื่อฟังเทศน์
- ๔๒. บรรดาศักดิ์อังกฤษ
- ๔๓. กาพย์เห่เรือ
- ๔๔. โอวาทสำหรับชายหนุ่ม
- ๔๕. ราชาธิราชประเทศเม็กซิโก
- ๔๖. มุกดาดำ
- ๔๗. ประปา
- ๔๘. อุตสาหกรรมในกระท่อม
- ๔๙. ปนคำพูด
- ๕๐. วังแก้ว
- ๕๑. แซะประธาน
- ๕๒. ครึ่งสตางค์
- ๕๓. ฝักซ้ายฝ่ายขวา
- ๕๔. ประชาธิปัตย์สองแห่ง
- ๕๕. ยิวแลอาหรับ
- ๕๖. เฮ็บราย
- ๕๗. ประเทศอิราค
- ๕๘. พระเจ้าแผ่นดินอังกฤษ
- ๕๙. รัฐแฟรงก์
- ๖๐. ศัพท์
- ๖๑. …ิสม์
- ๖๒. ท่านเสือ
- ๖๓. ส่องกระจก
- ๖๔. พระสังตปาปา
- ๖๕. นานาภาษิต
- ๖๖. สำนวนหนังสือ
- ๖๗. อาศา
- ๖๘. คณะสงฆ์
คำนำของผู้จัดพิมพ์
หนังสือชุด ผสมผสาน คือพระนิพนธ์ของกรมหมื่นพิทยาลงกรณ (น.ม.ส.) สำนักพิมพ์บำรุงสาส์น ได้รับอนุญาตจากท่านเจ้าของลิขสิทธิ์ให้จัดพิมพ์ออกเผยแพร่ทั้งหมดรวม ๓ เล่มด้วยกัน คือเล่ม ๑ เล่ม ๒ และ เล่ม ๓ เป็นพระนิพนธ์เบ็ดเตล็ดต่าง ๆ ที่ทรงนิพนธ์ลงเป็นประจำในหนังสือพิมพ์ประมวญมารค และประมวญวัน เป็นเวลาประมาณ ๑๐ ปี มีเรื่องที่เป็นสาระน่ารู้น่าศึกษามาก ในสมัยที่นำลงในหนังสือพิมพ์ประมวญวันนั้น เป็นที่รู้กันโดยทั่ว ๆ ไปว่า ในหน้า ๕ ของหนังสือพิมพ์ นักอ่านจะเว้นการอ่านเสียไม่ได้เลย เพราะเป็นเรื่องที่พระองค์ท่านทรงนิพนธ์ไว้
กรมหมื่นพิทยาลงกรณ เป็นทั้งกวีและนักประพันธ์เอกของไทย ทรงใช้นามปากกาว่า น.ม.ส. พระนามเดิมคือ พระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัส เสด็จไปศึกษาวิชา ณ ประเทศอังกฤษ ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ในขณะศึกษาปรากฏว่าทรงเชี่ยวชาญในอักษรศาสตร์เป็นอันมาก เมื่อเสด็จกลับถึงเมืองไทยแล้ว พระนิพนธ์เรื่องแรกที่ทรงเขียนลงในหนังสือวชิรญาณคือ เรื่องของนักเรียนเมืองอังกฤษ ทรงเล่าถึงประวัติการศึกษาของพระองค์ในเมืองอังกฤษ, การเล่าเรียนในมหาวิทยาลัย การเดินทาง และชีวิตทั่ว ๆ ไปของนักเรียนเมืองอังกฤษ อ่านได้เพลิดเพลิน และมีประโยชน์ เป็นที่สนใจในวงการของนักอ่านในสมัยนั้น
ในลำดับต่อ ๆ มาพระองค์ก็ได้รับผลสำเร็จในงานประพันธ์อีกมากเรื่อง มีทั้งกาพย์กลอนและร้อยแก้ว, ผสมผสานชุดนี้ ก็นับเป็นผลงานที่ดีเด่นอีกชุดหนึ่งในประเภทความเรียงร้อยแก้ว ซึ่งผู้สนใจในการประพันธ์จะควรอ่านให้ได้ เพราะสำนวนของ น.ม.ส. ชาวไทยเรายกให้เป็นสำนวนชั้นครู คือ สำนวนที่มีเสน่ห์ มีรสอันตรึงใจ เต็มไปด้วยโวหารคมคายไพเราะ และแทรกสาระข้อสังเกตเรื่องที่คนเรามักจะมองเลยไปหรือไม่ทันสังเกตนั้นมาให้ผู้อ่านได้รู้ได้เห็นไว้ในเรื่องด้วย
สำนักพิมพ์บำรุงสาส์น