- คำนำ
- พระราชนิพนธ์คำนำ
- นมัสกฤติกถา
- อารัมภกถา
- นิทานวัจนะ
- นโลปาข๎ยานัม์
- สรรคที่ ๑
- สรรคที่ ๒
- สรรคที่ ๓
- สรรคที่ ๔
- สรรคที่ ๕
- สรรคที่ ๖
- สรรคที่ ๗
- สรรคที่ ๘
- สรรคที่ ๙
- สรรคที่ ๑๐
- สรรคที่ ๑๑
- สรรคที่ ๑๒
- สรรคที่ ๑๓
- สรรคที่ ๑๔
- สรรคที่ ๑๕
- สรรคที่ ๑๖
- สรรคที่ ๑๗
- สรรคที่ ๑๘
- สรรคที่ ๑๙
- สรรคที่ ๒๐
- สรรคที่ ๒๑
- สรรคที่ ๒๒
- สรรคที่ ๒๓
- สรรคที่ ๒๔
- สรรคที่ ๒๕
- สรรคที่ ๒๖
- อุตตรกถา
- อธิบายในลักษณประพนธ์
- อภิธาน
อา
อาชาไนย [ส. อาชาเนย์ย] = มีกำเนิดอันสูง ฯ ใช้ได้สำหรับทั้งคนและม้า เพราะฉนั้นจึ่งมาเข้าใจกันผิดเพี้ยนไปว่า “อาชาไนย” = “ม้าดี” และในที่สุดเลื่อนลงไปจนถึงแปล “อาชา” ว่า “ม้า”
อาดูร [ส. อาตุร] = ไม่สบาย, เจ็บกายฤๅเจ็บใจ
อาทิ, ส. เปนต้น, ที่ ๑, แรก
อาทิตย, ส. ดวงตวัน หรือสูรยเทวราช ฯ แท้จริงนามอาทิตย์เปนนามสำหรับเทวดา ๗ องค์ ซึ่งเกิดแต่นางอทิติ (ดังอธิบายไว้โดยละเอียดแล้วในอภิธานท้ายหนังสือ “ศกุนตลา”) แต่โดยมากเมื่อกล่าวถึงอาทิตย์เฉย ๆ และในที่เปนเอกพจน์ ก็ต้องเข้าใจว่ามุ่งกล่าวถึงพระสูรยาทิตย หรือ ดวงตวัน ฯ ในหนังสือเรื่องพระนลนี้ ถ้าแห่งใดพบคำว่าอาทิตย์ก็จงเข้าใจว่ามุ่งถึงพระสูรย์หรือดวงตวันนั้นเถิด ฯ
อาวุธ, ม. [ส. อายุธ] = เครื่องประหาร ฯ โดยมากมักใช้เรียกเครื่องประหารอันซัดไปหรือยิงไปจากกายได้ ฯ
อาศีรพาท ฤๅ อาเศียรพาท, ส. ผ. [ส. อาศีร๎วาท] = คำให้พร ฯ จากมูลว่า “อาศิส์” = การขอพร ฤๅ การอวยพร ฯ
อาศรม, ส. = ที่อยู่แห่งฤษี มุนีและโยคี ที่อยู่ป่า ฯ