- คำนำ
- พระราชนิพนธ์คำนำ
- นมัสกฤติกถา
- อารัมภกถา
- นิทานวัจนะ
- นโลปาข๎ยานัม์
- สรรคที่ ๑
- สรรคที่ ๒
- สรรคที่ ๓
- สรรคที่ ๔
- สรรคที่ ๕
- สรรคที่ ๖
- สรรคที่ ๗
- สรรคที่ ๘
- สรรคที่ ๙
- สรรคที่ ๑๐
- สรรคที่ ๑๑
- สรรคที่ ๑๒
- สรรคที่ ๑๓
- สรรคที่ ๑๔
- สรรคที่ ๑๕
- สรรคที่ ๑๖
- สรรคที่ ๑๗
- สรรคที่ ๑๘
- สรรคที่ ๑๙
- สรรคที่ ๒๐
- สรรคที่ ๒๑
- สรรคที่ ๒๒
- สรรคที่ ๒๓
- สรรคที่ ๒๔
- สรรคที่ ๒๕
- สรรคที่ ๒๖
- อุตตรกถา
- อธิบายในลักษณประพนธ์
- อภิธาน
ว
วัชรี, ส. ผ. [ส. วัช๎ริน] = ผู้ถือวัชร คือพระอินทร์
วณิชากร, ส. [วณิช + อากร] = พวกพ่อค้า
วัน, (๑) [ม. และ ส. วน] = ป่า, ดง, ไพร. (๒) ท. = เวลาที่มีแสงตวัน
วันบรรพ, ส. ผ. [ส. วนปร๎วัน์] = นามกัณฑ์ที่ ๓ แห่งมหาภารต เปนกัณฑ์ซึ่งกล่าวด้วยเวลาที่กษัตร์ปาณฑพออกไปอยู่ป่าเมื่อเล่นสกาแพ้ ฯ
วนิดา, ส. ผ. [ส. วนิตา] = (๑) ซึ่งสู่ขอแล้ว, ซึ่งเปนที่ปราถนา (๒) เปนที่รัก
(๓) เมีย, หญิงที่รัก (๔) ผู้หญิง (๕) สัตว์ตัวเมีย
วโนทยาน, ม. [วน + อุท๎ยาน] = สวนป่า (คือตรงกับคำอังกฤษว่า “ป๊าก”) ฯ
วัย, [ส. วยัส๎] = (๑) ความสนุก, อาหาร, เครื่องสังเวย (๒) ความแขงแรง (ทั้งในส่วนกายและใจ), กำลัง, ความไม่มีโรค ความสามารถ, ฉกรรจ์, ความเก่ง (๓) อายุ
วรวรรณินี, [ส. วรวร๎ณินี] = หญิงผิวงาม, หญิงงาม, พร้อมพริ้ง, หญิงน่ารัก ฯ
วรุณ, ส. = นามแห่งพระอาทิตย์องค์ ๑ (คือเปนลูกนางอทิติ พี่พระสุริยาทิตย์) ฯ ในพระเวทเรียกว่า “เจ้าฟ้าอันอยู่ทั่วไป” นับถือกันว่าเปนเทวราชอันมีมเหศรศักดิ์ ยิ่งกว่าเทพยเจ้าอื่น ๆ ฯ เปนผู้สร้างและบำรุงทั้งเทวโลก และมนุษยโลก มีอำนาจเรียกว่า “มายา” อันเปนสิ่งบันดาลให้รอบรู้ในสิ่งทั้งปวง ฯ พระองค์ย่อมส่งเทวทูตไปในทิศานุทิศ เพื่อจดจำบรรดากิจการที่เทวดามนุษและอมนุษประพฤติ ฯ พระองค์ย่อมรู้ละเอียดจนชั้นว่าใครกระหยิบตากี่ครั้งและเกลียดชังความเท็จทุกสถาน ฯ แม้ผู้ใดทำบาป มีกล่าวเท็จฤๅเสียสัญญาเปนต้น พระองค์ย่อมเอา พระวรุณบาศ คล้องไปลงทัณฑ์ ฤๅมิฉนั้นก็บันดาลให้มีอาการป่วยไข้ มีเปนมารเปนต้น ฯ แต่พระองค์เต็มไปด้วยเมตตากรุณา เพราะฉนั้นผู้ใดรู้สึกบาปของตนแล้ว ก็ย่อมผ่อนปรนประทานให้ ฯ ผู้ใดประพฤติดีอยู่ในทำนองคลองธรรมก็ประทานบำเหน็จบำนาญ โดยให้มีความสุขศิริสวัสดิ และช่วยให้พ้นมฤตยูได้ในกาลบางสมัย ฯ (ตามความนิยมในพระวรุณเช่นที่กล่าวมานี้ เปรียบดูก็คล้ายกับความนิยม ซึ่งพวกคฤสตังและยูท์มีอยู่ในองค์พระยโฮวา) ฯ ในพระเวท พระวรุณมิได้เปนเจ้านํ้าโดยเฉภาะ แต่มีฉายาอัน ๑ ว่า “สินธุปติ” ซึ่งในตอนหลัง ๆ มายกให้เปนน่าที่อย่างเดียว คือเปนเจ้านํ้าทั่วไป (ไทยเราเขียนเพี้ยนมาว่า “พิรุณ” ซึ่งเพี้ยนจาก “พรุณ” มาชั้น ๑ แล้ว) ฯ มหาภารตว่าพระวรุณเปนโอรสพระฤษีกรรทมพรหมบุตร์ กับว่าเปนโลกบาลผู้รักษาทิศปรัศจิม และเปนจอมนาค (เทียบ วิรูปักษ์ ในมหาสมัยสูตร) ฯ
วรางคณา, ส. = หญิงงาม
วรรษ, ส. ผ. [ส. วร๎ษ] = (๑) ฝน (๒) ปี (๓) ส่วนแห่งโลก ซึ่งตามตำหรับไสยศาสตร์โบราณแบ่งเปน ๙ วรรษ กล่าวคือ :- ๑. กุรุวรรษ ๒. หิรัณมัยวรรษ ๓. รมยกะวรรษ ๔. อิลาพฤตวรรษ ๕. หริวรรษ ๖. เกตุมาลาวรรษ ๗. ภัทราศววรรษ ๘. กินนรวรรษ และ ๙. ภารตวรรษ (= อินเดีย) ฯ
วสิษฐ, ส. = “มั่งมียิ่ง" เปนนามแห่งพระพรหมฤษีตน ๑ ซี่งมีชื่อเสียงปรากฎที่นับถือกันมาแต่ในสมัยพระไตรเพท เปนเยี่ยงแห่งพระฤษีทั้งปวง ฯ ในรามเกียรติ์ว่าเปนปุโรหิตของท้าวทศรถ ฯ
วสุ, ส. = “เลิศ,” “ดี,” ฤๅ “งาม” เปนนามศัพท์ซึ่งในชั้นต้นใช้เรียกเทวดาทั่ว ๆ ไป มีอาทิคือ พระอาทิตย์ทั้ง ๗ พระมรุตทั้ง ๑๑ พระอัศวิน พระอินทร พระอุษัส (รุ่ง) พระรุทร์ พระวายุ พระวิษณุ พระศีวะ พระกุเวรฯ ต่อมาในชั้นหลังใช้เปนนามแห่งเทวดาคณ ๑ ซึ่งมีจำนวน ๘ องค์ มีนามตามปรากฎในวิษณุปุราณะดังนี้:- ๑. อาป = นํ้า, ๒. ธ๎รุว (ธุวํ) = ดาวเหนือ ๓. โสม = ดวงเดือน, ๔. ธว ฤๅ ธร = ดิน, ๕. อนิล = ลม, ๖ อนล ฤๅ ปาวก = ไฟ, ๗. ประตยูษ (ปัจจุส์) = รุ่ง, ๘. ประภาส = แสงสว่าง ฯ พระอินทรเปนนายกแห่งวสุเทพ จี่งมีฉายาว่า “วาสพ” [ส. วาสว] ฯ
วาปี, ม. และ ส. = สระ ฤๅ ใช้ว่าบึงและหนองก็ได้
วายุ, ส. = (๑) ลม (๒) ธาตุลม (๓) เจ้าลม ฯ ในพระเวทเรียกว่า “วาตา” และเปนสหายกับพระอินทร์ ฯ ในชั้นหลังลงมามีบอกลักษณว่า ขี่รถแก้วเทียมม้าสีแดงฤๅม่วง แดงคู่ ๑ บ้าง, ๑๐๐ ตัวบ้าง, ๑๐๐๐ ตัวบ้าง และบางทีก็ขี่รถร่วมกับพระอินทร ฯ เปนโลกบาลทิศตวันตกเฉียงเหนือ (พายัพ) ฯ
วารณาวัต, [ส. วรรณาวต] = นามเมือง ๑ ซึ่งตั้งอยู่ริมฝั่งแม่นํ้าคงคาระยะทางห่างจากกรุงหัสดิน ๘ วันฯ ที่นี้เปนที่ซึ่งกษัตร์ปาณฑพไปพักอยู่ เมื่อท้าวธตรฐเนรเทศไปครั้งแรก (ดังปรากฎใน นิทานวัจนะ ข้างต้นหนังสือนี้) ฯ
วาร์ษไณย, ส. ผ. [ส. วาร๎ษ๎เณย] = นามนายสารถีแห่งพระนล
วาสุเทพ, ส. ผ. [ส. วาสุเทว] = นามแห่งพระกฤษณผู้เปนลูกพระวสุเทพ ฯ
วาหุก, ส. = นามพระนล เมื่อจำแลงตัวเปนคนค่อมเข้าไปรับใช้เปนสารถีแห่งท้าวฤตุบรรณ
วิทรรภ, ส. ผ. [ส. วิทร๎ภ] นามแห่งแคว้นอัน ๑ ในอินเดีย (เดี๋ยว นี้เรียกว่า “เพราร์” = Berar) ฯ
วิทรรภนาถ, ส. ผ. = “ที่พึ่งแห่งวิทรรภ” = ท้าวภีมราช
วิทรรภสุดา, ส. ผ. = นางทมยันตี
วิทูร, [ส. วิทุร] = (๑) รอบรู้, ฉลาด, ไหวพริบ ชำนาญ, (๒) ผู้มีความรอบรู้, คนฉลาด (๓) คนแสนกล (๔) นามแห่งอนุชาท้าวธตรฐและท้าวปาณฑุ เปนลูกพระกฤษณไทวปายนกับนางทาสีคน ๑ ซึ่งนามอัมพิกาแต่งไปให้นอนกับพระกฤษณไทวปายนแทนตัว ฯ ในมหาภารตว่าวิทูรเปนผู้มีสติปัญญาสามารถยิ่งนัก ทั้งเปนคนสุจริตซื่อตรงอย่างยิ่ง และเปนคนชอบกับกษัตร์ปาณฑุ จึ่งได้ช่วยแนะนำและบอกข่าวต่าง ๆ เสมอ เช่นเมื่อพวกโกรพคิดจะตามไปทำร้ายถึงตำบลวารณาวัต วิทูรก็เปนผู้ส่งข่าวไปบอก จึ่งไม่เป็นอันตราย ฯ
วิทยุ, [ส. วิท๎ยุ, ม. วิชชุ] = ไฟฟ้า, ฟ้าแลบ ฯ
วินทุ, ส. = (๑) ประสบ, หาได้, ได้มา (๒) รอบรู้, ชำนิชำนาญ
วินธัย, ส. ผ. [ส. วิน์ธ๎ย] = นามเขาเทือกยาว อยู่ในกลางประเทศอินเดีย กั้นมัธยมเทศ (ฮินดูสตาน) จากทักษิณเทศ (ทักขัน = Dekhan) ฯ ในมนูสํหิตาว่าเปนเขาชายแดนใต้ที่สุดแห่งมัธยะเทศ ฯ (เขานี้เปนเขาใหญ่ในแผ่นดินอินเดียใหม่นี้ก็มี) ฯ
วิปราจารย์, ส. = พราหมณ์ ฯ จากมูล “วิป์” กระเทือน, เขย่า, สั่น, จึ่งมีศัพท์งอกจากนี้ว่า “วิปะ” ผู้ตรัสรู้ (คือเทวดาปลุกให้ตื่นแล้ว) และ “วิป๎ร” ตื่นแล้ว, กระเทือนแล้ว คือคนรู้จริงเห็นจริง เปนศัพท์ที่ใช้เรียกพราหมณ์ที่เปนนักบวช และที่รอบรู้ในไสยศาสตร์ ฯ
วิภีตก, ส. = ต้นสมอพิเภตก์
วิมล, ส. (อิตถี. วิมลา) = หามัวหมองมิได้, ผ่อง, สอาด, กระจ่าง, ไม่ด่าง, ขาว.
วิโมกษ์, ส. = (๑) ปล่อย, ให้รอดไป, ให้พ้น (๒) รอด, หลุด (๓) แก้ให้พ้นจากความทรมาน (๔) สละ (ทรัพย์) - (๕) ยิงไป ฯ
วิโยค ส. = พรากกัน, ร้างกัน, ไกลกัน
วิริย, ม. [ส. วีร๎ย] = (๑) ความเปนผู้ชาย, ความองอาจ, กำลัง, อำนาจ, ความหมั่น (๒) ความแกล้วกล้า (๓) กำลังชาย ฯ ไทยเรามา เขียนแผลงว่า “เพียร” มูลมาจาก “วีร” (ดูต่อนี้ไป) ฯ
วิลาส, ส. = (๑) สว่าง, กระจ่าง, แจ่ม (๒) ดีดดิ้นทำสวย, กรีดกราย (สำหรับกล่าวถึงผู้หญิง), (๓) คะนอง. สนุก (สำหรับพูดถึงผู้ชาย) ฯ วิลาสกะ = ฟ้อนรำ ฯ
วิไลย, = งาม ฯ คำนี้ที่นำมาลงในที่นี้เพราะแปลก ที่ดูหน้าตาสมจะเปนมคธฤๅสันสกฤต แต่ที่แท้ไม่ใช่ทั้ง ๒ ภาษา ได้ลองค้นดูในอภิธานโมเนียร์วิลเลียมส์ พบคำว่า “วิลัย” มีอยู่แต่แปลว่า “ละลาย, เปนนํ้าไป หายไป, แตก” คือคล้ายคำ “ประลัย” นั้นเอง เพราะฉนั้นต้องเข้าใจว่า คำ “วิไลย” ซึ่งแปลว่า “งาม” นี้ เปนภาษาไทยเราเอง ฤๅไทยเราจะได้มาจากแห่งใดอีกต่อ ๑ หาปรากฎไม่ ฯ
วิศาลักษ์, ส. ผ. [ส. วิศาลาก์ษ] = “ตาโต” เปนคำชมคนงาม
วิศรุต, [ส. วิศ๎รุต] = (๑) ขึ้นชื่อฦๅไกล, มีผู้รู้จักมาก, มีชื่อเสียง (๒) ขึ้นชื่อว่าเช่นนั้น ๆ เช่น “นล วิศ๎รุโต” = “ชื่อว่าพระนล” ดังนี้เปนตัวอย่าง ฯ ที่ไทยเรามาเขียนว่า “วิสูตร์” นั้น ผิดทั้งทางสันสกฤตและทางมคธ เพราะมคธก็เขียน “วิส์สุโต” ดังนี้ การเติมตัว “ร” การันต์เปนอันหามูลมิได้ ฯ
วีระ, ส. = คนกล้าฤๅองอาจ มักใช้เปนคำเรียกกษัตร์ ฯ
วีระประชายินี, ส. = “ผู้ให้กำเนิดแก่คนกล้า” คือแม่นักรบ ฯ
วีระพาหุ, ส. = นามแห่งราชาผู้ครองนครเจที เปนพระสามีแห่งนางพระยา ผู้เปนน้านางทมยันตี และเปนพระบิดาแห่งท้าวสุพาหุ ฯ
วีระเสน, ส. = นามแห่งราชาผู้ครองนครนิษัธ และเปนพระบิดาพระนล ฯ
วุฒิ, ม. ผ. [ม. วุฑ๎ฒิ ส. พุท์ธิ] = ความสามารถที่จะรู้ตื้นฦกหนักเบาแห่งกิจการ มีความคิด, เล็งเห็นเหตุและผล, รู้จักกิจการ ฯ มาจากมูล, “วุฑ์ฒ” [ส. พุท์ธ] = ผู้ตื่น, ผู้รอบรู้, ฉลาด, และแปลต่อไปได้ว่า “ผู้หลักผู้ใหญ่” ฯ
เวท, ส. = (๑) ความรู้, ความรู้แท้จริง (๒) คัมภีร์แสดงลัทธิไสยศาสตร์ดั้งเดิม ในชั้นต้นมี ๓ คัมภีร์ จึ่งได้ชื่อว่า “ไตรเวท” ฤๅ “ไตรเพท” (เทียบกับพระไตรปิฎกแห่งพระพุทธศาสนา) พระไตรเพทนี้ มีนามปรากฎว่า:-
๑. พระฤคเวท
๒. พระยัชุรเวท
๓. พระสามะเวท
ภายหลังมีเติมขึ้นอีกคัมภีร์ ๑ ชื่อพระอถรรพเวท (ตำหรับอาถรรพ์)
นอกจากนี้มีอุปเวทอีก ๔ คือ:-
๑. อายุรเวท = ตำราแพทย์
๒. คานธรรพเวท = ตำราพิณพาทย์และฟ้อนรำ
๓. ธนุรเวท = ตำรายิงปืนและรบ
๔. สถาปัตยเวท = ตำราก่อสร้าง
(คำอธิบายเรื่องพระเวท มีอยู่โดยพิสดารในอภิธานท้ายเรื่อง “ศกุนตลา” แล้ว จงดูที่นั้นเถิด) ฯ
เวที, [ส. เวทิ] = ผู้รอบรู้, ผู้สามารถสั่งสอนวิชา ฯ
ไวทรรภี ส. ผ. [ส. ไวทร๎ภี] = “นางชาววิทรรภ” = นางทมยันตี ฯ
ไวศรวัณ, ส. ผ. [ส. ไวศ๎รวณ, ม. เวส์สวณ] = ท้าวกุเวร ฯ
วยาส, [ส. ว๎ยาส] = ผู้รจนาร้อยกรองพระเวท ฯ โดยมากถ้าพูดถึง วยาสเปล่า ๆ ย่อมเข้าใจว่ามุ่งพระกฤษณไทวปายน ฯ