- คำนำ
- พระราชนิพนธ์คำนำ
- นมัสกฤติกถา
- อารัมภกถา
- นิทานวัจนะ
- นโลปาข๎ยานัม์
- สรรคที่ ๑
- สรรคที่ ๒
- สรรคที่ ๓
- สรรคที่ ๔
- สรรคที่ ๕
- สรรคที่ ๖
- สรรคที่ ๗
- สรรคที่ ๘
- สรรคที่ ๙
- สรรคที่ ๑๐
- สรรคที่ ๑๑
- สรรคที่ ๑๒
- สรรคที่ ๑๓
- สรรคที่ ๑๔
- สรรคที่ ๑๕
- สรรคที่ ๑๖
- สรรคที่ ๑๗
- สรรคที่ ๑๘
- สรรคที่ ๑๙
- สรรคที่ ๒๐
- สรรคที่ ๒๑
- สรรคที่ ๒๒
- สรรคที่ ๒๓
- สรรคที่ ๒๔
- สรรคที่ ๒๕
- สรรคที่ ๒๖
- อุตตรกถา
- อธิบายในลักษณประพนธ์
- อภิธาน
ภ
ภคินี, ม. และ ส. = พี่ฤๅน้องสาว
ภรรดร, ภรรดา, [ส. ภ๎รต๎ฤ] = ผัว
ภาควัตปุราณ, ส. = นามแห่งคัมภีร์ที่ ๕ ในพวกปุราณะทั้งหลาย, เปนหนังสือซึ่งกล่าวถึงพระนารายณ์และพระกฤษณ โดยพิสดาร ฯ ในเรื่องพระนลนี้ มีเปนคำสรรเสริญพระนลอยู่แห่ง ๑ (สรรคที่ ๑๒ ตอนนางทมยันตีเดินดง) ว่าพระนลเปนผู้รอบรู้ในพระเวททั้ง ๔ และรู้ดีใน “ปัญจมาขยาน” คือภาควัตถุปุราณะนี้ด้วยดังนี้ แท้จริงนับว่าคลาดเคลื่อนจากสมัย คือสมัยกาลแห่งเรื่องพระนลนั้น เปนเวลาก่อนอายุแห่งหนังสือปุราณะทั้งปวง ซึ่งพึ่งจะได้มาแต่งกันขึ้นภายหลังพุทธกาลหลายปี แต่พราหมณ์ผู้ที่รจนาเรื่องพระนล อยากจะหลอกให้คนนิยมเชื่อว่าหนังสือภาควัตถุปุราณะเปนหนังสือเก่าแก่มากจริง จึ่งได้เกณฑ์ให้พระนลได้ศึกษาแล้วด้วย ฯ
ภาคิไนยา, ส. ผ. [ส. ภาคิเนยา] = หลานสาว ผู้เปนลูกสาวของภคินี ฯ หลานชาย ผู้เปนลูกของภคินีเรียกว่า “ภาคิไนย” (จงดูที่ หลาน ด้วย)
ภางคาสุรี ส. = เปนฉายาแห่งท้าวฤตุบรรณ จอมอยุธยา
ภาณุมาษ, ส. = แสงทอง ฯ แต่ไทยเราใช้เรียกดวงพระอาทิตย์ ซึ่งในภาษาสันสกฤตเปน “ภาณุมัต” และถ้าจะแผลงออกมาให้ถูกทางก็เปน “ภาณุมาน” ได้ (เช่น “หนุมัต” เปน “หนุมาน” ฉนั้น) ฯ
ภิน, ส. ผ. [ส. ภิน์น] = ผ่า, ทะลาย, เจาะ, กระจาย
ภีมะ, ส. = น่ากลัว, น่าสยอน, เก่งมาก ฯ เปนนามกษัตร์ปาณฑพองค์ที่ ๒ (ดูที่ภีมะเสนต่อไป) กับเปนนามมหาราชผู้ครองแคว้นวิทรรภ และเปนพระบิดาแห่งนางทมยันตี ฯ
ภีมะบุตรี, ส. ผ. = นางทมยันตี
ภีมะราช, ส. = ท้าวผู้ครองแคว้นวิทรรภ
ภีมะสุดา, ส. ผ. = นางทมยันตี
ภีมะเสน, ส. = กษัตร์ปาณฑพองค์ที่ ๒ เปนโอรสนางกุนตีกับพระพาย (ดูที่กุนตีและปาณฑพ) เปนคนมีนิไสยดุร้ายยิ่งกว่าคนในพี่น้องทั้ง ๕ แต่มีคุณวิเศษที่จงรักภักตีต่อท้าวยุธิษเฐียรผู้เปนพระเชษฐานั้นอย่างยิ่ง เปนคู่วิวาทโดยเฉภาะกับพระทุรโยธน์ เพราะชอบใช้คทาด้วยกัน ฯ
ภีรุ, ส. = (๑) ขี้กลัว, หดหู่, ขลาด (๒) ขวัญอ่อน (ใช้สำหรับพูดกับผู้หญิง อย่างที่เราพูดว่า “เจ้าขวัญอ่อน”) ฯ
ภุชงค์, ส. ผ. [ส. ภุชค, ฤๅ ภุชํค] เลื้อยไป คืองู ฯ
ภูตสักขี, ม. [ส. ภูตสาก์ษิน์] = “ผู้เปนพยานแห่งสัตว์ทั้งหลาย” คือเปนผู้เล็งเห็นบรรดากิจการแห่งสัตว์และมนุษ ฯ
ภูษณะ, ส. = การประดับฤๅตกแต่ง ฯ มูลเดียวกับภูษา = เครื่องประดับ
ภฤคู [ส. ภ๎ฤคุ,] = นามแห่งพระฤษีตน ๑ ซึ่งยกย่องกันว่าเปนประชาบดีตน ๑ และเปนตน ๑ ในหมู่ฤษี ๗ ตนซึ่งเปนดาวจรเข้
เภทุบาย, ส. ผ. [ส. เภท + อุปาย] = ความคิดทำลายล้างผลาญ
เภษัช ส. ฤๅ เภสัช, ม. = ยาแก้โรคฤๅแก้เคราะห์ร้ายฯ ใช้ว่า “ภิษัช” ก็ได้ ฯ
ไภมี ส. = “ลูกสาวแห่งภีมะ" คือนางทมยันตี
โภควดี, ส. ผ. [ส. โภควติ] = นามเมืองหลวงแห่งพญาวาสุกีนาคราช ฯ คำว่า “โภค” แปลได้เปน ๒ นัย คือนัย ๑ ว่า “มั่งคั่ง” อีกนัย ๑ ว่า “ขดแห่งงู” ฯ
ภราดร, ส. ผ. [ส. ภ๎ราต๎ร] ฤๅ ภราดา, ส. ผ. [ส. ภ๎ราต๎ฤ] = พี่ชายฤๅน้องชาย ฯ ในภาษาไทยเราบางทีก็เขียนตามภาษามคธว่า “ภาตา” ฤๅแผลงเปน “ภาดา” บ้าง ฯ
ภราตรีย์ [ส. ภ๎ราต๎รีย] = หลานชายผู้เปนลูกของภราดรฯ อีกนัย ๑ ใช้ว่า “ภราไตรย” [ส. ภ๎ราเต๎รย] ก็ได้ (จงดูที่ หลาน อีกด้วย) ฯ