- คำนำ
- พระราชนิพนธ์คำนำ
- นมัสกฤติกถา
- อารัมภกถา
- นิทานวัจนะ
- นโลปาข๎ยานัม์
- สรรคที่ ๑
- สรรคที่ ๒
- สรรคที่ ๓
- สรรคที่ ๔
- สรรคที่ ๕
- สรรคที่ ๖
- สรรคที่ ๗
- สรรคที่ ๘
- สรรคที่ ๙
- สรรคที่ ๑๐
- สรรคที่ ๑๑
- สรรคที่ ๑๒
- สรรคที่ ๑๓
- สรรคที่ ๑๔
- สรรคที่ ๑๕
- สรรคที่ ๑๖
- สรรคที่ ๑๗
- สรรคที่ ๑๘
- สรรคที่ ๑๙
- สรรคที่ ๒๐
- สรรคที่ ๒๑
- สรรคที่ ๒๒
- สรรคที่ ๒๓
- สรรคที่ ๒๔
- สรรคที่ ๒๕
- สรรคที่ ๒๖
- อุตตรกถา
- อธิบายในลักษณประพนธ์
- อภิธาน
อธิบายในลักษณประพนธ์
ในการประพนธ์เรื่องพระนลคำหลวงนี้ ข้าพเจ้าได้ตั้งใจใช้ลักษณประพนธ์ต่าง ๆ ตามที่ใช้อยู่โดยมากเพื่อแต่งหนังสือไทย ท่านผู้อ่านคงจะได้สังเกตเห็นแล้วว่า บางอย่างก็มีอยู่ข้างจะบริบูรณบางอย่างก็บกพร่อง จึ่งขออธิบายไว้ว่าทั้งนี้เปนไปโดยความตั้งใจให้เปนเช่นนั้น ไม่ใช่เพราะหลงลืม ดังจะได้อธิบายต่อไปนี้
๑. โคลง มีทุกชนิดที่หาตำราได้ และมีทั้งที่จำกัดเอกโทและไม่จำกัด การที่มีโคลงครบบริบูรณทุกชนิดเช่นนี้ เพราะแท้จริงเปนแบบประพนธ์อันเหมาะแก่ภาษาไทย อาจที่จะแต่งให้เพราะได้โดยไม่ยากเย็นปานใดนัก
๒. กลอน มีแทบทุกชนิดที่จะต้องใช้ในการแต่งหนังสือโดยมาก ขาดแต่สักระวากับดอกสร้อย ซึ่งแท้จริงก็คล้ายกลอนลครฤๅเสภานั้นเอง ผิดแต่มีจำกัดว่าบท ๑ มีเพียง ๘ บาท (ฤๅเรียกตามภาษากลอนลครว่า “๔ คำ”) เท่านั้น และสักระวาต้องเริ่มว่า “สักระวา ฯ ล ฯ” และในบาทที่ ๘ ต้องลงเอย ส่วนดอกสร้อยต้องเริ่มว่า “ดอกเอยดอกสร้อย งามแฉล้มแช่มช้อยเหมือนเสกสรร” ดังนี้เปนตัวอย่าง และในบาทที่ ๘ ก็ลงเอยเหมือนกัน แต่ทั้งสักระวาและดอกสร้อยจะนำมาลงไว้ในเรื่องพระนลนี้ก็หาที่เหมาะไม่ได้จึ่งงดไว้
๓. กาพย์ มีทุกชนิดที่ใช้แต่งหนังสือไทย คือกาพย์ ๑๑ ฉบงง (๑๖) และสุรางคณา (๒๘)
๔. ฉันท์ ได้เลือกเอาแต่เฉภาะที่แต่งได้โดยง่ายและสดวกแก่ภาษาไทย ซึ่งหาคำลหุได้ยากนัก จึงต้องเลือกเอาฉันท์ที่มีลหุน้อย ๆ คือ อินทรวิเชียร (๑๑) ภุชงคประยาต (๑๒) และวสันตดิลก (๑๔) นอกจากนี้ก็มีที่แต่งยาก ๆ ซึ่งถึงแม้จินตกะวีผู้ชำนาญในทางแต่งฉันท์ก็แต่งได้แต่ตอนละน้อย ๆ ต้องจัดเปนฉันท์วิสามัญ ซึ่งนาน ๆ จะมีที่ใช้คราว ๑ ทั้งถึงแม้เมื่อแต่งขึ้นแล้วก็ไม่ใคร่เพราะด้วย
อนึ่งในการแต่งหนังสือเปนคำโคลงฉันท์กาพย์กลอน ตามแบบเขามักบอกนามลักษณประพนธ์ไว้ที่ต้นบท แต่ในหนังสือนี้ข้าพเจ้ามิได้บอกไว้ เพี่อจะตัดความรุงรังลงเสียส่วน ๑ แต่เพี่อให้เปนประโยชน์แก่ผู้ศึกษา จึ่งได้เก็บเอานามลักษณประพนธ์มารวมลำดับไว้ในภาคผนวกนี้แห่งเดียว ดังต่อไปนี้
ลำดับลักษณประพนธ์
นมัสกฤติกถา | โคลง ๔ |
อารัมภกถา | โคลง ๔ |
นิทานวัจนะ | ร่าย กับ โคลงวิชชุมาลี |
สรรคที่ ๑ | ร่าย กับ โคลง ๔ สลับกันตลอด |
สรรคที่ ๒ | ร่าย “ตั้งแต่กาลเมื่อนั้น ฯ ล ฯ” โคลง ๓ “พระมุนีนารท ฯ ล ฯ” โคลง ๒ “จอมแมนฟังพรตเจ้า ฯ ล ฯ” ร่าย “ปัถวีบาลทั้งผอง ฯ ล ฯ” โคลง ๓ “ฟังคำถามศักรินทร์ ฯ ล ฯ” ฉบงง “ดูก่อนท่านท้าวมัฆวา ฯ ล ฯ” ร่าย “พอมุนีนารท ฯ ล ฯ” โคลงวิชชุมาลี “ปางนั้นนลราชเจ้า ฯ ล ฯ” ร่าย “ฝ่ายเทวาทั้งสี่ ฯ ล ฯ” โคลงวิชชุมาลี “ดูก่อนขัตติยผู้ ฯ ล ฯ” |
สรรคที่ ๓ | ร่าย “พระนลประนมวันทา ฯ ล ฯ” โคลงวิชชุมาลี “ข้าแต่เทวะไท้ ฯ ล ฯ” โคลง ๓ “องค์มัฆวานฟังปุจฉา ฯ ล ฯ” โคลง ๔ “ทั้งสี่คือเทพไท้ ฯ ล ฯ” โคลง ๓ “ฟังบรรหารศักรินทร์ ฯ ล ฯ” โคลงวิชชุมาลี “ทั้งสี่มีเจตน์ล้วน ฯ ล ฯ” โคลง ๓ “วัชรีตอบคำขัด ฯ ล ฯ” โคลง ๔ “ฟังความดำรัสไท้ ฯ ล ฯ” ฉบงง “ฝ่ายว่าพระนลทรงธรรม์ ฯ ล ฯ” ร่าย “ฝ่ายฝูงเยาวนารี ฯ ล ฯ” โคลง ๓ “โฉมยงองค์สุดา ฯ ล ฯ” โคลง ๔ “ดูราท่านผู้เอก ฯ ล ฯ” โคลง ๒ “ทรงธรรม์นลราชเจ้า ฯ ล ฯ” โคลงวิชชุมาลี “นามกรเรานี้ชื่อ ฯ ล ฯ” |
สรรคที่ ๔ | กาพย์ ๑๑ “โฉมยงนิ่มนงคราญ ฯ ล ฯ” โคลง ๔ “ทมยันตีแน่งน้อย ฯ ล ฯ” โคลง ๓ “พิศพนิดาโฉมศรี ฯ ล ฯ” โคลงวิชชุมาลี “จนใจแห่งพี่แล้ว ฯ ล ฯ” โคลง ๓ “ทมยันตีชลนา ฯ ล ฯ” โคลง ๔ “หม่อมฉันเห็นแล้วซึ่ง ฯ ล ฯ” โคลง ๒ “ฟังเทวีวิทรรภแล้ว ฯ ล ฯ” โคลง ๔ “เธอไปเห็นหล่อนแล้ว ฯ ล ฯ” ฉบงง “ตูข้ารับใช้เทวัญ ฯ ล ฯ” |
สรรคที่ ๕ | ร่าย “ครั้นคำณวนถึงกาล ฯ ล ฯ” โคลง ๓ “ทรามไวยนิ่งวินิจ ฯ ล ฯ” โคลง ๒ “ด้วยวาจามนัสพร้อม ฯ ล ฯ” โคลง ๔ “ฟังสุนทรถ้อยแห่ง ฯ ล ฯ” ร่าย “ฝ่ายสี่ไท้เทวินทร์ ฯ ล ฯ” ฉบงง “ครั้นเห็นภีมราชสุดา ฯ ล ฯ” โคลงวิชชุมาลี “ภูบาลอื่น ๆ ผู้ ฯ ล ฯ” โคลง ๒ “ภูธรไนษัธไท้ ฯ ล ฯ” โคลง ๔ “แต่วันบุญโศลกเจ้า ฯ ล ฯ&rdquo |
สรรคที่ ๖ | ร่าย “ครั้นเยาวมาลย์ไภมี ฯ ล ฯ” สุรางคณา “ยามกลีโกรธา ฯ ล ฯ” ฉบงง “ครั้นเห็นเทเวศร์มเหศร์ไกร ฯลฯ” |
สรรคที่ ๗ | กลอนร่าย (อย่างเทศมหาชาติ) |
สรรคที่ ๘ | ร่าย “ครานั้นนางทมยันตี ฯ ล ฯ” ฉบงง ครั้นเห็นวาร์ษไณยสารถี ฯ ล ฯ” สุรางคณา “ฟังพระเสาวนี ฯ ล ฯ” |
สรรคที่ ๙ | ร่าย “เมื่อวาร์ษไณยสารถี ฯ ล ฯ” โคลงวิชชุมาลี “ศรีเอยลูกบาตตั้ง ฯ ล ฯ” โคลง ๓ “ภูมินทร์นลราช ฯ ล ฯ” โคลง ๒ “นฤมลแสนโศกสร้อย ฯ ล ฯ” โคลง ๔ “อ้าใจเทวศเพี้ยง ฯ ล ฯ” โคลง ๒ “ฟังนารีรัตน์เว้า ฯ ล ฯ” โคลงวิชชุมาลี “ทมยันตีแน่งน้อย ฯ ล ฯ” โคลง ๒ “ทรามเชยจึ่งนอบเกล้า ฯ ล ฯ” โคลง ๔ “แม้มหาราชเจ้า ฯ ล ฯ” |
สรรคที่ ๑๐ | โคลง ๒ “ภูบาลสดับถ้อย ฯ ล ฯ” โคลงวิชชุมาลี “พระบิดาทรงราชย์เรื้อง ฯ ล ฯ” โคลง ๒ “ภูธรนลราชเจ้า ฯ ล ฯ” ร่าย “ปางเมื่อองค์สองกษัตร์ ฯ ล ฯ” โคลงวิชชุมาลี “แม้กูทำกิจนั้น ฯ ล ฯ” ร่าย “พระพลางคิดเช่นนี้ ฯ ล ฯ” โคลง ๓ “ราชาแม้เคลิ้มจิต ฯ ล ฯ” โคลงวิชชุมาลี “โฉมนวลนาเรศร์แก้ว ฯ ล ฯ” ร่าย “จอมกษัตร์ตรัสเช่นนั้น ฯ ล ฯ” โคลงกลบท “ราชาไปพ้นกลับ ฯ ล ฯ” ร่าย “งวยงงเปนทุกข์ใหญ่ ฯ ล ฯ” โคลงกลบท “กลีผีร้ายคร่าห์ ฯ ล ฯ” |
สรรคที่ ๑๑ | สุรางคณา กับ ฉบงง สลับกันไปจนตลอดสรรค์ (คือดำเนินเรื่องเปนสุรางคณา คำพูดเปนฉบงง) |
สรรคที่ ๑๒ | กาพย์ห่อโคลง (อย่างเห่เรือ) |
สรรคที่ ๑๓ | ร่าย “ฝ่ายอรไทยผู้งามสรรพ ฯ ล ฯ” กาพย์ห่อโคลง “เดินมาวันหนึ่งไซ้ร ฯ ล ฯ” ร่าย “ฝ่ายนิกรพณิคชน ฯ ล ฯ” ฉบงง “โอ้โหกรรมเอยกรรมมี ฯ ล ฯ” ร่าย “ปางเมื่อกองพณิชกร ฯ ล ฯ” วสันตดิลกฉันท์ ๑๔ “โอ้โอ๋กระไร ฯ ล ฯ” ฉบงง “ฝ่ายพวกผู้รอดชีวี ฯ ล ฯ” วสันตดิลก “ฝ่ายโฉมวิทรรภ ฯ ล ฯ” สุรางคณา “จึ่งเอกองค์อร ฯ ล ฯ” ฉบงง “ยามนางประเวศเวียงไชย ฯ ล ฯ” อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ “เมื่อนั้นพะเอินองค์ ฯ ล ฯ” ฉบงง “นางนมรับราชเสาวนี ฯ ล ฯ” อินทรวิเชียร “อ้าแม่อนาถใจ ฯ ล ฯ” วสันตดิลก “ครานั้นพระนาง ฯ ล ฯ” อินทรวิเชียร “สิ้นวาจะทรามเสน่ห์ ฯ ล ฯ” วสันตดิลก “ฟังสาระรส ฯ ล ฯ” อินทรวิเชียร “ฟังวาทะไพเราะ ฯ ล ฯ” วสันตดิลก “นันทาสดับ ฯ ล ฯ” |
สรรคที่ ๑๔ | สุรางคณา “ฝ่ายนลบดี ฯ ล ฯ” ฉบงง “โอย ๆ เร็วเถิดพระนล ฯ ล ฯ” สุรางคณา “ที่กลางเพลิงกาจ ฯ ล ฯ” ภุชงคประยาตฉันท์ ๑๒ “ดนูนี้นะกรรโก ฯ ล ฯ” สุรางคณา “พอขาดวาจา ฯ ล ฯ” ภุชงคประยาต “พระจงค่อยลิลาศไป ฯ ล ฯ” สุรางคณา “ครั้นเธอย่างไป ฯ ล ฯ” ภุชงคประยาต “พระรูปทรงธแผกผิด ฯ ล ฯ” สุรางคณา “ดูกรทรงภพ ฯ ล ฯ” |
สรรคที่ ๑๕ | ในสรรคนี้ เล่นเปนกระบวนฉันท์ต่างคณกับฉบงง สลับกันไป เลียนแบบแต่งลครสันสกฤตชนิดที่เรียกว่า “นาฏะกะ” ซึ่งกำหนดให้ใช้คณฉันท์ให้เหมาะกับตัวบุคคลผู้พูด ในที่นี้จึงใช้ดังนี้ คือ (๑) ดำเนินเรื่อง ใช้สุรางคณา (๒) คำตรัสพระนล ซึ่งบัดนี้แปลงเป็นไพร่จึ่งใช้ฉบงงเปนพื้น แต่เมื่อเผลอตัวก็พูดเปนวสันตดิลกไปบ้างตามอย่างเจ้านาย (๓) คำตรัสท้าวฤตุบรรณ ใช้อินทรวิเชียร (๔) คำพูดนายชีวลสารถี ใช้ฉบงง |
สรรคที่ ๑๖ | [หมายเหตุ—โคลงในสรรคนี้ และในสรรคต่อ ๆ ไป แต่งอย่างแบบโบราณ คือไม่จำกัดเอกโทจะมีฤๅไม่มีแล้วแต่จะเหมาะ] ร่าย “ฝ่ายจุมพลภีมราช ฯ ล ฯ” โคลงวิชชุมาลี “สูจงไปเที่ยวค้น ฯ ล ฯ” ร่าย “ปวงพราหมณ์ได้ฟังสาร ฯ ล ฯ” โคลงมหาวิชชุมาลี “เราไซ้รเห็นรูปเจ้า ฯ ล ฯ” ร่าย “ครั้นธชีไตร่ตรอง ฯ ล ฯ” โคลงจิตรลดา “ข้าแต่ไวทรรภราช ฯ ล ฯ” ร่าย “ดูก่อนยุธิษฐิร ฯ ล ฯ” โคลงมหาจิตรลดา “อรไทยผู้แน่งน้อย ฯ ล ฯ” โคลง ๓ ดั้น “ฝ่ายสุเทพทวิช ฯ ล ฯ” |
สรรคที่ ๑๗ | โคลงนันทะทายี “ในวิทรรภธรรมราชเจ้า ฯ ล ฯ” ร่าย “เทวีได้ฟังสาร ฯ ล ฯ” โคลงมหานันทะทายี “อ้าศรีศุภลักษณ์เลิศ ฯ ล ฯ” โคลง ๓ ดั้น “ฟังสารราชินี ฯ ล ฯ” โคลงสินธุมาลี “กาลเมื่อใครบ่รู้ ฯ ล ฯ” โคลง ๓ ดั้น “ฟังหลานผู้ยาใจ ฯ ล ฯ” ร่าย “ดังนั้นพอเวลา ฯ ล ฯ” โคลง ๓ ดั้น “นางเนาในราชฐาน ฯ ล ฯ” โคลงสินธุมาลี “อ้าพระบังเกิดเกล้า ฯ ล ฯ” กลอนร่าย “ฟังยุบลรำพรรณ ฯ ล ฯ” สุรางคณา “ปางนั้นเทวี ฯ ล ฯ” กลอนเพลงยาว “โอ้นักสกาของข้าเอ๋ย ฯ ล ฯ” สุรางคณา “อีกหนึ่งพึงร่ำ ฯ ล ฯ” กลอนเพลงยาว “อันเมียดีควรที่จะเคียงผัว ฯ ล ฯ” สุรางคณา “เมื่อยามกล่าวกลอน ฯ ล ฯ” ฉบงง “ปางเมื่อไภมีทรามไวย ฯ ล ฯ” |
สรรคที่ ๑๘ | ร่าย กับ กลอนเพลงยาว สลับกัน |
สรรคที่ ๑๙ | ร่าย “ได้ทรงสดับสุนทร ฯ ล ฯ” โคลงมหาสินธุมาลี “ดูราวาหุกยอด ฯ ล ฯ” ร่าย “ดูก่อนภูบาลทรงยศ ฯ ล ฯ” โคลงจิตรลดา “ฉันใดนาเรศร์แก้ว ฯ ล ฯ” โคลง ๓ ดั้น “ตรองดูใจระบบทุกข์ ฯ ล ฯ” โคลงจิตรลดา “ข้าแต่พระนั่งเกล้า ฯ ล ฯ” ร่าย “ปางนั้นไซ้รเสวี ฯ ล ฯ” โคลงมหาจิตรลดา “ฉันใดวาหุกผู้ ฯ ล ฯ” ร่าย “ครานั้นองค์พระนล ฯ ล ฯ” โคลงนันทะทายี “นี่ใครขับรถแม้น ฯ ล ฯ” ร่าย “ย้อนแย้งแยกย้ายยัก ฯ ล ฯ” |
สรรคที่ ๒๐ | พากย์ดึกดำบรรพ์ (ฉบงง) |
สรรคที่ ๒๑ | กลอนบทลคร |
สรรคที่ ๒๒ | กลอนบทลคร |
สรรคที่ ๒๓ | กลอนเสภา |
สรรคที่ ๒๔ | กลอนเสภา |
สรรคที่ ๒๕ | พากย์ดึกดำบรรพ์ (๑๑) |
สรรค์ที่ ๒๖ | พากยดึกดำบรรพ์ (ฉบงงและ ๑๑ สลับกัน) |
อุตตรกถา | วสันตดิลก กับ อินทรวิเชียรฉันท์ (สลับกัน) |