- คำนำ
- พระราชนิพนธ์คำนำ
- นมัสกฤติกถา
- อารัมภกถา
- นิทานวัจนะ
- นโลปาข๎ยานัม์
- สรรคที่ ๑
- สรรคที่ ๒
- สรรคที่ ๓
- สรรคที่ ๔
- สรรคที่ ๕
- สรรคที่ ๖
- สรรคที่ ๗
- สรรคที่ ๘
- สรรคที่ ๙
- สรรคที่ ๑๐
- สรรคที่ ๑๑
- สรรคที่ ๑๒
- สรรคที่ ๑๓
- สรรคที่ ๑๔
- สรรคที่ ๑๕
- สรรคที่ ๑๖
- สรรคที่ ๑๗
- สรรคที่ ๑๘
- สรรคที่ ๑๙
- สรรคที่ ๒๐
- สรรคที่ ๒๑
- สรรคที่ ๒๒
- สรรคที่ ๒๓
- สรรคที่ ๒๔
- สรรคที่ ๒๕
- สรรคที่ ๒๖
- อุตตรกถา
- อธิบายในลักษณประพนธ์
- อภิธาน
ท
ทักษิณ, ส. = เบื้องขวา ฯ ทิศใต้ที่เรียกว่า “ทักษิณทิศ” = ทิศเบื้องขวา คือเมื่อยืนหันหน้าสู่ทิศตวันออก (ซึ่งเรียกว่า “ทิศเบื้องหน้า” นั้น) ทิศใต้ย่อมอยู่เบื้องขวา ฯ อนึ่ง “ทักษิณ” แปลเหยียดว่า “ดี” ฯ
ทักษิณา, ส. = ของซึ่งให้แด่พราหมณในงานมงคล ตรงกับไทยธรรมที่ถวายพระภิกษุในงานมงคลนั้นแล
ทัณฑ์, ส = (๑) ไม้, หวาย, ไม้เท้า, พลอง, ตะบอง (๒) ไม้พิธี ซึ่งพราหมณ์และฤษีถือ บางทีก็เรียกว่า “พรหมทัณฑ์” (๓) ด้าม (๔) มาตรา เครื่องวัดยาว ๔ หัสต์ (คือ ๔ ชั่วกว้างแห่งมือ) (๕) ธารพระกร อันเปนเครื่องหมายแห่งผู้ทรงอำนาจและแผ่อาณาเหนือนิกรชน (๖) การใช้กำลังรุนแรง, การกำราบ (๗) อำนาจเหนือผู้ใดผู้หนึ่ง (๘) ไม้อาญาสิทธิ์ (๙) การลงโทษตามกำหนดกฎหมาย ฯ
ทัณฑธร, ส. = “ผู้ถือไม้” ฤๅ “ผู้มีอำนาจลงโทษ” เปนฉายาเรียกพระยม ฯ
ทับ ท. = (๑) กระท่อม, เรือนย่อม ๆ (๒) อยู่เหนือ, อยู่บน, ซ้อน (๓) ชั้น, เช่น “เหล้าสามทับ” = เหล้าที่กลั่นสามชั้น
ทม, ส. = (๑) เรือน, บ้าน (๒) กำราบ, ข่ม เช่น “อริน์ทม” = ข่มข้าศึกให้แพ้ “ปุรุษทม๎ย” = ข่มคนชั่วให้กลับตัวเปนดีดังนี้เปนต้น (๓) นามมหาฤษีตน ๑ ซึ่งได้ไปยังเมืองวิทรรภ์ และให้ลูกแก่ท้าวภีมราช (๔) นามแห่งโอรสองค์ ๑ แห่งท้าวภีมราช ฯ
ทมน. ส. (๑) ข่ม, ทรมาน, ฝึก เช่น “อัศ๎วทมน” = ฝึกม้า (๒) นามแห่งโอรสองค์ ๑ แห่งท้าวภีมราช
ทมยันตี, ส. = “ข่มชาย” (คือให้ชายยำเกรงเพื่อเคารพในธรรมะแห่งนาง) เปนนามแห่งธิดาท้าวภีมราช ผู้ได้เปนมเหษีพระนล ฯ
ทศาร์ณ [ส, ทศาร๎ณ] = นามแห่งแคว้นอัน ๑ ในมัธยมประเทศ ซึ่งปรากฎในเรื่องพระนลนี้ว่า เปนเมืองกำเนิดแห่งพระมารดานางทมยันตี แลนางพระยาราชชนนีเมืองเจที ฯ
ทานต์ [ส. ทาน์ต] = (๑) เชื่อง (๒) ใจเย็น (๓) ใจดี (๔) ผู้มักอวยทาน (๕) นามแห่งโอรสองค์ ๑ แห่งท้าวภีมราช ฯ ทานพ [ส. ทานว] = อสูรจำพวก ๑ ซึ่งมักกล่าวถึงพร้อมด้วยพวกแทตย์ ว่าเปนอริกับพวกเทวดา มักรบพุ่งกันเนือง ๆ มหาภารตว่าเปนลูกพระมหาฤษีกัสสปกับนางทนุ ฯ
ทายาท, ส. = ลูก ฤๅผู้สืบสกุลฤๅผู้รับมฤดก ฯ
ทารุณ, ส. = แรง, ร้าย, หนัก, ไม่เมตตา, น่าสยดสยอง, รุนแรง, ร้ายกาจ
ทาส, ส. = (๑) คนป่า คล้ายเงาะป่า ซึ่งเปนชนที่อยู่ในมัธยมประเทศแต่เดิม พวกอริยเข้าไปปราบและจับใช้เปนข้า (๒) บ่าว (ทั้งชายและหญิง) (๓) หญิงคนชั่ว (คือที่สำส่อนในทางกาม)
ทาสี, ส. = หญิงคนใช้
ทิช, ม. = ดูที่ ทวิช
ทิพ [ส. ทิว] = (๑) ฟ้า (๒) วัน
ทิพย [ส. ทิว๎ย] = (๑) เนื่องด้วยสวรรค์, เนื่องด้วยเทวดา (๒) แปลกกว่าปรกติ, น่าอัศจรรย์ (๓) น่ารัก, งาม, เปนที่พึงใจ
ทิวะกาล, ส = เวลากลางวัน
ทุร, [ส. ทุร๎, สำหรับใช้ควบกับคำอื่น ๆ] = ชั่ว ฤๅ ยาก เช่น “ทุราจาร” = ประพฤติชั่ว, “ทุร๎คัน์ธ” = กลิ่นเหม็น “ทุร๎ค๎รห” = เคราะห้ร้าย, “ทุร๎ชน” = คนร้าย, คนชั่วช้า, “ทุรณัษ๎ฏ” = ถึงได้โดยยาก, “ทุร๎ทร๎ศ” = ยากที่จะแลเห็น, ไม่เปนที่น่าดู, “ทุร๎พล” = กำลังน้อย, อ่อนแอ, “ทุร๎ภาษ” = พูดร้าย, ไม่ไพเราะ “ทุร๎ภิก์ษ” = ไร้ของกิน, อดอยาก, เข้าแพง, “ทุร๎มนัส” = ใจร้าย ใจเขว, ใจเหี่ยว, ใจแห้ง ใจสลด (ในภาษาไทยมักใช้ว่า “โทมนัส”) “ทุร๎ลัก์ษณ” = มีขวัญอันชั่ว (ในภาษาไทยใช้คลาศไปว่า “ทรลักษณ์” เหล่านี้เปนตัวอย่าง) ฯ
ทุรโยธน์ [ส. ทุร๎โยธน] = “ซึ่งจะชำนะยาก” เปนนามแห่งโอรสหัวปีแห่งท้าวธตรฐจันทรวงศ์ และเปนอริใหญ่กับพวกกษัตร์ปาณฑพ เปนหัวหน้าพวกกษัตร์โกรพ และมีกำเนิดเปนอัศจรรย์อยู่ (ดูที่ธตรฐต่อไป) ฯ พระทุรโยธน์เปนอริกับพระภีมะเสนโดยเฉภาะ ด้วยเหตุหลายประการ และในที่สุดแห่งมหาภารตยุทธ์นั้น พระภีมะเสนตีขาหักทั้ง ๒ ข้าง ตามที่ว่าไว้ ในขณะเมื่อพระทุรโยธน์ชวนให้นางกฤษณานั่งตัก (ดูนิทานวัจนะ) แล้วพระภีมเสนฆ่าตาย ฯ พระทุรโยธน์นั้นเปนคนที่มีนํ้าใจชั่วและฤศยามาก จนนำความฉิบหายมาสู่สกุลของตนและญาติมิตร์เปนอันมาก (เรื่องราวมีพิสดารต่อไปในแห่งอื่น ดูที่ ธตรฐ และ มหาภารต)
ทุศาสน์, [ส. ทุห์ศาสน] = “ซึ่งจะว่ากล่าวยาก” เปนนามแห่งโอรสองค์ ๑ แห่งท้าวธตรฐ และเปนน้องพระทุรโยธน์ พระทุศาสน์เปนคนที่เหี้ยมโหด (ดังปรากฎอยู่ในนิทานวัจนะ) ฯ ในวันที่ ๑๖ แห่งมหาภารตยุทธ์ พระภีมะเสนฆ่าตายและกินเลือดตามที่ว่าไว้ ฯ
ทูต, ม. และ ส. = ผู้รับใช้ไปเจรจาแทน, ผู้สื่อสาร, ผู้ปฤกษาการแทน (จะเปนชายฤๅหญิงก็เรียกเหมือนกัน) ฯ
เทวลิงค์ ส. = สิ่งซึ่งจะทำให้รู้จักเทวดาองค์ใดองค์ ๑
เทวี, ส. = (๑) นางฟ้า (๒) นามเรียกพระสรัสวดี มเหษีพระพรหมธาดา (๓) นามเรียกพระอุมา มเหษีพระอิศวร (๔) พระมเหษีและพระราชธิดาแห่งพระราชา (๕) ท่านผู้หญิง ฯ
แทตย์ [ส. ไทต๎ย] = อสูรจำพวก ๑ ซึ่งเปนลูกนางทิติกับพระมหาฤษีกัสสป
โทณะ, ม [ส. โท๎รณ] “กละออม” ฯ เปนนามแห่งพราหมณ์สำคัญผู้ ๑ ซึ่งพระมหาฤษีภรัทวาชได้ให้กำเนิดในกละออม ฯ โทณพราหมณ์เปนญาติกับกษัตร์จันทรวงศ์ และเปนอาจารย์สอนยุทธศาสตร์ให้แด่กษัตร์โกรพและปาณฑพ จึ่งได้นามว่า “โทณาจารย์” [ส. โทร๎ณาจาร๎ย] และได้นามตามพระบิดาว่า “ภารัทวาช” ฯ ในมหาภารตยุทธ์ โทณพราหมณ์ เข้าข้างกษัตร์โกรพ และได้ถูกยิงตาย ฯ
เทิด, ท. = ทรงไว้, ชูไว้, (เขียน “เทริด” ก็ได้และคำเดียวกับ “เชิด” นั้นเอง)
เทื้อ, ท, = ครั้ง, หน ฯ พวกไทยเหนือมีในมณฑลพายัพเปนต้น ใช้ว่า “เตื้อ” ก็เปนคำเดียวกันนั้นเอง
ทรุบท [ส. ท๎รุปท] = นามแห่งราชาผู้ครองแคว้นปัญจาล และเปนพระบิดาแห่งนางกฤษณา
ทวาบร [ส. ท๎วาปร] = (๑) คแนน ๒ ในลูกบาต (๒) นามผีที่เปนสหายแห่งกลี (๓) นามยุคที่ ๓ แห่งโลกอันมีกำหนดได้ ๒๔๐๐ ปีสวรรค์ ฤๅ ๘๖๔,๐๐๐ ปีมนุษ ฯ
ทวารกา [ส. ท๎วารกา] = “มีประตูมาก” เปนนามแห่งนครหลวง ซึ่งท้าวบรมจักรกฤษณ์ได้สร้างขึ้นเปนที่อยู่แห่งกษัตร์ยาทพจันทรวงศ์ เมื่ออพยพจากเมืองมถุรานครหลวงเก่า ฯ เมืองนี้ว่าอยู่ริมทเลฝั่งตวันตกแห่งคูชระราษฎร์ (บัดนี้เรียก “คูชรัฐ”) ในมัธยมประเทศ ฯ เมื่อเกิดเหตุกลีขึ้นในสกุลยาทพ รบราฆ่าฟันกันเองจนป่นปี้ และท้าวบรมจักรกฤษณ์ถูกนายพรานยิงตายแล้ว เมืองทวารกาได้จมหายไปในทะเล ฯ
ทวาราวดี [ส. ท๎วาราวติ] = เปนนามอีกนาม ๑ แห่งเมืองทวารกานั้นแล ฯ อนึ่งกรุงเก่าของเราที่ท่านให้นามว่ากรุงเทพทวาราวดีนั้น น่าจะตั้งใจเทียบกับเมืองทวารกา ซึ่งมีนํ้าเปนสีมา ฯ
ทวิช [ส. ท๎วิช = ] “เกิดสองหน” เปนนามศัพท์ใช้เรียกชนที่เปน พราหมณ์เปนกษัตร์ ฤๅเปนแพศย์ แต่โดยมากใช้เรียกพราหมณ์ซึ่งเกิดมีชีวิตรครั้ง ๑ เกิดในธรรม (คือบวช) อีกครั้ง ๑ ฯ กับนกก็เรียกว่า “ทวิช” เพราะเกิดเปนไข่ก่อนแล้วจึ่งเกิดเปนตัว ฯ
ทวิชนม์ [ส. ท๎วิชัน์มัน์] = “เกิดสองหน” คือพราหมณ์
ทวิชาติ, ส. = “เกิดสองหน” เปนนามใช้เรียกพราหมณ์และอริยชนทั่วไป
ไทวปายน, ส. = “เกิดที่เกาะ” (ดูที่กฤษณไทวปายน)