รัช, ม. ผ. [ม. รัช์ช] — ดูที่ ราชย์

รัชนี, ส. ผ. [ส. รชนี] = (๑) สีคล้าม (๒) คราม, ต้นคราม (๓) คืน (กลางคืน) ฯ

รัฐ, ม. ผ. [ม. รัฏ์ฐ] — ดูที่ ราษฎร์

รณ, ส.= (๑) ความยินดี, ความสนุก, ความพอใจ, ความชื่นใจ (๒) การรบ (อันเปนความสนุกและพอใจแห่งคนกล้าหาญ) ฯ รณรงค์, ส. = สนามรบ (รังค = สนาม) คำว่า “ณรงค์” ซึ่งไทยเราใช้ว่า “รบ” ฤๅ “สนามรบ” ก็แผลงมาจากรณรงค์นี้เอง ฯ

รัตน [ม. รตน, ส. รัต๎น] = (๑) ของมีค่าทั่ว ๆ ไป (๒) แก้ว ดียิ่ง เช่นคำกล่าวว่า “คนนั้น ๆ เขาเปนแก้ว” แปลว่าเปนผู้ดียิ่ง ฯ

รตี, ส. = (๑) ความสบาย, ความสนุก, ความยินดีในสิ่งใดสิ่งหนี่ง, ความรักใคร่ (๒) ความสนุกในส่วนกามคุณฤๅเมถุนธรรม (๓) เปนนามแห่งนางฟ้าผู้เปนมเหษีแห่งพระกามเทพ

รถ, ส. = ยานอันมีล้อ เปนของกษัตร์มักโปรดทรง เพราะฉนั้นคำว่ารถ จึ่งเลยกลายเปนนามศัพท์ใช้กล่าวถึงตัวกษัตร์เองและมีคุณศัพท์แถมเข้า แปลความไปได้ต่าง ๆ เปนต้นว่า “อติรถ” ฤๅ “มหารถ” = นักรบใหญ่ คือเปนใหญ่กว่า ฤๅชำนะ “รถ” อื่น ฯ “ทศรถ” = สิบรถ คือชำนะได้สิบ “รถ,” “เอกาทศรถ” = “สิบเอ็จรถ,” “รถธุรัย” = นักรบดี “รถปุคว” = หัวน่านักรบ, “รถวร” = นักรบยวดยิ่ง, ดังนี้เปนต้น ฯ

รัถพ่าห์, ส. ผ. [ส. รถวาห, ฤๅ รถวาหก) = คนขับรถ, คนชักรถ

รมณีย, ส. = สนุก, สบาย, เปนที่พอใจยินดี, ชอบใจ.

รมย์, ส. = สนุก, สบาย, งดงาม ฯ รมเยศร์ แผลงจากนี่ ฯ

ระโหฐาน, ม. = ที่เงียบ, ที่ลับ

รากษส ส. (อิตถี, รากษสี) = อสูรอย่างเลว มีนิไสยดุร้าย ชอบเที่ยวตามป่าช้า ทำลายพิธี และกินคน ฯ

ราช. (ก) ส. ราช์ = (๑) กระจ่าง, ผ่องใส (๒) เจ้าแผ่นดิน, ผู้เปนใหญ่

(ข) ส. ราชะ, ม. ราชา = (๑) พระเจ้าแผ่นดิน, ขุนผู้เปนหัวหน้าฤๅยอด

(ค) ส. แล. ม. ราชะ = เนื่องด้วยพระราชา เช่น “ราชบุตร” = ลูก พระราชา “ราชการ” [ส. ราชการ๎ย] = การของพระราชา (คือการทำเพื่อ ประโยชน์แห่งการปกครอง) ดังนี้ เปนตัวอย่าง

ราชัน [ส. ราชัน์] = ขุน, เจ้าแผ่นดิน, หัวหน้า ฯ

ราชันย์ (ส. ราชัน๎ย) = เนื่องด้วยพระเจ้าแผ่นดิน เช่น “ราชันยกุมาร” = ลูกเจ้า ฤๅ เจ้านาย ดังนี้เปนต้น ฯ

ราชย์, ราชัย, ส. ผ. (ส. ราช๎ย) = (๑) เนื่องด้วยราชา (๒) การเปนราชา (๓) สมบัติและเมือง (๔) การปกครอง ฯ

ราชสูยะ, ส. = พิธีอันเนื่องด้วยการพระราชาขึ้นทรงราชย์และซึ่งเจ้าต่างเมืองและประเทศราชมาช่วย (เช่นอย่างพิธีซึ่งพระยุธิษเฐียรได้กระทำเมื่อไปครองนครอินทปัตถ์นั้นเปนตัวอย่าง) นับว่าเปนพิธีสำคัญอันประกาศพระเกียรติยศแห่งขุนผู้กระทำ และถ้าเจ้าประเทศราชใดไม่มาก็ถือว่าแขงเมือง ฯ

ราม, ม. และ ส. = (๑) สีคล้าม, ดำ (๒) น่ารัก, น่าชอบใจ, งาม. (๓) ทอง (๔) เปนนามบุคคลหลายคนมีพระรามจันทร์เปนอาทิ ฯ

ราษฎร์, ส. ผ. [ส. ราษ๎ฎ๎ร, ม. รัฏ์ฐ] = (๑) ประเทศ, บ้านเมือง, เขตรแดน (๒) คณคน, ชาติ, ข้าแผ่นดิน

ราหุ, ส. = “ผู้จับ” ตามตำหรับไสยศาสตร์ว่าเปนแทตย์ บิดาชื่อวิประจิตติ มารดาชื่อสิงหิกา เมื่อกำเนิดมีหางเปนนาค ฯ เมื่อครั้งเทวดาชวนกันกวนเกษียรสมุทเพื่อทำนํ้าอัมฤตนั้น ราหูได้แปลงเปนเทวดาเข้าไป จึ่งได้กินนํ้าทิพย์ด้วย พระอาทิตย์กับพระจันทร์เปนผู้จับได้และร้องกล่าวโทษขึ้น พระพิษณุเปนเจ้ากริ้ว จึ่งเอาจักร์ขว้างตัดราหูขาดไปครึ่งตัว แต่เพราะได้กินนํ้าอัมฤตแล้วจึ่งหาตายไม่ ท่อนหัวไปอยู่ในอากาศเปนราหู คอยจับพระอาทิตย์พระจันทร์อมเพื่อแก้แค้นอยู่เนือง ๆ ฝ่ายข้างหางนั้นก็ไปอยู่ในอากาศเปน พระเกตุ ซึ่งมีลูกเปนดาวหางและดาว “ผีพุ่งไต้” เปนอันมาก ฯ

ริปู, ส. = (๑) ไม่ซื่อตรง, มักหลอก, ตลบแตลง (๒) คนโกง, คนฉ้อ, คนชั่ว (๓) ข้าศึก, คนไม่ชอบกัน คนแก่งแย่งกัน, คนปองร้ายฤๅทำร้าย ฯ

รุท, ส. = ร้องไห้, โอด, เจ็บ

รุทร, (ส. รุท๎ร) = (๑) อื้ออึง, อึกระทึก, เอะอะ (๒) น่ากลัว, น่าสยดสยอน (๓) เปนฉายาแห่งพระอัศวิน, พระอินทร์ พระอัคนี, พระวรุณ, ฯ ล ฯ (๔) นามเทวดาองค์ ๑ ซึ่งในพระเวทว่าเปนเจ้าแห่งลมพยุ และเปนพระบิดาแห่งเทวดาคณ รุทร์ และคณ มรุต (รุทร์ = ฟ้าร้อง มารุต = ลม) ฯ ฉายาอัน ๑ ของพระรุทร์นี้ มีว่า “ศีวะ” คือ “ใจดี” ฤๅ “ดีงาม” เพราะเหตุว่าลมย่อมจะเปนเครื่องพัดเอาสิ่งโสโครกและความไข้ไป ฯ ต่อมาถึงชั้นปุราณ จึ่งมีอาจารย์ชักเอารุทร์ไปเปนองค์เดียวกับพระอิศวร เพราะมีฉายาว่า “ศีวะ” เหมือนกัน ฯ การที่เขาโยงเอาไปเช่นนี้ ก็เพื่อจะพูดให้ได้ถนัดว่า พระอิศวรนั้นมีมาแต่ในพระเวทแล้ว (๕) ในไสยศาสตร์ชั้นหลังรุทร์เปนนามใช้เรียกเทวดาคณ ๑ ซึ่งมีจำนวน ๑๑ (ฤๅ ๓๓) องค์ และว่าเปนภาคแห่งพระอิศวรทั้งนั้น ในปุราณะจึ่งออกนามไว้ต่าง ๆ อันเปนนามพระอิศวรทั้งนั้น เช่นในวายุปุราณออกนามไว้ดังนี้:- ๑. อไชกปัท ๒. อหิร๎พุธ๎น๎ย ๓. หร ๔. นิร๎ฤต ๕. อีศ๎วร ๖. ภุวน ๗. อังคารก ๘. อรรธเกตุ ๙. มฤตยุ ๑๐. สรรปะ ๑๑. กปาลิน ฯ อีกนัย ๑ ว่า รุทร์ทั้ง ๑๑ นี้เปนลูกพระกัสสปประชาบดีกับนางสุรภีฤๅลูกพระพรหมากับนางสุรภี ฤๅลูกพระภูตะกับนางสุรูปา ฯ

รูปวดี, ส. ผ. (ส. รูปวตี) = นางรูปงาม (ปุํ รูปวัต)

รูปสมบัติ, ส. ผ. [ส. รูปสัม์บัต์ติ ฤๅ รูปสัม์ปัท์) = รูปงามพร้อม ฤๅรูปดีทุกส่วน ฯ จงเทียบกับศัพท์ “รูปสัมปัน์น” = มีรูปเปนสิน ฯ

โรจน์, ส. = กระจ่าง, สว่าง, รุ่ง, งาม ฯ

โรท, ส. = ร้องไห้, โอด, คร่ำครวญ

โรหิณี, ส. = (๑) นางโคแดง (๒) นักษัตร์ที่ ๙ (๓) นามแห่งนางธิดาพระทักษะประชาบดี ซึ่งเปนชายาตัวโปรดของพระจันทร์ และพระจันทร์จึ่งได้ฉายาว่า “โรหิณีกาน์ต” (“คู่รักแห่งโรหิณี”), “โรหิณีปติ” (“ผัวแห่งโรหิณี”) “โรหิณีป๎รีย” (“ผู้รักนางโรหิณี”) “โรหิณีรมนะ” (“ผู้เปนผัวนางโรหิณี”), “โรหิณีวัล์ลภ” (“ผู้ชอบนางโรหิณี”), และ “โรหิณีศ” (“ผู้ปกครองฤๅผัวแห่งนางโรหิณี”) ฯ

อนึ่งพระพุธเปนโอรสพระจันทรกับนางโรหิณี จึ่งได้ฉายาว่า “โรหณีภพ” และ “เราหิไณย” [ส. เราหิเณย] ฯ

แชร์ชวนกันอ่าน

แจ้งคำสะกดผิดและข้อผิดพลาด หรือคำแนะนำต่างๆ ได้ ที่นี่ค่ะ