- คำนำ
- พระราชนิพนธ์คำนำ
- นมัสกฤติกถา
- อารัมภกถา
- นิทานวัจนะ
- นโลปาข๎ยานัม์
- สรรคที่ ๑
- สรรคที่ ๒
- สรรคที่ ๓
- สรรคที่ ๔
- สรรคที่ ๕
- สรรคที่ ๖
- สรรคที่ ๗
- สรรคที่ ๘
- สรรคที่ ๙
- สรรคที่ ๑๐
- สรรคที่ ๑๑
- สรรคที่ ๑๒
- สรรคที่ ๑๓
- สรรคที่ ๑๔
- สรรคที่ ๑๕
- สรรคที่ ๑๖
- สรรคที่ ๑๗
- สรรคที่ ๑๘
- สรรคที่ ๑๙
- สรรคที่ ๒๐
- สรรคที่ ๒๑
- สรรคที่ ๒๒
- สรรคที่ ๒๓
- สรรคที่ ๒๔
- สรรคที่ ๒๕
- สรรคที่ ๒๖
- อุตตรกถา
- อธิบายในลักษณประพนธ์
- อภิธาน
ป
ปักษี, ฤๅ ปักษิน, ส. = “มีปีก” คือนก
ปัญจาล, ส. = นามแคว้นในทิศเหนือ แห่งมัธยมประเทศ (เปนเมืองกำเนิดแห่งนางกฤษณา)
ปฏิญญา, ม. [ส. ป๎รติช๎ญา] = คำยืนยัน, คำมั่นสัญญา (และเปนกิริยาศัพท์ด้วย)
ปะดาก ส. ผ. [ส. ปตากา] = ธง
ปติศร, ส. ผ. [ส. ปตีศ๎วร] = ในหนังสือนี้ใช้แทนคำว่า “ผัว”
ปัถวิบาล, ม. ผ. [ม. ปถวิปาล, ส. ป๎ฤถ๎วิปาล] = “ผู้ครองแผ่นดิน”
ปัทมะ ส. แผลงเปน ปัทมา เพื่อสดวกแก่สัมผัสกลอน [ม. ปทุม] = ดอกบัวหลวง ฯ นักเลงหนังสือไทยซึ่งรู้มากได้เติมตัว “ร” เข้าไปอีกตัว ๑ จึ่งกลายเปน “ประทุม” ซึ่งผิดทั้งทางมคธและสันสกฤต ฯ
ปะโยษณี [ส. ปโยษ๎ณี] = นามแห่งลำนํ้าอัน ๑ ซึ่งไหลจากเขาวินธัยไปลงมหาสมุท ฯ
ปะราชิต, ส. = แพ้
ปรรณาท [ส. ปร๎ณาท] = “กินใบไม้” เปนนามแห่งพราหมณ์ผู้ ๑ ฯ
ปาณฑพ, ส. ผ. [ส. ปาณ์ฑว] = “ลูกปาณฑุ” คือ กษัตร์ ๕ องค์ ซึ่งนับว่าเปนลูกท้าวปาณฑุ แต่แท้จริงนั้นหาใช่ลูกท้าวปาณฑุไม่ หากเปนลูกนางกุนตีกับนางมัทรีผู้เปนมเหษีแห่งท้าวปาณฑุ ฯ เมื่อท้าวปาณฑุได้ถูกสาปแล้ว ไม่สามารถจะเสพเมถุนด้วยพระมเหษีทั้ง ๒ เธอจึ่งอนุญาตให้นางกุนตีร่ายมนตร์ขอบุตรจากเทวดาต่าง ๆ (ดังเล่าไว้แล้วในเรื่องนาง กุนตี) นางกุนตีจึ่งขอบุตรให้แทนพระสามี ได้บุตรจากเทวดา ๕ องค์เปนลำดับ ดังนี้ คือ —
๑. ยุธิษเฐียร | – บุตรพระยมกับนางกุนตี |
๒. ภีมเสน | – บุตรพระพายุกับนางกุนตี |
๓. อรชุน | – บุตรพระอินทรกับนางกุนตี |
๔. นกุล | } แฝด – บุตรพระอัศวินกับนางมัทรี |
๕. สหเทพ |
กษัตร์ทั้ง ๕ นี้ เมื่อพระบิดาสิ้นพระชนม์แล้ว ท้าวธตรฐผู้เปนลุงรับไปเลี้ยงไว้ แต่เกิดวิวาทกับพวกลูกท้าวธตรฐ ซึ่งเรียกกษัตร์โกรพนั้น ไม่หยุดหย่อน จนในที่สุด กระทำสงครามกันใหญ่ ชื่อว่ามหาภารตยุทธ์ พวกโกรพแพ้ตายหมดแล้ว พวกปาณฑพได้เปนใหญ่ ฯ
ปาณฑพนาถ, ส. ผ. = “ที่พึ่งแห่งปาณฑพ” คือท้าวยุธิษเฐียร
ปาณฑพเศรษฐ ส. ผ. = “ผู้เปนยอดแห่งปาณฑพ” คือ ท้าวยุธิษเฐียร
ปาณฑุ [ส. ปาณ์ฑุ] = “ซีด" ฯ เปนนามแห่งมหากษัตร์จันทรวงศ์ ซึ่งสมมตว่าเปนโอรสท้าววิจิตรวีรยะกับนางอัมพลิกา แต่แท้จริงเปนโอรสนางอัมพลิกากับพระวยาสกฤษณไทวปายน ซึ่งนางสัตยวดีได้ขอให้มา “เพาะพืชแทนพระอนุชา” (ดูที่ กฤษณไทวปายน) ท้าวปาณฑุเปนน้องท้าวธตรฐ แต่โดยเหตุที่ท้าวธตรฐพระเนตรบอด ท้าวปาณฑุจึ่งได้ทรงราชย์ก่อน แต่อยู่ได้ไม่ช้านัก ไปเที่ยวล่าเนื้อ พะเอินยิงถูกฤษี ๆ แช่งว่าให้สิ้นชีพเมื่อยามเสพเมถุน จึ่งต้องงดการอยู่กินกับพระมเหษีทั้ง ๒ องค์ ฯ ครั้นต่อมามีพระโรคเบียดเปียฬ จึ่งออกไปอยู่ป่าและโดยเหตุที่เกรงจะไม่มีทายาท จึ่งได้อนุญาตให้พระมเหษีทั้ง ๒ ขอลูกจากเทวดาจึ่งได้ลูก ๕ องค์ ซึ่งปรากฎนามว่า “ปาณฑพ” เจ้าทั้ง ๕ นี้ท้าวปาณฑุรับรองว่าเปนโอรสของพระองค์ ฯ ในที่สุดท้าวปาณฑุลืมคำสาปของฤษี ได้เสพเมถุนด้วยนางมัทรีจึ่งสิ้นพระชนม์ไนกลางป่า ฯ
ปิย, ม. [ส. ป๎รีย] = (๑) ที่รัก, ที่พึงใจ เช่น ปิยสามี = ผัวที่รัก ปิยวาท [ส. ป๎รียํวาท] = ถ้อยคำที่พึงใจ (๒) ชอบ, พอใจในสิ่งใดสิ่ง ๑ เช่น ปรียเทวนะ = ชอบเล่นพนัน อักษปรีย = ชอบสกา ดังนี้เปนต้น ฯ
ปืน, ท. = อาวุธซึ่งใช้ยิงส่งลูกไปได้ไกล ๆ เช่นธนูฤๅน่าไม้ เปนต้น ฯ ส่วนอาวุธที่ทหารใช้อยู่บัดนี้ โบราณเรียก “ปืนไฟ” ฯ
ปุรัญชัย, ส. = ผู้ชำนะเมือง (คำเดียวกับ บุรัญชัย)
ปฤจฉา, ส. [ม. ปุจ์ฉา] = ถาม, ซัก.
ประชายินี, ส. = “หญิงผู้ให้กำเนิด” = แม่
ประณาม, ส. = นอบน้อม, คำนับ, กราบ.
ประภาษ, ส = พูด, บอก, เล่าแถลง, ขยาย, เรียก ฯ และจากมูลนี้ จึ่งมีคำว่า “ประภาษณ์” = คำชี้แจง และ “ประภาษิต” = คำที่พูดฤๅกล่าวมาแล้ว ฯ
อนึ่งผู้ที่ไม่ได้เอาใจใส่ในรากแห่งคำ มักเอาคำ “ประภาษ” นี้ไปปนกับ “ประภาส” = ไขแสง ฤๅ ส่องสว่าง ซึ่งที่จริงมาจากรากคนละอันโดยแท้ คือ “ประภาษ” มาจากคำ “ภาษ” = พูด, แต่ “ประภาส” มาจากคำ “ประภา” = แสง ฯ
กับยังมีคำซึ่งอาจเอามาปนได้อีกคำ ๑ คือคำ “ประพาส” เพราะสำเนียงไทยเราอ่านตัว “พ” กับ “ภ” คล้ายกันจนแทบจะว่าไม่มีผิดกันเลยก็ได้ แต่ถ้ารู้เสียว่าคำ “ประพาส” นี้ เดิมเขาเขียนว่า “ประวาส” และแปลว่าไปพ้นบ้าน (วาส = บ้าน) ดังนี้แล้ว ก็จะไม่เอาไปปนกับคำ “ประภาส” ฤๅ “ประภาษ” ได้
ประเวศ ส. = เข้าไป, เข้ามา, เข้าถึง, เข้าสู่.
ประศาสน์, ส. = (๑) แนะนำ, ปกครอง, งำเมือง, แผ่อาณา (๒) สั่ง, กำหนด
ประสาธ, ส. = บังคับ, จัดให้เปนระเบียบ
ประหลาท, [ส. ป๎รห๎ลาท] = ปลื้ม, ยินดี, สบายใจ, ชื่นบานฯ คำนี้เองกระมังจะเปนมูลแห่งคำที่เราใช้อยู่ว่า “ประหลาด” แต่เราแปลกันว่าแปลกฤๅผิดปรกติ ฯ
ปราณ, [ส. ป๎ราณ] = (๑) ลมหายใจ (๒) ชีวิตร ฯ คำนี้จินตกะวีไทยชอบใช้ประกอบกับคำไทย เช่น “วายปราณ” = สิ้นใจ “จอมปราณ” = เจ้าชีวิตร์ ฯ
ปรีดิ, ส. ผ. [ส. ป๎รีติ] = ความปลื้ม, ความยินดี, ความพอใจ, ใจดี.
ปรีย์, ส. - ดูที่ ปิย