นกุล, ส. = (๑) พังพอน (๒) นามกษัตร์ปาณฑพองค์ที่ ๔ ซึ่งเปนโอรสนางมัทรี มเหษีซ้ายแห่งท้าวปาณฑุ แต่บิดานั้นคือพระอัศวิน และพระนกุลนี้เปนพี่ฝาแฝดแห่งพระสหเทพ (ดูที่ ปาณฑพ ต่อไป) ฯ

นักษัตร์, ส. = (๑) ดาว ทั่ว ๆ ไป (๒) ยาม ต่าง ๆ ซึ่งพระจันทรผ่านไป มีนามปรากฎว่า ๑. ศ๎รวิษฐา ๒. ศตภิษัช ๓. ปูร๎วภาท๎รปาท ๔. อุต์ตรภาท๎รปาท ๕. เรวตี ๖. อัศ๎วินี ๗. ภรณี ๘. ก๎ฤต์ติกา ๙. โรหิณี ๑๐. ม๎ฤคศีรัส์ ๑๑. อาร๎ท๎รา ๑๒. ปุนร๎วสู ๑๓. ปุษ๎ย ๑๔. อาเศ๎ลษา ๑๔. มฆา ๑๕. ปูร๎วผัล๎คุณี ๑๖. อุต์ตรผัล๎คุณี ๑๗. หัส๎ต ๑๘. จิต๎รา ๑๙. ส๎วาตี ๒๐. วิศาขา ๒๑. อนุราธา ๒๒. เช๎ยษ๎ฐ ๒๓. มูล ๒๔. ปูร๎วาษาฒา ๒๕. อุต์ตราษาฒา ๒๖. อภิชิต ๒๗. ส๎รวณ ฯ ต่อมาว่านักษัตร์เหล่านี้เปนเมียพระจันทร์ ฯ

นง, ท. = นาง ฯ ในจินตกะวีนิพนธ์ภาษาไทยมักใช้ผสมกับคุณศัพท์ ไทยฤๅสันสกฤต มีตัวอย่างอยู่คือ —

(๑) นงคราญ = นางงาม (สคราญ = งาม), (๒) นงพงา = นางงาม (๒ คำนี้ไทย), ฯ (๓) นงเยาว์ = นางสาว ฤๅ นางรุ่น ๆ, (๔) นงราม นางงาม (๕) นงลักษณ = นางผู้มีขวัญดี, (๓ คำนี้ผสมกับสันสกฤต) ฯ

นันท์, ส. = สนุก, พอใจ, สบายใจ

นันทา — ดูที่สุนันทา

นันทโนทยาน [ส. นัน์ทโนท๎ยาน] = “สวนอันเปนที่น่าชื่นใจ” เปนสวนของพระอินทร์ ฯ

นมัสกฤติ, ส. = การนอบน้อม, การไหว้

นร, ม. แล ส. = ผู้ชาย

นรพยัคฆ์, ม. [ส. นรว๎ยาฆ๎ร] = “สมิงมิ่งชาย” คือ เปนคนเก่งกาจราวกับเสือ ฯ อีกนัย ๑ ใช้ว่า “นรศารทูล” มีคำแปลอย่างเดียวกัน ฤๅเปรียบคล้าย ๆ กับคำ “นรสิงห์” ซึ่งมุ่งความว่าเปนคนเก่งคล้ายสิงห์ฉนี้ ฯ

นรเศรษฐ, ส. = ชายดียิ่ง

นรี, ส. ผ. = ผู้หญิง (จากคำ “นร”)

นโรดม [ส. นโรต์ตม] = ชายเลิศ

นล, ส = นามพระราชาผู้ครองนิษัธราษฎร์ และเปน “พระเอก” ในเรื่องพระนล

นาคร, ส. = ชาวเมือง (จากคำ นคร)

นาฎ, ส. = การฟ้อนรำ แต่ไทยเราใช้มุ่งความว่า นางฯ ที่ความมาคลาดเคลื่อนไปเช่นนี้ น่าจะเปนเพราะเรียกนางรำว่า “นางนาฎ” แล้วต่อมาความรู้เลวลง น่าจะแปล “นาฎ” ว่า “งาม” แล้วจึ่งเลยเลือนต่อไปจนแปล “นาฎ” เปน “นาง” ฯ แต่จะว่าลืมความเดิมเสียทีเดียวก็ไม่ได้ เพราะคำว่า “นาฎ” ก็ยังมีใช้เปนกิริยาอยู่ เช่น “ยุรยาตรนาฎกราย” ดังนี้ ต้องเข้าใจว่า ตั้งใจจะว่าเดินไกวแขนงามหมือนรำ ฯ ในหนังสีอนี้ข้าพเจ้าก็ใช้คำ “นาฎ” ว่า “นาง” เพราะไทยเราเข้าใจกันเสียซึมทราบเช่นนั้นแล้ว ฯ

นาถ, ม. และ ส. = ที่พึ่ง, ผู้ปกครอง, เจ้าของ, นาย, ผัว

นารท, ม. และ ส. = นามแห่งเทพฤษีตน ๑ ซึ่งเปนผู้นำข่าวไปมาระหว่างเทวดากับมนุษ และมักไปไหนพร้อม ๆ กับพระบรรพตเทพฤษี ฯ อนึ่งนิยมกันว่าท่านผู้นี้เปนผู้เริ่มริทำพิณขึ้นก่อน จึงยกย่องเปนครูพิณพาทย์ และในตำแหน่งนี้มีฉายาว่า “เทพคน
ธรรพ” “คนธรรพราช” ฤๅ “ปรคนธรรพ” (ซึ่งไทยเราเรียกเพี้ยนมาเปน “พระประโคนธรรพ”) ฯ

นาหุษ, ส. = “ลูกนหุษ” (ดูที่ยยาติ)

นิทานวัจนะ, ม. และ ส. = คำแถลงเรื่องเดิม คือเรื่องที่เปนสาเหตุแห่งเรื่องอะไรอีกเรื่อง ๑ ฯ จากคำ “นิทาน” = เหตุเดิมไม่ว่าในกิจใด เช่น “โรคนิทาน” = สาเหตุเดิมแห่งโรค ดังนี้เปนต้น

นิราศ, ส. = (๑) สิ้นหวัง, สิ้นต้องการ, สิ้นอยาก (๒) ตัดความหวังหมด (๓) เสียใจ, เหี่ยวใจ, (๔) ตัดหนทางที่จะได้สมประสงค์ ฯ

นิรมล, ส. = ไม่มีด่างพร้อย, ไม่เปื้อน, สอาด, ผ่องใส ฯ ไทยเรามาเขียนแผลงว่า “นฤมล” ฯ

นิวาส, ส. = (๑) อยู่, พักแรม (๒) ที่อยู่, ที่พักแรม

นิศากร, ส. = “ผู้ทำกลางคืน” คือดวงเดือน (นิศา = กลางคืน)

นิษัธ, ส. = นามแคว้นและนครหลวงแห่งพระนล

นิษัธบดี, = “เปนใหญ่ในนิษัธ” คือพระนล

นิษัธราช, = “ขุนผู้ครองนิษัธ” คือพระนล

นฤ [ส. น๎ฤ] = คน ฯ มาจากมูลเดียวกับ “นร” นั้นเอง ฯ คำว่า “นฤ” นี้ใช้แต่เฉภาะสำหรับผสมกับคำอื่นเพื่อแปลความไปได้ต่าง ๆ แต่ล้วนเปนข้อความเนื่องด้วยคนทั้งนั้น เช่น “นฤชิต” = ชำนะคน ดังนี้เปนต้น อนึ่งคำที่ใช้เรียกพระราชาผู้ครองคนนั้น มีที่เริ่มด้วย “นฤ” เปนอันมาก ที่พบใช้อยู่ในภาษาไทยบ่อย ๆ ก็คือ “นฤนาถ” = เปนที่พึ่งแก่คน, “นฤบดี,” “นฤบดินทร์” = เปนใหญ่เหนือคน, “นฤบาล” = คุ้มครองคน ฯ

นฤป [ส. น๎ฤป] = “ผู้คุ้มครองรักษาคน” คือพระราชา ฯ อนึ่งคำว่า “นฤเบนทร์” ก็มาจากคำนี้เอง คือ “น๎ฤป + เอน์ท๎ร” ฯ

ไนษัธ, [ส. ไนษธ] = “เนื่องด้วยนิษัธ” ฤๅ “เจ้านิษัธ” คือพระนล

แชร์ชวนกันอ่าน

แจ้งคำสะกดผิดและข้อผิดพลาด หรือคำแนะนำต่างๆ ได้ ที่นี่ค่ะ