ศักร, [ส. ศัก๎ร] = ขลัง, ผีอำนาจ, เปนฉายาเรียกพระอินทร์ ฯ

ศกุนี, ส. = (๑) นกขนาดใหญ่ (๒) เปนนามแห่งเจ้าองค์ ๑ เปนโอรสท้าวสุพล ราชาแห่งคันธารราษฎร์ เปนภาดาแห่งนางคานธารีมเหษีท้าวธตรฐ และเปนที่ปฤกษาของพระทุรโยธน์ ฯ

ศจี, ส. = (๑) การช่วยด้วยกำลังและอำนาจ (๒) ความใจดี, กรุณา (๓) ความชำนาญ, ความว่องไว (๔) คำพูด, การช่างพูด (๕) เปนนามแห่งนางฟ้าผู้เปนมเหษีพระอินทร์ ฯ

ศัตบตร์, ส. ผ. [ส. ศตปัต์ต๎ร] = ดอกบัว (ซึ่งสมมตว่ามีกลีบ ๑๐๐ กลีบ)

ศัพท์, [ส. ศัพ์ท] = (๑) สำเนียง (๒) คำ (๓) ถ้อย, คำพูด (๔) คำที่ถูกต้องฤๅเปนระเบียบ (๕) ในไวยากรณว่าคำซึ่งบอกลักษณได้ (๖) ชื่อคนฤๅของ (๗) คำใช้พิเศษในกิจการฤๅตำหรับตำราอันใดอัน ๑ เช่นในเทศนาฤๅในกฎหมายเปนต้น ฯ

ศศ ฤๅ ศศี, ส. = กระต่าย

ศศิธร, ส. = “ทรงรูปกระต่ายไว้” = พระจันทร์

ศศิพงศ์, ส. ผ. = ผู้สืบสกุลจากพระจันทร์ (ศศิน์ = พระจันทร์) ฯ

ศานต, ส.= (๑) สงบ, ใจสงบ, เรียบ (๒) อ่อนโยน (๓) เสงี่ยม, ใจดี, ใจเย็น, เปนมงคล (๔) งดแล้ว, ราบคาบแล้ว, พ้นภัยแล้ว (๕) หมดพิษ, หมดคม, (คืออาวุธ) (๖) ถึงที่สุดโดยเรียบร้อย, ตายดี, ตายสบาย (๗) สอาด, หมดบาป (๘) นักบวชผู้ทรมานจิตดับกิเลสสิ้นแล้ว ฯ

ศานติ, ส. = นามศัพท์แห่ง ศานต ซึ่งเปนคุณศัพท์ (ดูข้างบนนี้)

ศารทะ, [ส. ศารท] = ฤดูใบไม้ร่วง ฯ ใช้เปนคุณศัพท์ก็ได้ เช่น “กระยาศารท” = เข้าที่กวนในฤดูศารท ดังนี้ เปนต้น ฯ

ศารทูล, [ส. ศาร๎ทูล] = เสือเหลือง ฯ ใช้เปนศัพท์เรียกคนเก่งด้วย ฯ

ศาลิโหตร์, [ส. ศาลิโหต๎ร] = “ผู้รับเข้าเปนเครื่องสังเวย” เปนนามแห่งพระมุนีตน ๑ ซึ่งเปนผู้รจนาตำราม้า และเปนครูแท้แห่งวิชาอัศวแพทย์ ฯ

ศาสตร์, ส. = (๑) คำสั่ง, ข้อบังคับ, ระเบียบการ (๒) คำสั่งสอน, คำแนะนำ, คำชี้แจง (๓) ตำหรับ, ตำรา, แบบสั่งสอน, แบบเรียน ฯ คำนี้ข้างไทยเรามักมาเขียนว่า “สาตร์” จึ่งทำให้เอาไปปนกับคำว่าเครื่องประหาร ซึ่งในภาษาสันสกฤตเปน “ศัส๎ต๎ร” (ดูที่สาตราต่อไป)

ศิริ, เปนคำแผลงจาก “สิริ” ม., และ “ศรี”, ส. = ดูที่ ศรี

ศิลป์, [ส. ศิล์ป] = การช่าง คือการทำอะไร ๆ ด้วยมือฤๅกำลังกาย

ศีลนิธิ, ส. = “คลังความดี” คือความดีอันมีอยู่ในใจผู้ใดผู้ ๑

ศึก, ท. = (๑) กองทัพ (๒) การรบ

ศุจี, ส. = สอาด ฯ ในเรื่องพระนลนี้เปนนามแห่งนายพณิช

ศฤงคาร, ส. = (๑) ความรัก, เมถุนธรรม ฤๅกามราค (๒) รสรัก (๓) เครื่องประดับอันเปนเครื่องยั่วยวนใจให้นึกรัก ฯ คำว่า “ศฤงคาร” ไทยเราใช้แปลว่าทรัพย์สมบัติทั้งปวงอันเปนที่พึงปราถนา ก็คือขยายความออกมาจากเลขที่ ๓ นั้นเอง ฯ

โศภน, ส. [ม. โสภณ] = ผ่องใส, งาม, เลิศ ฯ จากมูล “โศภ” ซึ่งแตกกิ่งออกไปเปน “โศภา,” “โศภิต,” “โศภิน,” “โศภิษฐ” ฯ สาวขึ้นไปอีกชั้น ๑ ก็ไปถึงมูล “ศุภ” งาม, ดี , ผ่องใส, สอาด ฯ ล ฯ

เศิก, ท. = ศึก

ศรี, [ส. ศ๎รี, ม. สิริ] = (๑) แสงสว่าง, ความกระจ่าง, ความสดใส, ความผ่องใส, ความงาม, ความน่ารัก (๒) ความเจริญ, ความเปนสุข, ความมั่งคั่ง, ความสมใจ, ทรัพย์, สิน (๓) ความเปนเจ้าเปนใหญ่ ฯ

อนึ่งศรีเปนนามแห่งเทวีผู้เปนมเหษีแห่งพระวิษณุเปนเจ้า นางนั้นนิยมกันว่าเปนแบบแห่งหญิงงามและดี (ผิดกับนางรตี ซึ่งเปนหญิงงามแต่ความประพฤติไม่สู้เรียบร้อย) จึ่งได้มีนามว่า “ลักษมี” และโดยเปนผู้บันดาลให้ชนได้ทำมาค้าขึ้น เกิดหมุนพูนเขานำความเจริญ (ภคะ) มาสู่เขาทั้งหลาย จึงเรียกว่า “ภควดี” (จงดูที่ “ลักษมี” ในอภิธานท้ายเรื่อง “ศกุนตลา” ด้วยเถิด)

เศรษฐ, ส. = (๑) ดียิ่ง, งามยิ่ง (๒) เปนที่ ๑, เปนเอก, เปนจอม, ยอด

โศลก, [ส. โศ๎ลก] = (๑) สำเนียง, เสียงก้อง (เช่นเสียงล้อรถเปนต้น) (๒) สุรเสียง (๓) ความมีชื่อเสียง, สง่า, คำสรรเสริญยกย่อง (๔) สุภาษิต (๕) คณฉันท์ ซึ่งอีกนัย ๑ เรียกว่า “อนุษฏุภ” คือที่เรียกกันตามภาษากะวีว่า “คาถาสามัญ” นั้นเอง ฯ

แชร์ชวนกันอ่าน

แจ้งคำสะกดผิดและข้อผิดพลาด หรือคำแนะนำต่างๆ ได้ ที่นี่ค่ะ