พักตร์, ส. ผ. [ส. วัก์ต๎ร] = หน้า ฯ ข้างไทยเรามักเขียนว่า “ภักตร์” ซึ่งเพี้ยนไป ฯ

พณิช, ฤๅ วณิช, ส. = พ่อค้า

พณิคชน, ส. = คนค้าขาย (คณะ)

พธู, ส. ผ. [ส. วธู] = (๑) เมีย (๒) หญิงสาว (๓) ญาติผู้หญิงซึ่งอ่อนกว่า ฯ

พน, ส. ผ. [ส. วน] = ป่า, ดง

พนัส, ส. ผ. [ส. วนัส] = ป่า, ดง

พนานต์ ส. ผ. [ส. วนานต์] = (๑) แดนป่า (๒) ราวป่าคือเขตรจดป่า

พนิดา, ส. ผ. [ส. วนิตา] = เมียที่รักใคร่, ผู้หญิง

พเนจร, ส. ผ. [ส. วเนจร] = ท่องเที่ยวอยู่ในป่า

พล, ส. = กำลัง ฯ ไทยเราใช้ในที่กำลังทหารเปนพื้น

พสุธาธิป, ส. ผ. [ส. วสุธาธิป] = เจ้าแผ่นดิน ฯ พสุธาธิบดี ก็ใช้ได้ ความอย่างเดียวกัน ฯ และพสุธาธิปัตย์ ฤๅ พสุธาธิปตัย = ราชสมบัติ ฯ

พัสดุ, ส. ผ. [ส. วัส๎ตุ ม. วัต์ถุ] = (๑) ที่อยู่แห่งสิ่งใดสิ่ง ๑ เช่น “กบิลพัสดุ” = ที่อยู่แห่งกบิล ดังนี้เปนต้น (๒) สิ่งซึ่งมีอยู่โดยแท้, สิ่งซึ่งเปนชิ้นเปนอัน (๓) สิ่งซึ่งมีราคา, ทรัพย์สมบัติ (๔) หัวข้อ, เนื้อเรื่อง

พากย์, ส. ผ. [ส. วาก๎ย] = คำพูด,    คำกล่าว ฯ

พาชิน, ส. ผ. [ส. วาชิน] = ม้า

พาล, แปลความได้เปน ๒ นัย กล่าวคือ

๑. พาล, ม. [ส. ว๎ยาล] = (๑) ผู้ข่มเหง, ผู้รังแก (๒) การรบกวน, การรังแก เกะกะ, กีดกั้น, ทำให้เดือดร้อน, ทำให้เจ็บปวด, ทำให้ลำบาก (๓) ทำร้าย, ทำให้เสียประโยชน์, ทำให้ป่วยการ (๔) สัตว์ร้าย

๒. พาล, ม. และ ส. = (๑) เด็ก, อ่อน, รุ่น (๒) เขลา, ปัญญาอ่อน (๓) ในนิติศาสตร์ คือผู้ที่มีอายุตํ่ากว่า ๑๖ ปี [อิถี. พาลา]

พาลมิค, ม. ผ. พาลมฤค ส. ผ. = สัตว์ดุร้าย (คือรบกวนคนเดินทาง) ฯ

พาหุ ฤๅ พาห, ส. = แขน (โดยมากมักมุ่งเอาตั้งแต่ข้อศอกลงไป แต่จะใช้เรียกทั้งแขนก็ได้) ฯ ไทยเราไพล่ไปใช้มุ่งความว่า “บ่า” ฤๅ “ไหล่” ฯ

พิศวาส, ส. = คุ้น, รู้ใจกัน, ฯ จินตกวีจึ่งใช้ว่า “รักจริง,” “รักนํ้าใจ” ฯ

พิสมัย, [ส. วิส๎มย] = แปลก, ปลื้ม

พุทธิ, ส. - ดูที่วุฒิ

พฤหทัศว์ ส. ผ. [ส. ว๎ฤหทัศ๎ว] เปนนามพระมุนีตน ๑ ซึ่งพระยุธิษเฐียรพบที่กลางป่า และเปนผู้เล่าเรื่องพระนลให้พระยุธิษเฐียรฟัง

พฤนท์, [ส. ว๎ฤน์ท] = หมู่, กอง

แชร์ชวนกันอ่าน

แจ้งคำสะกดผิดและข้อผิดพลาด หรือคำแนะนำต่างๆ ได้ ที่นี่ค่ะ