- คำนำ
- พระราชนิพนธ์คำนำ
- นมัสกฤติกถา
- อารัมภกถา
- นิทานวัจนะ
- นโลปาข๎ยานัม์
- สรรคที่ ๑
- สรรคที่ ๒
- สรรคที่ ๓
- สรรคที่ ๔
- สรรคที่ ๕
- สรรคที่ ๖
- สรรคที่ ๗
- สรรคที่ ๘
- สรรคที่ ๙
- สรรคที่ ๑๐
- สรรคที่ ๑๑
- สรรคที่ ๑๒
- สรรคที่ ๑๓
- สรรคที่ ๑๔
- สรรคที่ ๑๕
- สรรคที่ ๑๖
- สรรคที่ ๑๗
- สรรคที่ ๑๘
- สรรคที่ ๑๙
- สรรคที่ ๒๐
- สรรคที่ ๒๑
- สรรคที่ ๒๒
- สรรคที่ ๒๓
- สรรคที่ ๒๔
- สรรคที่ ๒๕
- สรรคที่ ๒๖
- อุตตรกถา
- อธิบายในลักษณประพนธ์
- อภิธาน
จ
จักร, ส. = (๑) ล้อรถ (๒) อาวุธ ซึ่งใช้ขว้างไป (๓) แว่นแคว้น, จังหวัดเมือง
จักรกฤษณ์, ส. ผ. = “พระกฤษณผู้มีจักรเปนอาวุธ”
จัตุรวรรณ, [ส. จตุร๎วร๎ณ] = “คนทั้งสี่สี” คือชน ๔ ตระกูล ซึ่งตามไสยศาสตร์เขาจัดเทียบด้วยสี ๔ สี คือ พราหมณ์ = สีขาว, กษัตร = สีแดง, แพศย์ = สีเหลือง, ศูทร์ = สีดำ ฯ
จันทิมา, ม. [ส. จัน์ท๎รมัส์] = องค์พระจันทรเทวราช.
จันทรวงศ์, [ส. จัน์ท๎รวํศ] = เชื้อพระจันทร์ คือวงศ์กษัตร์ซึ่งทรงราชย์ในนครประดิษฐานและหัสดิน กษัตร์เหล่านี้ ตามตำหรับว่าสืบสกุลลงมาทางพระพุธเทพฤษีผู้เปนโอรสพระจันทร และท้าวปุรุรพผู้เปนโอรสพระพุธกับนางอิลา [ดังมีเรื่องราวอยู่ในหนังสือ “บ่อเกิดแห่งรามเกียรติ์” ของข้าพเจ้า และซึ่งพระสารประเสริฐ (ผัน สาลักษณ์) ได้แต่งไว้ในหนังสือ “อิลราชคำฉันท์” ของเขานั้นแล้ว] ฯ จันทรวงศ์นี้แบ่งเปนหลายสาขา แต่มีสำคัญอยู่ ๒ สาขา คือยาทพ ๑ โปรพ ๑ (ดังได้อธิบายไว้โดยพิสดารแล้วในอภิธานท้ายเรื่อง “ศกุนตลา”) ฯ
จากระวาก [ส. จัก๎รวาก] = นกชนิดหนึ่ง สีแดง ฯ ในจินตกะวีนิพนธ์ไทยเรา มีเรียกว่า “จากพราก” ฯ
จาบัลย์, ส. ผ. = สะอึกสอื้น ฯ จากคำสันสกฤต “จปล” สั่น, ส่ายไปมา, กลับกลอก ฯ
จารุ, ส. = ดี, งาม, น่ารัก, น่าปราถนา, น่ายินดี ฯ จินตกะวีไทยเรา ใช้แปลว่า ทอง ฯ
จิต [ส. จิต์ต] = (๑) คิดถึง, นึกถึง (๒) ความมุ่ง, ความตั้งใจ, ความต้องการ (๓) ใจ, ดวงใจ, (๔) ความทรงจำ (๕) ความฉลาด, ความรู้สึก ฯ
จิตร [ส. จิต๎ร] = (๑) เห็นถนัด, เลิศ, สง่า (๒) กระจ่าง, ใส, หลายสี (๓) ชัด (๔) เลื่อม, พร้อยเปนจุด ฯ (๕) ต่าง ๆ, แปลก (๖) สีต่าง ๆ ฯ
จินตัย [ส. จิน์ต๎ย] = นึก, ตริ, ไตร่ตรอง ฯ
จุมพล, ท. แกม ส. = จอมพลนายทัพ ฯ
จุมพิต, ส. = จูบ
เจที, ส. = นามแห่งแคว้นอันหนึ่งในมัธยมประเทศ นครหลวงชื่อศุกติมดี (แต่ในเรื่องพระนลเรียกว่า “เจทินคร”) ฯ