- คำนำ
- พระราชนิพนธ์คำนำ
- นมัสกฤติกถา
- อารัมภกถา
- นิทานวัจนะ
- นโลปาข๎ยานัม์
- สรรคที่ ๑
- สรรคที่ ๒
- สรรคที่ ๓
- สรรคที่ ๔
- สรรคที่ ๕
- สรรคที่ ๖
- สรรคที่ ๗
- สรรคที่ ๘
- สรรคที่ ๙
- สรรคที่ ๑๐
- สรรคที่ ๑๑
- สรรคที่ ๑๒
- สรรคที่ ๑๓
- สรรคที่ ๑๔
- สรรคที่ ๑๕
- สรรคที่ ๑๖
- สรรคที่ ๑๗
- สรรคที่ ๑๘
- สรรคที่ ๑๙
- สรรคที่ ๒๐
- สรรคที่ ๒๑
- สรรคที่ ๒๒
- สรรคที่ ๒๓
- สรรคที่ ๒๔
- สรรคที่ ๒๕
- สรรคที่ ๒๖
- อุตตรกถา
- อธิบายในลักษณประพนธ์
- อภิธาน
อภิธาน
(รวบรวมสำเร็จณวันพฤหัสบดีที่ ๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๕๗)
คำอธิบาย
อภิธานนี้ ข้าพเจ้ามิได้ตั้งใจที่จะให้เปนที่รวบรวมศัพท์โดยละเอียดละออถ้วนทั่วไปทุกศัพท์บรรดาที่ใช้ในหนังสือ เพราะว่าหนังสือพจนานุกรมก็มีอยู่แล้ว แต่ศัพท์ที่ได้นำมาลงไว้ในที่นี้มีเกณฑ์เลือกคือ
(๑) เปนนามบุคคลในเรื่อง
(๒) เปนศัพท์ที่ไม่ใคร่จะพบในหนังสืออื่น ๆ
(๓) เปนศัพท์ซึ่งมักพบแต่ในหนังสือเก่า ๆ หรือในจินตกะวีนิพนธ์
(๔) เปนศัพท์ซึ่งได้ใช้ผิดเพี้ยนไปจากคำแปลเดิม
ตามเกณฑ์ที่ตั้งลงเช่นนี้ ในอภิธานนี้จึ่งมีศัพท์ไม่เฉภาะแต่ที่เปนภาษามคธหรือสันสกฤต ถึงที่เปนศัพท์ไทยเก่าหรือขอมเปนต้นก็มีอยู่ด้วย และส่วนศัพท์ซึ่งเข้าใจกันอยู่ซึมทราบแล้วหรือซึ่งจะค้นหาที่อื่นได้ง่าย ๆ นั้น ถึงแม้จะเปนศัพท์มาจากมคธหรือสันสกฤตก็มิได้นำมาลงไว้ในที่นี้ เพราะฉนั้นศัพท์ซึ่งรู้กันดื่น ๆ แล้ว และไม่มีทางที่จะเข้าใจผิดเพี้ยนความไปได้เช่น “อัญชลี” หรือ “อภิวาท” เปนต้น จึ่งมิได้มีในอภิธานนี้ โดยความปราถนาว่าจะมิให้เปนการฟั่นเฝือเกินไปนั้นและเปนที่ตั้ง ฯ
วิธีลำดับคำ ได้จัดเปนอักขรานุกรมอย่างเข้มงวดแท้ กล่าวคือลำดับตามตัวอักษรที่มีต่อตามกันในคำ ๑ ๆ ไม่ใช่จัดตาม “แม่” อย่างมูลบท เช่นคำว่า “อัคนี” ในอภิธานนี้อยู่น่าคำว่า “อะคร้าว” ซึ่งถ้าจัดตามมูลบท “อัคนี” ต้องอยู่หลัง เพราะจัดเปน “แม่กก” และคำว่า “อัคนี” นี้อยู่น่าคำว่า “อินทร” เพราะตั้งเกณฑ์ว่า “อ” อยู่น่า “อิ” แต่ถ้าลำดับตามมูลบท “อินทร” (แม่กน) ต้องอยู่น่า “อัคนี” (แม่กก) ดังนี้เปนตัวอย่าง กับอีกอย่าง ๑ ตัว “ฤ” ในที่นี้จัดเข้าไว้ในลำดับตามแบบของสันสกฤตเดิม คืออยู่ต่อสระ “อู” ฯ
ส่วนคำที่เปนอักษรควบ ลำดับไว้ข้างหลังคำที่ไม่เปนอักษรควบในจำพวกเดียวทั้งสิ้น เช่นคำว่า “ไกร” จัดไว้หลังคำว่า “กลี” ซึ่งถ้าแลดูเผิน ๆ “ไกร” ควรจะอยู่น่า “กลี” เพราะ “ไกร” นั้น ลำดับอักษร ก แล้วถึง ร ควรอยู่น่าคำซึ่งลำดับอักษร ก แล้วถึง ล แต่ “ไกร” เปนสำเนียงควบ คืออ่านเปนพยางค์เดียว แต่ “กลี” นั้นอ่านเปน
๒ พยางค์ จึ่งตกอยู่ในจำพวก “กะ” ไมใช่ในจำพวก “ก๎ละ” ดังนี้เปนตัวอย่าง และด้วยเหตุนี้ คำเช่น “กษัตร์” “เกษตร” “กษัย” ซึ่งเปนคำอักษรควบตามภาษาสันสกฤต จึ่งไปอยู่ในจำพวกคำอักษรควบและไปลำดับอยู่ในหมู่คำอักษร ก ควบกับตัวอื่น ฯ การจัดลำดับเช่นนี้ บางทีในชั้นต้นก็จะทำให้เปนที่ฉงนบ้าง เพราะคำเช่น “กษัตร์” ฤๅ “กษัย” ไทยเราโดยมากอ่านเปน ๒ พยางค์ คืออ่านว่า “กะษัตร์” และ “กะษัย” ฤๅถ้ายิ่งอวดรู้มากหน่อยก็แถมตัว ร เข้าให้เปน “กระษัตร์” ด้วยซํ้า แต่ข้าพเจ้าเห็นว่า ถ้าจะจัดเอาคำเช่น “กษัตร์” ไปไว้ในหมวด “กะ” ตามความเข้าใจผิดเช่นนั้นก็จะดูเปนประหนึ่งว่าข้าพเจ้ากระทำผิดโดยเจตนาแท้ จึ่งต้องจัดลำดับไว้ในที่ ๆ ควรจะอยู่ ฯ
อักษรย่อ
แสดงที่มาแห่งศัพท์ต่าง ๆ
ข | = | ขอม (เขมร) |
ท | = | ไทย (โบราณ) |
ม | = | มคธ |
ม. ผ. | = | มคธแผลง |
ส | = | สันสกฤต |
ส. ผ. | = | สันสกฤตแผลง |
ปุํ | = | ปุํลิงค์ |
อิตถี | = | อิตถีลิงค์ |