- คำนำ
- คำปรารภ
- นามท่านที่เป็นครู
- บทที่ ๑ จรกาทราบข่าวศึกมาติดเมืองดาหา
- บทที่ ๒ ตำมะหงงของจรกาจัดพล
- บทที่ ๓ อิเหนาครวญถึงนางจินตะหรา
- บทที่ ๔ ม้าใช้อิเหนาไปสืบทัพจรกา
- บทที่ ๕ ประสันตายั่วอิเหนา เมื่อรู้ว่าจรกายกมา
- บทที่ ๖ ชาวเมืองมาดูอิเหนาเข้าเมือง
- บทที่ ๗ ชาวเมืองชมอิเหนา
- บทที่ ๘ ท้าวดาหาสั่งให้สียะตราไปไหว้อิเหนา
- บทที่ ๙ ยาสา สั่งให้จัดปะเสบันอากง
- บทที่ ๑๐ พี่เลี้ยงปลอบบุษบา จะให้ขึ้นไปเฝ้า
- บทที่ ๑๑ นางมะดีหวีลงไปตามนางบุษบา ปลอบให้ขึ้นไปเฝ้า
- บทที่ ๑๒ นางมะดีหวีเตือนให้นางบุษบาออกไปไหว้อิเหนา
- บทที่ ๑๓ พี่เลี้ยงเถ้าแก่กำนัล ชมโฉมอิเหนา
- บทที่ ๑๔ นางบาหยัน ห้ามเถ้าแก่กำนัล
- บทที่ ๑๕ นางกำนัลพูด เมื่ออิเหนาเสียสติ
- บทที่ ๑๖ จรกาเข้าเฝ้าทูลท้าวดาหา
- บทที่ ๑๗ นางกำนัลติจรกา
- บทที่ ๑๘ กรมวังสั่งจัดตำหนักให้สุหรานากง กะหรัดตะปาตีพัก
- บทที่ ๑๙ สียะตรา เล่นเครื่องเล่นต่างๆ
- บทที่ ๒๐ สียะตราพูดกับอิเหนา เมื่อไปหาจรกากลับมา
- บทที่ ๒๑ อิเหนาส่งของมาถวายท้าวดาหา
- บทที่ ๒๒ พี่เลี้ยงปลอบนางบุษบาให้ร้อยดอกไม้
- บทที่ ๒๓ ท้าวล่าสำเข้าเฝ้าท้าวดาหา
- บทที่ ๒๔ ยาสาสั่งกระบวนเสด็จไปใช้บล
- บทที่ ๒๕ นางกำนัลดีใจจะได้ตามเสด็จ
- บทที่ ๒๖ สียะตราเถียงกับนางบุษบาเมื่อรับดอกไม้
- บทที่ ๒๗ ประสันตาชมนางบุษบา ล้ออิเหนา
- บทที่ ๒๘ ประสันตาชมนางบุษบา ล้ออิเหนา (ไม่ใช้)
- บทที่ ๒๘ สังคามาระตาพูดกับประสันตา (ที่ใช้)
- บทที่ ๒๙ สียะตราเถียงกับนางบุษบา เรื่องดอกไม้
- บทที่ ๓๐ นางบุษบาเล่นธาร
- บทที่ ๓๑ นางมะเดหวีอ่านสาร
- บทที่ ๓๒ จรกาออกพลับพลา
- บทที่ ๓๓ สมันกลับมาทูลมะเดหวี
- บทที่ ๓๔ นางกำนัลเล่นสะบ้า
- บทที่ ๓๕ นางบุษบาเล่นน้ำ
- บทที่ ๓๖ นางบุษบาเล่นเอาเถิด
- บทที่ ๓๗ นางยุบลหลงทาง
- บทที่ ๓๘ นางยุบลทูลอิเหนา
- บทที่ ๓๙ อิเหนาพูดกับนางยุบล
- บทที่ ๔๐ นางกำนัลเที่ยวหานางยุบล
- บทที่ ๔๑ อิเหนาดูเล่นกระบี่กระบอง
- บทที่ ๔๒ นางมะเดหวีให้สาวใช้มาไล่กิดาหยัน
- บทที่ ๔๓ นางมะเดหวีสอนนางบุษบาให้เสี่ยงเทียน
- บทที่ ๔๔ อิเหนาพูดปลอมพระปฏิมา
- บทที่ ๔๕ อิเหนาพูดกับนางมะเดหวี
- บทที่ ๔๖ อิเหนาขอสัตย์นางมะเดหวี
- บทที่ ๔๗ นางมะเดหวีให้สัตย์กับอิเหนา
- บทที่ ๔๘ หกกษัตริย์เล่นลอนเตนนิส
- บทที่ ๔๙ พวกระเด่นว่าเปรียบจรกา
- บทที่ ๕๐ พวกระเด่นพูดว่าเปรียบจรกาต่อไปอีก
- บทที่ ๕๑ สาวใช้ไปดูฤษี
- บทที่ ๕๒ นางมะเดหวีพูดกับพระฤษี
- บทที่ ๕๓ ฤษีถามเรื่องรดน้ำมนต์
- บทที่ ๕๔ ฤษีรดน้ำมนต์และให้พร
- บทที่ ๕๕ จรกาสั่งจัดพลจะไปตามนางบุษบา
- บทที่ ๕๖ จรกาพูดกับสังคามาระตา
- บทที่ ๕๗ กะระตาหลาทูลอิเหนาว่าจรกามาเฝ้า
- บทที่ ๕๘ จรกา ล่าสำ สิ้นสงสัยอิเหนา
- บทที่ ๕๙ ท้าวดาหาว่ากับอิเหนาเมื่อไปแก้สงสัย
- บทที่ ๖๐ นางวิยะดาถามอิเหนาถึงนางบุษบา
- บทที่ ๖๑ นางวิยะดาจะตามอิเหนาไปป่า
- บทที่ ๖๒ ประสันตานางบาหยันเชิญนางบุษบาไปชมสวน
- บทที่ ๖๓ ประสันตาเล่นตลกเวลานางบุษบาชมสวน
- บทที่ ๖๔ อิเหนาหลบพายุในเงื้อมเขา
- บทที่ ๖๕ ประสันตากะระตาหลาตกใจเมื่อนางหาย
- บทที่ ๖๖ อิเหนาสลบเมื่อทราบว่านางบุษบาหายไป
- บทที่ ๖๗ สังคามาระตาเตือนสติอิเหนา
บทที่ ๕๗
กะระตาหลาทูลอิเหนาว่าจรกามาเฝ้า
ต่อบทร้อง “เหมือนจะแคลงแหนงในใต้ธุลี” หน้า ๒๐๗
อิเหนา | ได้ความหรือเปล่า ว่าพูดจาว่ากะไร ทำท่วงทียังไงถึงเห็นว่าเปนที่สงสัย |
กะระตาหลา | หม่อมฉันซักไซ้นักแล้วก็ไม่ใคร่ได้ความชัด ทราบแต่ว่าระตูยกทัพมาหยุดอยู่ที่พลับพลา พบกับสังคามาระตา ดูกิริยาเร่งรัดซักไซ้สกัดสแกงสังคามาระตา แลเร่งรัดอยากจะเฝ้า จึงเห็นว่าจะสงสัย |
อิเหนา | อ๊ะ เรากินปูนร้อนท้องไปดอกกระมัง ลางทีก็จะเป็นแต่มาบอกข่าวทุกข์ร้อน จะคิดให้ช่วยเท่านั้นดอกกระมัง |
กะระตาหลา | ที่ทรงก็ควรอยู่ แต่ถึงแต่ก่อนเขาจะไม่สงสัย ถ้ามาไม่ได้เฝ้าที่พลับพลา ก็เห็นว่าจะต้องแคลงใจ เห็นจะต้องรีบเสด็จไปรับให้พบเสียโดยเร็วถึงจะได้ ที่หยุดรอเฝ้าอยู่เพียงพลับพลานั่นเห็นจะเป็นด้วยสังคามาระตาพูดหน่วงเหนี่ยวไว้ ถ้าช้าไปไหวขึ้นมาไม่ยอมคอยอยู่ กรากเข้าค้นคว้าก็จะเสียที ต้องเสด็จเสียให้ทันจึงจะดี |
อิเหนา | อือ พี่จะให้ข้าไปทำหน้าตาอย่างไร ยากอยู่ ถ้าพูดดีก็จะดีกันไป ถ้าพูดเหน็บแนมหยาบช้าอย่างไร ไหนน้องจะอดได้ จะมิเกิดวิวาทขัดใจกันขึ้นหรือ ตรองหน้าตรองหลังให้ตลอด จะทำอย่างไรจึงจะดี |
กะระตาหลา | ข้อนั้นหม่อมฉันไม่วิตก ด้วยสัญชาติลาหรือจะต่อด้วยราชสีห์ ถ้าดีแล้วไหนเราจะชิงเอาชีวิตมันมาได้ เห็นจะไม่กล้าเหน็บแนมหยาบช้าให้เป็นเหตุวิวาท ประการหนึ่ง แต่ก่อนมาเมื่อกำลังกำเริบยังทรงสกดพระทัยได้ กะเดี๋ยวนี้เหมือนกะผีมีแต่ซาก ไม่เห็นจะมีเหตุที่จะทำให้ทรงแค้นเคือง ถึงอย่างไรอย่างไรคงจะทรงเห็นแก่ประโยชน์ใหญ่ที่อยู่ในพระหัดถ์ คงจะหักพระโทษะได้ ไม่สู้น่าวิตก |
อิเหนา | ฉันก็เห็นอยู่ว่าจำจะต้องไป แต่จะต้องทำเป็นเจ็บร้อนไปด้วยตามที แต่วิตกอิกอย่างหนึ่งว่า ถ้าจะชวนไปติดตามละจะบิดผันไปอย่างไรถึงจะได้ละพี่ |
กะระตาหลา | ความข้อนี้ก็เห็นจะเป็นอยู่ เพราะเขามาทั้งนี้คงประสงค์เป็นสองอย่าง อย่างหนึ่งถ้าเขาเห็นแน่นอนว่าพระองค์เอานางมาซ่อนเร้นไว้ ก็คงจะคิดอ่านแบ่งกันอยู่เฝ้าควบคุมอยู่ แล้วทูลศรีปัตหรา ตามเหตุที่เขาควรจะสงสัยแลคิดการต่อไป ประการหนึ่งถ้าเขาเชื่อว่าพระองค์ไม่ได้เอานางมาไว้ ก็คงจะกราบทูลวิงวอนให้ช่วยติดตาม จะต้องคิดการแก้สงสัยให้ตลอด แต่หม่อมฉันเชื่อในพระบารมีไม่มีสงสัย ด้วยความจำเป็นซึ่งเป็นธรรมดามักเป็นผู้ช่างคิดอย่างเอก คงเป็นที่ปรึกษากราบทูลตักเตือนให้ทรงผ่อนผันได้ เชิญเสด็จไปให้พบฟังคารมดูท่าทางลิ้นลมดูก่อน จึงค่อยผ่อนผัน จะทรงพระวิตกอะไรกับลา มันไม่ใช่ม้าดอก ไม่สำคัญ |
อิเหนา | ฉันก็จะไป แต่จะช้าอยู่ไม่ได้ ด้วยชีวิตของฉันอยู่ที่นี่ อยู่ในมือที่รักษาไว้ ชีวิตเป็นของหายาก เหลือที่จะฝากคนอื่นได้ เป็นใจจริงของฉันอย่างนี้ ฉันว่าละพี่อย่าน้อยใจ รักน้องละช่วยรักษาให้ดีอย่าให้อันตรายมีได้ ถ้าพลาดพลั้งไปฉันคงตายก่อนพี่ทั้งหลายได้เห็นใจ |
กะระตาหลา | ที่ตรงนั้นอย่างทรงพระวิตก อันพวกเราถึงน้อยตัวก็จริง แต่ดีกว่าคนมากที่ไม่ร่วมใจกัน ที่จะเป็นเหมือนเช่นชาวดาหารักษาวังนั้นอย่าได้ทรงพระวิตกเลย ถึงมีเหตุการณ์มาประการใด หม่อมฉันทั้งปวงคงจะตายถวายก่อนไม่ให้เอาไปได้ อย่าได้ทรงพระวิตก เชิญเสด็จรีบร้อนโดยเร็วสักหน่อยจึงจะดี ถ้าช้าไปจนเขาสงสัยจะเสียที |