- คำนำ
- คำปรารภ
- นามท่านที่เป็นครู
- บทที่ ๑ จรกาทราบข่าวศึกมาติดเมืองดาหา
- บทที่ ๒ ตำมะหงงของจรกาจัดพล
- บทที่ ๓ อิเหนาครวญถึงนางจินตะหรา
- บทที่ ๔ ม้าใช้อิเหนาไปสืบทัพจรกา
- บทที่ ๕ ประสันตายั่วอิเหนา เมื่อรู้ว่าจรกายกมา
- บทที่ ๖ ชาวเมืองมาดูอิเหนาเข้าเมือง
- บทที่ ๗ ชาวเมืองชมอิเหนา
- บทที่ ๘ ท้าวดาหาสั่งให้สียะตราไปไหว้อิเหนา
- บทที่ ๙ ยาสา สั่งให้จัดปะเสบันอากง
- บทที่ ๑๐ พี่เลี้ยงปลอบบุษบา จะให้ขึ้นไปเฝ้า
- บทที่ ๑๑ นางมะดีหวีลงไปตามนางบุษบา ปลอบให้ขึ้นไปเฝ้า
- บทที่ ๑๒ นางมะดีหวีเตือนให้นางบุษบาออกไปไหว้อิเหนา
- บทที่ ๑๓ พี่เลี้ยงเถ้าแก่กำนัล ชมโฉมอิเหนา
- บทที่ ๑๔ นางบาหยัน ห้ามเถ้าแก่กำนัล
- บทที่ ๑๕ นางกำนัลพูด เมื่ออิเหนาเสียสติ
- บทที่ ๑๖ จรกาเข้าเฝ้าทูลท้าวดาหา
- บทที่ ๑๗ นางกำนัลติจรกา
- บทที่ ๑๘ กรมวังสั่งจัดตำหนักให้สุหรานากง กะหรัดตะปาตีพัก
- บทที่ ๑๙ สียะตรา เล่นเครื่องเล่นต่างๆ
- บทที่ ๒๐ สียะตราพูดกับอิเหนา เมื่อไปหาจรกากลับมา
- บทที่ ๒๑ อิเหนาส่งของมาถวายท้าวดาหา
- บทที่ ๒๒ พี่เลี้ยงปลอบนางบุษบาให้ร้อยดอกไม้
- บทที่ ๒๓ ท้าวล่าสำเข้าเฝ้าท้าวดาหา
- บทที่ ๒๔ ยาสาสั่งกระบวนเสด็จไปใช้บล
- บทที่ ๒๕ นางกำนัลดีใจจะได้ตามเสด็จ
- บทที่ ๒๖ สียะตราเถียงกับนางบุษบาเมื่อรับดอกไม้
- บทที่ ๒๗ ประสันตาชมนางบุษบา ล้ออิเหนา
- บทที่ ๒๘ ประสันตาชมนางบุษบา ล้ออิเหนา (ไม่ใช้)
- บทที่ ๒๘ สังคามาระตาพูดกับประสันตา (ที่ใช้)
- บทที่ ๒๙ สียะตราเถียงกับนางบุษบา เรื่องดอกไม้
- บทที่ ๓๐ นางบุษบาเล่นธาร
- บทที่ ๓๑ นางมะเดหวีอ่านสาร
- บทที่ ๓๒ จรกาออกพลับพลา
- บทที่ ๓๓ สมันกลับมาทูลมะเดหวี
- บทที่ ๓๔ นางกำนัลเล่นสะบ้า
- บทที่ ๓๕ นางบุษบาเล่นน้ำ
- บทที่ ๓๖ นางบุษบาเล่นเอาเถิด
- บทที่ ๓๗ นางยุบลหลงทาง
- บทที่ ๓๘ นางยุบลทูลอิเหนา
- บทที่ ๓๙ อิเหนาพูดกับนางยุบล
- บทที่ ๔๐ นางกำนัลเที่ยวหานางยุบล
- บทที่ ๔๑ อิเหนาดูเล่นกระบี่กระบอง
- บทที่ ๔๒ นางมะเดหวีให้สาวใช้มาไล่กิดาหยัน
- บทที่ ๔๓ นางมะเดหวีสอนนางบุษบาให้เสี่ยงเทียน
- บทที่ ๔๔ อิเหนาพูดปลอมพระปฏิมา
- บทที่ ๔๕ อิเหนาพูดกับนางมะเดหวี
- บทที่ ๔๖ อิเหนาขอสัตย์นางมะเดหวี
- บทที่ ๔๗ นางมะเดหวีให้สัตย์กับอิเหนา
- บทที่ ๔๘ หกกษัตริย์เล่นลอนเตนนิส
- บทที่ ๔๙ พวกระเด่นว่าเปรียบจรกา
- บทที่ ๕๐ พวกระเด่นพูดว่าเปรียบจรกาต่อไปอีก
- บทที่ ๕๑ สาวใช้ไปดูฤษี
- บทที่ ๕๒ นางมะเดหวีพูดกับพระฤษี
- บทที่ ๕๓ ฤษีถามเรื่องรดน้ำมนต์
- บทที่ ๕๔ ฤษีรดน้ำมนต์และให้พร
- บทที่ ๕๕ จรกาสั่งจัดพลจะไปตามนางบุษบา
- บทที่ ๕๖ จรกาพูดกับสังคามาระตา
- บทที่ ๕๗ กะระตาหลาทูลอิเหนาว่าจรกามาเฝ้า
- บทที่ ๕๘ จรกา ล่าสำ สิ้นสงสัยอิเหนา
- บทที่ ๕๙ ท้าวดาหาว่ากับอิเหนาเมื่อไปแก้สงสัย
- บทที่ ๖๐ นางวิยะดาถามอิเหนาถึงนางบุษบา
- บทที่ ๖๑ นางวิยะดาจะตามอิเหนาไปป่า
- บทที่ ๖๒ ประสันตานางบาหยันเชิญนางบุษบาไปชมสวน
- บทที่ ๖๓ ประสันตาเล่นตลกเวลานางบุษบาชมสวน
- บทที่ ๖๔ อิเหนาหลบพายุในเงื้อมเขา
- บทที่ ๖๕ ประสันตากะระตาหลาตกใจเมื่อนางหาย
- บทที่ ๖๖ อิเหนาสลบเมื่อทราบว่านางบุษบาหายไป
- บทที่ ๖๗ สังคามาระตาเตือนสติอิเหนา
บทที่ ๔
ม้าใช้อิเหนา ไปสืบทัพจรกา
ต่อบทร้อง “หวังจะช่วยชิงชัย” หน้า ๖
ม้าใช้ | ไหนใครเป็นขุนพล แน่ะ ตานั่นช่วยพาไปสักที |
ขุนพล | ทำไม ธุระอะไรนั่น ชาวด่านหรือ ดีละ จะหาเจ้าพนักงานนำทางอยู่เดี๋ยวนี้ นึกว่าจะให้ไปผูกคออยู่แล้ว เคราะห์ดีออกมาเสียก่อน ยังไง ทางข้างหน้ายังอิกสักกี่ร้อย มีน้ำที่ไหนมั่ง พลับพลาอยู่ที่ไหนฮะ ดูทำท่าแน่ะ นี่แกไม่รู้หรือว่ากองทัพผู้ใด |
ม้าใช้ | ถึงจะรู้ไม่รู้ฉันก็จะไม่ทำให้แปลกอะไรกัน อย่าเพ้อไปเลยคุณ ดีฉันไม่ใช่ขุนด่านหน้าทะเล่อเหมือนคุณนึกดอก |
ขุนพล | ชะเจ้าขุนด่านหน้ากล้อ นี่ไม่รู้จริงจริงหรือว่ากองทัพใคร จึงทำป่อไปยังงั้น บอกกันเสียจริงจริงเถอะจะบอกให้ |
ม้าใช้ | ก็บอกแล้วนี่นะว่าไม่ใช่ขุนด่าน ฉันเป็นนายทหารของสมเด็จพระบรมอรรคราโชรสกรุงกุเรปันรับสั่งใช้ให้มาดู ว่าทัพท่านเป็นทัพใครดอกคุณ |
บ่าวขุนพล | แอยังงั้นผมบอกมั่ง เจ้าคุณทั่นเป็นเจ้าคุณขุนพลแม่ทัพหน้า ของสมเด็จบรมกระษัตริย์เจ้ากรุงจรกา รู้หรือยังละ เจ้าของเขาโตกว่าเจ้าของแก |
ม้าใช้ | พ่อคุณเถอะ บอกสักหน่อยเถอะ ว่าจรกานั่นคือใคร มาทำไม |
ขุนพล | เอ๊ เจ้านี่เซ่อมาแต่ไหน พระองค์ผู้ทรงนามจรกาธิราชนั้น คือผู้ที่จะเป็นสามีของพระราชบุตรีกรุงดาหานั้นซิ อย่าทำเซ่อไปหะ หน้าซีด อย่าตื่นไป ไม่เป็นไร เจ้าของเราพระไทยดี อดทนไม่ลงโทษแก่ผู้ที่ไม่รู้ ไม่ตั้งใจทำผิดทางยุติธรรมดอก |
ม้าใช้ | อะไรละ ฉันหน้าตื่นหรือ ฮะ ฮะ ฮะ ท่านว่าเอาที่ฉันไม่เคยเป็นเลยสักที ตั้งแต่เกิดมาเป็นตัว เอาเถอะ แม้นจะเป็นขึ้นคราวนี้ คุณอย่านึกว่าเป็นเพราะตกใจ ถ้าจะเป็นก็เป็นเพราะมาได้ยินไอ้การที่ไม่ควรจะได้ยินดอก ฮะ ฮะ ฮะ ฮะ จรกาสามีของสมเด็จพระราชบุตรี |
ดาหา ฮะ ฮะ ฮะ ฮะ จะเป็นอย่างไรนะ รูปร่างจะเป็นพรรณไหน ฮะ ฮะ ฮะ | |
บ่าวขุนพล | (หัวเราะ) ชะ ทำไมนะ ขันจริงพิโธ่ แค่นด้วย นี่หรือนายทหาร หิ หิ หิ หิ หิ หิ หิ หิ หิ ไม่รู้จักเจ้าชีวิตรก็ได้ด้วย ทะไม่น่ะ รูปท่านก็เป็นคนอย่างข้านี่แหละ จะแปลกอะไร เว้นแต่ท่านทรงเครื่องอะไรอะไรงามกว่าข้าเท่านั้น |
ขุนพล | เสือก พูดผิดผิดถูกถูก หลังจะลายละอ้ายนี่ เอาเสียเดี๋ยวนี้ละ อึ อึ |
ม้าใช้ | ช้าขอรับ ถ้าแลเจ้าของคุณอยู่ในธรรมไม่ลงโทษแก่ผู้ไม่รู้ไม่แกล้งเหมือนคุณว่าจริงแล้ว คุณก็เห็นจะไม่ทำโทษแก่คนที่พูดจริงดอกขอรับ แกพูดจริงดอก ฮะ ฮะ ฮะ น่าจะอยากรู้แท้แท้ ว่าชาวจรกาจะมีกระจกส่องหรือไม่มีหนอ |
บ่าวขุนพล | ดูเถอะขอรับ เมื่อแกพูดยังงี้จะให้ผมอดยังไงได้นี่ กระจกไม่มีก็นึกได้ ข้าหาใช่เมืองป่าไม่ดอกพ่อเอ๊ย จะได้ไม่มีกระจก ทำไมเมืองแกหายากนักหรือ |
ม้าใช้ | ฮะ ฮะ ฮะ อย่าโกรธขึ้งไปเลยเพื่อนเอ๋ย ข้าขอถามอิกคำเถอะ กระจกเมืองแกน่ะเขาส่องกันข้างหน้าหรือข้างหลัง ถามจริงจริง |
บ่าวขุนพล | บ้า บ้าแน่ ให้ข้าดิ้นปัดปัดไปเถอะ ฮะ ฮะ ฮะ ส่องกระจกข้างหลังก็มีด้วย พิโธ่ พิโธ่ นี่คนหรืออะไรน่ะหึ |
ม้าใช้ | ทำไมนะ ข้าจะว่าให้ฟัง ถ้าหากชาวเมืองแกมีกระจก เจ้าของแกก็คงมี ไม่ต้องสงสัย ถ้าเขารู้จักส่องมันข้างหน้าท่านก็คงรู้จักส่องมัน มันเห็นได้เหมือนกัน นี่ทำไมมันไม่เช่นนั้น น่าสงสัยนัก |
บ่าวขุนพล | อะไรล่ะ เจ้าข้าไม่รู้จักส่องกระจก อุบ๊ะ บ้า บ้าแน่ |
ม้าใช้ | ช้า ฟังอิกก่อน เจ้ารู้แล้วสิว่ากระจกนั่นเขาใช้ส่องเพื่อจะให้เห็นหน้าว่ามันเป็นยังไง ยังงี้แหละข้าจึงนึกว่าเจ้าแก่ไม่มีกระจก หรือส่องไม่เป็น เพราะถ้าได้ส่องสักทีแล้วที่ไหนจะกล้าออกหน้าอวด อย่าว่าแต่ผู้หญิง ที่สุดผู้ชายก็อวดไม่ได้ นี่ไม่ยังงั้น เห็นผันออกลึกซึ้ง ผิดเชิงที่ข้าจะเชื่อ ว่าเมืองแกมีกระจกได้ แฮะ ถึงมีก็มีแต่ก่อนก่อน แต่เดี๋ยวนี้เห็นจะมีกฎหมายห้ามไม่ให้ใช้เป็นแน่ ฮะ ฮะ ฮะ ฮะ |
ขุนพล | เอ อ้ายนี่หยาบใหญ่ทีเดียวนี่หว่า ไม่ได้การ เห็นจะปล่อยตัวไปไม่ได้ |
ม้าใช้ | ช้า ช้า ขอรับ ใต้เท้าอย่าเพ่อโกรธผม คำที่กระผมว่านี้ ถึงทำให้คุณโกรธเดี๋ยวนี้ก็จริง แต่เมื่อกระผมไปแล้ว คุณก็จะหายโกรธ ถึงโกรธก็แต่ต่อหน้าคน ภายหลังจะไม่ทำให้คุณเสียใจ เพราะไม่ทำโทษแก่ผู้ที่พูดจริง ให้เสียทางยุติธรรมของเจ้าคุณ เหมือนเช่นคุณอวดเมื่อกี้ ผมกราบลาก่อนละขอรับ (ไป) |