- คำนำ
- คำปรารภ
- นามท่านที่เป็นครู
- บทที่ ๑ จรกาทราบข่าวศึกมาติดเมืองดาหา
- บทที่ ๒ ตำมะหงงของจรกาจัดพล
- บทที่ ๓ อิเหนาครวญถึงนางจินตะหรา
- บทที่ ๔ ม้าใช้อิเหนาไปสืบทัพจรกา
- บทที่ ๕ ประสันตายั่วอิเหนา เมื่อรู้ว่าจรกายกมา
- บทที่ ๖ ชาวเมืองมาดูอิเหนาเข้าเมือง
- บทที่ ๗ ชาวเมืองชมอิเหนา
- บทที่ ๘ ท้าวดาหาสั่งให้สียะตราไปไหว้อิเหนา
- บทที่ ๙ ยาสา สั่งให้จัดปะเสบันอากง
- บทที่ ๑๐ พี่เลี้ยงปลอบบุษบา จะให้ขึ้นไปเฝ้า
- บทที่ ๑๑ นางมะดีหวีลงไปตามนางบุษบา ปลอบให้ขึ้นไปเฝ้า
- บทที่ ๑๒ นางมะดีหวีเตือนให้นางบุษบาออกไปไหว้อิเหนา
- บทที่ ๑๓ พี่เลี้ยงเถ้าแก่กำนัล ชมโฉมอิเหนา
- บทที่ ๑๔ นางบาหยัน ห้ามเถ้าแก่กำนัล
- บทที่ ๑๕ นางกำนัลพูด เมื่ออิเหนาเสียสติ
- บทที่ ๑๖ จรกาเข้าเฝ้าทูลท้าวดาหา
- บทที่ ๑๗ นางกำนัลติจรกา
- บทที่ ๑๘ กรมวังสั่งจัดตำหนักให้สุหรานากง กะหรัดตะปาตีพัก
- บทที่ ๑๙ สียะตรา เล่นเครื่องเล่นต่างๆ
- บทที่ ๒๐ สียะตราพูดกับอิเหนา เมื่อไปหาจรกากลับมา
- บทที่ ๒๑ อิเหนาส่งของมาถวายท้าวดาหา
- บทที่ ๒๒ พี่เลี้ยงปลอบนางบุษบาให้ร้อยดอกไม้
- บทที่ ๒๓ ท้าวล่าสำเข้าเฝ้าท้าวดาหา
- บทที่ ๒๔ ยาสาสั่งกระบวนเสด็จไปใช้บล
- บทที่ ๒๕ นางกำนัลดีใจจะได้ตามเสด็จ
- บทที่ ๒๖ สียะตราเถียงกับนางบุษบาเมื่อรับดอกไม้
- บทที่ ๒๗ ประสันตาชมนางบุษบา ล้ออิเหนา
- บทที่ ๒๘ ประสันตาชมนางบุษบา ล้ออิเหนา (ไม่ใช้)
- บทที่ ๒๘ สังคามาระตาพูดกับประสันตา (ที่ใช้)
- บทที่ ๒๙ สียะตราเถียงกับนางบุษบา เรื่องดอกไม้
- บทที่ ๓๐ นางบุษบาเล่นธาร
- บทที่ ๓๑ นางมะเดหวีอ่านสาร
- บทที่ ๓๒ จรกาออกพลับพลา
- บทที่ ๓๓ สมันกลับมาทูลมะเดหวี
- บทที่ ๓๔ นางกำนัลเล่นสะบ้า
- บทที่ ๓๕ นางบุษบาเล่นน้ำ
- บทที่ ๓๖ นางบุษบาเล่นเอาเถิด
- บทที่ ๓๗ นางยุบลหลงทาง
- บทที่ ๓๘ นางยุบลทูลอิเหนา
- บทที่ ๓๙ อิเหนาพูดกับนางยุบล
- บทที่ ๔๐ นางกำนัลเที่ยวหานางยุบล
- บทที่ ๔๑ อิเหนาดูเล่นกระบี่กระบอง
- บทที่ ๔๒ นางมะเดหวีให้สาวใช้มาไล่กิดาหยัน
- บทที่ ๔๓ นางมะเดหวีสอนนางบุษบาให้เสี่ยงเทียน
- บทที่ ๔๔ อิเหนาพูดปลอมพระปฏิมา
- บทที่ ๔๕ อิเหนาพูดกับนางมะเดหวี
- บทที่ ๔๖ อิเหนาขอสัตย์นางมะเดหวี
- บทที่ ๔๗ นางมะเดหวีให้สัตย์กับอิเหนา
- บทที่ ๔๘ หกกษัตริย์เล่นลอนเตนนิส
- บทที่ ๔๙ พวกระเด่นว่าเปรียบจรกา
- บทที่ ๕๐ พวกระเด่นพูดว่าเปรียบจรกาต่อไปอีก
- บทที่ ๕๑ สาวใช้ไปดูฤษี
- บทที่ ๕๒ นางมะเดหวีพูดกับพระฤษี
- บทที่ ๕๓ ฤษีถามเรื่องรดน้ำมนต์
- บทที่ ๕๔ ฤษีรดน้ำมนต์และให้พร
- บทที่ ๕๕ จรกาสั่งจัดพลจะไปตามนางบุษบา
- บทที่ ๕๖ จรกาพูดกับสังคามาระตา
- บทที่ ๕๗ กะระตาหลาทูลอิเหนาว่าจรกามาเฝ้า
- บทที่ ๕๘ จรกา ล่าสำ สิ้นสงสัยอิเหนา
- บทที่ ๕๙ ท้าวดาหาว่ากับอิเหนาเมื่อไปแก้สงสัย
- บทที่ ๖๐ นางวิยะดาถามอิเหนาถึงนางบุษบา
- บทที่ ๖๑ นางวิยะดาจะตามอิเหนาไปป่า
- บทที่ ๖๒ ประสันตานางบาหยันเชิญนางบุษบาไปชมสวน
- บทที่ ๖๓ ประสันตาเล่นตลกเวลานางบุษบาชมสวน
- บทที่ ๖๔ อิเหนาหลบพายุในเงื้อมเขา
- บทที่ ๖๕ ประสันตากะระตาหลาตกใจเมื่อนางหาย
- บทที่ ๖๖ อิเหนาสลบเมื่อทราบว่านางบุษบาหายไป
- บทที่ ๖๗ สังคามาระตาเตือนสติอิเหนา
บทที่ ๕๖
จรกาพูดกับสังคามาระตา
ต่อบทร้อง “ทำไฉนจะพบพระภูมี” หน้า ๒๐๖
สังคามาระตา | ที่รับสั่งน่ะอย่างไรอยู่ ทำไมการเกิดขึ้นใหญ๋โตถึงเพียงนี้ ช่างไม่ได้ความเลยหรือใครเป็นต้นเหตุ |
จรกา | เป็นแต่คำคนว่าชาวกะหมังกุหนิง แต่ก็ไม่มีหลักฐานที่จะเชื่อว่าจริง |
สังคามาระตา | ผู้ร้ายเป็นหนักหนา อะไรจับไม่ได้เลยสักคนเทียวหรือ |
จรกา | นั่นแหละก็ยาก ฉันเป็นแขกเมืองมา การจะเป็นอย่างไรก็เหลือวิสัยจะว่า |
สังคามาระตา | เมื่อเกิดเหตุน่ะพระองค์เสด็จอยู่ที่ไหน |
จรกา | พอรู้เหตุก็รีบมาเฝ้าศรีปัตหราช่วยดับไฟ ต่อภายหลังจึงรู้ว่าศัตรูลักนางไป |
สังคามาระตา | พระบุตรีอยู่ที่ไหน |
จรกา | อยู่ในวังจ้ะ |
สังคามาระตา | เออก็จะลักอย่างไร |
จรกา | นั่นสิมันถึงน่าสงสัย |
สังคามาระตา | สงสัยว่ากะไร |
จรกา | หึ หึ (ถ้าเกิดความ ค้อน) |
สังคามาระตา | ทราบไหมล่ะ ว่าเวลาที่ลักนั้นทำอย่างไร |
จรกา | ก็ว่ากันว่ากำลังชุนละมุน มีผู้ปลอมเป็นฉันเข้าไปรับนางออกมา มันใส่ความ มันใส่ความ |
สังคามาระตา | ปล่อยให้พานางไปองค์เดียว ไม่มีใครตามไป เออ ทำไมพวกนั้นถึงจำพระองค์ไม่ได้ จะปลอมพระองค์ก็ปลอมยากอยู่ ถ้าใจหม่อมฉัน ถึงมืดเท่ามืดก็คงรู้จัก ที่ใครจะปลอมให้เหมือนยากนัก กำแพงวังก็ถึงสามชั้น เจ้าพนักงานก็แน่นหนา เวลาก็กลางคืน แลกำลังมีเหตุใหญ่ จะปล่อยให้คนเข้าออกง่ายง่ายอย่างไร นี่พระองค์รับสั่งเองก็ต้องจำเชื่อว่าจริง แต่ถ้าเปนแต่คำเลื่องคำลือละหม่อมฉันจะสบถสู้ละ ไม่เชื่อไม่ถือสักสิ่ง |
จรกา | การมันเป็นอย่างนี้แหละ จะรู้ที่จะทำยังไง |
สังคามาระตา | เป็นอัศจรรย์จริงจริง อนิจาสงสารระเด่นมนตรี ถ้าทรงทราบเข้าละเห็นจะทรงชอกช้ำนักในเรื่องนี้ อนิจาสู้จากรักบุกป่าฝ่าดงเอาเหื่อต่างน้ำ เอาชีวิตสู้คมอาวุธต่อศัตรู ปราถนาจะรักษาเกียรติยศมิให้มีเหตุการณ์ได้ ควรละหรืออิกสักสองสามวันจะได้กลับไปเป็นสุข ควรหรือมาเกิดทุกข์ขึ้นอิกได้ น่ากลัวว่าจะทรงขัดเคืองพระองค์มาก |
จรกา | จะกริ้วฉันด้วยเรื่องอะไร้ ตัวฉันดอกเป็นผู้ได้ความทุกข์ผู้เดียวอย่างยิ่งในการเรื่องนี้ |
สังคามาระตา | รับสั่งอะไรอย่างนั้น เวลานี้ท่านยังเปนผู้อื่น เมื่อมีความรักก็จะมีความทุกข์ ถ้าท่านไม่รักท่านจะทุกข์ที่ไหน การที่จะรู้ว่าท่านรักหรือไม่รัก ใครเลยจะประกันได้ แม้ว่าท่านจะทุกข์หนักทุกข์ยิ่งในเวลานี้ นานนานก็จะคลายหายไป หรือถ้าท่านเกิดรังเกียจเดียจฉัน ความรักนั้นก็กลับได้ แต่ฝ่ายระเด่นมนตรีท่านเป็นน้องเป็นพี่กัน ต้องเจ็บต้องอายไม่รู้จักหายจักเหือดได้ เสียน้องเสียพระนามเสียเกียรยศอย่างยิ่ง เพราะอยู่กับข้างเมือง ยังมีเหตุแค้นเคืองถึงสาหัสได้เช่นนี้ ท่านคิดดูเถอะ เป็นอกของใครจะไม่เสียใจเต็มที |
จรกา | ถึงยังนั้นจะกริ้วฉันยังไร |
สังคามาระตา | ทำไมจะไม่กริ้ว การเกิดขึ้นทั้งนี้ก็เพราะท่านหรือมิใช่ เสียแรงองค์ศรีปัตหราและระเด่นมนตรีนับถือว่าท่านเป็นชายเชื้อกษัตริย์มหาศาล จนถึงจะให้ร่วมวงศ์เทวา ท่านช่างไม่ประพฤติตนให้สมกับความเชื่อถือ ใจขลาดเสียยิ่งกว่าสัตรี รักษาอยู่กับที่ควรละหรือปล่อยให้เกิดเหตุ เสียทีใหญ่ถึงเพียงนี้ ไม่ได้ความว่าติดตามหรือต่อสู้ขัดขวางแต่อย่างหนึ่งอย่างใดเลย ถ้าระเด่นมนตรีไม่เชื่อไม่หวังพระทัยในท่าน ที่ไหนจะเสด็จออกมามัวเพลิดเพลินอยู่ที่นี่ ที่ไหนจะเกิดเหตุใหญ่เสียที ท่านเพ็ดทูลเฝ้าแหนระเด่นมนตรี จงคิดอ่านพิดทูลแก้ไขให้ดีดี อย่าให้เกิดขัดเคืองมากขึ้นได้ ที่หม่อมฉันทูลตักเตือนทั้งนี้ ก็เพราะคิดถึงพระคุณที่ทรงไว้วางพระทัยว่าหม่อมฉันเป็นคนรักใคร่นับถือพระองค์ท่าน |
จรกา | จ้ะ เธอกับฉันรักกันมาก รักกันมานาน รักกันมานาน แต่เมื่ออย่างนั้นก็ผิดจริง ผิด ผิด จะทำยังไรได้ ครั้งนี้ฉันได้ความทุกข์ที่สุด สิ้นสติปัญญา ที่พ่อเตือนทั้งนี้เป็นการดีหนักหนา |