- คำนำ
- คำปรารภ
- นามท่านที่เป็นครู
- บทที่ ๑ จรกาทราบข่าวศึกมาติดเมืองดาหา
- บทที่ ๒ ตำมะหงงของจรกาจัดพล
- บทที่ ๓ อิเหนาครวญถึงนางจินตะหรา
- บทที่ ๔ ม้าใช้อิเหนาไปสืบทัพจรกา
- บทที่ ๕ ประสันตายั่วอิเหนา เมื่อรู้ว่าจรกายกมา
- บทที่ ๖ ชาวเมืองมาดูอิเหนาเข้าเมือง
- บทที่ ๗ ชาวเมืองชมอิเหนา
- บทที่ ๘ ท้าวดาหาสั่งให้สียะตราไปไหว้อิเหนา
- บทที่ ๙ ยาสา สั่งให้จัดปะเสบันอากง
- บทที่ ๑๐ พี่เลี้ยงปลอบบุษบา จะให้ขึ้นไปเฝ้า
- บทที่ ๑๑ นางมะดีหวีลงไปตามนางบุษบา ปลอบให้ขึ้นไปเฝ้า
- บทที่ ๑๒ นางมะดีหวีเตือนให้นางบุษบาออกไปไหว้อิเหนา
- บทที่ ๑๓ พี่เลี้ยงเถ้าแก่กำนัล ชมโฉมอิเหนา
- บทที่ ๑๔ นางบาหยัน ห้ามเถ้าแก่กำนัล
- บทที่ ๑๕ นางกำนัลพูด เมื่ออิเหนาเสียสติ
- บทที่ ๑๖ จรกาเข้าเฝ้าทูลท้าวดาหา
- บทที่ ๑๗ นางกำนัลติจรกา
- บทที่ ๑๘ กรมวังสั่งจัดตำหนักให้สุหรานากง กะหรัดตะปาตีพัก
- บทที่ ๑๙ สียะตรา เล่นเครื่องเล่นต่างๆ
- บทที่ ๒๐ สียะตราพูดกับอิเหนา เมื่อไปหาจรกากลับมา
- บทที่ ๒๑ อิเหนาส่งของมาถวายท้าวดาหา
- บทที่ ๒๒ พี่เลี้ยงปลอบนางบุษบาให้ร้อยดอกไม้
- บทที่ ๒๓ ท้าวล่าสำเข้าเฝ้าท้าวดาหา
- บทที่ ๒๔ ยาสาสั่งกระบวนเสด็จไปใช้บล
- บทที่ ๒๕ นางกำนัลดีใจจะได้ตามเสด็จ
- บทที่ ๒๖ สียะตราเถียงกับนางบุษบาเมื่อรับดอกไม้
- บทที่ ๒๗ ประสันตาชมนางบุษบา ล้ออิเหนา
- บทที่ ๒๘ ประสันตาชมนางบุษบา ล้ออิเหนา (ไม่ใช้)
- บทที่ ๒๘ สังคามาระตาพูดกับประสันตา (ที่ใช้)
- บทที่ ๒๙ สียะตราเถียงกับนางบุษบา เรื่องดอกไม้
- บทที่ ๓๐ นางบุษบาเล่นธาร
- บทที่ ๓๑ นางมะเดหวีอ่านสาร
- บทที่ ๓๒ จรกาออกพลับพลา
- บทที่ ๓๓ สมันกลับมาทูลมะเดหวี
- บทที่ ๓๔ นางกำนัลเล่นสะบ้า
- บทที่ ๓๕ นางบุษบาเล่นน้ำ
- บทที่ ๓๖ นางบุษบาเล่นเอาเถิด
- บทที่ ๓๗ นางยุบลหลงทาง
- บทที่ ๓๘ นางยุบลทูลอิเหนา
- บทที่ ๓๙ อิเหนาพูดกับนางยุบล
- บทที่ ๔๐ นางกำนัลเที่ยวหานางยุบล
- บทที่ ๔๑ อิเหนาดูเล่นกระบี่กระบอง
- บทที่ ๔๒ นางมะเดหวีให้สาวใช้มาไล่กิดาหยัน
- บทที่ ๔๓ นางมะเดหวีสอนนางบุษบาให้เสี่ยงเทียน
- บทที่ ๔๔ อิเหนาพูดปลอมพระปฏิมา
- บทที่ ๔๕ อิเหนาพูดกับนางมะเดหวี
- บทที่ ๔๖ อิเหนาขอสัตย์นางมะเดหวี
- บทที่ ๔๗ นางมะเดหวีให้สัตย์กับอิเหนา
- บทที่ ๔๘ หกกษัตริย์เล่นลอนเตนนิส
- บทที่ ๔๙ พวกระเด่นว่าเปรียบจรกา
- บทที่ ๕๐ พวกระเด่นพูดว่าเปรียบจรกาต่อไปอีก
- บทที่ ๕๑ สาวใช้ไปดูฤษี
- บทที่ ๕๒ นางมะเดหวีพูดกับพระฤษี
- บทที่ ๕๓ ฤษีถามเรื่องรดน้ำมนต์
- บทที่ ๕๔ ฤษีรดน้ำมนต์และให้พร
- บทที่ ๕๕ จรกาสั่งจัดพลจะไปตามนางบุษบา
- บทที่ ๕๖ จรกาพูดกับสังคามาระตา
- บทที่ ๕๗ กะระตาหลาทูลอิเหนาว่าจรกามาเฝ้า
- บทที่ ๕๘ จรกา ล่าสำ สิ้นสงสัยอิเหนา
- บทที่ ๕๙ ท้าวดาหาว่ากับอิเหนาเมื่อไปแก้สงสัย
- บทที่ ๖๐ นางวิยะดาถามอิเหนาถึงนางบุษบา
- บทที่ ๖๑ นางวิยะดาจะตามอิเหนาไปป่า
- บทที่ ๖๒ ประสันตานางบาหยันเชิญนางบุษบาไปชมสวน
- บทที่ ๖๓ ประสันตาเล่นตลกเวลานางบุษบาชมสวน
- บทที่ ๖๔ อิเหนาหลบพายุในเงื้อมเขา
- บทที่ ๖๕ ประสันตากะระตาหลาตกใจเมื่อนางหาย
- บทที่ ๖๖ อิเหนาสลบเมื่อทราบว่านางบุษบาหายไป
- บทที่ ๖๗ สังคามาระตาเตือนสติอิเหนา
บทที่ ๖๗
สังคามาระตาเตือนสติอิเหนา
ต่อบทร้อง “กว่าจะได้พบองค์นงเยาว์” หน้า ๒๔๘
อิเหนา | (โคลงพระเศียร) ฮ้าย พี่เหลือทนเต็มที สิ้นสติสมประดีแล้วครั้งนี้ |
สังคามาระตา | รับสะกะหม่อม การเศร้าโศกไม่ได้ทำให้เป็นประโยชน์สิ่งใด แม้พอที่จะมีช่องติดตามหา ถ้ามีโศกมาก็ทำให้ช้า หรือบางทีทำให้หาไม่ได้ ความที่ทรงโศกก็ไม่ได้ทราบถึงพระน้องนาง มามัวโศกเสียยังงี้ มีแต่จะเสียทุกอย่าง |
อิเหนา | จ้ะ จ้ะ พ่อไม่มีทุกข์พ่อก็ไม่รู้ว่าทุกข์น่ะเป็นอย่างไร ถึงพ่อฉลาดคาดอะไรถึง พ่อก็ไม่อาจคาดถึงความทุกข์ของคนที่มีทุกข์ได้ แม้พระอาทิตย์ที่ส่องทั่วโลก ก็ไม่ส่องเข้าไปถึงทุกข์ที่ซ่อนอยู่ในกลีบหัวใจ พุ่ทโธ่ พุ่ทโธ่ พ่อพูดราวกะทุกข์มันเกาะอยู่เหมือนทากเหมือนปลิง จะได้ดึงทิ้งง่ายง่ายได้ เมื่อไหร่แหละถึงตัว ถึงจะลงนั่งโคลงหัวอยู่เหมือนพี่ ฮาย ฮาย เต็มที เต็มที |
สังคามาระตา | ที่ทรงดังนี้เป็นการจริงทุกสิ่งทุกประการ หม่อมฉันไม่คัดค้านหามิได้ แต่ยังต้องขอฝ่าพระอาญากราบทูลอิก ว่าการที่ทรงทุกข์อยู่นี้มีแต่อันตราย ทั้งพระองค์ที่อยู่แลพระน้องที่หาย ความทุกข์อย่างนี้ควรจะมีมาก แหละยากที่จะละเว้นจริง แตถึงกระนั้น สู้คิดกันดีกว่านิ่ง ถึงโรคจะหนักเหลือที่จะเยียวยาหาย ก็ต้องขวนขวายไว้ดีกว่าทิ้ง ความทุกข์มันจะมีก็ต้องจำมีอยู่เป็นธรรมดา แม้จะละทิ้งเสียมิได้ก็ต้องทนไป แต่คิดอ่านเสาะแสวงหาพระน้องนางไปด้วย เผื่อบางทีจะพบได้ก็แก้ทุกข์ได้ ดีกว่าทุกข์อยู่เปล่าๆ ซึ่งหม่อมฉันกราบทูลเกินมานี้ พระอาญาไม่พ้นเกล้าพ้นกระหม่อม |
บทเจรจารวม ๖๘ บท ทั้งที่ซ้ำความกันบทหนึ่ง หมดเพียงเท่านี้