ตัวอย่างคำใช้วรรณยุต ของมหาฉ่ำ

วรรณยุตที่ใช้ในศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหง ม.ศ. ๑๒๑๔ (พ.ศ. ๑๘๓๕) คือ

๑. วิสัญชนี ะ เช่น พระ แคะ

๒. พินเอก ่ เช่น พ่ ชื่ พี่น่อง แฏ่ เมื่อ ใหญ่ ท่ เกลื่อน ไพร่ ญญ่าย บ่หนี ขี่ ก่อน ฏ่ พู่ง แพ่ พ่าย จี่ง ช่วว แก่ แม่ อร่อย ฎ่งง ใคร่ กว่า ป่า แล่งความ ซื่ ซ่อน ท่าน ช่อย เฟื่อ ป่วว ก่ดี อนนณื่ง กล่าว ท่วว แห่ง ก่หลาย หมากม่วง ศี่ ท่วยป่วว ทงงซิ่น ณ่งง แล่ ศู่ ปู่ครู ไร่ ถิ่น ใช่ ญ่อม แฏ่ง อยู่ แต่ มี่ได๋ เมืองม่าน ทย่ง

๓. พินโท ๋ เช่น ท๋อง ห๋า ผู๋ชาย ผู๋ญีง อ๋าย ได๋ เก๋า เข๋า เจ๋า ซ๋าย ช๋าง ด๋วย ฃื๋น บ๋าน นี๋ น๋ำ ค๋า ม๋า ฝ๋า หน๋า แล๋ ลํ๋ตาย เชื๋อ เลื๋อ ฅ๋า ข๋า สิ๋น ผี๋แล๋ แท๋แล๋ กู๋ ให๋ ฃ๋า ไว๋ ห๋นน ไร๋ ส๋าง ร๋อย แล๋ว พนํบี๋ยย ไม๋ ล๋าน พ๋น พู๋น เท๋า เลื๋อน เหล๋น ท๋ยนญ๋อม เบื๋อง แกล๋ง หมากพร๋าว น๋นน ไหว๋ ฅู๋ม ฏ๋งง บ๋าง ผี๋ใช่ เฃ๋ามา ถ๋ำ ใต๋หล๋า ล๋อม ท๋าว รู๋ แกล๋ว กว๋าง ล๋ยง

๔. ฟองดัน ๏ เช่น ความว่า “เบื๋องตีน นอนรอดเมืองแพลเมืองน่าน เมืองน.... เมืองพลววพ๋นฟงงของเมืองชวาเปนทีแล๋ว ๏ ปลูกล๋ยงผูงลูกบ๋านลูกเมืองน๋นนชอบด๋วยธรมมทุกคน”

๕. นฤคหิต ํ เช่น คํแหง บํเรอ สํ๋ พรำบํเรอ กลํ นํ๋ ลํ๋ ชํ พนํ ดํ บงคํ กทำ แกก็ จำ ถ๋ำ ฝ่งงน๋ำสํพาย, สะลวง ลองแควลุํบาจายสคา, วยงคำ

วรรณยุตที่ใช้ในศิลาจารึกวัดศรีชุม ศักราชไม่ปรากฎ คือ

๑. วิสัญชนี ะ เห็น พระ สวาะ ละ แพะ สะ

๒. พินเอก ่ เปน ก่พระทนตธาตุ พ่ บ่มิ ส่างเจดีย ท่าน ก่ทำ แห่ง แก่ ก่ดี ญ่ ต่ ฅ่าบ ค่ำ กล่าว อ่นิตย อ่นาต แต่ง แง่ ลูกสาวสองค่น ข่ หล่ายพรรณ หล่ายครวว ไก่ ห่าน นกห่ก ใหม่ เก่า หน่กกหนา ล่าง แฅ่งขา ญ่อม ล่ ช่อง ใหญ่ ฝ่าย แล่น ว่า ส่อง สู่

๓. พินโท ๋ เช่น รู๋ น๋นน เจ๋า ผู๋เถ๋า แม๋นซี ด๋วย ฅ๋อน ช๋าง ย๋อย เร๋า ท๋าว เก๋าเข๋า ล๋าง อย๋าวเรือน ผ๋า ต๋นไม๋ อ๋อม แล๋ว แล๋ น๋ำ แพ๋ ห๋า บ๋าน สู๋ ต๋อง

๔. ฟองดัน ๏ เช่นความว่า “เขาใหกูอาราธนาพระจิงลงมาปรทกกสินรอบพระเจดีทอง แลวผยองฃีนเมิอเลา ๏ กูมีสรธาหนกก หนาถูจิงทอดตนกู โอยทาน”

๕. นฤคหต ํ เช่น สํเดจ เมืองลำพง พ่ขุนนำถํ แกก็ ชุํ กทำ จำ ลํ ชํพูทวิบ ก็ลงง คำแหง คลำ คำ จำบงง อาสรํมบท ตำนกก ชุํนุํ ธํ ผํ สํภาร น๋ำ ดำ สํแดง

วรรณยุตที่ใช้ในศิลาจารึกนครชุม ม.ศ. ๑๒๗๙ (พ.ศ. ๑๙๐๐) คือ

๑. วสัญชนี ะ เช่น พระ ปีโถะ โหะ

๒. พินเอก เช่น แต่ง แต่ แก่ ก่พระธาตุ ว่า บ่ชอบ ก่จกกหาย อยู่ กว่า ท่าน

๓. พินโท ๋ เช่น ห๋า น๋นน แล๋ ผู๋ ได๋ ท๋าว ไหว๋ พู๋น เจ๋า เก๋า สิ๋น ต๋น แท๋ ถ๋วน ห๋นน จุ๋งคนทงงหลาย

๔. ฟองดัน ๏ เช่นความว่า “ปีอนนพระได๋เปนพระพุทธน๋นนในปีวอก ผิจกกนบบด๋วยเดีอนได๋ญิบเหมินสิพนนหกสิบเดีอน ๏ เดีอนอนนพระได๋เปนพระพุทธน๋นนในเดีอนหก”

๕. นฤคหิต ํ เช่น ผชุํ นครชุํ ลํ ก็ลงง อํนาจ แกก็ คำ กทำ อยำ จํพวก พระยํมก จำ คำ

วรรณยุตที่ใช้ในศิลาจารึกวัดป่ามะม่วง ม.ศ. ๑๒๘๓ (พ.ศ. ๑๙๐๔) คือ

๑. วิสัญชนี ะ เช่น พระ

๒. พินเอก ่ เช่น ก่อน ท่าน บ่ ใคร่ อ่ดเนิอ อ่ดใจแก่ ก่พีหาร ก่สตูบ แต่ พุ่ง

๓. พินโท ๋ เช่น เปนถ๋อง ด๋วย บ๋ข๋า ข๋าม แล๋ว เจ๋า ร๋อย แล๋ น๋นน

๔. นฤคหิต ํ เช่น แกก็ กทำ สํริด

วรรณยุดที่ใช้ในศิลาจารึกวัดป่าแดง จ.ศ. ๗๖๘ (พ.ศ. ๑๙๔๙) คือ

๑. วิสัญชนี ะ เช่น พระ บนนจุะ ปีโถะ ประถมยาม

๒. พินเอก ่ เช่น ก่ บ่ ปู่ ป่าแดง ใส่

๓. พินโท ๋ เช่น เจ๋า เก๋า แล๋ว แล๋

๔. ฝนทองและฟองดัน ๚ ๐ ๚ เช่นความว่า “เมิอสินเวสสภูมหาเถรใส เราไวแกมงคลวิลาสมหาเถร ดวยสุขบริโภคแล๋วแล ๚ ๐ ๚”

๕. นฤคหิต ํ เช่น ควรสํ ชุํ โอํการ อาวาสสุํมวง คำ กทำ สํเรจ

วรรณยุตที่ใช้ในศิลาจารึกวัดพระเสด็จ พ.ศ. ๒๐๖๑ คือ

๑. วิสัญชนี ะ เช่น พระศรีสรรเพชญะ ประทาน บพิตระ นักษตระ วันสุกระ

๒. พินเอก ่ เช่น ข่าขาย

๓. พินโท ้ เช่น แก้ว แผ้ว ให้ เจ้า ท้าว แล้ว ข้า

๔. ฝนทอง ๚ เช่นความว่า “การสถาปนาพระพิหารสถานพระสรรเพชญอันเสดจมาแตวันาวาศนั้นแล ๚”

๕. ฟองดัน ๏ เช่น “๏ ศุภมัษดุ”

๖. นฤคหิต ํ เช่น สํเดจ ผสํ อำแดง คำ จำนง สำเรจ สองตำลิง สำราน สำริท ทำ

วรรณยุตที่ใช้ในภาษาลาว คือ

๑. วิสัญชนี ะ เช่น จะ ชะนะ ปะ ปะการ ปะมวญ ปะมาณ ธุระ

๒. ฝนทอง ๚ เช่น “บริบูรณ ๚”

๓. ฟองดัน ๏ เช่น “๏ เมื่อนั้น”

๔. นฤคหิต ํ เช่น อํว (อังวะ) อํกฺลิฑ (อังกฤษ) คำ ชำนาญ บำเรอ (คำว่า “อํว อํกฺลิฑ” มีอยู่ในจดหมายเหตุรัชชกาลที่ ๓ จ.ศ. ๑๒๐๓)

  1. ๑. นายฉ่ำ ทองคำวรรณ (พ.ศ. ๒๔๔๐-๒๕๑๒) เกิดที่จังหวัดพระตะบอง บวชเณรและเดินทางเข้ามากรุงเทพฯ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๖ จำพรรษาที่วัดโมฬีโลกยาราม ๓ พรรษา พ.ศ. ๒๔๕๙ ย้ายไปจำพรรษาที่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์ จนอุปสมบทและได้เปรียญ ๓ ประโยด หลังจากลาสิกขาบท ศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดส์ ฝากให้ทำงานกับสมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ที่ราชบัณฑิตยสถาน เนื่องจากเป็นผู้เชี่ยวชาญในภาษาเขมร บาลี สันสกฤตและอื่นๆ จึงได้ทำงานสำคัญๆ อาทิ เช่น อ่านศิลาจารึกต่อจากศาสตราจารย์เซเดส์ เป็นกรรมการชำระปทาทุกรม ใน พ.ศ. ๒๔๘๕ สอนภาษาเขมรที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร และมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย เป็นต้น

แชร์ชวนกันอ่าน

แจ้งคำสะกดผิดและข้อผิดพลาด หรือคำแนะนำต่างๆ ได้ ที่นี่ค่ะ