- คำนำ
- ประวัติท้าวนารีวรคณารักษ์
- นิทานเรื่องนำ
- ๑ นิทานเรื่องนางตรีบิดา
- ๒ นิทานเรื่องนายกอาย
- ๓ นิทานเรื่องบุตรีขุนเมือง
- ๔ นิทานเรื่องวิปกฤษพราหมณ์
- ๕ นิทานเรื่องอุบลเศรษฐี
- ๖ นิทานเรื่องพระมหาเถรรักศิษย์ไม่เสมอกัน
- ๗ นิทานเรื่องท้าวเอฬาราช
- ๘ นิทานเรื่องมาณพเลี้ยงพังพอน
- ๙ นิทานเรื่องโอรสพระเจ้าอุพัทธราชาธิราช
- ๑๐ นิทานเรื่องเศรษฐีสอนบุตร
- ๑๑ นิทานเรื่องโอรสพระเจ้ากรุงมัทราส
- ๑๒ นิทานเรื่องเศรษฐีบุตร ๔ คน
- ๑๓ นิทานเรื่อง ๔ มาณพ
- ๑๔ นิทานเรื่องจตุรพราหมณ์
- ๑๕ นิทานเรื่องจตุรนารี
- ๑๖ นิทานเรื่องพราหมณ์เลือกเมีย
- ๑๗ นิทานเรื่องสุบินกุมาร
- ๑๘ นิทานเรื่องนายสำเภาชื่อสุริยวาณิช
- ๑๙ นิทานเรื่องพระเจ้าไตรวัต
- ๒๐ นิทานเรื่องพระยารีผัวเมีย
- ๒๑ นิทานเรื่องกษัตริย์สรโนธมาธิราช
- ๒๒ นิทานเรื่องชายชาวชนบท
- ๒๓ นิทานเรื่องตากับยายชาวชนบท
- ๒๔ นิทานเรื่องพระเจ้ากรุงศรีภิรมย์มหาราช
- ๒๕ นิทานเรื่องนางกะเชอรั่ว
- ๒๖ นิทานเรื่องพเอิญเข้าดลใจ
- ๒๗ นิทานเรื่องนายแวง ๒ คนเฝ้าท้องพระโรง
- ๒๘ นิทานเรื่องรัตนทัตบุตรเศรษฐี
- ๒๙-๓๐ นิทานเรื่องวิษณุคุบ
- ๓๑ นิทานเรื่องตำรวจ ๒ สหาย
- ๓๒ นิทานเรื่องสุนัขจิ้งจอกพบกลอง
- ๓๓ นิทานเรื่องเลือดมาอาศรัยเล็น
- ๓๔ นิทานเรื่องเศวตโคธา
- ๓๕ นิทานเรื่องสุนัขจิ้งจอกแทะสายหน้าไม้
- ๓๖ นิทานเรื่องคชทุมพรราชกุมาร
- ๓๗ นิทานเรื่องหงส์หามเฒ่า
- ๓๘ นิทานเรื่องลากับราชสีห์
- ๓๙ นิทานเรื่องพราหมณ์ช่วยกบ
- ๔๐ นิทานเรื่องน้ำผึ้งหก
- ๔๑ นิทานเรื่องฤษีชุบสุนัขเปนราชสีห์
- ๔๒ นิทานเรื่องนกกางเขนตกฟองที่หาดทราย
- ๔๓ นิทานเรื่องนายเนสาท
- ๔๔ นิทานเรื่องช่วยคนแลสัตว์ตกเหว
- ๔๕ นิทานเรื่องช่วยเสือตาย
- ๔๖ นิทานเรื่องให้ลิงเปนองครักษ์
- ๔๗ นิทานเรื่องนกกระจาบกับลิง
- ๔๘ นิทานเรื่องเศรษฐีบุตรหนีตาย
- ๔๙ นิทานเรื่องปลาพยายามหนีภัย
- ๕๐ นิทานเรื่องท้าวทศกระวีราชหนีพระกาล
- ๕๑ นิทานเรื่องนกยางลวงปลา
- ๕๒ นิทานเรื่องถึงที่ต้องตาย
- ๕๓ นิทานเรื่องวานรกับจรเข้
๔๙ นิทานเรื่องปลาพยายามหนีภัย
เมื่อกาลก่อนยังมีมหาสระอัน ๑ มีปริมณฑลกว้างยาวได้โยชน์ ๑ แลมีสรรพบัวเบญจพรรณแลพรรคพวกผักก็มีเปนอันมาก มีมหามัจฉา ๔ ตัว ชื่ออามิกทาตาตัว ๑ ชื่อวงคาตัว ๑ ชื่อปติรูปาตัว ๑ ชื่อปรวิสัยตัว ๑ แลมีบริวารตัวละ ๑๐,๐๐๐ แลเมื่อกาลวิบัติจะมาถึงฝูงปลาทั้งปวงนั้น ฝ่ายมหามัจฉาผู้ชื่ออามิกทาตาก็รู้แจ้งแล้วจึงว่าดูกรสหายทั้ง ๓ เอ๋ย อันว่ากาลวิบัติจะมีแก่ฝูงญาติเราทั้งปวงแล้วนะสหาย แลเราจะเอาชีวิตให้รอดได้ด้วยฉันใด จึงปลาทั้ง ๓ ว่าท่านจะคิดประการใดก็ตามเถิด อันเรานี้มิกลัวเลย เมื่อพญามัจฉาสนทนาด้วยกันดังนั้นก็ต่างคนต่างไป ครั้นเวลาราตรีนั้นไซร้ ส่วนอามิกทาตาก็พาพรรคพวกบริวารคมนาการหนีไปจากมหาสระนั้นไกลประมาณโยชน์ ๑ ครั้นอยู่มากาลนั้น ชนทั้งปวงก็ชักพากันเอาสุ่มซ่อมช้อนชะนางไปลงลุยไล่จับหมู่มัจฉาในมหาสระนั้น ฝ่ายว่าปติรูปาก็รำพึงว่าอาตมะนี้คิดเห็นผิดแล้ว เพราะเหตุมิฟังท่านผู้มีปัญญา แลอาตมะจะเอาชีวิตรอดครั้งนี้ ก็ด้วยอุบายปรีชาแห่งตนเอง เมื่อรำพึงฉนี้แล้วจึงแสร้งทำมายาดุจดังว่าจะสิ้นชีพแล้วก็ลอยขึ้นมา หมู่ชนทั้งปวงมิได้สงสัย ก็คิดว่าเพราะชาวเราลงลุยไล่น้ำนี้หนักหนามัจฉาจึงมัวเมาตาย ว่าแล้วจึงจับมัจฉาอันทำตายนั้นโยนขึ้นบนฝั่งสระ แล้วต่างคนต่างไป ฝ่ายปติรูปานั้นก็ดิ้นโดดด้วยกำลัง ประมาณ ๑๐ ทีก็ไปถึงแม่นำใหญ่แล ส่วนปรวิสัยนั้นรำพึงว่า เรานี้เปนชาติบุรุษไฉนมนุษย์จึงมาดูหมิ่นเราดังนี้ คิดแล้วก็แล่นไล่โลดโดดโจนด้วยกำลังให้แหช้อนของเขาขาด ชนทั้งหลายก็ถือศัสตราวุธคอยเข้าทิ่มแทงตน ๆ ก็ถึงแก่ความตาย สังวทันต์จึงว่าอันหนีกาลรอดก็มีดังนิยายฉนี้
นนทุกราชตอบว่า ซึ่งหนีกาลมิรอดนั้น ก็มีเยี่ยงอย่างอยู่ฉนี้