- คำนำ
- ประวัติท้าวนารีวรคณารักษ์
- นิทานเรื่องนำ
- ๑ นิทานเรื่องนางตรีบิดา
- ๒ นิทานเรื่องนายกอาย
- ๓ นิทานเรื่องบุตรีขุนเมือง
- ๔ นิทานเรื่องวิปกฤษพราหมณ์
- ๕ นิทานเรื่องอุบลเศรษฐี
- ๖ นิทานเรื่องพระมหาเถรรักศิษย์ไม่เสมอกัน
- ๗ นิทานเรื่องท้าวเอฬาราช
- ๘ นิทานเรื่องมาณพเลี้ยงพังพอน
- ๙ นิทานเรื่องโอรสพระเจ้าอุพัทธราชาธิราช
- ๑๐ นิทานเรื่องเศรษฐีสอนบุตร
- ๑๑ นิทานเรื่องโอรสพระเจ้ากรุงมัทราส
- ๑๒ นิทานเรื่องเศรษฐีบุตร ๔ คน
- ๑๓ นิทานเรื่อง ๔ มาณพ
- ๑๔ นิทานเรื่องจตุรพราหมณ์
- ๑๕ นิทานเรื่องจตุรนารี
- ๑๖ นิทานเรื่องพราหมณ์เลือกเมีย
- ๑๗ นิทานเรื่องสุบินกุมาร
- ๑๘ นิทานเรื่องนายสำเภาชื่อสุริยวาณิช
- ๑๙ นิทานเรื่องพระเจ้าไตรวัต
- ๒๐ นิทานเรื่องพระยารีผัวเมีย
- ๒๑ นิทานเรื่องกษัตริย์สรโนธมาธิราช
- ๒๒ นิทานเรื่องชายชาวชนบท
- ๒๓ นิทานเรื่องตากับยายชาวชนบท
- ๒๔ นิทานเรื่องพระเจ้ากรุงศรีภิรมย์มหาราช
- ๒๕ นิทานเรื่องนางกะเชอรั่ว
- ๒๖ นิทานเรื่องพเอิญเข้าดลใจ
- ๒๗ นิทานเรื่องนายแวง ๒ คนเฝ้าท้องพระโรง
- ๒๘ นิทานเรื่องรัตนทัตบุตรเศรษฐี
- ๒๙-๓๐ นิทานเรื่องวิษณุคุบ
- ๓๑ นิทานเรื่องตำรวจ ๒ สหาย
- ๓๒ นิทานเรื่องสุนัขจิ้งจอกพบกลอง
- ๓๓ นิทานเรื่องเลือดมาอาศรัยเล็น
- ๓๔ นิทานเรื่องเศวตโคธา
- ๓๕ นิทานเรื่องสุนัขจิ้งจอกแทะสายหน้าไม้
- ๓๖ นิทานเรื่องคชทุมพรราชกุมาร
- ๓๗ นิทานเรื่องหงส์หามเฒ่า
- ๓๘ นิทานเรื่องลากับราชสีห์
- ๓๙ นิทานเรื่องพราหมณ์ช่วยกบ
- ๔๐ นิทานเรื่องน้ำผึ้งหก
- ๔๑ นิทานเรื่องฤษีชุบสุนัขเปนราชสีห์
- ๔๒ นิทานเรื่องนกกางเขนตกฟองที่หาดทราย
- ๔๓ นิทานเรื่องนายเนสาท
- ๔๔ นิทานเรื่องช่วยคนแลสัตว์ตกเหว
- ๔๕ นิทานเรื่องช่วยเสือตาย
- ๔๖ นิทานเรื่องให้ลิงเปนองครักษ์
- ๔๗ นิทานเรื่องนกกระจาบกับลิง
- ๔๘ นิทานเรื่องเศรษฐีบุตรหนีตาย
- ๔๙ นิทานเรื่องปลาพยายามหนีภัย
- ๕๐ นิทานเรื่องท้าวทศกระวีราชหนีพระกาล
- ๕๑ นิทานเรื่องนกยางลวงปลา
- ๕๒ นิทานเรื่องถึงที่ต้องตาย
- ๕๓ นิทานเรื่องวานรกับจรเข้
๓๘ นิทานเรื่องลากับราชสีห์
บุรพกาลก่อนมีสิงหราชชื่อบัณฑุรสิงหราช ได้เปนอธิบดีแก่มฤคพาลจตุบาททั้งหลาย สถิตอยู่ณคูหาหิมพานต์ประเทศ แลบัณฑุรสิงหราชนั้นตั้งสีหธานตสิงคาลเปนมนตรีฝ่ายขวา ตั้งกากปักษีชื่อสีหธานตเปนมนตรีฝ่ายซ้าย มีพาณิชผู้ ๑ อยู่ณกรุงพาราณสี บรรทุกสินค้าเหนือหลังลาตัว ๑ แล้วออกด้วยพาณิชทั้งปวงจะไปสู่นครกลิงควิสัย ครั้นถึงกึ่งวิถีโจรก็ประจญจับ พาณิชทั้งหลายก็วิ่งกระจัดกระจายต่างแล่นหนีไป ลาก็พลัดอยู่ในป่าจังหวัดแว่นแคว้นบัณฑุรสิงหราช พอกากปักษีชื่อสีหธานตไปพบลานั้นก็ถามว่า ท่านมาแต่ตำบลประเทศราชธานีใด ลาก็แจ้งคดีโดยเหตุแห่งอาตมะจะคมนาการไปนั้น สีหธานตจึงบอกยุบลเหตุว่าแว่นแคว้นนี้เปนแดนแห่งบัณฑุรสิงหราช ผู้เปนมหิศราธิบดีแด่สิ่งสรรพสัตว์ในป่า แลท่านมาอยู่ไม่มีที่พำนักไซร้ พาลมฤคราชจะเบียดเบียนท่าน ลาก็มีมธุระกถาว่าข้าไซร้พลัดคามเคหะมานี้มิคุ้นเคยผู้ใด ข้าไซร้จะรอดตัวด้วยประการใด ท่านปรานีช่วยชี้แจงแห่งสถานอันจะพึ่งนั้นเถิด
สีหธานตก็พาลาไปแสดงแก่พญาสีหราชว่า ลานี้จรกระจัดจากคามเขตรถิ่นฐานมา จะขออยู่เปนข้าเฝ้าของเจ้ากูผู้มีวิริย สีหราชามีกรุณาให้เข้าเฝ้าโดยวิสัย ในที่วารวัน ๑ บัณฑุรสิงหราชออกไปเล่นแลเห็นคชสารตัว ๑ ก็ทำโมหันธการด้วยมหิทธิฤทธิ์คิดหมิ่นแก่ราชศัตรู มิได้กระทำสิงหนาทก่อน ก็กระโจนเข้าจับคชสารด้วยพลกำลัง คชสารก็ต่อต้านประหารด้วยงาต้องทรวงพญาสิงหราช ๆ ละอายอัปยศทดถอยท้ออำนาจมานอนนิ่งอดอาหารอยู่ในต้นคูหาสิ้น ๗ ราตรี
สิงคาลสีหธานตเข้ามาเฝ้าจึงทูลถามว่า เจ้าผู้เปนพญาพาลมฤคเปนทุกข์ร้อนด้วยประการใด จึงมิได้กล่าวให้ข้าพระเจ้าทั้งหลายรู้ สิงหราชก็แจ้งเหตุทั้งปวงแก่สีหธานต ๆ ก็ทูลว่า เจ้าอย่าอดอาหารเลย จงเอาลาตัวนี้เปนอาหารเถิด
สีหราชกล่าวว่า อันลาตัวนี้ไซร้นิราลัยเขตรสถานมาพึ่ง เราจะกระทำเขาเปนอาหารฉันใด ครั้นเราประพฤติดังนั้นก็จะปรากฎไปว่าเราไซร้ไม่มีความกรุณา หมู่มฤคทั้งปวงก็จะตำเนียนนินทาแก่เรา แม้นเราเสียชีพนี้จะดีกว่า ซึ่งจะจับลามาเปนอาหารนั้นไม่ควร สีหธานตได้ฟังดังนั้นจึงแย้งทูลทางยุยงจะให้ปลงชีพลาเสีย จึงทูลทางจะระงับว่า อันลาตัวนี้ไซร้ข้าบาทได้แนะนำมาเปนข้าเฝ้าฝ่าลอองแล้ว แลขอเจ้าจงได้เห็นแก่ข้าบาทขอชีวิตลาไว้เถิด
สีหราชจึงถามลาว่า เมื่อเขามาย้อนแย้งยุยงจะให้ประหักประหารจับท่านเปนอาหารไซร้ ท่านจะคิดประการใด
ลาทูลว่า ข้าพระเจ้ามาเปนข้าบาทแล้ว ถ้าผู้อื่นจะมาเบียดเบียนข่มเหงข้าบาทจะร้องให้เจ้าช่วย เมื่อเจ้าผู้เปนมหาทีปะสรณะฐานจะประหักประหารเองแล้ว แลจะร้องให้ใครอื่นช่วยเล่า
สีหราชจึงซักถามว่า ซึ่งท่านกล่าวนี้ธรรมเนียมมีฤๅจงกล่าวไป
ลาก็เล่าทูลถวายธรรมเนียมให้แก่พญาสีหราชดังนี้