- คำนำ
- ประวัติท้าวนารีวรคณารักษ์
- นิทานเรื่องนำ
- ๑ นิทานเรื่องนางตรีบิดา
- ๒ นิทานเรื่องนายกอาย
- ๓ นิทานเรื่องบุตรีขุนเมือง
- ๔ นิทานเรื่องวิปกฤษพราหมณ์
- ๕ นิทานเรื่องอุบลเศรษฐี
- ๖ นิทานเรื่องพระมหาเถรรักศิษย์ไม่เสมอกัน
- ๗ นิทานเรื่องท้าวเอฬาราช
- ๘ นิทานเรื่องมาณพเลี้ยงพังพอน
- ๙ นิทานเรื่องโอรสพระเจ้าอุพัทธราชาธิราช
- ๑๐ นิทานเรื่องเศรษฐีสอนบุตร
- ๑๑ นิทานเรื่องโอรสพระเจ้ากรุงมัทราส
- ๑๒ นิทานเรื่องเศรษฐีบุตร ๔ คน
- ๑๓ นิทานเรื่อง ๔ มาณพ
- ๑๔ นิทานเรื่องจตุรพราหมณ์
- ๑๕ นิทานเรื่องจตุรนารี
- ๑๖ นิทานเรื่องพราหมณ์เลือกเมีย
- ๑๗ นิทานเรื่องสุบินกุมาร
- ๑๘ นิทานเรื่องนายสำเภาชื่อสุริยวาณิช
- ๑๙ นิทานเรื่องพระเจ้าไตรวัต
- ๒๐ นิทานเรื่องพระยารีผัวเมีย
- ๒๑ นิทานเรื่องกษัตริย์สรโนธมาธิราช
- ๒๒ นิทานเรื่องชายชาวชนบท
- ๒๓ นิทานเรื่องตากับยายชาวชนบท
- ๒๔ นิทานเรื่องพระเจ้ากรุงศรีภิรมย์มหาราช
- ๒๕ นิทานเรื่องนางกะเชอรั่ว
- ๒๖ นิทานเรื่องพเอิญเข้าดลใจ
- ๒๗ นิทานเรื่องนายแวง ๒ คนเฝ้าท้องพระโรง
- ๒๘ นิทานเรื่องรัตนทัตบุตรเศรษฐี
- ๒๙-๓๐ นิทานเรื่องวิษณุคุบ
- ๓๑ นิทานเรื่องตำรวจ ๒ สหาย
- ๓๒ นิทานเรื่องสุนัขจิ้งจอกพบกลอง
- ๓๓ นิทานเรื่องเลือดมาอาศรัยเล็น
- ๓๔ นิทานเรื่องเศวตโคธา
- ๓๕ นิทานเรื่องสุนัขจิ้งจอกแทะสายหน้าไม้
- ๓๖ นิทานเรื่องคชทุมพรราชกุมาร
- ๓๗ นิทานเรื่องหงส์หามเฒ่า
- ๓๘ นิทานเรื่องลากับราชสีห์
- ๓๙ นิทานเรื่องพราหมณ์ช่วยกบ
- ๔๐ นิทานเรื่องน้ำผึ้งหก
- ๔๑ นิทานเรื่องฤษีชุบสุนัขเปนราชสีห์
- ๔๒ นิทานเรื่องนกกางเขนตกฟองที่หาดทราย
- ๔๓ นิทานเรื่องนายเนสาท
- ๔๔ นิทานเรื่องช่วยคนแลสัตว์ตกเหว
- ๔๕ นิทานเรื่องช่วยเสือตาย
- ๔๖ นิทานเรื่องให้ลิงเปนองครักษ์
- ๔๗ นิทานเรื่องนกกระจาบกับลิง
- ๔๘ นิทานเรื่องเศรษฐีบุตรหนีตาย
- ๔๙ นิทานเรื่องปลาพยายามหนีภัย
- ๕๐ นิทานเรื่องท้าวทศกระวีราชหนีพระกาล
- ๕๑ นิทานเรื่องนกยางลวงปลา
- ๕๒ นิทานเรื่องถึงที่ต้องตาย
- ๕๓ นิทานเรื่องวานรกับจรเข้
๒๓ นิทานเรื่องตากับยายชาวชนบท
มีตายาย ๒ เถ้าชาวชนบทเปนคนเข็ญใจ วัน ๑ นอนอยู่ในเคหา เวลาใกล้รุ่งนิมิตความฝันว่าภูมเทพยดามาบอกว่าดูกรตายายทั้ง ๒ สุวรรณไห ๑ อยู่ณมุมเคหาแห่งท่าน ๆ จงไปขุดมาเลี้ยงชีพเถิด เราจะปักไม้ไว้ให้เปนสำคัญ พอจำได้ถนัดก็ตื่นขึ้น ต่างคนก็แก้ฝันแก่กัน ครั้นรุ่งเช้าจึงไปดูเห็นไม้ปักอยู่ณมุมเคหาจริง จึงไปหยิบจอบมาวางไว้ณชานเรือน คิดว่าบริโภคอาหารแล้วจึงจะไปขุด ครั้นทำภัตกิจแล้วก็ลืมละไว้จนเวลาค่ำเข้านอนจึงคิดได้ ตาจึงว่า โอ อ่อ ยายเอ๋ย คืนนี้ฝันว่าพระภูมเจ้าที่มาบอกว่าทองกุมภะ ๑ อยู่ณมุมเรือนปักไม้ไว้เปนสำคัญ ข้าย่องไปดูก็เห็นจริง จึงหยิบจอบมาวางไว้นอกชาน คิดว่าจะไปขุดก็ลืมเสียแล้วนะยายเอ๋ย
ในขณะนั้นพอโจรหลายคนด้วยกัน มาเร้นซ่อนอยู่ที่ริมเรือนตายายได้ยินตาว่ากับยายดังนั้น จึงคิดกันว่ากระนั้นเราไปขุดเอาเถิด ว่าแล้วมือคว้าได้จอบบนนอกชานแล้วชวนกันไปขุดพบสุวรรณกุมภะก็ยกขึ้นมาดู เห็นล้วนแต่งูอยู่เต็มหม้อก็โกรธว่าเถ้าจังไร เราเอางูไปไว้ให้ขบตะแกตายเถิดให้สาแก่ใจ เถ้าละลายลวงเราเล่น หากว่าเรารั้งรอ ถ้าล้วงลงไปงูมิขบเราตายแล้วฤๅ ว่าแล้วก็หามหม้อนั้นมาวางไว้ที่ช่องประตูเรือนตายาย
ครั้นเช้ากรู่ ๒ ชราปะพุชนาการตื่นจากที่นอน ออกมาก็แลเห็นจึงว่ายายเอ๋ยปลาดใจ ไหอะไรใครยกมาวางไว้ที่แง้มประตู ๒ ชรามาแลดูเห็นล้วนแต่ทองเต็มไห ๒ เถ้าได้ทองมั่งมีบริบูรณ์ นี่แลสหายเมื่อจะเปนก็หากเปนเองดังนี้แล
สัญชีพจึงว่า เออ กลัวแต่เศรษฐีแจ้งว่าสหายแกล้งใส่กลไซร้ก็จะโบยตีท่าน อันสหายคิดดังนี้มิชอบนักหนา
นนทุกราชตอบว่า อันเศรษฐีนี้ชื่อว่าธรรมจิตต์ ถ้าคิดใจร้ายดังนั้น ก็จะได้ชื่อว่าบาปจิตต์เศรษฐีเล่าแล
สัญชีพจึงกล่าวว่า สหายเอ๋ย อันเราอุบัติเกิดมาชาตินี้กรรมเราก่อไว้จึงได้มาเปนดิรัจฉาน แล้วยังจะก่อกรรมทำแก่ท่านอิกเล่า ควรเราค่อยครองไปกว่าจะสิ้นบาปกรรมแห่งเรา แลเราจะประพฤติมิชอบเล่าก็จะปราชัยได้แต่ความติฉิน อนึ่งสิ้นชีพไปปรโลกก็จะลำบากเพิ่มเติมตามไป แม้นจะอยู่ในสถานที่ใด ๆ ก็มีบุญแลกรรมหากตกแต่งเอง สหายจงตรึกตรองดูเถิด
นนทุกราชซักซ้ำถามว่า เออ บุญกรรมตกแต่งเองนั้นฉบับโบราณธรรมเนียมมีอย่างไรฤๅ จงเล่าให้เราฟัง
สัญชีพจึงกล่าวโบราณจารีตดังนี้