- คำนำ
- ประวัติท้าวนารีวรคณารักษ์
- นิทานเรื่องนำ
- ๑ นิทานเรื่องนางตรีบิดา
- ๒ นิทานเรื่องนายกอาย
- ๓ นิทานเรื่องบุตรีขุนเมือง
- ๔ นิทานเรื่องวิปกฤษพราหมณ์
- ๕ นิทานเรื่องอุบลเศรษฐี
- ๖ นิทานเรื่องพระมหาเถรรักศิษย์ไม่เสมอกัน
- ๗ นิทานเรื่องท้าวเอฬาราช
- ๘ นิทานเรื่องมาณพเลี้ยงพังพอน
- ๙ นิทานเรื่องโอรสพระเจ้าอุพัทธราชาธิราช
- ๑๐ นิทานเรื่องเศรษฐีสอนบุตร
- ๑๑ นิทานเรื่องโอรสพระเจ้ากรุงมัทราส
- ๑๒ นิทานเรื่องเศรษฐีบุตร ๔ คน
- ๑๓ นิทานเรื่อง ๔ มาณพ
- ๑๔ นิทานเรื่องจตุรพราหมณ์
- ๑๕ นิทานเรื่องจตุรนารี
- ๑๖ นิทานเรื่องพราหมณ์เลือกเมีย
- ๑๗ นิทานเรื่องสุบินกุมาร
- ๑๘ นิทานเรื่องนายสำเภาชื่อสุริยวาณิช
- ๑๙ นิทานเรื่องพระเจ้าไตรวัต
- ๒๐ นิทานเรื่องพระยารีผัวเมีย
- ๒๑ นิทานเรื่องกษัตริย์สรโนธมาธิราช
- ๒๒ นิทานเรื่องชายชาวชนบท
- ๒๓ นิทานเรื่องตากับยายชาวชนบท
- ๒๔ นิทานเรื่องพระเจ้ากรุงศรีภิรมย์มหาราช
- ๒๕ นิทานเรื่องนางกะเชอรั่ว
- ๒๖ นิทานเรื่องพเอิญเข้าดลใจ
- ๒๗ นิทานเรื่องนายแวง ๒ คนเฝ้าท้องพระโรง
- ๒๘ นิทานเรื่องรัตนทัตบุตรเศรษฐี
- ๒๙-๓๐ นิทานเรื่องวิษณุคุบ
- ๓๑ นิทานเรื่องตำรวจ ๒ สหาย
- ๓๒ นิทานเรื่องสุนัขจิ้งจอกพบกลอง
- ๓๓ นิทานเรื่องเลือดมาอาศรัยเล็น
- ๓๔ นิทานเรื่องเศวตโคธา
- ๓๕ นิทานเรื่องสุนัขจิ้งจอกแทะสายหน้าไม้
- ๓๖ นิทานเรื่องคชทุมพรราชกุมาร
- ๓๗ นิทานเรื่องหงส์หามเฒ่า
- ๓๘ นิทานเรื่องลากับราชสีห์
- ๓๙ นิทานเรื่องพราหมณ์ช่วยกบ
- ๔๐ นิทานเรื่องน้ำผึ้งหก
- ๔๑ นิทานเรื่องฤษีชุบสุนัขเปนราชสีห์
- ๔๒ นิทานเรื่องนกกางเขนตกฟองที่หาดทราย
- ๔๓ นิทานเรื่องนายเนสาท
- ๔๔ นิทานเรื่องช่วยคนแลสัตว์ตกเหว
- ๔๕ นิทานเรื่องช่วยเสือตาย
- ๔๖ นิทานเรื่องให้ลิงเปนองครักษ์
- ๔๗ นิทานเรื่องนกกระจาบกับลิง
- ๔๘ นิทานเรื่องเศรษฐีบุตรหนีตาย
- ๔๙ นิทานเรื่องปลาพยายามหนีภัย
- ๕๐ นิทานเรื่องท้าวทศกระวีราชหนีพระกาล
- ๕๑ นิทานเรื่องนกยางลวงปลา
- ๕๒ นิทานเรื่องถึงที่ต้องตาย
- ๕๓ นิทานเรื่องวานรกับจรเข้
๔๗ นิทานเรื่องนกกระจาบกับลิง
ว่าในกาลก่อนมีสกุณนกกระจาบคู่ ๑ สกุณผู้ชื่อสุจิมุขา นางสกุณีชื่อบรรปักษี กระทำเรือนรังอยู่ต้นพฤกษาสน เลี้ยงบุตรอยู่ ๒ ตัว มีหิงห้อยตัว ๑ มาเปนมิตรด้วยปักษีนั้น อยู่ด้วยกันมานิจนิรันดร มีวานรคู่ ๑ เลี้ยงบุตร ๒ ตัว อาศรัยณสาขาวิพันตพฤกษาสนนั้น
มากาลวัน ๑ เกิดกาลเมฆมืดขึ้นทั้ง ๘ ทิศ มหาวรุณก็อุบัติตกหนักหนา วานรทั้ง ๒ ก็โอบอุ้มบุตรเทียวขึ้นเทียวลงหนาวงกงันน้อมเศียรประคองเคียงกันเข้าปกบุตรไว้ ปักษีทั้ง ๒ ก็ปรานีว่าโอ้อนิจจาน่าเอ็นดูหนักหนา ถ้าเรือนรังเรากว้างเล่า เราก็จะให้เข้าอาศรัยด้วยเรา อนึ่งหัดถบาทท่านก็มีไฉนจึงมิทำเรือนรังอยู่ แลอุสาหะมาทนฟ้าฝนอยู่ฉนี้ วานรทั้ง ๒ ใจพาล ท่านปรานีแก่อาตมากลับโกรธาว่าดังฤๅสูมาประมาท อาตมานี้ไซร้เคยอยู่บนปลายพฤกษา วานรผูกพยาบาทไว้ในใจ ครั้นวรรษาพลาหกหาย วานรก็ป่ายปีนขึ้นไปเย่อแย่งรวงรังสกุณนกกระจาบทิ้งทุ่มเสีย ดูกรพยัคฆ์วานรมีชาติทรชนดังนี้ พยัคฆ์ก็ร้องว่าสัจจังจริงแม่นแท้ ท่านเร่งวางวานรลงมาแทนตัวท่านเถิด เราจะกินเปนอาหารแล้วเราก็จะไป เนสาทผู้นั้นฟังพยัคฆ์กล่าวโวหารว่าจะกินต่างตัวก็วางวานรลงมา พยัคฆ์ก็ฉวยได้ณต้นศอวานร ๆ ก็แหงนหงายหน้ายิงฟันอยู่ พยัคฆ์ก็ว่าเรายึดได้ต้นศอท่านแล้ว ยังยิ้มแย้มเล่นอิกเล่า วานรก็กล่าวว่าเราสรวลว่าท่านโฉดหนักหนา อันคนโฉดในโลกนี้มิเสมอเหมือนพยัคฆ์นี้หามิได้เลย พยัคฆ์จึงว่า เออ เรายึดต้นศอท่านจะสิ้นชีพอยู่แล้วสิว่าเราโฉด ซึ่งเราโฉดนั้นเพราะอันใด วานรกล่าวว่าท่านโฉดเพราะยึดต้นศอเรานี้ คิดสำคัญว่าชีวิตเราจะตายฤๅ พยัคฆ์ก็ถามว่า สำคัญชีวิตแห่งท่านอยู่ไหนเล่า วานรก็ลวงว่าสำคัญชีวิตเราอยู่ปลายหางโพ้น พยัคฆ์ก็วางศอวานรเสีย แล้วจับปลายหางแกว่งถวายเทวดาแล้วจะกิน วานรสบัดวิ่งด้วยกำลังก็หลุดจากพยัคฆ์แล่นหนีขึ้นต้นพฤกษาได้ พยัคฆ์ก็พิศดูแล้วกล่าวว่า เออท่านว่าเราโฉดก็โฉดจริงแล ว่าแล้วก็ไป ส่วนวานรไซร้มิได้โกรธแก่นายเนสาท ว่าเราหลับไหลละเลิงพลาดตกลงเอง ครั้นอรุณรุ่งอรุโณทัย ธรรมบาลวานรจึงกล่าวว่า พี่พรานอยู่ท่าที่นี่ก่อนเราจะนำผลผลามาให้ แล้วจะไปส่งท่านให้ถึงทางหลวง ว่าแล้วก็พาบริวารไปหาผลผลามาให้ อยู่ภายหลังเนสาทก็ตีบุตรวานรน้อย ๆ ย่างกินบ้าง ห่อไปหมายจะเอาไปฝากบุตรภรรยาบ้าง ครั้นธรรมบาลวานรพาบริวารกลับมาเห็นบุตรนัดดาตายเปลือง วานรทั้งหลายก็โกรธากลุ้มเกลื่อนกันเข้ามาจะขบนายเนสาท ธรรมบาลวานรห้ามว่า แม้นสูทั้งหลายจะประหารนายเนสาทให้สิ้นชีวิตบัดนี้ บุตรนัดดาเราทั้งปวงมิอาจเปนขึ้นมาเลย จงเห็นแก่เราเถิด แล้วเอาผลไม้มาให้เนสาท แล้วว่ามาเราจะไปส่งท่านให้ถึงทางหลวง ส่วนเนสาทคิดว่าอาตมานี้มาหลายราตรี บมิได้มังสะอันใดไปฝากบุตรภรรยา อย่านะกูจะประหารเอาวานรนี้ให้ตายจะสพายไปเถิด ส่วนธรรมบาลวานรบมิได้รู้ตัว ก็เดิรนำหน้านายเนสาทมาประมาณหน่อยหนึ่ง นายเนสาทก็ยกหน้าไม้ขึ้นประหารต้องเศียรธรรมบาลแตกโลหิตไหลลงระเรี่ย ธรรมบาลก็วิ่งหนีขึ้นต้นไม้ ร้องถามว่าพี่พรานตีเราจะประสงค์สิ่งใด เนสาทว่าเราจะเอามังสะแห่งท่านไปฝากบุตรภรรยา วานรว่าท่านตีเราตายแล้วผู้ใดจะนำท่านไปเล่า เราจะลงไปนำโดยสถลมารคไซร้ ท่านจะตีเราสิ้นชีพแล้วท่านจะละเลิงหลงอยู่ในป่า พาลมฤคราชร้ายก็จะบีทา ผิดังนั้นท่านไปโดยสถลมารคเถิด เราก็จะไปโดยพฤกษมารคนี้ ท่านตามรอยโลหิตเราไปเถิด เนสาทก็ตามโลหิตนั้นไป ครั้นถึงทางหลวงธรรมบาลก็ลงมาแนะชี้มรรคาว่า ท่านจงไปตามมรรคานี้เถิด มิผิดทางเลย แล้วนายเนสาทก็ซ้ำตีธรรมบาลวานรให้สิ้นชีพแล้วก็หาบเอามังสะไป ครั้นพ้นป่ามาหน่อยหนึ่งแผ่นพระธรณีก็แยกทำลายเปน ๒ ภาค นายเนสาทก็ซุกซบจมลงไปยังมหาอเวจีนรกนั้นแล
เนื้อความคดีอุตลีบาท ว่าแก่ประยงวทันต์ผู้เปนภรรยาว่า ถ้าแลเราเอาบุตรเรามิได้ไซร้ จงบาปแห่งพรานอันตกนรกทั้งเปนนั้น ได้แก่เรานั้นคือพรานผู้นี้แล จึงนางสกุณีก็ว่าท่านว่านี้เราเชื่อแล แต่ว่าจะทำฉันใด แลเราจึงจะบุตรเรามาไซร้ แลอุตลีบาทก็ไปเคารพไหว้กาตัว ๑ แล้วก็ปรับทุกข์ให้ฟัง ว่าภรรยาของข้าไปคลอดบุตรอัณฑชะณริมพระสมุทร แลพระสมุทรมาพัดเอาบุตรแห่งข้าทั้ง ๒ นี้ไป ขอเจ้ากูจงได้กรุณาช่วยอุปถัมภ์ที่จะให้ได้บุตรอัณฑชะแห่งข้านั้นมา ข้าจะทดแทนคุณแก่ท่านจนถึงขนาดแล จึงกากะปักษีมีวาจาว่า เราพี่น้องอยู่ด้วยกันทุกวันนี้ ครั้นหาที่ขึ้นลงมิได้ไซร้ เขาย่อมดูหมิ่นดูแคลน ผิดังนั้นมาเราจะพากันไปประกาศแก่ปักษีทั้งปวง ให้ช่วยเปนกำลังแห่งเราเถิด จึงกาแลอตุลีบาทก็พากันไปถึงพญาแร้งตัว ๑ จึงเล่าคดีนั้นให้ฟัง พญาแร้งนั้นก็ชวนกันไปถึงสกุณโกญจะนกกะเรียน ๆ ก็พากันไปทูลแก่พญาครุฑราช ๆ ว่าพระสมุทรมิเกรงขามเราบ้างเลย แลมาเบียดเบียนปักษีอันเปนบริวารแห่งเรา ครุฑก็แผลงฤทธิ์มาสังหารวิดวักพระสมุทร ๆ ก็ขึ้นมาถามว่า ท่านมาทำดังนี้เพราะเหตุอันใด ครุฑราชก็กล่าวว่านกกางเขนนี้ไซร้เปนบริวารแห่งเรา แลท่านพาบริวารมาเล่นแล้วพัดเอาบุตรอัณฑชะของสกุณนกกางเขนไปนั้นชอบฤๅ พระสมุทรก็ว่าข้ามิทันรู้ ขอท่านได้กรุณาแก่ข้า ๆ จะให้ไปนำเอาบุตรอัณฑชะแห่งสกุณกางเขนมาส่งให้บัดนี้ จึงพระสมุทรก็ให้ป่าวแก่หมู่มัจฉาทั้งปวงว่า ผ้ใดเอาบุตรอัณฑชะสกุณกางเขนมาไว้ไซร้เร่งเอามาส่งให้บัดนี้
ครั้งนั้นมหาติมิงคละมัจฉาตัว ๑ พาเอาบุตรอัณฑชะสกุณกางเขนกล้ำกลืนเข้าไว้ ครั้นได้ยินป่าวดังนั้นก็พาเอาบุตรแห่งสกุณกางเขนมาส่งให้แก่พระสมุทร ๆ ก็ส่งให้แก่ครุฑราช ๆ ก็รับเอามาส่งให้แก่สกุณกางเขน ๆ ก็ปีติยินดีนักหนา กราบไหว้ครุฑราชแล้วก็พาเอาบุตรของตนมาให้แก่ภรรยาอาตมะแล
จำเดิมแต่นั้นครุฑราชก็ไว้อาชญาสิทธิ์แก่ราชปักษี สั่งว่าแต่นี้ไปเมื่อหน้าแลทุกข์กังวลปักษีทั้งปวง อันเปนภาระใหญ่พ้นที่จะบังคับบัญชาได้ไซร้จึงให้ไปถึงเรา ถ้าเนื้อคดีนั้นเบาแต่พอที่จะบังคับบัญชาไดไซร้ ราชปักษีแลพฤฒิปักษีทั้งปวง สมัคสมานด้วยกันแล้วว่ากล่าวทอดเทอย่าพักเพททูลถึงเราเลย เพราะจะยากแก่สัตว์ผู้ทุรพลนักแล ครุฑราชให้พรแก่ปักษีทั้งปวงว่า จงท่านทั้งหลายอยู่สุขสำราญเถิด ปักษีทั้งปวงก็ประนมน้อมรับสั่ง ส่วนครุฑราชก็ไปยังสุขสถานพิมานฉิมพลีในกาลนั้น
สีหธานตก็กราบไหว้สีหราชว่าเหตุพระสมุทรเห็นว่า สกุณกางเขนน้อยหากำลังมิได้ก็ดูถูก แลเมื่อภายหลังสกุณกางเขนก็เอากำลังครุฑราชมาข่มเหงพระสมุทร ๆ ก็เกิดกลับได้ความอัปยศเพราะต้องแพ้แก่พญาครุฑนั้น เหตุดังนั้น ข้าพระเจ้าจึงกราบทูลพระองค์ให้จับลาตัวนี้เปนอาหารเสียก็หาบาปมิได้ แล้วสีหธานตกราบทูลฉนี้เล่า ว่าลาตัวนี้ไซร้พลัดถิ่นฐานมาแลหาที่พำนักอาศรัยบมิได้ แลข้าพระเจ้าชักพามาถวายเปนข้าเฝ้าพระบาท แลมีผู้มายุยงจะให้พระองค์ปลงชีพลงเปนอาหารเสียดังนี้ ขอพระองค์จงได้กรุณาแก่ลาตัวนี้เถิด
พระยาสีหราชได้ฟังคำสีหธานตมาเทียบทูลเปนเอนกทุกประการแล้วฉันใด พญาสีหราชมิได้เชื่อฟังสังวทันต์ฉันนั้น
วายุภักษ์จึงกล่าวว่า ผิดังนั้น ดูกรสหาย อย่าได้ร้อนใจไว้พนักงารเราเอง เมื่อใดเรายุให้ท่านทั้ง ๒ นี้ผิดกันเสียได้ไซร้ เราจึงจะมีความดีเมื่อนั้น
อยู่มากาลวัน ๑ สีหราชไปหากินแล้วก็มานั่งเล่นในทวารรัตนคูหา วายุภักษ์สังวทันต์ก็ไปเฝ้าสีหราช แล้วก็ทูลว่าแต่ก่อนไซร้ ข้าพระเจ้าได้ยินนนทุกราชผู้เปนสหายเจ้าย่อมกล่าวสรรเสริญเยินยอ แลว่าท่านอย่าร้อนใจแม้ว่าเราถึงแก่อาพาธ แลอาหารจะปริภุญช์บมิได้มี แลชีพตักษัยก็ดี แลอาหารมิชอบก็ดี เรามิปราถนาเลย ดูกรสังวทันต์สัตว์หมู่ใดอันเปนอันธพาลเห็นแต่จะอิ่มท้อง ครั้นสิ้นชีพแล้วจะไปตกในมหานรกอันเดือดร้อนนักหนาหาที่พำนักบมิได้ แลสังวทันต์ครั้นได้ยินสีหราชกล่าวดังนั้นก็มิอาจอยู่ได้ ลาสีหราขแล้วก็ออกไปพาทีด้วยวายุภักษ์ว่า ดูกรสหาย เราก็พร่ำชักทำเนียบทำนุบำรุงท่านด้วยความเสน่ห์ท่านก็ไม่เชื่อ เชิญสหายไปว่ากล่าวดูสักครั้งเถิด
วายุภักษ์จึงเข้าไปเฝ้าจันทสีหราชแล้วกล่าวว่า บัดนี้สหายท่านย่อมกล่าวความทรยศคำลดศักดิ์ผู้เปนเจ้า แลเสียความเสน่ห์แต่ก่อนนั้น อนึ่งเล่าครั้นออกไปหากินไซร้ ย่อมไปขัดเขาที่เหลี่ยมบรรพตทุกวันมิได้ขาดเลย แล้วก็อวดตัวว่าสีหราชเจ้าสูนี่จะสู้ด้วยกูฤๅ ถ้าพระองค์มิเชื่อไซร้ไปทอดพระเนตรดูเถิด เนื้อคดีทั้งปวงนี้มิควรจะออกปากแก่ตูข้าพเจ้า ข้าพเจ้าไซร้เปนข้าพระบาท เจ้ากูมีพระกรุณาตั้งเปนมนตรีต่างพระเนตรพระกรรณท่าน ครั้นเห็นประการใดแลมินำเข้ากล่าวไซร้ เมื่อนานไปเกลือกจะมีผู้ติเตียนข้าทั้งหลายนื้ได้
สีหราชก็ว่า สูเจ้าหมู่นี้หินชาติใจพาล ใครจะฟังสู ๆ แต่จะยุให้วิวาทกันทุกเมื่อ แลการเปนมนตรีไซร้ก็ย่อมจะช่วยดำรงพระมหากษัตริย์จึงจะชอบ เมื่อสูมายุจะให้ผิดกันดังนื้ ถ้าตูหาความพิจารณามิได้แลต่อยุทธด้วยกันไซร้ สูฉิบหายพินาศแล้วจะไปตกในมหาอเวจีนรกนั้นแล
จึงสังวทันต์กล่าวแก่วายุกักษ์ว่า เราว่ากล่าวด้วยจารีตโบราณเท่าใดก็ดีสีหราชก็มิฟังเราแล้ว ทีนี้มาจะไปเฝ้านนทุกราชเล่าเถิด ว่าแล้วก็ชวนกันคอย ครั้นสีหราชออกไปหาอาหารแล้ว แลนนทุกราชอยู่ในรัตนคูหา สังวทันต์ก็เข้าไปเฝ้านนทุกราชแล้วก็ถามว่า เจ้ากูมาอยู่ด้วยสหายท่านยังเห็นแยบคายประการใดบ้างฤๅ นนทุกราชว่าเรามิได้ปรากฎ สังวทันต์ก็ว่าทุกวันนี้ข้าเห็นหลากนัก แต่ก่อนมาสหายเจ้ากูเอาสรรพสัตว์ทั้งปวงเปนอาหารไซร้ ย่อมทำสิงหนาทตามประเวณีบห่อนจะขัดเล็บ แลบัดนี้สหายท่านย่อมไปขัดเล็บในข้างเขาไพรโพ้นทุกวัน นนทุกราชก็ว่าเราไซร้มิได้คิดร้ายต่อมิตรสหาย แลเมื่อกาลจะมาถึงนั้นจะหนีรอดฤๅ
สังวทันต์ก็ว่า อันเจ้ากูว่าดังนี้ยังจะมีธรรมเนียมบ้างแลฤๅ ขอเชิญท่านกล่าวข้อกลบทไป ตูข้าจะขอฟัง
นนทุกราชก็กล่าวกลบทแบบนิยายโดยโบราณดังนี้