- คำนำ
- ประวัติท้าวนารีวรคณารักษ์
- นิทานเรื่องนำ
- ๑ นิทานเรื่องนางตรีบิดา
- ๒ นิทานเรื่องนายกอาย
- ๓ นิทานเรื่องบุตรีขุนเมือง
- ๔ นิทานเรื่องวิปกฤษพราหมณ์
- ๕ นิทานเรื่องอุบลเศรษฐี
- ๖ นิทานเรื่องพระมหาเถรรักศิษย์ไม่เสมอกัน
- ๗ นิทานเรื่องท้าวเอฬาราช
- ๘ นิทานเรื่องมาณพเลี้ยงพังพอน
- ๙ นิทานเรื่องโอรสพระเจ้าอุพัทธราชาธิราช
- ๑๐ นิทานเรื่องเศรษฐีสอนบุตร
- ๑๑ นิทานเรื่องโอรสพระเจ้ากรุงมัทราส
- ๑๒ นิทานเรื่องเศรษฐีบุตร ๔ คน
- ๑๓ นิทานเรื่อง ๔ มาณพ
- ๑๔ นิทานเรื่องจตุรพราหมณ์
- ๑๕ นิทานเรื่องจตุรนารี
- ๑๖ นิทานเรื่องพราหมณ์เลือกเมีย
- ๑๗ นิทานเรื่องสุบินกุมาร
- ๑๘ นิทานเรื่องนายสำเภาชื่อสุริยวาณิช
- ๑๙ นิทานเรื่องพระเจ้าไตรวัต
- ๒๐ นิทานเรื่องพระยารีผัวเมีย
- ๒๑ นิทานเรื่องกษัตริย์สรโนธมาธิราช
- ๒๒ นิทานเรื่องชายชาวชนบท
- ๒๓ นิทานเรื่องตากับยายชาวชนบท
- ๒๔ นิทานเรื่องพระเจ้ากรุงศรีภิรมย์มหาราช
- ๒๕ นิทานเรื่องนางกะเชอรั่ว
- ๒๖ นิทานเรื่องพเอิญเข้าดลใจ
- ๒๗ นิทานเรื่องนายแวง ๒ คนเฝ้าท้องพระโรง
- ๒๘ นิทานเรื่องรัตนทัตบุตรเศรษฐี
- ๒๙-๓๐ นิทานเรื่องวิษณุคุบ
- ๓๑ นิทานเรื่องตำรวจ ๒ สหาย
- ๓๒ นิทานเรื่องสุนัขจิ้งจอกพบกลอง
- ๓๓ นิทานเรื่องเลือดมาอาศรัยเล็น
- ๓๔ นิทานเรื่องเศวตโคธา
- ๓๕ นิทานเรื่องสุนัขจิ้งจอกแทะสายหน้าไม้
- ๓๖ นิทานเรื่องคชทุมพรราชกุมาร
- ๓๗ นิทานเรื่องหงส์หามเฒ่า
- ๓๘ นิทานเรื่องลากับราชสีห์
- ๓๙ นิทานเรื่องพราหมณ์ช่วยกบ
- ๔๐ นิทานเรื่องน้ำผึ้งหก
- ๔๑ นิทานเรื่องฤษีชุบสุนัขเปนราชสีห์
- ๔๒ นิทานเรื่องนกกางเขนตกฟองที่หาดทราย
- ๔๓ นิทานเรื่องนายเนสาท
- ๔๔ นิทานเรื่องช่วยคนแลสัตว์ตกเหว
- ๔๕ นิทานเรื่องช่วยเสือตาย
- ๔๖ นิทานเรื่องให้ลิงเปนองครักษ์
- ๔๗ นิทานเรื่องนกกระจาบกับลิง
- ๔๘ นิทานเรื่องเศรษฐีบุตรหนีตาย
- ๔๙ นิทานเรื่องปลาพยายามหนีภัย
- ๕๐ นิทานเรื่องท้าวทศกระวีราชหนีพระกาล
- ๕๑ นิทานเรื่องนกยางลวงปลา
- ๕๒ นิทานเรื่องถึงที่ต้องตาย
- ๕๓ นิทานเรื่องวานรกับจรเข้
๒ นิทานเรื่องนายกอาย
เดิมมีกฤติศัพท์ว่า พราหมณ์ลูกค้า ๔ คนมาแต่เมืองพัทธบุรี แลจะไปยังโกสินารายมหานคร ครั้นไปถึงบ้าน ๑ ชื่อประจันตคาม โจรไปคอยสกัดอยู่ จะปล้นเอาทองของพราหมณ์ลูกค้านั้น ๆ ครั้นรู้กฤติศัพท์ว่าโจรจะคอยปล้นดังนั้น จึงเอาทองไปฝากไว้แก่ทุคคตะสัตรีผู้ ๑ สัตรีนั้นมิรับทองพราหมณ์ลูกค้านั้น ๆ จึงว่า ตูหาสนเท่ห์ในท่านมิได้ จึงตูจะฝากทองไว้แต่วัน ๑ เถิด พรุ่งนี้เช้าเราจะเอาไป นางจึงว่า ถ้าพรุ่งนี้เช้าจะเอา ไป ข้าจะรับไว้ ถ้าจะไว้นาน ข้าจะรับมิได้ นางก็รับทองนั้นไว้ แล้วจึงถามว่า ท่านจะให้ผู้ใดมาเอาทองนี้ ท่านจงว่าไว้ให้ข้ารู้ พราหมณ์ลูกค้าจึงว่า ตูข้ามาพร้อมกันทั้ง ๔ คน เจ้าจึงให้ทองเถิด ถ้าตูมามิพร้อมกัน เจ้าอย่าส่งทองให้ สั่งเท่านั้นแล้วก็ไปจากที่นั้น ครั้นปุนะทิวาวันรุ่งเช้า พราหมณ์ลูกค้าทั้ง ๔ คนนั้นพากันมาเข้าไปสู่บ้านที่ฝากทองนั้นแล้วก็กลับออกมาอยู่นอกบ้าน พราหมณ์คน ๑ ว่า ริมเคหานางที่เราฝากทองไว้นั้นมีต้นทับทิม มีผลดกหนักหนา พราหมณ์คน ๑ จึงว่า มาเราจะไปเตือนเอาทองอันเราฝากไว้นั้น ทั้งจะได้ขอผลทับทิมมากินด้วยเถิด ว่าแล้วก็เข้าไปขอผลทับทิมแต่ผู้เดียวแก่ทุคคตะสัตรี ๆ ก็ให้ผลทับทิม ชายนั้นจึงร้องว่าออกไปแก่เพื่อนกันนั้นว่า ของท่านทั้ง ๓ จะมาเอาเองฤๅ ฤๅจะให้ข้าเอาไปให้ด้วย พราหมณ์ลูกค้า ๓ คนนั้นสำคัญว่า ๆ ด้วยผลทับทิม จึงร้องเข้าไปว่าเอามาให้เราด้วยเถิด ทลิทกสัตรีนั้นก็ได้ยินอยู่ ซึ่งพราหมณ์ทั้ง ๓ ร้องว่าเข้าไปแก่ชายนั้น ๆ จึงว่าแก่หญิงเข็ญใจนั้นว่า ข้าจะขอเอาทองแต่ส่วนตัวข้า บัดนี้เขาทั้ง ๓ ร้องว่ามาให้ข้าเอาทองทั้งสิ้นนั้นไปด้วย ทลิทกสัตรีเร่งกลัวโจรมิใคร่จะอยากรับทองไว้ เขาว่าด้วยผลทับทิมก็สำคัญว่าเขาให้เอาทองนั้นไป ก็ส่งทองทั้งสิ้นให้ชายนั้น ๆ ก็พาทองนั้นหนีไป
ฝ่ายชาย ๓ คนเห็นช้านานนักก็เข้าไปถามทลิทกสัตรีว่า เจ้าให้ผลทับทิมแก่ชายนั้นมากฤๅน้อย สัตรีนั้นจึงบอกว่าเพื่อนจะได้มาเอาผลทับทิมก็หามิได้ เพื่อนว่าท่านทั้ง ๓ ให้มาเอาทองที่ข้า ๆ ไม่ให้ไปแลท่านทั้ง ๓ สิร้องว่ามาแก่ข้า ๆ จึงให้ทองไปตามคำท่านทั้ง ๓ คนนั้นร้องมา พราหมณ์ลูกค้าทั้ง ๓ คนนั้นก็ให้เกาะกุมสัตรีนั้นไปว่าถึงขุนเมือง ๆ จึงให้จำหญิงนั้นไว้
อยู่มากาลวัน ๑ นายกอายบุตรชายของทลิทกนั้นรู้ ก็มาติดตามไต่ถามถึงเหตุการณ์แก่มารดา ๆ ก็เล่าเนื้อความคดีอันเขาให้เกาะนั้นให้แก่บุตรฟัง บุตรนั้นจึงว่าแก่มารดาว่า มารดาคอยอยู่น่อยหนึ่งเถิด ข้าจะขวนขวายให้ได้ทองมามากแล้ว จะส่งให้มารดาพ้นทุกข์ยาก นายกอายว่าแล้วก็ไปหาขุนเมืองว่า ช้าได้ทองมาแล้ว ขอเจ้ากูได้ให้หาตัวผู้เจ้าของทองทั้ง ๔ คนนั้นมาให้พร้อมกันโดยสัญญานั้น แลเราจะส่งทองให้เปนแล้ว ขุนเมืองบังคับแก่พราหมณ์ลูกค้าว่าให้หากันมาทั้ง ๔ คน จงรับเอาทอง จึงพราหมณ์ก็เจรจาด้วยกันว่า มันสิหนีจะไปหนใดเรามิรู้ ถ้าเรารู้แห่งที่อันมันอยู่ เราจะไปกุมเอาตัวมันมาเปนผู้ร้าย มันทำทรยศต่อเราแล้ว ทั้งนี้ก็เปนกรรมแห่งเราเองแล เจ้าของทองก็ให้เปลื้องปล่อยทลิทกสัตรีเสีย บ่มิได้ว่าความต่อไปเลย
นางตรีบิดาจึงว่าแก่มารดาว่า นายกอายอายุได้ ๗ ขวบ กระทำให้มารดาพ้นจากทุกข์อันจำจองได้ดังนี้ แลข้ามีอายุได้ ๘ ขวบแล้ว แลข้าจะช่วยมารดาให้พ้นจากทุกข์เท่านี้จะมิได้ฤๅ นางพราหมณีผู้มารดาได้ฟังก็ดีใจ จะใคร่พ้นจากพราหมณ์ทั้ง ๓ คนนั้น จึงพานางตรีบิดาผู้บุตรนั้นไปยังสำนักท่านขุนเมือง นางตรีบิดาจึงว่าแก่ขุนเมืองว่าเจ้ากูซื่อสัตย์ ตั้งอยู่แก่ธรรม เมื่อพราหมณ์ทั้ง ๔ คนมาฝากทองไว้แก่มารดาแห่งข้าแล้ว แลเพื่อนมาลวงเอาทองแล้วหนีไป ท่านบังคับให้มารดาข้าให้ไปเปนบาทบริจาแห่งพราหมณ์ทั้ง ๓ คน แลบัดนี้ข้าหาทองมาได้แล้ว ขอให้เจ้ากูหาพราหมณ์ทั้ง ๔ คนนั้นมา ข้าจะส่งทองให้ถ้วน ขอให้มาจงพร้อมกัน ขุนเมืองจึงว่า เออดีแล้ว
ฝ่ายตรีพราหมณ์ไปภิกขาจาร ครั้นกลับมาสู่เคหสถานมิได้เห็นแม่ลูกนั้นอยู่ที่เคหา พราหมณ์จึงเที่ยวหานางแม่ลูกนั้นก็เห็นอยู่ณเรือนแห่งขุนเมืองนั้น จึงจะไปพาแม่ลูกนั้นมา ขุนเมืองจึงบังคับให้หากันมาทั้ง ๔ คน มารับเอาทองโดยตนสัญญาเมื่อฝากนั้น ตรีพราหมณ์จึงพาทีด้วยกันว่า มันไปแห่งใด ๆ เรามิได้รู้เลย ถ้าพบมันจะให้เอาตัวเปนโจรเสีย แลมันประทุษฐร้ายแก่เราให้เสียสินอันเปนประโยชน์แห่งเรา แลอันนี้ก็เปนบาปเคราะห์แห่งเราเอง แล้วนางพราหมณีนั้นก็พ้นจากพราหมณ์ทั้ง ๓ เพราะบุตรีอันมีอายุได้ ๘ ขวบ ในกาลนั้นแล
นางตันไตรยจึงว่าแก่บิดา ตัวข้าอายุได้ ๙ ขวบแล้ว จะช่วยบิดาให้รอดจากภัยเท่านี้จะมิได้นั้นกลใด นางจึงนำนิยายเรื่อง ๑ มาเล่าให้วิจิตรวิจารณามหามนตรี ผู้บิดาฟังอิกดังนี้ว่า