- คำนำ
- ประวัติท้าวนารีวรคณารักษ์
- นิทานเรื่องนำ
- ๑ นิทานเรื่องนางตรีบิดา
- ๒ นิทานเรื่องนายกอาย
- ๓ นิทานเรื่องบุตรีขุนเมือง
- ๔ นิทานเรื่องวิปกฤษพราหมณ์
- ๕ นิทานเรื่องอุบลเศรษฐี
- ๖ นิทานเรื่องพระมหาเถรรักศิษย์ไม่เสมอกัน
- ๗ นิทานเรื่องท้าวเอฬาราช
- ๘ นิทานเรื่องมาณพเลี้ยงพังพอน
- ๙ นิทานเรื่องโอรสพระเจ้าอุพัทธราชาธิราช
- ๑๐ นิทานเรื่องเศรษฐีสอนบุตร
- ๑๑ นิทานเรื่องโอรสพระเจ้ากรุงมัทราส
- ๑๒ นิทานเรื่องเศรษฐีบุตร ๔ คน
- ๑๓ นิทานเรื่อง ๔ มาณพ
- ๑๔ นิทานเรื่องจตุรพราหมณ์
- ๑๕ นิทานเรื่องจตุรนารี
- ๑๖ นิทานเรื่องพราหมณ์เลือกเมีย
- ๑๗ นิทานเรื่องสุบินกุมาร
- ๑๘ นิทานเรื่องนายสำเภาชื่อสุริยวาณิช
- ๑๙ นิทานเรื่องพระเจ้าไตรวัต
- ๒๐ นิทานเรื่องพระยารีผัวเมีย
- ๒๑ นิทานเรื่องกษัตริย์สรโนธมาธิราช
- ๒๒ นิทานเรื่องชายชาวชนบท
- ๒๓ นิทานเรื่องตากับยายชาวชนบท
- ๒๔ นิทานเรื่องพระเจ้ากรุงศรีภิรมย์มหาราช
- ๒๕ นิทานเรื่องนางกะเชอรั่ว
- ๒๖ นิทานเรื่องพเอิญเข้าดลใจ
- ๒๗ นิทานเรื่องนายแวง ๒ คนเฝ้าท้องพระโรง
- ๒๘ นิทานเรื่องรัตนทัตบุตรเศรษฐี
- ๒๙-๓๐ นิทานเรื่องวิษณุคุบ
- ๓๑ นิทานเรื่องตำรวจ ๒ สหาย
- ๓๒ นิทานเรื่องสุนัขจิ้งจอกพบกลอง
- ๓๓ นิทานเรื่องเลือดมาอาศรัยเล็น
- ๓๔ นิทานเรื่องเศวตโคธา
- ๓๕ นิทานเรื่องสุนัขจิ้งจอกแทะสายหน้าไม้
- ๓๖ นิทานเรื่องคชทุมพรราชกุมาร
- ๓๗ นิทานเรื่องหงส์หามเฒ่า
- ๓๘ นิทานเรื่องลากับราชสีห์
- ๓๙ นิทานเรื่องพราหมณ์ช่วยกบ
- ๔๐ นิทานเรื่องน้ำผึ้งหก
- ๔๑ นิทานเรื่องฤษีชุบสุนัขเปนราชสีห์
- ๔๒ นิทานเรื่องนกกางเขนตกฟองที่หาดทราย
- ๔๓ นิทานเรื่องนายเนสาท
- ๔๔ นิทานเรื่องช่วยคนแลสัตว์ตกเหว
- ๔๕ นิทานเรื่องช่วยเสือตาย
- ๔๖ นิทานเรื่องให้ลิงเปนองครักษ์
- ๔๗ นิทานเรื่องนกกระจาบกับลิง
- ๔๘ นิทานเรื่องเศรษฐีบุตรหนีตาย
- ๔๙ นิทานเรื่องปลาพยายามหนีภัย
- ๕๐ นิทานเรื่องท้าวทศกระวีราชหนีพระกาล
- ๕๑ นิทานเรื่องนกยางลวงปลา
- ๕๒ นิทานเรื่องถึงที่ต้องตาย
- ๕๓ นิทานเรื่องวานรกับจรเข้
๒๔ นิทานเรื่องพระเจ้ากรุงศรีภิรมย์มหาราช
ว่าบุรพกาลปางก่อน ครั้งพระเจ้ากรุงศรีภิรมย์มหาราชได้ครอบครองสมบัติอยู่ณกรุงสุวรรณมหานคร วัน ๑ พระองค์เสด็จยกพลจัตุรงคโยธาออกประพาสมฤคยาน ครั้นถึงไพรสนฑ์แห่ง ๑ จึงให้หยุดพลไว้เสด็จด้วยพระที่นั่งอาชา พระหัดถ์ทรงธนูศรเสด็จไล่มฤคไป จนพลัดจัตุรงค์พลากรแต่พระองค์กับมนตรีผู้ ๑ ไปถึงวนาวาสชนบทแห่ง ๑ พบกฎุมพีผู้ ๑ ไถนาอยู่ ทารกบุตรนั้น ๒ คนอายุได้ ๖ ขวบ ๘ ขวบ ลงเล่นเลนอยู่ณท้องนา ท้าวเธอประพาสเห็นตรัสถามมนตรีว่า ทารกทั้ง ๒ นี้บุตรนัดดาของใคร มนตรีทูลว่า บุตรชาวบ้านป่า พระมหากษัตริย์ตรัสว่า น่าเอ็นดูหนอ ถ้าเปนบุตรผู้มีบรรดาศักดิ์ที่ไหนจะหม่นหมองศรีดังนี้ เธอมีพระกรุณาพระราชทานทรัพย์ให้แก่บิดามารดาแห่งทารกนั้น บิดามารดาก็ถวายทารกทั้ง ๒ นั้น พระองค์ก็พามาอภิบาลเลี้ยงไว้ในพระราชวัง ครั้นจำเริญใหญ่มา ท้าวเธอทรงพระกรุณาตั้งให้เปนนายแวง ทั้ง ๒ คนเข้านอนรักษาหน้าท้องพระโรงทุกวัน วัน ๑ นายแวงผู้พี่พาทีว่า น้องเอ๋ย เราอุบัติเกิดมาอาภัพมาได้เปนข้าเจ้าข้าจอม จะไปแห่งใดก็ต้องจำบอกจำกล่าวเจ้าขุนมุลนายก่อนจึงจะไปได้ ถ้าเราอยู่กับบิดามารดาถึงจะปราถนาจะไปในทิศทั้ง ๑๐ ไซร้ ก็หามีใครจะบังคับบัญชาไม่ ทำไฉนเราจะขวนขวายออกไปให้พ้นทุกข์นี้ได้ นายแวงผู้น้องนั้นค่อยมีสวามิภักดิ์ต่อเจ้า จึงกล่าวว่า พี่เอ๋ยบุญเรามากอิก จึงได้มาเปนข้าสมเด็จบรมกษัตริย์มีศักดิ์มียศ ถ้าเราอยู่ด้วยบิดามารดาก็เปนแต่ไพร่บ้านนอก ใครจะเกรงขาม อันทุกวันนี้จะไปแห่งใดก็ดี มีผู้ยำเกรงเพราะพาสนามีก็เปนเอง ถ้าแลพาสนาหามิได้แล้ว ถึงจะขวนขวายเท่าใด ๆ ก็ดี ก็หาได้จะเปนการไม่นะพี่ นายแวงผู้พี่จึงว่า อันจะเชื่อแต่พาสนานั้นมิชอบ ค่อยขวนขวายเล่าแลจึงจะรอดตัว เมื่ออนุชภาตาทั้ง ๒ จำนรรจาอยู่ด้วยกันนั้น พอเสด็จมาประจวบเข้าก็หยุดอยู่ทรงฟังแจ้งทุกประการ ครั้นเวลารุ่งเช้ารับสั่งให้หานายแวงทั้ง ๒ นั้นมาตรัสถามว่า รติกาลคืนนี้ ท่านสนทนาด้วยวจนะกถาอันใด นายแวงทั้ง ๒ จึงทูลแจ้งคดีตามที่ตนเจรจากันทุกประการ บรมกษัตริย์แสร้งทรงพระโกรธ แล้วสั่งให้ลงโทษทำพันธนาการจำจองด้วยสังขลิกพันธ์ แล้วให้เอาไปขังไว้ณเหวแห้งแห่ง ๑ จึงเอาพระธำมรงค์วง ๑ ใส่ซุกซ่อนไว้ณท้องกะบาย ปกปิดด้วยโภชนกระยาเสวย แล้วตรัสสั่งให้ผูกกะบายหย่อนลงไปตามปล่องเหว แต่ไม่ให้ถึงตัวนายแวงทั้ง ๒ นั้น นายแวงผู้พี่แลเห็นก็รีบร้นขวนขวายไปรับมาบริโภคอิ่มแล้ว ยังอาหารเศษเล็กน้อยก็ส่งไปให้แก่น้อง ด้วยคิดว่าแต่พอให้ได้ครองชีพไว้เถิด นายแวงผู้น้องก็รับมากิน อาหารสิน้อย นายแวงผู้น้องก็ได้พระธำมรงค์ในโภชนะนั้นเก็บซ่อนซุกไว้ นายแวงผู้พี่ก็มิได้รู้ แต่บรมกษัตริย์ซ่อนพระธำมรงค์ลงไว้ในอาหาร แล้วให้หย่อนลงไปให้นายแวงดังนี้ถ้วนถึง ๗ วัน แล้วพระองค์ตรัสสั่งให้ถอดนายแวงทั้ง ๒ ออกจากพันธนาการเข้ามาเฝ้า จึงตรัสถามว่าเมื่อท่านอยู่ในโทษได้กินโภชนะเปนฉันใดบ้าง นายแวงผู้พี่ทูลว่า เมื่อพระราชทานให้หย่อนอาหารลงไปไซร้ ข้าพระบาทขวนขวายไปรับมาจึงได้บริโภค ยังอาหารเหลือเศษข้าพระบาทส่งให้แก่น้อง พระองค์จึงตรัสถามนายแวงผู้น้องเล่าว่า ท่านบริโภคอาหารเหลือเศษเห็นสิ่งใดบ้าง นายแวงผู้น้องทูลว่าข้าพระบาทมิได้ขวนขวายไปรับ จึงได้พระราชทานอาหารวันละน้อย ๆ แต่ว่าได้พระธำมรงค์ในกะบายนั้นวันละวง ๆ ทูลแล้วจึงถวายพระธำมรงค์แด่บรมกษัตริย์ ๆ ก็พระราชทานคืนให้แก่นายแวงผู้น้องนั้น แล้วพระราชทานที่ตั้งให้เปนเสนาบดี นายแวงผู้พี่มิได้มีสวามิภักดิ์พระองค์ก็มิทรงพระกรุณาแล
นนทุกราชจึงตอบว่า อันสหายว่าดังนี้ก็ชอบอยู่ แต่ว่ารู้ขวนขวายก็รอดชีพได้ดีดุจเดียวกัน
สัญชีพจึงว่า ธรรมเนียมมีไฉนสหายจงเล่าไปจะขอฟัง