- คำนำ
- ประวัติท้าวนารีวรคณารักษ์
- นิทานเรื่องนำ
- ๑ นิทานเรื่องนางตรีบิดา
- ๒ นิทานเรื่องนายกอาย
- ๓ นิทานเรื่องบุตรีขุนเมือง
- ๔ นิทานเรื่องวิปกฤษพราหมณ์
- ๕ นิทานเรื่องอุบลเศรษฐี
- ๖ นิทานเรื่องพระมหาเถรรักศิษย์ไม่เสมอกัน
- ๗ นิทานเรื่องท้าวเอฬาราช
- ๘ นิทานเรื่องมาณพเลี้ยงพังพอน
- ๙ นิทานเรื่องโอรสพระเจ้าอุพัทธราชาธิราช
- ๑๐ นิทานเรื่องเศรษฐีสอนบุตร
- ๑๑ นิทานเรื่องโอรสพระเจ้ากรุงมัทราส
- ๑๒ นิทานเรื่องเศรษฐีบุตร ๔ คน
- ๑๓ นิทานเรื่อง ๔ มาณพ
- ๑๔ นิทานเรื่องจตุรพราหมณ์
- ๑๕ นิทานเรื่องจตุรนารี
- ๑๖ นิทานเรื่องพราหมณ์เลือกเมีย
- ๑๗ นิทานเรื่องสุบินกุมาร
- ๑๘ นิทานเรื่องนายสำเภาชื่อสุริยวาณิช
- ๑๙ นิทานเรื่องพระเจ้าไตรวัต
- ๒๐ นิทานเรื่องพระยารีผัวเมีย
- ๒๑ นิทานเรื่องกษัตริย์สรโนธมาธิราช
- ๒๒ นิทานเรื่องชายชาวชนบท
- ๒๓ นิทานเรื่องตากับยายชาวชนบท
- ๒๔ นิทานเรื่องพระเจ้ากรุงศรีภิรมย์มหาราช
- ๒๕ นิทานเรื่องนางกะเชอรั่ว
- ๒๖ นิทานเรื่องพเอิญเข้าดลใจ
- ๒๗ นิทานเรื่องนายแวง ๒ คนเฝ้าท้องพระโรง
- ๒๘ นิทานเรื่องรัตนทัตบุตรเศรษฐี
- ๒๙-๓๐ นิทานเรื่องวิษณุคุบ
- ๓๑ นิทานเรื่องตำรวจ ๒ สหาย
- ๓๒ นิทานเรื่องสุนัขจิ้งจอกพบกลอง
- ๓๓ นิทานเรื่องเลือดมาอาศรัยเล็น
- ๓๔ นิทานเรื่องเศวตโคธา
- ๓๕ นิทานเรื่องสุนัขจิ้งจอกแทะสายหน้าไม้
- ๓๖ นิทานเรื่องคชทุมพรราชกุมาร
- ๓๗ นิทานเรื่องหงส์หามเฒ่า
- ๓๘ นิทานเรื่องลากับราชสีห์
- ๓๙ นิทานเรื่องพราหมณ์ช่วยกบ
- ๔๐ นิทานเรื่องน้ำผึ้งหก
- ๔๑ นิทานเรื่องฤษีชุบสุนัขเปนราชสีห์
- ๔๒ นิทานเรื่องนกกางเขนตกฟองที่หาดทราย
- ๔๓ นิทานเรื่องนายเนสาท
- ๔๔ นิทานเรื่องช่วยคนแลสัตว์ตกเหว
- ๔๕ นิทานเรื่องช่วยเสือตาย
- ๔๖ นิทานเรื่องให้ลิงเปนองครักษ์
- ๔๗ นิทานเรื่องนกกระจาบกับลิง
- ๔๘ นิทานเรื่องเศรษฐีบุตรหนีตาย
- ๔๙ นิทานเรื่องปลาพยายามหนีภัย
- ๕๐ นิทานเรื่องท้าวทศกระวีราชหนีพระกาล
- ๕๑ นิทานเรื่องนกยางลวงปลา
- ๕๒ นิทานเรื่องถึงที่ต้องตาย
- ๕๓ นิทานเรื่องวานรกับจรเข้
๒๑ นิทานเรื่องกษัตริย์สรโนธมาธิราช
ว่าเมื่อกาลก่อน พระมหากษัตริย์สรโนธมาธิราช ยังผ่านสมบัติณกรุงพลูเทพราชธานี มีกระทาชายผู้ ๑ ทำนาพาภรรยาแลบุตรทารกน้อย ๆ ทั้ง ๒ นั้นลงดำนา แลทารกทั้ง ๒ นั้นก็ลงปลักเลนเล่นอยู่ พอพระเจ้าสรโนธมาธิราช เสด็จประพาสมาเห็นทารกทั้ง ๒ นั้นก็ทรงพระเมตตา จึงพระราชทานพระราชทรัพย์ให้แก่กระทาชายผู้บิดา แล้วขอเอาทารกนั้นไปเลี้ยงไว้ในพระราชวัง ทรงพระกรุณาเสนหาให้วัดถาอาภรณ์นุ่งห่มกินอยู่พร้อมบริบูรณ์ ครั้นวัฒนาการจำเริญมา กุมารผู้พี่จำนรรจาด้วยน้องชายว่า เราอยู่กับบรมกษัตริย์ไซร้ ไม่สบายจิตต์ คิดจะไปแห่งใดก็ไปไม่ได้ดังใจปอง ต้องทูลฉล่ำฉลองอำลาก่อนจึงจะไปได้ ให้ขัดข้องทุกสิ่ง เราอยู่ด้วยบิดามารดาเราไซร้ จะไปไหนก็ไปได้ตามอำเภอใจ ข้าคิดจะไปอยู่กับบิดามารดาเห็นจะดีกว่า แล้วกุมารผู้อนุชาน้องชายกล่าวว่า พี่เอ๋ย อันอยู่ด้วยบิดามารดาไซร้ ล้วนคนมาดูแคลน แม้นอยู่ใกล้พระบาทในพระราชวังนี้ไม่มีผู้จะดูถูกได้ พี่เอ๋ย ข้ามิไปเลยแลเราจะอยู่เฝ้าพระบาทนี้จะดีกว่า
ครั้นจิรกาลนานมา พระมหากษัตริย์จึงยกย่องกุมารน้องชายให้เปนหมื่นขุนเข้านอกออกในได้ยศบรรดาศักดิ์ยิ่งๆ ขึ้นไป ส่วนกุมารผู้พี่ได้เปนที่แต่นายแวงรวังราชกิจผิดประเดี๋ยว ๆ ต้องโทษทัณฑ์ประหาร มิวายเว้นเลย ด้วยเอาใจออกนอกพระมหากษัตริย์นั้น ดูกรสหาย กลัวเกลือกจะเปนอย่างนั้นบ้าง
นนทุกราชจึงตอบว่า สหายหากว่าไป หาผู้จะกล่าวบอกมิได้ ที่ไหนเศรษฐีจะรู้
สัญชีพว่า ถ้าเกลือกจะเข้าดลใจแก่เศรษฐี รู้ว่าดีกับร้ายนั้นหากแจ้ง
นนทุกราชจึงว่า นิยายซึ่งว่าเข้าดลใจสำแดงดีกับร้ายนั้นมีอย่างไรอิกบ้าง ท่านจงเล่าไปจะขอฟัง
สัญชีพจึงกล่าวข้อนิยายดังนี้