- คำนำ
- ประวัติท้าวนารีวรคณารักษ์
- นิทานเรื่องนำ
- ๑ นิทานเรื่องนางตรีบิดา
- ๒ นิทานเรื่องนายกอาย
- ๓ นิทานเรื่องบุตรีขุนเมือง
- ๔ นิทานเรื่องวิปกฤษพราหมณ์
- ๕ นิทานเรื่องอุบลเศรษฐี
- ๖ นิทานเรื่องพระมหาเถรรักศิษย์ไม่เสมอกัน
- ๗ นิทานเรื่องท้าวเอฬาราช
- ๘ นิทานเรื่องมาณพเลี้ยงพังพอน
- ๙ นิทานเรื่องโอรสพระเจ้าอุพัทธราชาธิราช
- ๑๐ นิทานเรื่องเศรษฐีสอนบุตร
- ๑๑ นิทานเรื่องโอรสพระเจ้ากรุงมัทราส
- ๑๒ นิทานเรื่องเศรษฐีบุตร ๔ คน
- ๑๓ นิทานเรื่อง ๔ มาณพ
- ๑๔ นิทานเรื่องจตุรพราหมณ์
- ๑๕ นิทานเรื่องจตุรนารี
- ๑๖ นิทานเรื่องพราหมณ์เลือกเมีย
- ๑๗ นิทานเรื่องสุบินกุมาร
- ๑๘ นิทานเรื่องนายสำเภาชื่อสุริยวาณิช
- ๑๙ นิทานเรื่องพระเจ้าไตรวัต
- ๒๐ นิทานเรื่องพระยารีผัวเมีย
- ๒๑ นิทานเรื่องกษัตริย์สรโนธมาธิราช
- ๒๒ นิทานเรื่องชายชาวชนบท
- ๒๓ นิทานเรื่องตากับยายชาวชนบท
- ๒๔ นิทานเรื่องพระเจ้ากรุงศรีภิรมย์มหาราช
- ๒๕ นิทานเรื่องนางกะเชอรั่ว
- ๒๖ นิทานเรื่องพเอิญเข้าดลใจ
- ๒๗ นิทานเรื่องนายแวง ๒ คนเฝ้าท้องพระโรง
- ๒๘ นิทานเรื่องรัตนทัตบุตรเศรษฐี
- ๒๙-๓๐ นิทานเรื่องวิษณุคุบ
- ๓๑ นิทานเรื่องตำรวจ ๒ สหาย
- ๓๒ นิทานเรื่องสุนัขจิ้งจอกพบกลอง
- ๓๓ นิทานเรื่องเลือดมาอาศรัยเล็น
- ๓๔ นิทานเรื่องเศวตโคธา
- ๓๕ นิทานเรื่องสุนัขจิ้งจอกแทะสายหน้าไม้
- ๓๖ นิทานเรื่องคชทุมพรราชกุมาร
- ๓๗ นิทานเรื่องหงส์หามเฒ่า
- ๓๘ นิทานเรื่องลากับราชสีห์
- ๓๙ นิทานเรื่องพราหมณ์ช่วยกบ
- ๔๐ นิทานเรื่องน้ำผึ้งหก
- ๔๑ นิทานเรื่องฤษีชุบสุนัขเปนราชสีห์
- ๔๒ นิทานเรื่องนกกางเขนตกฟองที่หาดทราย
- ๔๓ นิทานเรื่องนายเนสาท
- ๔๔ นิทานเรื่องช่วยคนแลสัตว์ตกเหว
- ๔๕ นิทานเรื่องช่วยเสือตาย
- ๔๖ นิทานเรื่องให้ลิงเปนองครักษ์
- ๔๗ นิทานเรื่องนกกระจาบกับลิง
- ๔๘ นิทานเรื่องเศรษฐีบุตรหนีตาย
- ๔๙ นิทานเรื่องปลาพยายามหนีภัย
- ๕๐ นิทานเรื่องท้าวทศกระวีราชหนีพระกาล
- ๕๑ นิทานเรื่องนกยางลวงปลา
- ๕๒ นิทานเรื่องถึงที่ต้องตาย
- ๕๓ นิทานเรื่องวานรกับจรเข้
๓๕ นิทานเรื่องสุนัขจิ้งจอกแทะสายหน้าไม้
ว่าปางบุเรมีนายเนสาทชื่อกฎติราเตน ถือปืนยาหน้าไม้ไปจะตามดูหมู่มฤคโดยวิสัย ก็พบคชสารใหญ่ชื่อมารัญชนคิรี ๆ เหลือบเห็นกฎติราเตนก็แล่นไล่ กฎติราเตนก็หนีขึ้นลี้หลบอยู่เหนือวัมมิกจอมปลวก ๑ ใหญ่ ก็ขึ้นหน้าไม้ปืนยาตั้งท่ายิง ก็ย่างเหยียบซึ่งปล่องอุรคชาติอันชื่ออัคคิวีสะ งูก็เป่าพิษๆ ผุดถูกเอากฎติราเตนก็ล้มผวา หน้าไม้ก็หลุดหล่นจากมือพราน ก็ประหารลงเหนือเศียรแห่งอุรคชาตินั้นแตกตาย นายเนสาทพิษก็ซาบสร้านจิตต์ชีวิตก็ดับ คชมารัญชนคิรีต้องปืนกำซาบแห่งนายเนสาทมิอาจทรงชีวิตได้ ก็พิราลัยล้มลงตรงมหาวัมมิกนั้น สิงคาลตัว ๑ ไปเห็นสัตว์ทั้ง ๓ สิ้นชีพอยู่ก็ดีใจ ว่าเออคืนนี้ฝันเห็นเปนนิมิตรดีจึงมาพบอาหารอันอุดม อันคชกิรินทรจะกินได้เดือน ๑ มนุษย์ไซร้กินได้ ๑๐ วัน อุรคชาตินี้จะกินแต่พอวัน ๑ อย่าเลยจะกินเลาะแต่สายหน้าไม้นี้ก่อนก็จะหายเหนื่อย เหตุสิงคาลโลภลาภาเหลือตัวกลัวผู้อื่นจะช่วงชิง สายหน้าไม้ขึงตึงเครียดสิงคาลก็เลีย ๆ แล้วตะเหลี่ยมเข้าข้างปีกหน้าไม้ที่ผูกสอดกำชับไว้กับสาย ดึง ๆ กัด ๆ สายหน้าไม้ก็ขาด ปีกไม้ก็วัดมาต้องอุระสิงคาลก็ล้มลงตายในสถานที่นั้น ดูกรสังวทันต์ชื่อว่าโลภแล้วย่อมถึงซึ่งทุกข์ เปนเหตุที่จะให้ก่อเกิดความพินาศขาดประโยชน์จากลาภอันจะถึงแก่อาตมะมีเที่ยงแท้ สังวทันต์ครั้นฟังสีหราชก็คมนาการบ่ายเบี่ยงเลี่ยงหลีกออกมาจำนรรจากับวายุวักษ์ว่า เรากล่าวคดีพญาราชสีห์ก็มิฟังเลย สหายเอ๋ย ท่านไปทูลดูเล่าเถิด วายุภักษ์ก็ผาดคุกคลานเข้าเฝ้าฟุบเฟี้ยมเลียมเลียบทูลภิปรายว่า ข้าบาททั้งหลายได้อยู่เย็นเปนสุขเพราะเดชบุญฤทธิ์แห่งเจ้าผู้มีวิริยยิ่ง อนึ่งโปรดประทานที่ให้ข้าบาทนี้เปนที่อำมาตย์อยู่เพื่อเหตุจะได้ตักเตือนข้อพลั้งพลาด ในกิจการทั้งปวงอันผิดแลชอบแล้ว ถ้าแลมินำพาไซร้เสมอกับหาสวามิภักดิ์มิได้ แม้เจ้าจะมิยกอภัยแลจะไม่นิยมยินยลก็ดี จะขอทูลทัดไว้ที ๑ เถิด อนึ่งข้าบาทนี้กลัวว่าเกลือกจะเปนอย่างและเลียมเท้าคชทุมพรราช
สีหราชซักกระโชกถามว่า ธรรมเนียมและเลียมเท้าคชทุมพรราชนั้นไฉน วายุกักษ์ก็กล่าวกลบทโบราณดังนี้