- คำนำ
- ประวัติ ว่าที่นายพันโท หลวงไกรกรีธา
- ความรัก
- ความชัง
- ความเชื่อแน่
- ความสงไสย
- ความตระหนี่
- ความสุรุ่ยสุร่าย
- ความหมั่น
- ความเกียจคร้าน
- ความอ่อน
- ความแขง
- ความอิจฉา
- มุทิตา
- ความช้า
- ความเร็ว
- ความเสื่อม
- ความเจริญ
- ความมั่งมี
- ความจน
- ความผิด
- ความชอบ
- ความโลภ
- ความสันโดฐ
- ความนินทา
- ความสรเสริญ
- ความกระวนกระวาย
- ความอดกลั้น
- ความเบื่อ
- ความเพลิน
- ความลำเอียง
- ความเที่ยงตรง
- ความหยิ่ง
- ความสุภาพ
- ใจร้าย
- ใจดี
- ความโง่
- ความฉลาด
- ความเท็จ
- ความจริง
- ความทุจริต
- ความสุจริต
- ความหวังใจ
- ความท้อใจ
- ความเลินเล่อ
- ความระวังคือไม่ประมาท
- ความนับถือ
- ความดูหมิ่น
- ความทุกข์
- ความศุข
- ความกล้า
- ความขลาด
ความเกียจคร้าน
๑๏ ผู้แสวงศุขสละคร้าน | คราวงาน เสียเฮย |
คร้านแต่ทุกข์ธารมาน | เมื่อหน้า |
แสวงชื่นประจุบันนาน | นับโศก ไซ้พอ |
คร้านเกียจเพราะอะไรข้า | ขัดข้องขอถาม |
๒๏ พ่อเอย ยามจะต้อง | ทำใด ก็ดี |
ใจบ่เต็มตามใจ | จึ่งคร้าน |
ผัดแดดผัดฝนไป | โพ้นพรุ่ง |
“อ่อเกียจกิจตกด้าน | ฝ่ายร้ายฤาหนอ” |
๓๏ “จักร้ายบ่ร้ายหยั่ง | เห็นเอง โสดเทอญ |
ควายจะฟังเพลงซอ | ยากรู้ |
สุดใจชอบใจเกรง | ใจอื่น ไยพ่อ” |
“ขอพี่แนะนำผู้ | เกียจนั้นเปนไฉน” |
๔๏ “เกียจทุกข์ในฟากโพ้น | เกียจดี แน่เฮย |
เกียจกิจมักทวีมี | โทษแท้ |
สุภาสิตวาที | ทานเทียบ ไว้นา” |
เออพี่จงกล่าวแม้ | ชอบเค้าควรจำ |
๕๏ “เกียจเรียนบำราศรู้ | วิทยา ยิ่งนา |
เกียจกอบกิจหากิน | แสบท้อง |
เกียจเก็บทรัพย์แสวงมา | เปลืองเปล่า |
เกียจต่อกุศลต้อง | ตกห้องนรกานต์” |
กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย