- คำนำ
- ประวัติ ว่าที่นายพันโท หลวงไกรกรีธา
- ความรัก
- ความชัง
- ความเชื่อแน่
- ความสงไสย
- ความตระหนี่
- ความสุรุ่ยสุร่าย
- ความหมั่น
- ความเกียจคร้าน
- ความอ่อน
- ความแขง
- ความอิจฉา
- มุทิตา
- ความช้า
- ความเร็ว
- ความเสื่อม
- ความเจริญ
- ความมั่งมี
- ความจน
- ความผิด
- ความชอบ
- ความโลภ
- ความสันโดฐ
- ความนินทา
- ความสรเสริญ
- ความกระวนกระวาย
- ความอดกลั้น
- ความเบื่อ
- ความเพลิน
- ความลำเอียง
- ความเที่ยงตรง
- ความหยิ่ง
- ความสุภาพ
- ใจร้าย
- ใจดี
- ความโง่
- ความฉลาด
- ความเท็จ
- ความจริง
- ความทุจริต
- ความสุจริต
- ความหวังใจ
- ความท้อใจ
- ความเลินเล่อ
- ความระวังคือไม่ประมาท
- ความนับถือ
- ความดูหมิ่น
- ความทุกข์
- ความศุข
- ความกล้า
- ความขลาด
ความตระหนี่
๑๏ ตระหนี่ทรัพย์ศุขจักร้าง | แรมตน |
ตระหนี่วิทยาผล | ห่อนได้ |
ตระหนี่กรุณาชน | เขาชอบ ฤๅพ่อ |
ตระหนี่กิจการจักให้ | ลุนั้นไป่มี |
๒๏ ตระหนี่สมรมิตรแม้ | ขัดบุตร |
ตระหนี่เสน่ห์แหนงนุช | หน่ายร้าง |
ตระหนี่นิทร์จักเสื่อมสุด | แรงทด ถอยนา |
ตระหนี่สิ่งการก่อสร้าง | เริศไร้เรือนงาม |
๓๏ ตระหนี่สัตย์จำต้องซื่อ | ถือศิล |
ตระหนี่อริมิตรญาติฉินท์ | ภาคแท้ |
ตระหนี่บุญเกิดบาปภิญ | โญยิ่ง นาพ่อ |
ตระหนี่บาปเพ็ญบุญแล้ | ปลดเปลื้องทางอบาย |
๔๏ ตระหนี่เพียรจักรอบรู้ | ฉันใด |
ตระหนี่คิดทำสิ่งไร | ห่อนแล้ว |
ตระหนี่เสพย์นักปราชญ์ใคร | จักสั่ง สอนนา |
ตระหนี่บทจรแคล้ว | คลาศได้เยียไฉน |
๕๏ ตระหนี่ยาเกิดโรคร้าย | รุนแรง |
ตระหนี่โรคโรคแสวง | เหตุมล้าง |
ตระหนี่รศสามัคคีแสดง | จางจืด |
ตระหนี่เสพย์อาหารอ้าง | ชีพนั้นพลันสูญ |
๖๏ ตระหนี่สถานชนห่อนขึ้น | เรือนตน |
ตระหนี่เครื่องอาภรณ์กล | แต่เศร้า |
ตระหนี่อาวุธจน | ใจเปลี่ยว |
ตระหนี่อัคคีอยู่เหย้า | มืดเพี้ยงไพรพนอม |
๏ หกบทกำหนดเค้า | คำขยาย |
ดุจดรุณแรกจักผาย | โอษฐพร้อง |
ความเพี้ยนผิดจากหมาย | ไป่เหมาะ นาพ่อ |
กึกกักชักขัดข้อง | ค่อยนี้ขอขมา |
พระยาอภัยพลภักดิ ( ม. ล. อุกฤษฐ )
เมื่อยังเปนจมื่นสุรฤทธิพฤฒิไกร