- ทางพิจารณาหาตัวผู้เขียนจดหมาย
- คำนำเรื่องซึ่งมีในจดหมายความทรงจำ
- คำบรรยายความเห็่นแลความคิดที่จะเรียบเรียงหนังสือนี้
- จดหมายเหตุ ตั้งแต่กรุงเก่าเสียแล้ว เจ้าตากมาตั้งเมืองธนบูรี
- ๑ - ๑๓๐
- ๑๓๑ - ๒๒๔
- ๒๒๕ - ๒๕๖
- อักษร (ก)
- ๑ พระราชสาส์นกรุงศรีสัตนาคนหุต มีมายังกรุงธนบุรี
- ๒ พระราชสาส์นกรุงธนบุรึ ถึง กรุงศรีสัตนาคนหุต
- ๓ ศุภอักษร เสนาบดีกรุงศรีสัตนาคนหุตกำกับพระราชสาส์น
- ๔ ศุภอักษรเสนาบดีกรุงธนบุรีกำกับพระราชสาส์น
- ๕ ศุภอักษรเสนาบดีกรุงธนบุรีรับรับสั่ง มีไปถึงเสนาบดีกรุงล้านช้าง
- ๖ พระราชสาส์นศรีสัตนาคนหุต
- ๗ พระราชสาส์นกรุงธนบุรีมีตอบไป
- ๘ ศุภอักษรเสนาบดีกรุงศรีสัตนาคนหุตกำกับพระราชสาส์น
- ๙ ศุภอักษรเสนาบดีกรุงธนบุรี กำกับพระราชสาส์นมีไปกรุงล้านช้าง
- ๑๐ ศุภอักษรพญาหลวงเมืองแสน อรรคมหาเสนาเมืองล้านช้าง ที่ส่งตัวขึ้นไปจากกรุงธน
- ๑๑ สมณสาส์นมาแต่กรุงศรีสัตนาคนหุต
- ๑๒ คำแปลสมณสาส์น
- ๑๓ สมณสาส์นพระสังฆราชกรุงธนบุรีมีตอบไป
- ศุภอักษรครั้งแผ่นดินเจ้ากรุงธนบุรีตอบไปกรุงศรีสัตนาคนหุต
- อักษร (ข) หมวดแรก พระราชสาส์น รัชกาลที่ ๑ มีไปมากับเมืองญวน
- อักษร (ข) หมวดที่ ๒
- อักษร (ข) หมวดที่ ๓
- อักษร (ข) หมวดที่ ๔ พระราชสาส์นรัชกาลที่ ๒ มีไปเมืองญวน
- (๑) พระราชสาส์น สมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา ปราบดาภิเศกใหม่
- (๒) พระราชสาส์นสมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๓) หนังสือ เจ้าพระยาพระคลังผู้ใหญ่ณกรุงเทพมหานครศรีอยุทธยา
- (๔) พระราชสาส์นพระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๕) พระราชปฏิสัณฐาน
- (๖) พระราชสาส์นสมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๗) พระราชสาส์น เจ้ากรุงเวียดนาม
- (๘) พระราชสาส์น พระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๙) พระราชสาส์น สมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๑๐) พระราชสาส์น สมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๑๑) พระราชสาส์น สมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๑๒) พระราชสาส์นพระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๑๓) พระราชสาส์นสมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๑๔) พระราชสาส์นพระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๑๕) พระราชสาส์นกรุงเวียดนาม
- (๑๖) พระราชสาส์นพระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๑๗) พระราชสาส์นพระมเหษี พระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๑๘) พระราชสาส์นสมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๑๙) พระราชสาส์นสมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๒๐) พระราชสาส์นสมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๒๑) พระราชสาส์นพระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๒๒) พระราชสาส์นพระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๒๓) พระราชสาส์นพระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๒๔) พระราชสาส์น สมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๒๕) หนังสือท่านเจ้าพระยาพระคลังผู้ใหญ่ณกรุงพระมหานครศรีอยุทธยาฯ
- (๒๖ เห็นจะเปนร่างครั้งแรก) พระราชสาส์นสมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๒๗ เห็นจะเปบฉบับที่แก้แล้วมีไป)
- (๒๘) หนังสือท่านเจ้าพระยาพระคลังผู้ใหญ่ ณะกรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๒๙) พระราชสาส์น สมเด็จพระเจ้ากรุงศรีอยุทธยา
- (๓๐) พระราชสาส์นพระเจ้ามินมาง
- (๓๑) พระราชสาส์นเจ้ากรุงเวียดนาม
- อักษร (ค) จาฤกแผ่นสิลา ว่าด้วยพระบรมธาตุมาแต่เมืองน่าน
- อักษร (ฆ) เรื่องนิพานวังน่า
(๒๕) หนังสือท่านเจ้าพระยาพระคลังผู้ใหญ่ณกรุงพระมหานครศรีอยุทธยาฯ
(๒๕) หนังสือท่านเจ้าพระยาพระคลังผู้ใหญ่ณกรุงพระมหานครศรีอยุทธยาฯ มาถึงองเลโบเสนาบดีกรุงเวียดนาม ด้วยสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัว ณกรุงพระมหานครศรีอยุทธยา มีพระราชโองการดำรัสให้หลวงอนุรักษ์ภูธรราชทูต ขุนวิจารณ์อารุธอุปทูต เชิญพระราชสาส์นออกมาทูลสมเด็จพระเจ้ากรุงเวียดนาม ด้วยพระยารามกำแหงซึ่งโปรดให้ออกมาจัดน้ำรัก แลพระยาอภัยภูเบศรผู้รักษาเมืองปัตบอง บอกเข้าไปว่าทัพเมืองพุทไธเพชรยกล่วงด่านเข้าไปสามทาง ตั้งประชุมอยู่ที่บ้านไอรแวง $\left. \begin{array}{}\mbox{พระยารามกำแหง} \\[1.4ex]\mbox{พระยาอภัยภูเบศร}\\[1.4ex]\end{array} \right\}$ รู้ความแล้ว จึ่งให้ออกมาห้ามทัพไว้ก็ไม่ฟัง ยกรุกเข้าไปตั้งค่ายที่หนองจอกนั้นสี่ค่าย สมเด็จเจ้าพระยาก็ตามเข้าไปอยู่ที่บ้านอลงกูบประมาณคนทั้งสิ้น ๕๐๐๐ เสศ เดิมว่าจะไปเอามูลค้างคาวดูน้ำพระตึก แล้วว่าจะมาหาพระยาอภัยภูเบศร ครั้นจะให้เข้าไปแต่พอสมควรสัก $\left. \begin{array}{}\mbox{๔๐๐} \\[1.4ex]\mbox{๕๐๐}\\[1.4ex]\end{array} \right\}$ ก็ว่าจะเข้าไปให้สิ้นทั้งกองทัพ ถึงมิให้ไปจะไปให้ได้ กองพระยาเอกราชก็ยกเข้าไปตั้งค่ายปักขวากริมวัดเขามานนฝั่งน้ำฟากละค่าย ทำตพานเรือกถึงกันยกล่วงเข้าไปบ้านสลึงมาปิดหลังทางโตนดนั้นกองหนึ่ง กองทัพพุทไธเพชร ชิงเอาโคกระบือแลสิ่งของจนผู้คนตื่นแตกเข้าป่า พระยาอภัยภูเบศรจึงให้พระยาวงษาธิราช ออกมารักษาครอบครัวณบ้านบายตำราไว้ แล้วมีหนังสือแจ้งราชการไปแก่เมืองรายทางฉบับหนึ่ง เข้าไปกราบทูลฉบับหนึ่ง ครั้นสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวทราบความดังนี้ จึงโปรดให้ $\left. \begin{array}{}\mbox{พระยารองเมือง} \\[1.4ex]\mbox{พระยาพรหมบริรักษ์}\\[1.4ex]\end{array} \right\}$ ถือตรารับสั่งออกมาฟังราชการ ห้ามทัพหัวเมืองไว้ก่อน พระยารองเมืองมาพบหนังสือ พระยารามกำแหงบอกซ้ำเข้าไปว่า กองทัพพุทไธเพชรซึ่งตั้งอยู่หนองจอกแลเขามานนนั้น ยกพลเข้าโอบเข้าล้อมพาลวิวาท จะให้ถอยทัพออกไปก็ไม่ถอย แล้วเอาปืนยิงพวกปัตบองก็เกิดรบกันขึ้น ตัวนายแลไพร่เขมรป่วยเจ็บล้มตายทั้งสองข้างเปนหลายคน พวกพุทไธเพชรก็ถอยไปตั้งค่ายรวมทัพอยู่ณเมืองโพธิสัตว์ ทั้งเกวียนซึ่งบรรทุกขวากใส่เสบืยงแลกระสุนดินดำไว้เปนหลายเล่ม กับหนังสือปิดตราซึ่งสมเด็จเจ้าพระยาเร่งทัพให้ตีปัตบองก็ได้ไว้ ข้างฝ่ายเมือง $\left. \begin{array}{}\mbox{จันทบุรี} \\[1.4ex]\mbox{ตราด}\\[1.4ex]\end{array} \right\}$ ก็บอกเข้าไปด้วยว่ามีเรือญวนพร้อมด้วยพลแจว แลอาวุธปืนใหญ่น้อยน่าเรือรายแคมเข้าไปทอดอยู่ณะเกาะ $\left. \begin{array}{}\mbox{หมาก} \\[1.4ex]\mbox{ช้าง}\\[1.4ex]\end{array} \right\}$ ในแดนเมืองตราดประมาณ ๓๕ ลำ ไม่รู้จะไปด้วยการสิ่งไร ในคำญวนนายเรือพูดเล่ากับจีนชาวเรือว่าไปป้องกันส่งพระราชสาส์น บอกแก่นายบ้านเกาะหมากว่า พระเจ้ากรุงเวียดนามให้มาตามจับจีนเตาโหว ผู้ร้ายตีเรือลูกค้า ครั้นเจ้าเมืองตราดรู้ข่าว จึงจัดให้ออกมาเที่ยวสืบราชการถึงเกาะกง ก็หาพบเรือพระราชสาส์นแลเรือจีนผู้ร้ายที่ไหนไม่ แต่ไพร่ครัวแลนายบ้านเกาะกงนั้นหายไปสิ้น จึงถามจีนชาวบ้านกับจีนลูกค้า ไปแต่เมืองสือเหงา ได้ความว่ากระลาภาษกับญวนสองลำ ไปกวาดเอาครัวมาเมืองกะปอด แลซึ่งข้อราชการทั้งสองฝ่ายนี้ สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวดำรัสว่าจะเบาความหาควรไม่ ด้วยเจ้าเมืองเขมรพึ่งบุญอยู่ทั้งสองฝ่าย กรุงพระมหานครศรีอยุทธยากับกรุงเวียดนามเปนไมตรีกัน องต๋ากุญก็ลงไปสำเร็จราชการเปนผู้ใหญ่อยู่ณเมืองไซ่ง่อน ขุนนางญวนกรุงเวียดนาม ก็ยังอยู่เพื่อนองค์จันทร์ณเมืองพุทไธเพชร เหตุผลต้นปลายประการใดก็ยังไม่รู้ แลความมาเปนดังนี้เห็นไม่ควร จึงโปรดให้ $\left. \begin{array}{}\mbox{หลวงอนุรักษภูธร} \\[1.4ex]\mbox{ขุนวิจารณอาวุธ}\\[1.4ex]\end{array} \right\}$ เชิญพระราชสาส์นออกมาทูลสมเด็จพระเจ้ากรุงเวียดนาม แม้นพระราชสาส์นแลทูตานุทูตมาถึงเมื่อใด ขอให้องเลโบช่วยทำนุบำรุง นำทูตเข้าเฝ้าทูลถวายราชสาส์นแลหนังสือเรื่องความนี้ ให้สมเด็จพระเจ้ากรุงเวียดนามทราบโดยทางพระราชไมตรีจงสดวก
หนังสือมาณวัน - ค่ำ ปีกุน สัพศก