- ทางพิจารณาหาตัวผู้เขียนจดหมาย
- คำนำเรื่องซึ่งมีในจดหมายความทรงจำ
- คำบรรยายความเห็่นแลความคิดที่จะเรียบเรียงหนังสือนี้
- จดหมายเหตุ ตั้งแต่กรุงเก่าเสียแล้ว เจ้าตากมาตั้งเมืองธนบูรี
- ๑ - ๑๓๐
- ๑๓๑ - ๒๒๔
- ๒๒๕ - ๒๕๖
- อักษร (ก)
- ๑ พระราชสาส์นกรุงศรีสัตนาคนหุต มีมายังกรุงธนบุรี
- ๒ พระราชสาส์นกรุงธนบุรึ ถึง กรุงศรีสัตนาคนหุต
- ๓ ศุภอักษร เสนาบดีกรุงศรีสัตนาคนหุตกำกับพระราชสาส์น
- ๔ ศุภอักษรเสนาบดีกรุงธนบุรีกำกับพระราชสาส์น
- ๕ ศุภอักษรเสนาบดีกรุงธนบุรีรับรับสั่ง มีไปถึงเสนาบดีกรุงล้านช้าง
- ๖ พระราชสาส์นศรีสัตนาคนหุต
- ๗ พระราชสาส์นกรุงธนบุรีมีตอบไป
- ๘ ศุภอักษรเสนาบดีกรุงศรีสัตนาคนหุตกำกับพระราชสาส์น
- ๙ ศุภอักษรเสนาบดีกรุงธนบุรี กำกับพระราชสาส์นมีไปกรุงล้านช้าง
- ๑๐ ศุภอักษรพญาหลวงเมืองแสน อรรคมหาเสนาเมืองล้านช้าง ที่ส่งตัวขึ้นไปจากกรุงธน
- ๑๑ สมณสาส์นมาแต่กรุงศรีสัตนาคนหุต
- ๑๒ คำแปลสมณสาส์น
- ๑๓ สมณสาส์นพระสังฆราชกรุงธนบุรีมีตอบไป
- ศุภอักษรครั้งแผ่นดินเจ้ากรุงธนบุรีตอบไปกรุงศรีสัตนาคนหุต
- อักษร (ข) หมวดแรก พระราชสาส์น รัชกาลที่ ๑ มีไปมากับเมืองญวน
- อักษร (ข) หมวดที่ ๒
- อักษร (ข) หมวดที่ ๓
- อักษร (ข) หมวดที่ ๔ พระราชสาส์นรัชกาลที่ ๒ มีไปเมืองญวน
- (๑) พระราชสาส์น สมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา ปราบดาภิเศกใหม่
- (๒) พระราชสาส์นสมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๓) หนังสือ เจ้าพระยาพระคลังผู้ใหญ่ณกรุงเทพมหานครศรีอยุทธยา
- (๔) พระราชสาส์นพระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๕) พระราชปฏิสัณฐาน
- (๖) พระราชสาส์นสมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๗) พระราชสาส์น เจ้ากรุงเวียดนาม
- (๘) พระราชสาส์น พระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๙) พระราชสาส์น สมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๑๐) พระราชสาส์น สมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๑๑) พระราชสาส์น สมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๑๒) พระราชสาส์นพระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๑๓) พระราชสาส์นสมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๑๔) พระราชสาส์นพระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๑๕) พระราชสาส์นกรุงเวียดนาม
- (๑๖) พระราชสาส์นพระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๑๗) พระราชสาส์นพระมเหษี พระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๑๘) พระราชสาส์นสมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๑๙) พระราชสาส์นสมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๒๐) พระราชสาส์นสมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๒๑) พระราชสาส์นพระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๒๒) พระราชสาส์นพระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๒๓) พระราชสาส์นพระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๒๔) พระราชสาส์น สมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๒๕) หนังสือท่านเจ้าพระยาพระคลังผู้ใหญ่ณกรุงพระมหานครศรีอยุทธยาฯ
- (๒๖ เห็นจะเปนร่างครั้งแรก) พระราชสาส์นสมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๒๗ เห็นจะเปบฉบับที่แก้แล้วมีไป)
- (๒๘) หนังสือท่านเจ้าพระยาพระคลังผู้ใหญ่ ณะกรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๒๙) พระราชสาส์น สมเด็จพระเจ้ากรุงศรีอยุทธยา
- (๓๐) พระราชสาส์นพระเจ้ามินมาง
- (๓๑) พระราชสาส์นเจ้ากรุงเวียดนาม
- อักษร (ค) จาฤกแผ่นสิลา ว่าด้วยพระบรมธาตุมาแต่เมืองน่าน
- อักษร (ฆ) เรื่องนิพานวังน่า
(๘) พระราชสาส์น พระเจ้ากรุงเวียดนาม
(๘) พระราชสาส์น พระเจ้ากรุงเวียดนามคำนับมายังสมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยาให้ทราบ ด้วยกรุงพระมหานครศรีอยุทธยากับกรุงเวียดนาม เปนทางพระราชไมตรีเสมอต้นเสมอปลายสนิทกันยิ่งนัก หามีความรังเกียจสงไสยสิ่งใดสิ่งหนึ่งไม่ พระไทยพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยากับพระไทยกรุงเวียดนามส่องถึงกัน ครั้งก่อนกรุงพระมหานครศรีอยุทธยาแต่งให้พระยาพิพัฒโกษาจำทูลพระราชสาส์นออกไป ในพระราชสาส์นนั้นว่าทางพระราชไมตรีสนิทกันกับว่าเรื่องความเมืองเขมรแต่ต้นจนปลาย กรุงเวียดนามก็ทราบพระไทยพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยาแล้ว แลในทางพระราชสาส์นนั้นว่า ข้อความสิ่งใดก็สั่งมาแก่พระยาพิพัฒโกษาแล้ว จึงให้ขุนนางผู้ใหญ่มารับพระยาพิพัฒโกษาไปกินเลี้ยง แล้วพระยาพิพัฒโกษาว่าแก่ขุนนางผู้ใหญ่ให้กราบทูลเจ้ากรุงเวียดนามว่าเจ้าเมืองเขมรหาเข้าไปเฝ้ารับขอโทษตัวไม่ ขอให้เจ้ากรุงเวียดนามสั่งให้เจ้าเมืองเขมรเข้าไปเฝ้าว่าซ้ำถึงสามหน ขุนนางผู้ใหญ่จึ่งทูลเจ้ากรุงเวียดนาม พระเจ้ากรุงเวียดนามก็แจ้งในพระไทยพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา ความทั้งนี้เปนคำทูตหามีในพระราชสาส์นไม่ เมืองเขมรก็เมืองหนึ่งแต่เปนข้าอยู่ทั้งสองเมืองใหญ่ จะเข้าไปฤๅมิเข้าไปก็สุดแต่ใจเจ้าเมืองเขมร ครั้นกรุงเวียดนามจะว่ากล่าวให้เข้าไป เกลือกเมืองเขมรเปนเหตุการประการใด เมืองขึ้นทั้งปวงจะนินทาว่ากรุงเวียดนามรู้กันกับกรุงพระมหานครศรีอยุทธยาให้เจ้าเมืองเขมรตกหลุมติดบ่วง ความข้อนี้ได้ให้ขุนนางผู้ใหญ่บอกมาแก่พระยาพิพัฒโกษาแล้ว แลราชการเมืองเขมรกรุงเวียดนามก็ได้มีพระราชสาส์นมาแต่ก่อน กรุงพระมหานครศรีอยุทธยาก็แจ้งอยู่แล้ว เมื่อคำทรายเจืองเกอหวันเง่าเค่าราชทูตเข้ามาณกรุง ฯ รับราชสาส์นกลับไป ในพระราชสาส์นกับคำคำทรายเจืองเกอหวันเง่าเค่าต้องกัน กรุงเวียดนามทราบแล้ว กรุงพระมหานครศรีอยุทธยากับกรุงเวียดนามเปนทางพระราชไมตรีสนิทกัน ซึ่งข้อความเมืองเขมรนั้น คำทรายเจืองเกอหวันเง่าเค่ากราบทูลเจ้ากรุงเวียดนามตามรับสั่งพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา กรุงเวียดนามก็ทราบแล้วว่าพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยาหาเอาโทษเจ้าเมืองเขมรไม่ ครั้นมิว่ากล่าวเมืองขึ้นกรุงพระมหานครศรีอยุทธยาเปนอันมากจะเอาเยี่ยงอย่างกำเริบตามเมืองเขมร แลข้อความในพระราชสาส์นกับคำคำทรายเจืองเกอหวันเง่าเค่า แลคำพระยาพิพัฒโกษาให้กราบทูลแต่ก่อนนั้นคล้ายคลึงกัน เจ้าเมืองเขมรไม่คำนับพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา เหมือนไม่คำนับกรุงเวียดนามเหมือนกัน จึ่งเจ้าเมืองเขมรทำผิดทั้งนี้จะไม่รู้โทษตัวบ้างฤๅ อันกรุงพระมหานครศรีอยุทธยากับกรุงเวียดนามก็เปนทางพระราชไมตรีกันมา เจ้าเมืองเขมรทำให้เคืองพระไทยพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยาทั้งนี้ กรุงเวียดนามจะนิ่งดูได้ฤๅ แต่เปนทุกข์ด้วยการพระศพยังไม่แล้ว จึ่งมีพระราชสาส์นเข้ามาให้ทราบ กรุงพระมหานครศรีอยุทธยาจะคิดทำแก่เมืองเขมรประการใด ผู้ใหญ่ครองผู้น้อยให้ควรเลี้ยงผู้น้อยโดยธรรม์ แล้วให้มีพระราชสาส์นออกไปให้จะแจ้ง แลข้อความทั้งนี้เปนธุระอยู่ทั้งสองพระนคร แต่ทูตไปมาถึงสองครั้งไม่แจ้งว่าจะทำเปนประการใด ด้วยยังหามีพระราชสาส์นออกมาไม่ กรุงเวียดนามก็ไม่รู้ที่จะทำประการใด บัดนี้การพระศพเปนการใหญ่ ระยะทางก็ไกลกันดาร จึ่งให้ขุนนางผู้น้อยจำทูลพระราชสาส์นเร่งรีบมาแจ้งราชการโดยเร็ว เปนแต่ผู้น้อยหารู้ราชการสิ่งใดไม่ ข้อความสิ่งใดแจ้งมาในพระราชสาส์นทุกประการแล้ว พระราชสาส์นมาณวัน ๑๒ฯ ๓ ค่ำ ยาลองศักราช ๑๐ ปีมะแมตรีนิศก ๚ะ๛