- ทางพิจารณาหาตัวผู้เขียนจดหมาย
- คำนำเรื่องซึ่งมีในจดหมายความทรงจำ
- คำบรรยายความเห็่นแลความคิดที่จะเรียบเรียงหนังสือนี้
- จดหมายเหตุ ตั้งแต่กรุงเก่าเสียแล้ว เจ้าตากมาตั้งเมืองธนบูรี
- ๑ - ๑๓๐
- ๑๓๑ - ๒๒๔
- ๒๒๕ - ๒๕๖
- อักษร (ก)
- ๑ พระราชสาส์นกรุงศรีสัตนาคนหุต มีมายังกรุงธนบุรี
- ๒ พระราชสาส์นกรุงธนบุรึ ถึง กรุงศรีสัตนาคนหุต
- ๓ ศุภอักษร เสนาบดีกรุงศรีสัตนาคนหุตกำกับพระราชสาส์น
- ๔ ศุภอักษรเสนาบดีกรุงธนบุรีกำกับพระราชสาส์น
- ๕ ศุภอักษรเสนาบดีกรุงธนบุรีรับรับสั่ง มีไปถึงเสนาบดีกรุงล้านช้าง
- ๖ พระราชสาส์นศรีสัตนาคนหุต
- ๗ พระราชสาส์นกรุงธนบุรีมีตอบไป
- ๘ ศุภอักษรเสนาบดีกรุงศรีสัตนาคนหุตกำกับพระราชสาส์น
- ๙ ศุภอักษรเสนาบดีกรุงธนบุรี กำกับพระราชสาส์นมีไปกรุงล้านช้าง
- ๑๐ ศุภอักษรพญาหลวงเมืองแสน อรรคมหาเสนาเมืองล้านช้าง ที่ส่งตัวขึ้นไปจากกรุงธน
- ๑๑ สมณสาส์นมาแต่กรุงศรีสัตนาคนหุต
- ๑๒ คำแปลสมณสาส์น
- ๑๓ สมณสาส์นพระสังฆราชกรุงธนบุรีมีตอบไป
- ศุภอักษรครั้งแผ่นดินเจ้ากรุงธนบุรีตอบไปกรุงศรีสัตนาคนหุต
- อักษร (ข) หมวดแรก พระราชสาส์น รัชกาลที่ ๑ มีไปมากับเมืองญวน
- อักษร (ข) หมวดที่ ๒
- อักษร (ข) หมวดที่ ๓
- อักษร (ข) หมวดที่ ๔ พระราชสาส์นรัชกาลที่ ๒ มีไปเมืองญวน
- (๑) พระราชสาส์น สมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา ปราบดาภิเศกใหม่
- (๒) พระราชสาส์นสมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๓) หนังสือ เจ้าพระยาพระคลังผู้ใหญ่ณกรุงเทพมหานครศรีอยุทธยา
- (๔) พระราชสาส์นพระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๕) พระราชปฏิสัณฐาน
- (๖) พระราชสาส์นสมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๗) พระราชสาส์น เจ้ากรุงเวียดนาม
- (๘) พระราชสาส์น พระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๙) พระราชสาส์น สมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๑๐) พระราชสาส์น สมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๑๑) พระราชสาส์น สมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๑๒) พระราชสาส์นพระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๑๓) พระราชสาส์นสมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๑๔) พระราชสาส์นพระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๑๕) พระราชสาส์นกรุงเวียดนาม
- (๑๖) พระราชสาส์นพระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๑๗) พระราชสาส์นพระมเหษี พระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๑๘) พระราชสาส์นสมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๑๙) พระราชสาส์นสมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๒๐) พระราชสาส์นสมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๒๑) พระราชสาส์นพระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๒๒) พระราชสาส์นพระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๒๓) พระราชสาส์นพระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๒๔) พระราชสาส์น สมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๒๕) หนังสือท่านเจ้าพระยาพระคลังผู้ใหญ่ณกรุงพระมหานครศรีอยุทธยาฯ
- (๒๖ เห็นจะเปนร่างครั้งแรก) พระราชสาส์นสมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๒๗ เห็นจะเปบฉบับที่แก้แล้วมีไป)
- (๒๘) หนังสือท่านเจ้าพระยาพระคลังผู้ใหญ่ ณะกรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๒๙) พระราชสาส์น สมเด็จพระเจ้ากรุงศรีอยุทธยา
- (๓๐) พระราชสาส์นพระเจ้ามินมาง
- (๓๑) พระราชสาส์นเจ้ากรุงเวียดนาม
- อักษร (ค) จาฤกแผ่นสิลา ว่าด้วยพระบรมธาตุมาแต่เมืองน่าน
- อักษร (ฆ) เรื่องนิพานวังน่า
อักษร (ค) จาฤกแผ่นสิลา ว่าด้วยพระบรมธาตุมาแต่เมืองน่าน
๏ ศุภมัศดุ ๒๓๕๑ นาคสังวัจฉรอาสุขมาสศุกปักษ์ฉะดฤษถีสุริยวารกาลปริเฉทกำหนด พระบาทสมเด็จพระบรมธรรมิกกะราชาธิราชรามาธิบดี ศรีวิสุทธิคุณวิบูลยปรีชา ฤทธิราเมศวรราช บรมนารถบรมบพิตร์พระพุทธเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงทศพิธราชธรรมอนันตวิริยาทิโพธาภิรัต ผ่านสมบัติณกรุงเทพทวาวดีศรีอยุทธยา มหาดิลกภพนพรัตนราชธานีบุรีรมย์ เสด็จออกณพระที่นั่งบุษบกมาลามหาจักรพรรดิ์พิมานโดยสถานอุตราภิมุข พร้อมด้วยพระบรมวงษาเสนาพฤฒามาตย์ราชมนตรีกระวีชาติ์ประโรหิตาจารย์ เฝ้าทูลลอองธุลีพระบาทโดยอันดับ จึงพระยามหาอำมาตยาธิบดีพิริยพาหะ ผู้ว่าที่สมุหนายกกราบบังคมทูลพระกรุณาว่า เจ้าฟ้าเมืองน่านบอกลงมาว่าณวันเดือนเก้าแรมสิบสองค่ำปีมโรงสัมฤทธิศก พระบรมสารีริกธาตุกระทำพระอิทธิปาฏิหาร บันดาลไหซึ่งใส่พระธาตุนั้นให้ผุดขึ้นมาลอยวนอยู่หลังน้ำ ตรงปากถ้ำน้ำน่านใต้ด่านบ้านแผก สามเณรสององค์ลงไปดูนาวาท่าน้ำแลไป สำคัญใจว่าผลฟักลอยอยู่ ลงเรือไปดูเห็นเปนไหเคลือบเขียวสอาด จึงยกขึ้นสู่นาวาพาเข้ามาบอกพระสงฆ์ช่วยกันเปิดดู เห็นกล่องเงินใหญ่ใส่พระธาตุ ๒๓๕ พระองค์ กับพระพุทธรูปแก้วเงินทอง ๒๗๒ องค์ ทั้งเครื่องสักการบูชามีรูปช้างม้า ต้นไม้คนโทผอบแผ่นเงินทอง กล่องเข็มจอกใส่พลอยทุกสิ่ง สรรพเครื่องวิจิตร์ด้วยสุวรรณหิรัญรัตน์ประดับอยู่ในเห พระสงฆ์สามเณรจึงช่วยกันเชิญพระบรมธาตุไปไว้ที่ควร ชวนกันทำสักการบูชา พอเจ้าฟ้าเมืองน่านล่องลงมาเฝ้าทูลลอองธุลีพระบาท แจ้งว่าเจ้าสามเณรได้พระบรมธาตุเปนมหัศจรรย์ หามีสำคัญอารามใกล้น้ำชำรุดซุดพังไม่ พระบรมธาตุกระทำพระปาฏิหารให้ปรากฎดังนี้ ด้วยเดชะพระบารมีพระบรมโพธิสมภาร สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัว เจ้าฟ้าเมืองน่านจึงเชิญพระบรมธาตุใส่เรือขนานแห่ลงมาทูลเกล้า ฯ ถวาย ครั้นได้ทรงฟังทรงพระปีติโสมนัศ จึงมีพระราชโองการมารพระบัณฑูรสุรสิงหนาทดำรัสสั่งให้เสวกามาตย์ราชมนตรีแต่งที่แลเครื่องสักการบูชา แห่พระบรมธาตุขึ้นมาจากเรือ เชิญสถิตย์เหนือพระแท่นในพระที่นั่งมหาจักรพรรดิ์พิมาน พร้อมด้วยการสมโภชโสรดสรง ทรงถวายเครื่องสักการบูชา แล้วให้ประชุมธรรมธราชาติ์ราชบัณฑิตย์ทั้งปวง มีสมเด็จพระสังฆราชเปนประธาน เลือกจัดพระธาตุได้ต้องพระบาฬีมีศรีสัณฐานต้องด้วยอย่างเปนพระบรมสารีริกธาตุแท้ ๔๙ พระองค์ เหลือนั้นเปนธาตุพระอรหันต์ ๑๘๖ พระองค์ ทรงเชิญพระบรมธาตุใส่ในพระโกษฐ ให้เสด็จอยู่ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนสาศดาราม กิติศัพท์ก็ปรากฎทั่วทุกประชาชนชาติ์ เกิดประสาทศรัทธาเลื่อมไสเกลื่อนกล่นกันมากระทำสักการบูชา บ้างถวายหิรัญวัตถาลังการเครื่องประดับ จึงทรงพระราชดำริห์ว่า พระบรมสาริริกธาตุกระทำพระพุทธอิทธิปาฏิหารมาแต่เมืองน่านครั้งนี้ เปนศุภศิริสวัสดิ์มหัศจรรย์นัก ซึ่งจักประดิษฐานไว้ในพระอุโบสถณวัดพระศรีรัตนสาสดารามนั้น ไปภายน่าเครื่องสรรพสักการบูชาแห่งทายกเก่าใหม่กับเครื่องพุทธบูชา ซึ่งอุทิศไว้ในพระแก้วมรกฎก็จะบริคนกล่นเกลื่อนกันเข้าหาควรไม่ แลพระชินราชกับพระชินศรีซึ่งอยู่ณเมืองศุโขทัยนั้น ต้องแดดฝนตรากตรำคร่ำคร่าเพลิงป่าเผาแตกพัง หาผู้จะรักษาทำนุบำรุงไม่ ให้อาราธนาลงมาปฏิสังขรณ์ พระลักษณสิ่งใดมิต้องด้วยพระพุทธลักษณให้ช่างซ่อมแปลงแต่งให้ต้องด้วยพระอัตถกถาบาฬี บัดนี้ก็สำเร็จแล้วจักเชิญพระบรมธาตุไปบรรจุไว้ ในองค์พระพุทธรุปจึงจะควร ในปีมโรงสัมฤทธิศกนั้น เมื่อได้ศุภสวัสดิฤกษ์ ทรงพระกรุณาให้เชิญพระบรมธาตุในพระราชวัง ๔๑ พระองค์ กับพระบรมธาตุมาแต่เมืองน่าน ๒๓๕ พระองค์ ทรงสรงพระสุคนธ์วารีเสร็จเสด็จเหนือพระยานุมาศ ให้ตั้งพลพยุหกระบวนแห่เปนขนัด พร้อมด้วยเครื่องสูงแลราชวัตร์ฉัตร์ธงผ้าธงประฎาก พิณพาทย์แตรสังข์ดุริยางค์ดนตรี ประโคมแห่ลงไปณวัดพระเชตุวันาราม สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวทรงพระราชศรัทธาอุสาหเสด็จพระราชดำเนินไป ทรงบรรจุพระบรมธาตุ ในพระราชวังเข้าไว้ในพระชินศรีแต่ ๓๐ พระองค์ แล้วเชิญพระชินศรีสถิตย์ที่พุทธาอาศน์ในพระวิหารด้านทักษิณทิศ สนองพระองค์ดุจทรงสถิตย์ นั่งเสวยผลศุขฌานสมาบัติภายใต้ร่มไม้จิกแทบขอบสระมุจลินท์ แล้วเชิญพระบรมธาตุในพระราชวัง ๑๑ พระองค์นั้นบรรจบกับพระบรมธาตุมาแต่เมืองน่านเข้ากัน ๖๐ พระองค์ กับทั้งให้ใส่เครื่องสักการบูชาเก่าใหม่ทรงบรรจุไว้ในองค์พระชินราช เชิญขึ้นสถิตย์เหนือวิจิตรบวรพุทธาอาศน์ในพระวิหารด้านประจิมทิศไว้เปนที่เจดียถานให้เปนที่สักการบูชาสนองพระองค์ดุจทรงนั่งตรัสพระธรรมเทศนา พระธรรมจักป์ปวัตนสูตร์ปโปรดปัญจวัคคีย์ภิกษุทั้ง ๕ ในอิสีปัตนมฤคทายวัน จึงเชิญธาตุพระอรหันต์ ๑๘๖ พระองค์ ใส่ในพระโกษแก้ว ๕ ใบ ทรงบรรจุไว้ในองค์พระปัญจวัคคียภิกษุสาวกทั้ง ๕ แล้วทรงพระกรุณาให้จัดช่วยคนเปนข้าพระบรมธาตุครัวหนึ่ง ๖ คน เปนเงิน ๗ ชั่ง แลเงินซึ่งทายกบูชามาแต่เมืองน่านมีอยู่แต่ชั่งสิบตำลึง เงินบูชาณกรุงสามชั่งหกตำลึงหาพอไม่ จึงทรงพระราชศรัทธาให้เอาเงินตราณท้องพระคลัง เพิ่มเข้าอีก ๒ ชั่ง ๔ ตำลึงเข้ากันเปนเงิน ๗ ชั่งช่วยถ่ายชายหญิงได้หกคนเปนค่าพระบรมธาตุ สำหรับอภิบาลรักษาไวยาวัจจกร เพื่อจะให้พระบรมธาตุเจดีย์ถาวรวัฒนาการถ้วน ๕ พันพรรษา ให้เปนหิตานุหิตประโยชน์แก่อมรเทพามนุษย์ กระทำสักการบูชาไปภายน่า แล้วทรงอุทิศส่วนพระราชกุศลนี้ให้ไปถึงผู้ศรัทธาสร้างพระพุทธปฏิมากรทั้งผู้บรรจุพระบรมธาตุนี้ไว้ แลให้ทั่วไปแก่สรรพสัตว์ในอนันตจักรวาฬ จงเปนปัจจัยแก่พระปรมาภิเศกสมโพธิญาณ ในอนาคตกาลโน้นเถิด ฯ