- ทางพิจารณาหาตัวผู้เขียนจดหมาย
- คำนำเรื่องซึ่งมีในจดหมายความทรงจำ
- คำบรรยายความเห็่นแลความคิดที่จะเรียบเรียงหนังสือนี้
- จดหมายเหตุ ตั้งแต่กรุงเก่าเสียแล้ว เจ้าตากมาตั้งเมืองธนบูรี
- ๑ - ๑๓๐
- ๑๓๑ - ๒๒๔
- ๒๒๕ - ๒๕๖
- อักษร (ก)
- ๑ พระราชสาส์นกรุงศรีสัตนาคนหุต มีมายังกรุงธนบุรี
- ๒ พระราชสาส์นกรุงธนบุรึ ถึง กรุงศรีสัตนาคนหุต
- ๓ ศุภอักษร เสนาบดีกรุงศรีสัตนาคนหุตกำกับพระราชสาส์น
- ๔ ศุภอักษรเสนาบดีกรุงธนบุรีกำกับพระราชสาส์น
- ๕ ศุภอักษรเสนาบดีกรุงธนบุรีรับรับสั่ง มีไปถึงเสนาบดีกรุงล้านช้าง
- ๖ พระราชสาส์นศรีสัตนาคนหุต
- ๗ พระราชสาส์นกรุงธนบุรีมีตอบไป
- ๘ ศุภอักษรเสนาบดีกรุงศรีสัตนาคนหุตกำกับพระราชสาส์น
- ๙ ศุภอักษรเสนาบดีกรุงธนบุรี กำกับพระราชสาส์นมีไปกรุงล้านช้าง
- ๑๐ ศุภอักษรพญาหลวงเมืองแสน อรรคมหาเสนาเมืองล้านช้าง ที่ส่งตัวขึ้นไปจากกรุงธน
- ๑๑ สมณสาส์นมาแต่กรุงศรีสัตนาคนหุต
- ๑๒ คำแปลสมณสาส์น
- ๑๓ สมณสาส์นพระสังฆราชกรุงธนบุรีมีตอบไป
- ศุภอักษรครั้งแผ่นดินเจ้ากรุงธนบุรีตอบไปกรุงศรีสัตนาคนหุต
- อักษร (ข) หมวดแรก พระราชสาส์น รัชกาลที่ ๑ มีไปมากับเมืองญวน
- อักษร (ข) หมวดที่ ๒
- อักษร (ข) หมวดที่ ๓
- อักษร (ข) หมวดที่ ๔ พระราชสาส์นรัชกาลที่ ๒ มีไปเมืองญวน
- (๑) พระราชสาส์น สมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา ปราบดาภิเศกใหม่
- (๒) พระราชสาส์นสมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๓) หนังสือ เจ้าพระยาพระคลังผู้ใหญ่ณกรุงเทพมหานครศรีอยุทธยา
- (๔) พระราชสาส์นพระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๕) พระราชปฏิสัณฐาน
- (๖) พระราชสาส์นสมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๗) พระราชสาส์น เจ้ากรุงเวียดนาม
- (๘) พระราชสาส์น พระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๙) พระราชสาส์น สมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๑๐) พระราชสาส์น สมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๑๑) พระราชสาส์น สมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๑๒) พระราชสาส์นพระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๑๓) พระราชสาส์นสมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๑๔) พระราชสาส์นพระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๑๕) พระราชสาส์นกรุงเวียดนาม
- (๑๖) พระราชสาส์นพระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๑๗) พระราชสาส์นพระมเหษี พระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๑๘) พระราชสาส์นสมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๑๙) พระราชสาส์นสมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๒๐) พระราชสาส์นสมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๒๑) พระราชสาส์นพระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๒๒) พระราชสาส์นพระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๒๓) พระราชสาส์นพระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๒๔) พระราชสาส์น สมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๒๕) หนังสือท่านเจ้าพระยาพระคลังผู้ใหญ่ณกรุงพระมหานครศรีอยุทธยาฯ
- (๒๖ เห็นจะเปนร่างครั้งแรก) พระราชสาส์นสมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๒๗ เห็นจะเปบฉบับที่แก้แล้วมีไป)
- (๒๘) หนังสือท่านเจ้าพระยาพระคลังผู้ใหญ่ ณะกรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๒๙) พระราชสาส์น สมเด็จพระเจ้ากรุงศรีอยุทธยา
- (๓๐) พระราชสาส์นพระเจ้ามินมาง
- (๓๑) พระราชสาส์นเจ้ากรุงเวียดนาม
- อักษร (ค) จาฤกแผ่นสิลา ว่าด้วยพระบรมธาตุมาแต่เมืองน่าน
- อักษร (ฆ) เรื่องนิพานวังน่า
๖ พระราชสาส์นศรีสัตนาคนหุต
๏ พระราชสาร ษาขินทศิกขรปวระชมภูพฤกษอติกนันถิตะบุบพิตา วิกสิตะวิโรจนะโชติมหันตะมหาอนันตคุณ วิบุลมนุญสุระธระปวรศุกขวัทน หิตะนิจการะนรหัฎปัศนาการะสารสุธรรมคำภิร โชติวรสำภาราดิเรก อเนกอนันตมหันตเหฬารพิสารวชิรปติมันทิตพิจิต จันทวระลักขปะรมาสารสิทหิตธรรมไม้ตรี ในสมเด็จนรมบพิตรพระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตวิสุทรัตนราชธานีบุรีรมย บรมนาฎบพิตรกิจนาสุภาวิตะสัตะนิตรมิตะธรรมไม้ตรีสริปจานุตมสำมาคมะ สมเดจพระมหาเอกาทศรุธอิศวรบรมนาฏบรมบพิตรพระมหานครทวาราวดีศรีอยุทธยามหาดิลกภพนพรัตนราชธานีบุรีรมยอุดมษามีศรีสุพรรณรัตน พระเจ้าประสาททองเจ้าไชยมหามังคะละรัตนวิสุทธิเสตกุญไชยบพิตร สถิตยในบรมมหาสถานอันมหาปรเสริฎ ในศักราช ๑๑๓๔ ตัวนั้น กจึ่งได้สนทนาในพระราชหฤๅไทยถึงทำนองคลองพระราชไม้ตรีแห่งกรุงเทพ ฯ แต่ในกาลเมื่อก่อนกหากได้เปนพันทมิตรสนิจเสน่หาบได้ขาดยังราชประเพนี จึงได้เปสิตาราชทูตาจำทูลสุพรรณบัตรรัตนพระราชสาร แลมังคลบรรณาการวัฒนากรุงเทพ ฯ เพิ่อไม่ให้ขาดเสียยังราชปรเพนีปรการหนึ่ง ดั่งเจ้าพญานครราชศรีมาก็ยังจำเริญทางพระราชไม้ตรีบได้ขาดแท้ มาจนถึ่งศักราช ๑๑๓๕ ตัวนั้น โปชุกพลากถือมหันตโยธามาขมเหงกรุง ฯ ศรีสัตนาคนหุต กเปนโทรมนัศทุกขาแก่ปรชากรขมเหงเอาพระราชบุตรท้งงเสนาอำมาตย ไปกรุงรัตนบุระอังวะกค้างคาอยู่ โปชุกพลาก็ยกถอยหนีจากกรุงศรีสัตนาคนหุต ไปต้งงอยู่เชิยงใหม่ จึ่งแต่งให้โปมาว่า โปชุกพลาจยกกองทัพไปรบเอากรุงเทพ ฯ ให้กรุงศรีสัตนาคนหุต เอากำลังเข้ามาทางเมืองนครราชศรีมาว่าดั่งนี้ ก็จึ่งได้รำพึงถึงทำนองคลองราชปรเพนีแห่งพระมหากระษัตราธิราชเจ้าแต่กาลเมิ่อก่อนสืบมา ดั่งกรุงศรีอยุทธยาแลกรุงศรีสัตนาคนหุตสองกรุงบห่อรเปนเวรานุเวรแก่กัน จึ่งขัดสนเสิยบถือเอาถอยคำฝูงนั้น จึ่งได้บอกเสนาอำมาตยมิศุภอักษรไปถึงเจ้าพญานครราชศรีมาเล่ากิจานุกิจทุกปรการ อยู่มาศักราช ๑๑๓๖ ตัว สมเดจพระเจ้ากรุงศรีอยุทธยา จึ่งมิเมตากรุณาถึงทำนองคลองราชประเพนีแห่งกรุงศรีสัตนาคนหุต ทรงพระกรุณาตรัสเหนิอเกล้า ฯ เจ้าพญานครราชศรีมาจึ่งแต่งกรมการมีศุภอักษรส่งพญาหลวงเมิองแสน มาถึงกรุงศรีสัตนาคนหุต ณเดือนยี่แรมสองค่ำนั้นได้แจ้งยังวัจนคดีอันมีในศุภอักษรทุกประการ จึงมีโสมนัศษาปราโมฎโชตนาการ ถึงทานบารมีพระเจ้ากรุงศรีอยุทธยายิ่งนักหนา จึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ อัคมหาเสนาพร้อมกับอริยสงฆราชครูแต่งแปลงสืบไว้ยังทางพระราชไม้ตรีเพิอหมิให้ขาดเสิย ยังราชประเพนี เหตุว่าสองกรุงหากได้วัฒนาปรำปราสืบ ๆ มา จึ่งได้เปสิตา พญาสุธาราชาจาบ้านปัญามงคลพญามหาอำมาตยสุรตังรไม้ตรี จำทูลสุพรรณบัตรรัตนพระราชสารมงคลบรรณาการวัฒนสวัสดิสมเด็จพระเจ้าในกรุงเทพ ฯ เพิ่ออุภัยรัฎจให้เปนสุพรรณบัตเอกอัญมัญสืบ ๆ ไป ประการหนึ่งดั่งข้าไพร่กรุงเทพ ฯ อนพ่ายมาพึงกรุงศรีสัตนาคนหุต นั้นก็บได้ปองกันเข้าไว้แต่ก่อน พญานครราชศรีมา จคืนมาส้างบ้านเมิองกได้บอกป่าวร้องเขาคืนไปท้งงปวงว่าดั่งนี้ ฝูงเขาหมิยากไปเขาจึ่งลับลี้อยู่ ฝูงเขาสมักไปกมีอยู่มากหลายกให้คืนไป เจ้าพญานครราชศรีมาคืนไปถึงบ้านเมิองแล้ว จึ่งใช้กรมการมาขอเอากได้บอกป่าวร้องกะเกนเอาไป ทีหลังใช้ซ้ำมากได้บอกป่าวร้องหัวบ้านหัวเมืองส่งให้กมากหลาย อันยังค้างคาอยู่บัดนี้แต่ฝูงทุกขยากอดหยากเขากลี้ลับอับอยู่ ขวนขวายเลี้ยงชิวิตรอินทรีแห่งเขากหมีได้กฎหมายจำนวรไว้ ปรการหนึ่งเมิ่อใดราชบุตรราชนัดา แลเสนาอำมาดยอันไปค้างคาอยู่กรุงรัตนบุระอังวะนั้นหากคืนมาถึงบ้านเมืองเมิอใด กจบอกเสนาอำมาตยพร้อมกันแต่งการนำเคริองมงคลราชาภิเศกสมเด็จพระเจ้ากรุงเทพฯ เพิ่อให้หมั้นคง ๑๒๐ พระวะษา ให้ชำระปราบทั่วไปในสกลชมภูทวิปท้งงปวง อนึ่งดั่งข้าไปจจัดทอนโรมไว้จให้พร้อมกันบัดนั้น ประการหนึ่งดั่งพระราชบุตรพระราชนัดดาเสนาอำมาตยฝูงค้างคาอยู่กรุงรัตนบุระอังวะนั้น หากยังดั้นจอนมาถึงบรมโพธิสมภารกรุงเทพฯ เมิ่อใดขอให้มีเมตากรุณาทุกประการ อนึ่งข้าไพร่กรุงศรีสัตนาคนหุตอันได้กลัวม่ารเมงพ่ายเข้ามาพึงโพธิสมภารกรุงเทพ ฯ นั้น ขอให้เขาคืนมาส้างแปลงที่บ้านเก่าเมิองหลัง ขอให้สืบต่อยังทางพระราชไม้ตรีไว้อย่าให้ขาดไปประการใดสองกรุงจะวัฒณพันธุมิตรสนิดเสน่หาญาวะปันจสะหัศะพระวะษา ปัจารัฎวัฒณศุกขานุศุขไส่ไว้ในราชปัญาสมเดจบรมบพิตรพระเจ้ากรุงเทพฯ ทุกประการเสรจอย่าให้ช้าจถ้าสวณบรมราชาพจนมานานุสาสนทิศักราช ๑๑๓๖ ตัว เดิอนสิแรมหกค่ำวันพุทปีมเมียฉอศก ฯ ๚๛