- ทางพิจารณาหาตัวผู้เขียนจดหมาย
- คำนำเรื่องซึ่งมีในจดหมายความทรงจำ
- คำบรรยายความเห็่นแลความคิดที่จะเรียบเรียงหนังสือนี้
- จดหมายเหตุ ตั้งแต่กรุงเก่าเสียแล้ว เจ้าตากมาตั้งเมืองธนบูรี
- ๑ - ๑๓๐
- ๑๓๑ - ๒๒๔
- ๒๒๕ - ๒๕๖
- อักษร (ก)
- ๑ พระราชสาส์นกรุงศรีสัตนาคนหุต มีมายังกรุงธนบุรี
- ๒ พระราชสาส์นกรุงธนบุรึ ถึง กรุงศรีสัตนาคนหุต
- ๓ ศุภอักษร เสนาบดีกรุงศรีสัตนาคนหุตกำกับพระราชสาส์น
- ๔ ศุภอักษรเสนาบดีกรุงธนบุรีกำกับพระราชสาส์น
- ๕ ศุภอักษรเสนาบดีกรุงธนบุรีรับรับสั่ง มีไปถึงเสนาบดีกรุงล้านช้าง
- ๖ พระราชสาส์นศรีสัตนาคนหุต
- ๗ พระราชสาส์นกรุงธนบุรีมีตอบไป
- ๘ ศุภอักษรเสนาบดีกรุงศรีสัตนาคนหุตกำกับพระราชสาส์น
- ๙ ศุภอักษรเสนาบดีกรุงธนบุรี กำกับพระราชสาส์นมีไปกรุงล้านช้าง
- ๑๐ ศุภอักษรพญาหลวงเมืองแสน อรรคมหาเสนาเมืองล้านช้าง ที่ส่งตัวขึ้นไปจากกรุงธน
- ๑๑ สมณสาส์นมาแต่กรุงศรีสัตนาคนหุต
- ๑๒ คำแปลสมณสาส์น
- ๑๓ สมณสาส์นพระสังฆราชกรุงธนบุรีมีตอบไป
- ศุภอักษรครั้งแผ่นดินเจ้ากรุงธนบุรีตอบไปกรุงศรีสัตนาคนหุต
- อักษร (ข) หมวดแรก พระราชสาส์น รัชกาลที่ ๑ มีไปมากับเมืองญวน
- อักษร (ข) หมวดที่ ๒
- อักษร (ข) หมวดที่ ๓
- อักษร (ข) หมวดที่ ๔ พระราชสาส์นรัชกาลที่ ๒ มีไปเมืองญวน
- (๑) พระราชสาส์น สมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา ปราบดาภิเศกใหม่
- (๒) พระราชสาส์นสมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๓) หนังสือ เจ้าพระยาพระคลังผู้ใหญ่ณกรุงเทพมหานครศรีอยุทธยา
- (๔) พระราชสาส์นพระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๕) พระราชปฏิสัณฐาน
- (๖) พระราชสาส์นสมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๗) พระราชสาส์น เจ้ากรุงเวียดนาม
- (๘) พระราชสาส์น พระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๙) พระราชสาส์น สมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๑๐) พระราชสาส์น สมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๑๑) พระราชสาส์น สมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๑๒) พระราชสาส์นพระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๑๓) พระราชสาส์นสมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๑๔) พระราชสาส์นพระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๑๕) พระราชสาส์นกรุงเวียดนาม
- (๑๖) พระราชสาส์นพระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๑๗) พระราชสาส์นพระมเหษี พระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๑๘) พระราชสาส์นสมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๑๙) พระราชสาส์นสมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๒๐) พระราชสาส์นสมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๒๑) พระราชสาส์นพระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๒๒) พระราชสาส์นพระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๒๓) พระราชสาส์นพระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๒๔) พระราชสาส์น สมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๒๕) หนังสือท่านเจ้าพระยาพระคลังผู้ใหญ่ณกรุงพระมหานครศรีอยุทธยาฯ
- (๒๖ เห็นจะเปนร่างครั้งแรก) พระราชสาส์นสมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๒๗ เห็นจะเปบฉบับที่แก้แล้วมีไป)
- (๒๘) หนังสือท่านเจ้าพระยาพระคลังผู้ใหญ่ ณะกรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๒๙) พระราชสาส์น สมเด็จพระเจ้ากรุงศรีอยุทธยา
- (๓๐) พระราชสาส์นพระเจ้ามินมาง
- (๓๑) พระราชสาส์นเจ้ากรุงเวียดนาม
- อักษร (ค) จาฤกแผ่นสิลา ว่าด้วยพระบรมธาตุมาแต่เมืองน่าน
- อักษร (ฆ) เรื่องนิพานวังน่า
๘ ศุภอักษรเสนาบดีกรุงศรีสัตนาคนหุตกำกับพระราชสาส์น
๏ ศรีสุวสัตยะวะจะนิยะปิยะมนาปาพิสิถะนารถพิสารพิสุธาพิรมย พรหมสุจริตหิตถะสุชนาภารุสุจัตถหัศ นัตถะสำมัคคคามัย ภัยภิระวิระหิตา ในอรรคมหาเสนาธิบดีศรีสุชนะสปรุศชุติสามิปวาสบาทมูลแห่งพระบาทสมเดจบรมนารถบรมบพิตรพระเจ้าอยู่หัว ในกรุงพระมหานครบวรศรีสัตนาคนหุตวิสุทธิรัตนราชธาณีบุรีรมยอุดมสวามี มีมธุระจิตรสนิทเสน่หา มาถึงอัคมหาเสนาธิบดีศรีสุณชาติอันเปนบาทมุลิกากรบวรรัตนามาตแห่งพระบาทสมเด็จเอกาทศรถอิศวรบรมนารถบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัวในกรุงเทพมหานครบวรทวาราวดีศรีอยุทธยามหาดิลกภพนพราชธาณีบุรีรมย ด้วยวุทธิสีสวัศดิบัดนี้มีพระราชจินดาถึงทำนองคลองบุราณกระสัตราธิราชเจ้าท้งงหลายเมื่อก่อนผ่อนคลองพระราชปรเพณีศรีวรกัลยาไม้ตรี ในปีศักราช ๑๓๒ ตัวนั้น สมเดจพระพุทธเจ้าในกรุงพระมหานครบวรศรีสัตนาคนหุต กทรงพระราชจินดาพระราชหฤๅไทยในทางพระราชไม้ตรีเปนอันยิ่ง จึ่งทรงพระกรุณาตรัสใส่เกล้า ฯ พญาไทรทรงยศทศมงคล พญาศรีสัตนาธิเบศรจำทูลสุพรรณบัตรัตนราชสาร แลมงคลบรรณาการมาวัฒนะ สมเดจพระพุทธเจ้าอยู่หัว ในกรุงเทพพระมหานครกได้แจ้งยังกิจราชการทางพระราชไม้ตรีพระมหากระสัตราธิราชเจ้าทั้งสองกรุง เจ้าพญานครราชศรีมา ก็จำเริญสืบพระราชประเพณีมาหมี่ได้ขาด ในปีศักราช ๑๓๔ ตัวนั้นในกรุงศรีสัตนาคนหุต โปชุพลาก็ยกรี้พลพหลโยธามามากหลายเปนคลองข่มเหงบ้านเมิอง ด่งงข้าไพร่กอยู่เปนบั่นเปนท่อนม่านก็ยกกองทัพไปข่มเหงบ้านนอกเมิองนา ไพร่น้อยค่อยเมิองกเปนโทรมนัศอดสูทนาพระพุทธสาศนาจเปนจุลวิจุลไป ด้วยม่านท้งงหลายหากมาล้างลดเสียแล้ว จหายเวรานุเวรแห่งอณาปรชาราษฎรว่าด่งงนี้ สมเดจพระเจ้าอยู่หัวจึ่งได้แต่งยังเจ้าราชบุตรอุดมโอรศแลราชนัดดาเสนาอำมาตยขึ้นไปแต่งแปลงถึงกรุงอังวะ ด่งงพญาหลวงเมิองแสนม่านกนำมาถึงเชิยงใหม่แล้วสมเด็จพระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุต ให้ต้งงค่ายกวาดครัวเข้ามาอยู่ในกรุงศรีสัตนาคนหุตเพื่อดั่งนน้น อยู่มาศักราช ๑๓๖ ตัวเดือนแปดขึ้นเก้าค่ำโปชุพลาแต่งม่าน ๓๐๐ นำหนังสือแต่อังวะมาถึงว่าให้มหากระสัตรเมืองจันบุรีแต่งเสนาอำมาตยยกรี้พลกำลังเข้ามาตีทางเมืองนครราชศรีมา กองทัพหลวงจะยกเข้าทางเมืองตากบ้านรแหงจึงให้ไปพร้อมกันที่กรุงศรีอยุทธยาว่าดั่งนี้ พระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตทรงพระจินดาถึงทำนองคลองบุราณราชประเพณี ดั่งอุกัยรัฎราชธาณีหากเปนกระดานทองทิพอันเดียวกันแก่พระมหากระสัตราธิราชเจ้าเมิ่อก่อน หากได้กระทำมิศพันทให้สัจปฏิยานเอาพระศรีรัตนไตรเปนที่ต้งงยังพระมหาทาตุเจดียเปนศักขีพญานท้าว ๕๐๐๐ พระวษาเปนปาริเฉทอัติการนั้นแล บัดนี้จให้เปนวิวาษวาทารพตีกันก็ไม่สมไม่ควร จึ่งละปะเสียยังถ้อยคำอันนั้นจึ่งส่งไปด้วยดี เขาได้ความฉิบหายอรทารหายไปด่งงพญาหลวงเมือง จึ่งภาท้าวเพี้ยบ่าวไพร่เข้าไปถึงบาทมุลิกากร แห่งสมเดจพระพุทธเจ้ากรุงเทพมหานคร ทรงพระราชจินดาถึงทำนองคลองพระราชปรเพณีเปนอันยิ่ง จึ่งทรงพระกรุณาตรัศเหนิอเกล้า ฯ ให้เจ้าพญานครราชศรีมาแต่งการส่งพญาหลวงเมิองแสนเข้ามาถึงกรุงศรีสัตนาคนหุตด้วยวุธิศรีสวัศดีกได้พร้อมกันชมชื่นยินดีต้อนรับตามฤทตามกองทุกเยิองทุกปรการ จึ่งพร้อมกันนำขึ้นกราบทูลพระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตได้แจ้งในศุภอักษรนั้นแล้ว ทรงพระโสมนัศปิติปราโมชในคลองราชไม้ตรีสมเดจพระพุทธเจ้ากรุงเทพมหานครเปนอันยิ่งคนักหนา จึ่งทรงพระกรุณาใส่เกล้า ฯ ให้พญาศรีสุทาราชาจ่าบ้านปัญามงคล พญามหาอำมาตสุรตังไม้ตรีจำทูลพระสุพรรณบัตรัตนราชสาร แลเคริ่องศุภมงคลราชบรรณาการ มาจำเริญสมเดจพระพุทธเจ้าอยู่หัวกรุงเทพมหานครฯ จึงแต่งให้พญาสุพัณปัตมงคล พญาสุพันทมิตไม้ตรี ทาวตัง นำสมณสารมาสำปตาสมาคมสมเดจอรรควรราชครูเจ้าท้งงปวง แลศุภอักษรมาวุธถึงอัคมหาเสนาธิบดีในกรุงเทพ ฯ ขอให้นำขึ้นกราบบังคมทูลพระเจ้ากรุงเทพ ฯ ประการหนึ่งดังฃ้าไพร่กรุงเทพได พ่ายหนีไปพึ่งกรุงศรีสัตนาคนหุตนั้น เมิ่อเจ้าพญานครราชสิมาจกลับคืนมาบ้านมาเมิอง กจัดเอาครอบครัวมามากหลายอยู่ ภายหลังมาเจ้าพญานครราชสีมาแต่งให้กรมการเข้ามาขอเอากได้พร้อมกันป่าวร้องทุกบ้านทุกเมิองใด้เกบส่งให้เอามา บัดนี้กยังแต่ฝูงทุกอดยากซ่านเซนเร้นซ่อนอยู่ใม่ได้กำนฎกฎหมายไว้ บัดนี้พระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตกยังคอยถ้าราชบุตรราชนัดา ซึ่งค้างอยู่ณกรุงอังวะนั้น ถ้าได้คืนมาถึงบ้านเมิองด้วยบุญแก้วสามปรการเมิ่อใดพระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตบให้ขาดเสิยยังทางพระราชไม้ตรี จได้แต่งแปลงยังเสนาอำมาตราชโอรสนำพระสุพัณบัตรัตนราชสารเคริ่องมงคลราชบรรณาการ พร้อมกับอัคมหาเสนาธิบดีศรีสูรชาติอดิเรกมงคล สมเด็จพระพุทธเจ้ากรุงเทพ ฯ ซ้ำให้ทรงทิพอายุยืน ๑๒๐ พระวษา ให้ฤๅชาปรากฎไปในสกลชมภูทวิปท้งงปวง ดั่งไพร่ฝูงยังคางอยู่มากน้อยเท่าใด ให้โอบอ้อมพร้อมมูลบัดนั้น ปรการดังพระราชบุตรพระราชนัดาแลเสนาอำมาตยังค้างอยู่กรุงองวะนั้น ดั้นจอรมาถึงกรุงเทพฯ พึ่งพระบรมโพธิสมภารขอให้อัคมหาเสนาบดีผู้ใหญ่ มีความเมตาทุกเยิ่ยงทุกปรการ อนึ่งดั่งไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินกรุงศรีสัตนาคนหุต อันกลัวม่านเมงพ่ายแตกเข้าไปพึ่งพระบรมโพธิสมภารพระเจ้ากรุงเทพ ฯ ขอให้คืนไปบ้านเก่าเมิองหลังทำมาหากินสืบทางพระราชไม้ตรีไว้ตามบุราณราชปรเพณีอย่าให้ขาดปรการใด พระเจ้าท้งงสองพระองค์จทรงพรกัลยานิมิตรสถิตเสถียรเวียรการในวรพุทธสาศนา สมณพรามณาปรชาราษฎรสัตววนิกรอันอยู่ในเมืองท้งงสองกรุง ฯ จใด้อยู่เอยนเปนศุขไว้ในปัญาอัคมหาเสนาธิบดีกรุงเทพ ฯ ทุกเยิ่ยงทุกปรการ เคริ่องบรรณาการ งาช้าง ๔ กิ่ง สาศ ๒ ผืน พระสุพัณบัตหนักทอง ๑๐๐ เบี้ยว่าหนัก $\begin{array}{c}\\\begin{array}{c|c} ๓&\;\\\hline \quad&\quad\;\\\end{array}\end{array}$ ผอํบพระสุพัณบัตหนักทอง $\begin{array}{c}\\\begin{array}{c|c} ๑&๓\;\\\hline \quad&\quad\;\\\end{array}\end{array}$ มากหุดสวิงหนักทอง $\begin{array}{c}\\\begin{array}{c|c} ๑&๑\;\\\hline \quad&\quad\;\\\end{array}\end{array}$ สุวรรณคำหักหนักทอง ๓ ห้อยว่าหนัก $\begin{array}{c}\\\begin{array}{c|c} ๗&๒\;\\\hline \quad&\quad\;\\\end{array}\end{array}$ ทองคำ ๒ ลิ่มหนัก ๒ ห้อยว่าหนัก $\begin{array}{c}\\\begin{array}{c|c} ๕&\;\\\hline \quad&\quad\;\\\end{array}\end{array}$ มาวัฒณนำศุภอักษรมาถึงท่านอัคมหาเสนาธิบดี ศักราช ๑๑๓๖ ตัวเดือน ๔ แรม ๖ ค่ำ วันพุทปีมเมียฉ้อศก ๚๛