- ทางพิจารณาหาตัวผู้เขียนจดหมาย
- คำนำเรื่องซึ่งมีในจดหมายความทรงจำ
- คำบรรยายความเห็่นแลความคิดที่จะเรียบเรียงหนังสือนี้
- จดหมายเหตุ ตั้งแต่กรุงเก่าเสียแล้ว เจ้าตากมาตั้งเมืองธนบูรี
- ๑ - ๑๓๐
- ๑๓๑ - ๒๒๔
- ๒๒๕ - ๒๕๖
- อักษร (ก)
- ๑ พระราชสาส์นกรุงศรีสัตนาคนหุต มีมายังกรุงธนบุรี
- ๒ พระราชสาส์นกรุงธนบุรึ ถึง กรุงศรีสัตนาคนหุต
- ๓ ศุภอักษร เสนาบดีกรุงศรีสัตนาคนหุตกำกับพระราชสาส์น
- ๔ ศุภอักษรเสนาบดีกรุงธนบุรีกำกับพระราชสาส์น
- ๕ ศุภอักษรเสนาบดีกรุงธนบุรีรับรับสั่ง มีไปถึงเสนาบดีกรุงล้านช้าง
- ๖ พระราชสาส์นศรีสัตนาคนหุต
- ๗ พระราชสาส์นกรุงธนบุรีมีตอบไป
- ๘ ศุภอักษรเสนาบดีกรุงศรีสัตนาคนหุตกำกับพระราชสาส์น
- ๙ ศุภอักษรเสนาบดีกรุงธนบุรี กำกับพระราชสาส์นมีไปกรุงล้านช้าง
- ๑๐ ศุภอักษรพญาหลวงเมืองแสน อรรคมหาเสนาเมืองล้านช้าง ที่ส่งตัวขึ้นไปจากกรุงธน
- ๑๑ สมณสาส์นมาแต่กรุงศรีสัตนาคนหุต
- ๑๒ คำแปลสมณสาส์น
- ๑๓ สมณสาส์นพระสังฆราชกรุงธนบุรีมีตอบไป
- ศุภอักษรครั้งแผ่นดินเจ้ากรุงธนบุรีตอบไปกรุงศรีสัตนาคนหุต
- อักษร (ข) หมวดแรก พระราชสาส์น รัชกาลที่ ๑ มีไปมากับเมืองญวน
- อักษร (ข) หมวดที่ ๒
- อักษร (ข) หมวดที่ ๓
- อักษร (ข) หมวดที่ ๔ พระราชสาส์นรัชกาลที่ ๒ มีไปเมืองญวน
- (๑) พระราชสาส์น สมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา ปราบดาภิเศกใหม่
- (๒) พระราชสาส์นสมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๓) หนังสือ เจ้าพระยาพระคลังผู้ใหญ่ณกรุงเทพมหานครศรีอยุทธยา
- (๔) พระราชสาส์นพระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๕) พระราชปฏิสัณฐาน
- (๖) พระราชสาส์นสมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๗) พระราชสาส์น เจ้ากรุงเวียดนาม
- (๘) พระราชสาส์น พระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๙) พระราชสาส์น สมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๑๐) พระราชสาส์น สมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๑๑) พระราชสาส์น สมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๑๒) พระราชสาส์นพระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๑๓) พระราชสาส์นสมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๑๔) พระราชสาส์นพระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๑๕) พระราชสาส์นกรุงเวียดนาม
- (๑๖) พระราชสาส์นพระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๑๗) พระราชสาส์นพระมเหษี พระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๑๘) พระราชสาส์นสมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๑๙) พระราชสาส์นสมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๒๐) พระราชสาส์นสมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๒๑) พระราชสาส์นพระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๒๒) พระราชสาส์นพระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๒๓) พระราชสาส์นพระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๒๔) พระราชสาส์น สมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๒๕) หนังสือท่านเจ้าพระยาพระคลังผู้ใหญ่ณกรุงพระมหานครศรีอยุทธยาฯ
- (๒๖ เห็นจะเปนร่างครั้งแรก) พระราชสาส์นสมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๒๗ เห็นจะเปบฉบับที่แก้แล้วมีไป)
- (๒๘) หนังสือท่านเจ้าพระยาพระคลังผู้ใหญ่ ณะกรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๒๙) พระราชสาส์น สมเด็จพระเจ้ากรุงศรีอยุทธยา
- (๓๐) พระราชสาส์นพระเจ้ามินมาง
- (๓๑) พระราชสาส์นเจ้ากรุงเวียดนาม
- อักษร (ค) จาฤกแผ่นสิลา ว่าด้วยพระบรมธาตุมาแต่เมืองน่าน
- อักษร (ฆ) เรื่องนิพานวังน่า
(๑๒) พระราชสาส์นพระเจ้ากรุงเวียดนาม
๏ วัน ๗ ๘ฯ ๑ ค่ำ ปีวอกจัตวาศก
$\left. \begin{array}{}\mbox{พระยาอภัยพิพิธ} \\[1.4ex]\mbox{พระยาทิพโกษา} \\[1.4ex]\mbox{พระยาราชโยธา กรมพระราชวังบวร ฯ} \\[1.4ex]\mbox{พระราชเสนา} \\[1.4ex]\mbox{หลวงโชฎึก} \\[1.4ex]\mbox{หลวงทองสือ} \\[1.4ex]\mbox{ขุนมหาสิทธิ} \\[1.4ex]\mbox{พระราชเสรฐีล่าม} \\[1.4ex]\end{array} \right\}$ นั่งพร้อมกันณหอพระมณเฑียรธรรม
พระราชสาส์นเวียดนามนายเอี่ยมถือมาณวัน ๗ ๘ฯ ๑ ค่ำ จุลศักราช ๑๑๗๒ ปีวอกจัตวาศก ๚ะ๛
(๑๒) พระราชสาส์นพระเจ้ากรุงเวียดนาม คำนับมาถึงพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยาให้ทราบ ด้วยครั้งก่อนมีพระราชสาส์นออกไป ว่ากรุงกัมพูชาธิบดีพี่น้องวิวาทกัน กรุงเวียดนามมีการที่จะแทนคุณอยู่ มีรับสั่งพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา ใช้ให้ขุนนางผู้ใหญ่ออกไปว่ากล่าวจะให้พี่น้องปรกติด้วยกัน ได้ความประการใด จึงจะมีพระราชสาส์นออกไปครั้งหลัง เมืองเขมรแต่ก่อนมาเปนข้าทั้งสองฝ่ายกรุงใหญ่มาจนทุกวันนี้ พี่น้องวิวาทไม่ชอบกัน พระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา มีพระไทยเมตตานัก นิ่งดูมิได้นั้นก็ชอบอยู่แล้ว เจ้าเมืองไซ่ง่อนมีหนังสือบอกขึ้นไปถึงกรุงเวียดนาม ว่าพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา ให้ยกกองทัพใหญ่มาตั้งณแดนพนมเปน เจ้าเมืองเขมรตกใจกลัวจึงหนีลงไปอยู่เมืองไซ่ง่อน พระเจ้ากรุงเวียดนามแจ้งความอยู่ว่า พระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยาได้มีพระราชสาส์นออกมาแต่ก่อนว่า จะให้ขุนนางผู้ใหญ่ออกไปรงับว่ากล่าวให้พี่น้องดีกัน เหตุไรเจ้าเมืองเขมรจึงหนีไปเล่า พระเจ้ากรุงเวียดนามก็คอยฟังพระราชสาส์น พระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา จะได้รู้เหตุผลต้นปลายก็พอมีพระราชสาส์นพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยาออกมา ในพระราชสาส์นมีจะแจ้งอยู่ว่าขอให้พระเจ้ากรุงเวียดนามช่วยดำริห์อย่าให้เสียประเพณี กรุงพระมหานครศรีอยุทธยามีพระไทยโอบอ้อมเมืองน้อยดังนี้ ทางพระราชไมตรีทั้งสองพระนครจะได้ยืนยาวสืบไป ประเพณีกระษัตริย์ ให้มีพระไทยเปน $\left. \begin{array}{}\mbox{สัจ } \\[1.4ex]\mbox{ธรรม }\\[1.4ex]\end{array} \right\}$ เหมือนองค์สงวนนั้นเปนข้าก็ไม่ตรงเปนบุตรก็หามีกระตัญญูไม่ เปนน้องก็ไม่อดออม โทษองค์สงวนนั้นใหญ่นัก คิดอย่างหนึ่งเล่าองค์สงวนก็ยังเด็กอยู่ ถ้ารู้ว่าตัวผิดรับขอโทษต่อพี่ก็พอจะหายโทษ ถ้าเปนดังนี้เนื้อกับกระดูกจะได้ร่วมกัน แล้วกรุงเวียดนามจะได้แต่งขุนนางพาองค์จันทร์กลับมาเมืองเขมร กรุงพระมหานครศรีอยุทธยาต้องมีขุนนางผู้ใหญ่ออกไป กรุงเวียดนามจะได้ชี้แจงข้อความพร้อมด้วยขุนนางญวน พาองค์จันทร์คืนมาเมืองเขมรอย่างนี้จึงจะควรด้วยสองพระนครอันใหญ่ แลเมืองเขมรทำมาแต่ก่อนทั้งนี้หนักอกทั้งสองพระนคร จำจะช่วยกันปลูกฝังขึ้นด้วยเปนเมืองน้อย
พระราชสาส์นมาณวัน ๑๑ฯ ๑๐ ค่ำ ยาลอง ๑๑ ปีวอกจัตวาศก ๚ะ๛