- ทางพิจารณาหาตัวผู้เขียนจดหมาย
- คำนำเรื่องซึ่งมีในจดหมายความทรงจำ
- คำบรรยายความเห็่นแลความคิดที่จะเรียบเรียงหนังสือนี้
- จดหมายเหตุ ตั้งแต่กรุงเก่าเสียแล้ว เจ้าตากมาตั้งเมืองธนบูรี
- ๑ - ๑๓๐
- ๑๓๑ - ๒๒๔
- ๒๒๕ - ๒๕๖
- อักษร (ก)
- ๑ พระราชสาส์นกรุงศรีสัตนาคนหุต มีมายังกรุงธนบุรี
- ๒ พระราชสาส์นกรุงธนบุรึ ถึง กรุงศรีสัตนาคนหุต
- ๓ ศุภอักษร เสนาบดีกรุงศรีสัตนาคนหุตกำกับพระราชสาส์น
- ๔ ศุภอักษรเสนาบดีกรุงธนบุรีกำกับพระราชสาส์น
- ๕ ศุภอักษรเสนาบดีกรุงธนบุรีรับรับสั่ง มีไปถึงเสนาบดีกรุงล้านช้าง
- ๖ พระราชสาส์นศรีสัตนาคนหุต
- ๗ พระราชสาส์นกรุงธนบุรีมีตอบไป
- ๘ ศุภอักษรเสนาบดีกรุงศรีสัตนาคนหุตกำกับพระราชสาส์น
- ๙ ศุภอักษรเสนาบดีกรุงธนบุรี กำกับพระราชสาส์นมีไปกรุงล้านช้าง
- ๑๐ ศุภอักษรพญาหลวงเมืองแสน อรรคมหาเสนาเมืองล้านช้าง ที่ส่งตัวขึ้นไปจากกรุงธน
- ๑๑ สมณสาส์นมาแต่กรุงศรีสัตนาคนหุต
- ๑๒ คำแปลสมณสาส์น
- ๑๓ สมณสาส์นพระสังฆราชกรุงธนบุรีมีตอบไป
- ศุภอักษรครั้งแผ่นดินเจ้ากรุงธนบุรีตอบไปกรุงศรีสัตนาคนหุต
- อักษร (ข) หมวดแรก พระราชสาส์น รัชกาลที่ ๑ มีไปมากับเมืองญวน
- อักษร (ข) หมวดที่ ๒
- อักษร (ข) หมวดที่ ๓
- อักษร (ข) หมวดที่ ๔ พระราชสาส์นรัชกาลที่ ๒ มีไปเมืองญวน
- (๑) พระราชสาส์น สมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา ปราบดาภิเศกใหม่
- (๒) พระราชสาส์นสมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๓) หนังสือ เจ้าพระยาพระคลังผู้ใหญ่ณกรุงเทพมหานครศรีอยุทธยา
- (๔) พระราชสาส์นพระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๕) พระราชปฏิสัณฐาน
- (๖) พระราชสาส์นสมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๗) พระราชสาส์น เจ้ากรุงเวียดนาม
- (๘) พระราชสาส์น พระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๙) พระราชสาส์น สมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๑๐) พระราชสาส์น สมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๑๑) พระราชสาส์น สมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๑๒) พระราชสาส์นพระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๑๓) พระราชสาส์นสมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๑๔) พระราชสาส์นพระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๑๕) พระราชสาส์นกรุงเวียดนาม
- (๑๖) พระราชสาส์นพระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๑๗) พระราชสาส์นพระมเหษี พระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๑๘) พระราชสาส์นสมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๑๙) พระราชสาส์นสมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๒๐) พระราชสาส์นสมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๒๑) พระราชสาส์นพระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๒๒) พระราชสาส์นพระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๒๓) พระราชสาส์นพระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๒๔) พระราชสาส์น สมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๒๕) หนังสือท่านเจ้าพระยาพระคลังผู้ใหญ่ณกรุงพระมหานครศรีอยุทธยาฯ
- (๒๖ เห็นจะเปนร่างครั้งแรก) พระราชสาส์นสมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๒๗ เห็นจะเปบฉบับที่แก้แล้วมีไป)
- (๒๘) หนังสือท่านเจ้าพระยาพระคลังผู้ใหญ่ ณะกรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๒๙) พระราชสาส์น สมเด็จพระเจ้ากรุงศรีอยุทธยา
- (๓๐) พระราชสาส์นพระเจ้ามินมาง
- (๓๑) พระราชสาส์นเจ้ากรุงเวียดนาม
- อักษร (ค) จาฤกแผ่นสิลา ว่าด้วยพระบรมธาตุมาแต่เมืองน่าน
- อักษร (ฆ) เรื่องนิพานวังน่า
(๑๕) พระราชสาส์นกรุงเวียดนาม
๏ วัน ๓ ๑๒ฯ ๑๐ ปีระกาเบญจศก
$\left. \begin{array}{}\mbox{พระยาศรีสุริยพาหะ } \\[1.4ex]\mbox{พระสุริยภักดี }\\[1.4ex]\mbox{หลวงสารประเสริฐ }\\[1.4ex]\end{array} \right\}$ ถือมา
$\left. \begin{array}{}\mbox{หลวงสุนทรภักดี } \\[1.4ex]\mbox{ขุนสนิทนายล่าม}\\[1.4ex]\end{array} \right\}$ แปลออกเปนคำไทยได้ความว่า
(๑๕) พระราชสาส์นกรุงเวียดนาม คำนับมาถึงพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยาให้ทราบ ซึ่งเมืองเขมรพี่น้องไม่ชอบกันจึงได้เกิดความทั้งนี้ แต่พระราชสาส์นไปมากรุงพระมหานครศรีอยุทธยาก็ทราบความชัดอยู่แล้ว แลกรุงเวียดนามกับกรุงพระมหานครศรีอยุทธยาแต่ก่อน ก็ทรงพระเมตตาปู่แลบิดาเจ้าเมืองเขมร มาครั้งนี้ก็มีน้ำพระไทยโอบอ้อมเมืองน้อย เจ้าเมืองเขมรจะทำลดเลี้ยวอ้อมวงไปประการใด ทั้งสองพระนครก็ผ่อนตามใจเจ้าเมืองเขมร ด้วยมีพระไทยเมตตาหาถือโทษไม่ ก็ปราถนาจะให้มีใจสาพิภักดิ์ทิ้งความชั่วซึ่งทำผิดมาแต่ก่อนเสีย พี่น้องจะได้รักใคร่กัน ครั้งนี้กรุงเวียดนามสั่งให้ขุนนางผู้ใหญ่คุมกองทัพกับทูตกรุงพระมหานครศรีอยุทธยาพาองค์จันทร์มาส่งณเมืองเขมร ราชการก็เสร็จอยู่แล้ว ต้องตามประเพณีสองพระนครอันใหญ่ เมื่อทูตกลับเข้ามากรุงพระมหานครศรีอยุทธยาก็จะทราบความอยู่แล้ว กรุงเวียดนามเห็นว่าพระไทยพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา คิดต้องกันกับกรุงเวียดนาม ชุบเลี้ยงเมืองเล็กน้อย ซึ่งเอาเจ้าเมืองเขมรมาส่งก็ต้องช่วยทำนุบำรุงการบ้านเมือง ทั้งนี้เพราะเขาไม่ชอบกัน จึงจัดแจงให้เขาดีกัน บ้านเมืองจะได้ปรกติ กรุงเวียดนามคิดว่าเมื่อทูตกลับเข้ามาถึงแล้ว กรุงพระมหานครศรีอยุทธยาจะมีพระราชสาส์นตอบ กับพาองค์สงวนไปขอสมาองค์จันทร์ แล้วขุนนางผู้ใหญ่กรุงเวียดนามก็อยู่นั่น จะได้ว่ากล่าวอย่าให้องค์สงวน $\left. \begin{array}{}\mbox{สดุ้ง } \\[1.4ex]\mbox{สเทิ้น }\\[1.4ex]\end{array} \right\}$ แล้วอย่าให้มีพยาบาทต่อกัน แลกรุงพระมหานครศรีอยุทธยา จะว่ากล่าวสั่งสอนองค์จันทร์ออกมาประการใดองค์จันทร์จะได้รู้ แต่ก่อนมาจนทุกวันนี้กรุงพระมหานครศรีอยุทธยา ตั้งพระไทยชุบเลี้ยงเจ้าเมืองเขมร เมื่อแม่ลูกพี่น้องพร้อมมูลกันก็จะได้รู้บุญคุณทั้งสองพระนครอันใหญ่ กรุงเวียดนามกับกรุงพระมหานครศรีอยุทธยาวิตกทั้งนี้ ก็ด้วยจะชุบเลี้ยงเมืองน้อยให้เปนศุข แต่ทูตกรุงพระมหานครศรีอยุทธยากลับมาได้ $\left. \begin{array}{}\mbox{๓ } \\[1.4ex]\mbox{๔ }\\[1.4ex]\end{array} \right\}$ เดือนแล้วยังหามีตอบไปไม่ เมืองเขมรพึ่งจะสงบไพร่บ้านพลเมืองยังระ $\left. \begin{array}{}\mbox{ส่ำ} \\[1.4ex]\mbox{สาย }\\[1.4ex]\end{array} \right\}$ อยู่ น้ำใจกรุงเวียดนามก็หารักให้กองทัพอยู่ช้าที่นั่นไม่ แลการทั้งนี้ก็ได้สั่งมาถึงขุนนางผู้ใหญ่ให้คิดผ่อนปรนดูการ สุดแต่ควรจะแบ่งขุนนางแลกองทัพ ไว้จะช่วยทำนุบำรุงองค์จันทร์ ฤๅเห็นจะถอยกองทัพมาเมืองไซ่ง่อนได้ก็ตามแต่ขุนนางผู้ใหญ่จะคิด แลกรุงพระมหานครศรีอยุทธยากับกรุงเวียดนาม เปนทางพระราชไมตรีมาแต่ก่อน จะทำการสิ่งใดก็บอกถึงกันทุกครั้ง บัดนี้จึงจะมีพระราชสาส์นบอกมาให้แจ้ง
พระราชสาส์นมาณวัน ๕ฯ ๙ ค่ำ ยาลอง ๑๒ ปีระกาเบญจศก ๚ะ๛