- ทางพิจารณาหาตัวผู้เขียนจดหมาย
- คำนำเรื่องซึ่งมีในจดหมายความทรงจำ
- คำบรรยายความเห็่นแลความคิดที่จะเรียบเรียงหนังสือนี้
- จดหมายเหตุ ตั้งแต่กรุงเก่าเสียแล้ว เจ้าตากมาตั้งเมืองธนบูรี
- ๑ - ๑๓๐
- ๑๓๑ - ๒๒๔
- ๒๒๕ - ๒๕๖
- อักษร (ก)
- ๑ พระราชสาส์นกรุงศรีสัตนาคนหุต มีมายังกรุงธนบุรี
- ๒ พระราชสาส์นกรุงธนบุรึ ถึง กรุงศรีสัตนาคนหุต
- ๓ ศุภอักษร เสนาบดีกรุงศรีสัตนาคนหุตกำกับพระราชสาส์น
- ๔ ศุภอักษรเสนาบดีกรุงธนบุรีกำกับพระราชสาส์น
- ๕ ศุภอักษรเสนาบดีกรุงธนบุรีรับรับสั่ง มีไปถึงเสนาบดีกรุงล้านช้าง
- ๖ พระราชสาส์นศรีสัตนาคนหุต
- ๗ พระราชสาส์นกรุงธนบุรีมีตอบไป
- ๘ ศุภอักษรเสนาบดีกรุงศรีสัตนาคนหุตกำกับพระราชสาส์น
- ๙ ศุภอักษรเสนาบดีกรุงธนบุรี กำกับพระราชสาส์นมีไปกรุงล้านช้าง
- ๑๐ ศุภอักษรพญาหลวงเมืองแสน อรรคมหาเสนาเมืองล้านช้าง ที่ส่งตัวขึ้นไปจากกรุงธน
- ๑๑ สมณสาส์นมาแต่กรุงศรีสัตนาคนหุต
- ๑๒ คำแปลสมณสาส์น
- ๑๓ สมณสาส์นพระสังฆราชกรุงธนบุรีมีตอบไป
- ศุภอักษรครั้งแผ่นดินเจ้ากรุงธนบุรีตอบไปกรุงศรีสัตนาคนหุต
- อักษร (ข) หมวดแรก พระราชสาส์น รัชกาลที่ ๑ มีไปมากับเมืองญวน
- อักษร (ข) หมวดที่ ๒
- อักษร (ข) หมวดที่ ๓
- อักษร (ข) หมวดที่ ๔ พระราชสาส์นรัชกาลที่ ๒ มีไปเมืองญวน
- (๑) พระราชสาส์น สมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา ปราบดาภิเศกใหม่
- (๒) พระราชสาส์นสมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๓) หนังสือ เจ้าพระยาพระคลังผู้ใหญ่ณกรุงเทพมหานครศรีอยุทธยา
- (๔) พระราชสาส์นพระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๕) พระราชปฏิสัณฐาน
- (๖) พระราชสาส์นสมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๗) พระราชสาส์น เจ้ากรุงเวียดนาม
- (๘) พระราชสาส์น พระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๙) พระราชสาส์น สมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๑๐) พระราชสาส์น สมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๑๑) พระราชสาส์น สมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๑๒) พระราชสาส์นพระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๑๓) พระราชสาส์นสมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๑๔) พระราชสาส์นพระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๑๕) พระราชสาส์นกรุงเวียดนาม
- (๑๖) พระราชสาส์นพระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๑๗) พระราชสาส์นพระมเหษี พระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๑๘) พระราชสาส์นสมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๑๙) พระราชสาส์นสมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๒๐) พระราชสาส์นสมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๒๑) พระราชสาส์นพระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๒๒) พระราชสาส์นพระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๒๓) พระราชสาส์นพระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๒๔) พระราชสาส์น สมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๒๕) หนังสือท่านเจ้าพระยาพระคลังผู้ใหญ่ณกรุงพระมหานครศรีอยุทธยาฯ
- (๒๖ เห็นจะเปนร่างครั้งแรก) พระราชสาส์นสมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๒๗ เห็นจะเปบฉบับที่แก้แล้วมีไป)
- (๒๘) หนังสือท่านเจ้าพระยาพระคลังผู้ใหญ่ ณะกรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๒๙) พระราชสาส์น สมเด็จพระเจ้ากรุงศรีอยุทธยา
- (๓๐) พระราชสาส์นพระเจ้ามินมาง
- (๓๑) พระราชสาส์นเจ้ากรุงเวียดนาม
- อักษร (ค) จาฤกแผ่นสิลา ว่าด้วยพระบรมธาตุมาแต่เมืองน่าน
- อักษร (ฆ) เรื่องนิพานวังน่า
๒ พระราชสาส์นกรุงธนบุรึ ถึง กรุงศรีสัตนาคนหุต
๏ วัน ๓ ๓ฯ ๖ ค่ำ จุลศักราช ๑๑๓๓ ปีเถาะตรีณีศกทรงแต่ง $\left. \begin{array}{}\mbox{พระราชสาร } \\\mbox{ศุภอักษร }\end{array} \right\}$ ตอบแล้ว ทรงพระกรุณาดำรัดเหนิอเกล้า ฯ สั่งให้ $\left. \begin{array}{}\mbox{พระสุนธรไม้ตรีราช} \\\mbox{หลํวงภักดีวาจาอุป} \\\mbox{ขุนพจนาพิมลตรี}\end{array} \right\}$ทูตย จำทูลพระสุพัณบัตรัตนพระราชสารแลศุภอักษรขึ้นไปยังกรุงศรีสัตนาคนหุตในใจความนั้นว่า
พระราชสารสฤษดิรักษศักดิสุนธรบวรมงคลสกลโลเกษบวเรษขัติยศะศรีรักษไม้ตรีในสมเด็จพระพุทธเจ้ากรุงเทพมหานครบวรทวาราวดีศรีอยุทธยามหาดิลกภพนพรัตนราชธาณีบุรีรมย มีปะฏิวากยพระราชสารเปสิดาการใช้ให้ $\left. \begin{array}{}\mbox{พระสุนธรไม้ตรีราช} \\\mbox{หลวงภักดีวาจาอุป} \\\mbox{ขุนพจนาพิมลตรี}\end{array} \right\}$ทูตย จำทูลพระสุพรรณบัตรัตนราชสารนำเครื่องมงคลราชบรรณาการ มาจำเริญพระราชสัตยานุสัตย แต่สมเด็จพระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุต สุทธิรัตนราชธาณีบุรีรมย ด้วยพระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุต ใช้ให้พญาไทรทรงยศทศบุรีเปนราชทูตย พญาศรีรัตนาธิเดชไม้ตรีมาทูลจำพระสุพรรณบัตรัตนราชสาร แลเครื่องมงคลราชบรรณาการ มาจำเริญพระราชสัตยานุสัตยภาพพระราชสำพันทมิตรไม้ตรีตามบุราณราชประเพณีนั้น ะ ครั้นแจ้งในอรรถลักษณนั้น ก็มีพระราชกมลหฤๅไทยใสสุทอุดดม โสมนัดสาการยินดีเปนอันยิงนักหนาควรที่จเปนอัคมิตรสัณทวะ แต่ทว่าสมเดจ์พระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุต กอปรด้วยขัติยวงษทรงพิภพอันสูงใหญ่ แลอันกรุงพระมหานครศรีอยุทธยาทุกวันนี้ ก็อับปางอยู่จะขอให้สมเดจพระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุต ช่วยทะนุบำรุงให้เปนศรีสุวรรณปัตพีเดิยวจำเริญพระราชวงษสืบไป ถึงมาทว่าจมีปัจจามิตรข้าศึกมาปรการไดในกรุงศรีอยุทธยา ก็จเกรงพระเดชานุภาพกรุงศรีสัตนาคนหุต เพราะพระเดชปกเพิ่อเจิอไปแลซึ่งมิปัจจามิตรข้าศึกมาเบิยดเบิยนกรุงศรีสัตนาคนะหุตนน้นก็จะเปนภาระธุระแห่งกรุงศรีอยุทธยา แลซึ่งข้าศึกไปต้งงอยู่ดอนมดแดง แลจะขอเจ้าพญานครราชศรีมาไว้ช่วยราชการน้นนก็แล้วแต่พระราชดำริสมเดจพระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตเถิด แต่ทว่าถ้าเหนจได้ถ่ายเดียวจึ่งให้กระทำการ ถ้าเหนจได้ส่วนหนึ่งสองส่วนจะเสียแต่ส่วนหนึ่งก็อย่าให้กระทำไว้ภารธุระกรุงศรีอยุทธยาจะได้กระทำสืบไป อันหนึ่งซึ่งราชการบ้านเมืองกรุงศรีอยุทธยาทุกวันนี้ เดิมมีลิปูต้าทั่งอัคมหาเสนาธิบดีสมเดจพระเจ้ากรุงต้าฉิงผู้ใหญ่ณเมิองกรุงจีนเข้ามาถึงกรุงศรีอยุทธยาว่าให้ทำแผ่นที่ท่าทางซึ่งจะไปกรุงอังวะนั้นส่งออกไป แลมีเนื้อความว่าพม่ายกกองทับมารบเมืองศรีฉวนเมิองห้วยหลำปลายแดนกรุงจีน ๆ รบพุ่งพม่าแตกกลับไป ฝ่ายกองทับจีนยกไปติดแว่นแคว้นกรุงอังวะอยู่ แล้วจขอไห้กองทับจีนมาขึ้นณกรุงศรีอยุทธยาอีกทางหนึ่งนั้นได้มีหนังสือออกไปแต่ก่อนว่าขัดสนด้วยเข้าปลาอาหาร แลบัดนี้พม่ามากระทำแก่เมิองถลางเมิองกานบูรีเมิองศรีสวัศเมิองอุไทยธาณีเมิองสวรรคโลกยเมิองพิไชยปากใต้ฝ่ายเหนิอตวันตกตวันออก ซึ่งขึ้นแก่กรุงศรีอยุทธยา กองทับหัวเมิองตีทับพม่าแตกเลิกไปฝ่ายกรุงศรีอยุทธยายังมิได้จดฝีมือดูความคิดประการใดหามิได้ ซึ่งเสดจพระราชดำเนิรยกกองทับขึ้นไปจดฝีมือดูความคิดพม่าเมืองเชียงใหม่ บัดนี้เหนแจ้งอยู่แล้วภอกระทำตอบแทนแก่กรุงอังวะได้ถ่ายเดียว แลบัดนี้เข้าปลาอาหารภอมีอยู่แล้ว แลจให้มีศุภอักษรออกไปถึงลิปูต้าทั่งอรรคมหาเสนาธิบดีให้นำเอากราบบงงคมทูลแด่สมเด็จพระเจ้าต้าฉิงผู้ใหญ่ณเมิองกรุงจีนให้ยกกองทับมาขึ้นณกรุงศรีอยุทธยา ๆ ก็จเกนกองทับยกไปกระทำแก่กรุงอังวะ แต่ว่าบัดนี้ขัดสนด้วยม้า ได้มีศุภอักษรขึ้นมาด้วยแจ้งอยู่แล้วเนื้อความอันอื่นนอกกว่านี้มีมาในศุภอักษรเปนหลายปรการแล้ว ปรการใดกรุงพระนครศรีอยุทธยากับกรุงศรีสัตนาคนหุตจะวัฒนาการจำเริญเปนมะหามิตรสนิทเสน่หาสืบไปก็ไว้ในพระราชปรีชาญาณแห่งสมเดจพระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุต จมีพระราชดำริให้ชอบทุกปรการ พระราชสารสมิทธิเปสิตะภารภูม วารวิสาขมาศกาลปักขทุติยะดิถีตยุลศักราชพันร้อยสามสิบสามสัศะสังวัดฉะระตรีณิศกสิริสวัศดิทิฆายุสม ๚ะ๛