- ทางพิจารณาหาตัวผู้เขียนจดหมาย
- คำนำเรื่องซึ่งมีในจดหมายความทรงจำ
- คำบรรยายความเห็่นแลความคิดที่จะเรียบเรียงหนังสือนี้
- จดหมายเหตุ ตั้งแต่กรุงเก่าเสียแล้ว เจ้าตากมาตั้งเมืองธนบูรี
- ๑ - ๑๓๐
- ๑๓๑ - ๒๒๔
- ๒๒๕ - ๒๕๖
- อักษร (ก)
- ๑ พระราชสาส์นกรุงศรีสัตนาคนหุต มีมายังกรุงธนบุรี
- ๒ พระราชสาส์นกรุงธนบุรึ ถึง กรุงศรีสัตนาคนหุต
- ๓ ศุภอักษร เสนาบดีกรุงศรีสัตนาคนหุตกำกับพระราชสาส์น
- ๔ ศุภอักษรเสนาบดีกรุงธนบุรีกำกับพระราชสาส์น
- ๕ ศุภอักษรเสนาบดีกรุงธนบุรีรับรับสั่ง มีไปถึงเสนาบดีกรุงล้านช้าง
- ๖ พระราชสาส์นศรีสัตนาคนหุต
- ๗ พระราชสาส์นกรุงธนบุรีมีตอบไป
- ๘ ศุภอักษรเสนาบดีกรุงศรีสัตนาคนหุตกำกับพระราชสาส์น
- ๙ ศุภอักษรเสนาบดีกรุงธนบุรี กำกับพระราชสาส์นมีไปกรุงล้านช้าง
- ๑๐ ศุภอักษรพญาหลวงเมืองแสน อรรคมหาเสนาเมืองล้านช้าง ที่ส่งตัวขึ้นไปจากกรุงธน
- ๑๑ สมณสาส์นมาแต่กรุงศรีสัตนาคนหุต
- ๑๒ คำแปลสมณสาส์น
- ๑๓ สมณสาส์นพระสังฆราชกรุงธนบุรีมีตอบไป
- ศุภอักษรครั้งแผ่นดินเจ้ากรุงธนบุรีตอบไปกรุงศรีสัตนาคนหุต
- อักษร (ข) หมวดแรก พระราชสาส์น รัชกาลที่ ๑ มีไปมากับเมืองญวน
- อักษร (ข) หมวดที่ ๒
- อักษร (ข) หมวดที่ ๓
- อักษร (ข) หมวดที่ ๔ พระราชสาส์นรัชกาลที่ ๒ มีไปเมืองญวน
- (๑) พระราชสาส์น สมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา ปราบดาภิเศกใหม่
- (๒) พระราชสาส์นสมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๓) หนังสือ เจ้าพระยาพระคลังผู้ใหญ่ณกรุงเทพมหานครศรีอยุทธยา
- (๔) พระราชสาส์นพระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๕) พระราชปฏิสัณฐาน
- (๖) พระราชสาส์นสมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๗) พระราชสาส์น เจ้ากรุงเวียดนาม
- (๘) พระราชสาส์น พระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๙) พระราชสาส์น สมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๑๐) พระราชสาส์น สมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๑๑) พระราชสาส์น สมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๑๒) พระราชสาส์นพระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๑๓) พระราชสาส์นสมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๑๔) พระราชสาส์นพระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๑๕) พระราชสาส์นกรุงเวียดนาม
- (๑๖) พระราชสาส์นพระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๑๗) พระราชสาส์นพระมเหษี พระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๑๘) พระราชสาส์นสมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๑๙) พระราชสาส์นสมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๒๐) พระราชสาส์นสมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๒๑) พระราชสาส์นพระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๒๒) พระราชสาส์นพระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๒๓) พระราชสาส์นพระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๒๔) พระราชสาส์น สมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๒๕) หนังสือท่านเจ้าพระยาพระคลังผู้ใหญ่ณกรุงพระมหานครศรีอยุทธยาฯ
- (๒๖ เห็นจะเปนร่างครั้งแรก) พระราชสาส์นสมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๒๗ เห็นจะเปบฉบับที่แก้แล้วมีไป)
- (๒๘) หนังสือท่านเจ้าพระยาพระคลังผู้ใหญ่ ณะกรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๒๙) พระราชสาส์น สมเด็จพระเจ้ากรุงศรีอยุทธยา
- (๓๐) พระราชสาส์นพระเจ้ามินมาง
- (๓๑) พระราชสาส์นเจ้ากรุงเวียดนาม
- อักษร (ค) จาฤกแผ่นสิลา ว่าด้วยพระบรมธาตุมาแต่เมืองน่าน
- อักษร (ฆ) เรื่องนิพานวังน่า
๑๓ สมณสาส์นพระสังฆราชกรุงธนบุรีมีตอบไป
๏ สมณสารสุนธรบวรวจน อรรถธรรมรศิกะอธิกะศิลสาราทิไตรย อุภัยโลกะหิตยพิธสมบัดติ สังสิชนัศภัชนานิกรอมรนริศจัตุพิธบรมบรรพสัตวสาศนัศประโยชน โชตนายาวะปัญจะสหัสวัศะบริเฉทเจตนานุทิศสุภาสิตปรสาท ในสมเด็จพระสังฆราชธิบดีศรีสังฆบริณายกติปิฎกธราจารยญาณคำภีรธรรมมัดถาพิศใมย อธิปตัยคณานิกรวรสงฆสถิตยทุวิธธุระธราคณอดุลยเตรัศะธุดงควัถะสิกขัตยสันตุฐีวิสุทธสเลขะอับปิจ์ฉะวิวิธคุณคณาธารสถิตยถาวรรัญาคามวาศรีสักลคณารามรัฐวัฒนะติเรกเอกนิษร ในบวรมหาธาตุอารามหลวง ณกรุงเทพมหานครบวรทวาราวดีศรีอยุทธยามหาดิลกภพ นพรัตนราชณีบุรีรมย มีมโนนุษรโสมนัศศาประฏิสมณสารมาถึงสมเดจพระสังฆราชาธิบดีด้วยสมเด็จพระสังฆราชาธิบดีณกรุงศรีสัตนาคนหุตมีสมณสารสมณบรรณาการอุทิศมาเปนเรื่องราวบอกปรพฤทธิเหตุ แห่งวรพุทสาศนาเปนศิลวัตตาติเรกเอกชัชวาลยวัฒนะยังสถิตยสมบูรรณอยู่ในกรุงศรีสัตนาคนหุต แลให้ช่วยถวายพระพรธิบายทำนุบำรุงพระราชสุนธรบวรธรรมมิตรมงคลนุสนธิสืบบุราณราชปรเพณีให้จำเนียนนายในทไวยวรรัตนราชธานีเปนศรีศุขสวัศดิพิพัฒนในพระสาศนา สมณาปรชากรทั้งสองฝ่ายฟ้า ครั้นได้ทัศนาสารก็โสรมมนัศจึงนำเรื่องสมณสารสมณบรรณาการเฃ้ามาถวายพระพรธิบายแดสมเดจพระมหากระษัตราธิราชเจ้าณกรุงเทพมหานครได้ทรงฟังสมณสาร ก็ทรงพระมโนภิรมยเบิกบาลวิบุลปราโมชโมทนายิ่งนัก จึงทรงพระกรุรณาโปรดดำรัสพระราชบริหารในท่ามกลางสังฆราชาคณะท้งงปวง ว่าแต่ก่อนยังหมีได้มีสมณสารมาได้แจ้งข่าวว่าพม่าหมู่ร้ายอาธรรมคุมพวกพลมาทำปะไสยหาการข่มเหงเบียดเบียนกรุงศรีสัตนาคนหุตนั้น น้อยกระมลหฤทัยนักขัดแค้นดูจหนึ่งพม่ามาทำแก่อาตมแลญาติอันเปนที่รักแห่งโยมแต่ตำริหมิรู้วาย ด้วยท่าทางที่จะทำนุกบำรุงกรุงศรีสัตนาคนหูต แลวรพุทธสาศนาก็หมีได้ท่วงที บัดนี้มีสมณสารมาถึงพระผู้เปนเจ้าท้งงหลายเปนธุระสงฆอย่าทรงพระปรารภเลย โยมก็ได้ถวายชิวิตรอุทิศต่อพระรัตนไตรยจชั่วดีปรการใดก็แจ้งอยู่ทุกปรการ ขอพระผู้เปนเจ้าเอาสมณสารนี้ปฤกษาพระสงฆราชาคณพร้อมกันตามสมณกิจแล้วตอบไป จึงถวายพระพรลานำสมณสารมาอ่านปฤกษาในท่ามกลางพระสงฆราชาคณอธิการอันดับฝ่ายคันฐธุระวิปัศนาธุระท้งงปวง ๆ ปฤกษาว่าซึ่งพระสังฆราชาธิบดีณกรุงศรีสัตนาคนหุต ส่งสมณสารเรื่องลักษณความท้งงนื้ต้องด้วยพระราชอาการปรนนิบัดดิสมเดจพระมหากระษัตราธิราชเจ้ากรุงเทพมหานคร อันทรงพระราชอุษาหะกรุณาญาณบำรุงพระพุทธสาศนาดัดแปลงสัตวโลกยท้งงปวงให้ต้งงอยู่ในคลองธรรมอันดี แลฝ่ายคณะสงฆท้งงปวงอันรักษาพระพุทธสาศนาอันอยู่ในแว่นแคว้นกรุงเทพมหานคร ก็ทรงพระกรุณาสั่งสอนให้เล่าเรียนพระปาฏิโมกขสังวร ขึ้นปากขึ้นใจท้งงพระบาฬีแลเนื้อความให้ปฏิบัตติตามพระวิไนยสังวโรวาท แล้วซ้ำประสาทสั่งสอนด้วยพระธรรมอันเปนใจพระไตรยปิฎกท้งง ๓ คือให้ต้งงอยู่ในธรรม ๔ ประการ คืออายบาปกลัวบาปเกลียดบาปหน่ายบาป พระสงฆราชาคณะท้งงปวงได้รับพระราชทานพระราชโอวาทมาปรนนิบัดติตามก็เปนศุขสวัสดิสมบูรณด้วยศิลสารสมณปติวัฒนะในพระสาศนาพระกรุณาคุณมีแก่สมณสงฆท้งงปวงณกรุงเทพมหานครหาที่สุดมิได้ ฝ่ายฆราวาศราชบรรพสัชเล่าผู้ใดหมีได้ต้งงอยู่ในสัจธรรมทำให้แผ่นดินจุลาจลทรงพระกรุณาดัดแปลงสั่งสอนทรมานให้อยู่ในสัจสุจริตธรรมบุราณราชปรเพณียมีพระอาการปรนนิบัตินน้นเที่ยงตรงจัตุรัศปรดูจ ดิน น้ำ เพลิง ลม ธาตุท้งง ๔ อันเปนคุณประโยชนแก่บุทคลผู้รักษาดี เปนโทษแก่บุทคลอันหมีรู้รักษาควรจเอาพระราชอาการกิริยา อันเปนอัศจรรยวิเสดกว่าบรมกระษัตราธิราชแต่ก่อนมั่นคงฉนี้ เปนปรฏิสมณสารธรรมบรรณาการตอบไปถวายแก่สมเดจพระสงฆราชาธิบดี แลสงฆมหานาคราชาคณะณกรุงศรีสัตนาคนหุตผู้มีปรีชาญาณคำภีรภาพ ให้พิจารณาพระอาการสมเดจพระมหากระษัตราธิราชเจ้าณกรุงเทพมหานคร ซึ่งปรนนิบัดดิตามราโชวาทราชอณาจักรรักษาสมณพราหมณาจารย เสนาพฤทธามาตยราษฎรฉนี้ยังจะต้องตามพุทโธวาทแลจควรสมเด็จพระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุต จผูกพระราชสัมพันธกัลยาณมิตรมีประโยชนอิธโลกยปรโลกยแลฤๅ เมื่อวิจารณเหนว่าต้องตามพระพุทธชิโนวาทแล้วเร่งทำนุกอำรุงสมเดจพระมหากระษัตราธิราชณกรุงศรีสัตนาคนหุต ให้ต้งงอยู่ในราชธรรมสุจริตผูกพระราชสัมพันทมิตรให้มั่นคงอย่าแพร่งพราย เปนอันหนึ่งอันเดียวด้วยพระอานุภาพสองบรมกระษัตรต้งงอยู่ในราชธรรมสุจริตอันซื่อตรงฝากพระชนมชีพแก่กันท้งงสองฝ่ายฟ้า ก็จะมีกำลังพระสุจริตธรรมภายในกำลังพระปัญา กำลังพลทหารกำลังราชทรัพยมากขึ้นอาจป้องกันหมู่ปัจามิตร ด้วยอุภัยรัฐราชธานีท้งงทองทิพยปติเรกเอกจิตรเอกฉันทอัญมัญชิวิตรนิสิตะนิไสยชัมไมยหมั้น ในบรมกัลยาณมิตรสนิทเสน่ห์ไป จเนิยรไภยเนิยรโศกสมณพรามณาฃัติยวํงษานุวงษเสนาธิบดีเศรษฐีวานิชนรากรประชาชน ในเมทนิดลท้งงสองฝ่าย จมิศุขประโยชนไชยโชตรนาในวรพุทธสาศนาถ้วนกำหนดวัตษา ๕๐๐๐ จึงมีพระพุทธฎิกาสั่งให้พระครูปลัดลิกขิตคำสงฆปฤกษาเปนอักษรสมณสารส่งตอบมา ประการหนึ่งซึ่งสมเดจพระสังฆราชากรุงศรีสัตนาคนหุต ถวายจิวรสาฎกกับปาสิกพัตรโกไสยภัตรหมิได้ตัดเปนขันธตามพระวิในยทุติยปัญญัตินั้น ครองจะเปนอาบัตติจึงบูชาไว้เปนพุทธบูชาจงโมทนาเอาส่วนกุศล แลได้ถวายสมณบรรณาการผ้าจิวรกับปาสิกะภัตรตัดเปนขันธตามพระวิในยทุติยปัญญัติไตรรัตปคตแพรสองสาย รัตปคตยวนใหมคาดเอวสาย ๑ อังสะแพร ๑ สัณฐัดผุดทอง ๑ ผ้าฃาวตรองอุทกัง ๑ ผ้าฃาวเช็ดมือ ๑ ถวายมาเปนหย่างให้พระสังฆราชาธิบดีครองแล้ว ว่ากล่าวพระสงฆท้งงปวงให้ทรงจิวรตัดเปนขันธดูจหย่างสงฆถวายมานี้จึงต้องพระวิในยทุติยปัญญัติ จึงได้ชื่อว่าทำนุกบำรุงบวรพุทธสาศนาในกรุงศรีสัตนาคนหุตเปนแท้ได้ แลครอบแก้ว ถาดทองฃาวรอง ๑ พะองแก้วคู่ ๑ จอกแก้วคู่ ๑ หมอนกำมหยี่ผุดทอง ๑ พรมเหลี่ยม ๑ เจียมลาย ๑ เสื่ออ่อนตนาว ๑ ร่มแดงกรองคันยาวคู่ ๑ ร่มคันสั้นคู่ ๑ มีดโกนคู่ ๑ รองท้าวเชิงงอนปักทองขวาง คู่ ๑ รองท้าวน่าภับหุ้มสักหลาดคู่ ๑ รองท้าวหน้าภับเลวคู่ ๑ คนโทดิบุกชำระ ๑ หม้อดิบุกกรองมูต ๑ ย่ามสักหลาดแดง ๑ หีบแว่นฟ้าตะบะรอง ๑ ปรการใดสมเด็จพระมหากระษัตราธิราชเจ้าท้งงสองพระนครราชธานี จะมีพระราชวรธรรมมิตรสถิตยหมั้นหมี่ได้จุลาจลในภูมิมณฑลอาณาจักรท้งงสองราชธานีให้วัฒนาวรพุทธสาศนาสืบไปก็ไว้ในคำภิรญาณณุบายแห่งพระสงฆราชาธิบดีณกรุงศรีสัตนาคนหุตจงทุกปรการ
สมณสารสฤทธิในบริเฉทตยุลศักราช ๑๑๓๗ อัชสังวัดฉะระเชษฐศุขปักขดฤถีภูมวารภูมิบาลฤกษบริบูรณ ๚ ๛