- ทางพิจารณาหาตัวผู้เขียนจดหมาย
- คำนำเรื่องซึ่งมีในจดหมายความทรงจำ
- คำบรรยายความเห็่นแลความคิดที่จะเรียบเรียงหนังสือนี้
- จดหมายเหตุ ตั้งแต่กรุงเก่าเสียแล้ว เจ้าตากมาตั้งเมืองธนบูรี
- ๑ - ๑๓๐
- ๑๓๑ - ๒๒๔
- ๒๒๕ - ๒๕๖
- อักษร (ก)
- ๑ พระราชสาส์นกรุงศรีสัตนาคนหุต มีมายังกรุงธนบุรี
- ๒ พระราชสาส์นกรุงธนบุรึ ถึง กรุงศรีสัตนาคนหุต
- ๓ ศุภอักษร เสนาบดีกรุงศรีสัตนาคนหุตกำกับพระราชสาส์น
- ๔ ศุภอักษรเสนาบดีกรุงธนบุรีกำกับพระราชสาส์น
- ๕ ศุภอักษรเสนาบดีกรุงธนบุรีรับรับสั่ง มีไปถึงเสนาบดีกรุงล้านช้าง
- ๖ พระราชสาส์นศรีสัตนาคนหุต
- ๗ พระราชสาส์นกรุงธนบุรีมีตอบไป
- ๘ ศุภอักษรเสนาบดีกรุงศรีสัตนาคนหุตกำกับพระราชสาส์น
- ๙ ศุภอักษรเสนาบดีกรุงธนบุรี กำกับพระราชสาส์นมีไปกรุงล้านช้าง
- ๑๐ ศุภอักษรพญาหลวงเมืองแสน อรรคมหาเสนาเมืองล้านช้าง ที่ส่งตัวขึ้นไปจากกรุงธน
- ๑๑ สมณสาส์นมาแต่กรุงศรีสัตนาคนหุต
- ๑๒ คำแปลสมณสาส์น
- ๑๓ สมณสาส์นพระสังฆราชกรุงธนบุรีมีตอบไป
- ศุภอักษรครั้งแผ่นดินเจ้ากรุงธนบุรีตอบไปกรุงศรีสัตนาคนหุต
- อักษร (ข) หมวดแรก พระราชสาส์น รัชกาลที่ ๑ มีไปมากับเมืองญวน
- อักษร (ข) หมวดที่ ๒
- อักษร (ข) หมวดที่ ๓
- อักษร (ข) หมวดที่ ๔ พระราชสาส์นรัชกาลที่ ๒ มีไปเมืองญวน
- (๑) พระราชสาส์น สมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา ปราบดาภิเศกใหม่
- (๒) พระราชสาส์นสมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๓) หนังสือ เจ้าพระยาพระคลังผู้ใหญ่ณกรุงเทพมหานครศรีอยุทธยา
- (๔) พระราชสาส์นพระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๕) พระราชปฏิสัณฐาน
- (๖) พระราชสาส์นสมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๗) พระราชสาส์น เจ้ากรุงเวียดนาม
- (๘) พระราชสาส์น พระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๙) พระราชสาส์น สมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๑๐) พระราชสาส์น สมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๑๑) พระราชสาส์น สมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๑๒) พระราชสาส์นพระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๑๓) พระราชสาส์นสมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๑๔) พระราชสาส์นพระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๑๕) พระราชสาส์นกรุงเวียดนาม
- (๑๖) พระราชสาส์นพระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๑๗) พระราชสาส์นพระมเหษี พระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๑๘) พระราชสาส์นสมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๑๙) พระราชสาส์นสมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๒๐) พระราชสาส์นสมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๒๑) พระราชสาส์นพระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๒๒) พระราชสาส์นพระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๒๓) พระราชสาส์นพระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๒๔) พระราชสาส์น สมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๒๕) หนังสือท่านเจ้าพระยาพระคลังผู้ใหญ่ณกรุงพระมหานครศรีอยุทธยาฯ
- (๒๖ เห็นจะเปนร่างครั้งแรก) พระราชสาส์นสมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๒๗ เห็นจะเปบฉบับที่แก้แล้วมีไป)
- (๒๘) หนังสือท่านเจ้าพระยาพระคลังผู้ใหญ่ ณะกรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๒๙) พระราชสาส์น สมเด็จพระเจ้ากรุงศรีอยุทธยา
- (๓๐) พระราชสาส์นพระเจ้ามินมาง
- (๓๑) พระราชสาส์นเจ้ากรุงเวียดนาม
- อักษร (ค) จาฤกแผ่นสิลา ว่าด้วยพระบรมธาตุมาแต่เมืองน่าน
- อักษร (ฆ) เรื่องนิพานวังน่า
(๗) หนังสือท่านเจ้าพระยาพระคลังผู้ใหญ่ณกรุงเทพมหานครศรีอยุทธยา
(๗) หนังสือท่านเจ้าพระยาพระคลังผู้ใหญ่ณกรุงเทพมหานครศรีอยุทธยา มาถึงองไลโบเสนาบดีขอได้นำขึ้นทูลแต่สมเด็จพระเจ้ากรุงเวียดนามให้ทราบ ด้วยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเจ้ากรมพระราชวังบวรสถานมงคลฝ่ายน่า มีพระราชบัณฑูรดำรัสเหนือเกล้าเหนือกระหม่อมสั่งว่า พระยาราชวังสรรข้าหลวงมีชื่อกลับเข้าไปครั้งนี้ กราบทูลว่าสมเด็จพระเจ้ากรุงเวียดนามมีพระไทยยินดี ต่อสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวเปนอันมาก ให้รับเลี้ยงดูผู้ออกมาต่าง ๆ มิให้ขัดสนประการใดนั้น ด้วยสมเด็จพระเจ้ากรุงเวียดนามมีน้ำพระไทยรักในสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวแต่ก่อนฉันใด ก็มีพระไทยเสมอมาจนคุ้มเท่าบัดนี้ แลสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเจ้ากรมพระราชวังบวรสถานมงคล ก็มีพระไทยคิดถึงพระเจ้ากรุงเวียดนามอยู่มิได้ขาด แต่ไม่ทราบว่าสมเด็จพระเจ้ากรุงเวียดนามจะต้องพระราชประสงค์สิ่งใดจะได้จัดออกมาถวาย แลครั้งนี้พระยาราชวังสรรกราบทูลว่า สมเด็จพระเจ้ากรุงเวียดนาม ต้องพระราชประสงค์ดิบุกบริสุทธิ์สำหรับจะใช้ในการเบ็ดเสร็จ บัดนี้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเจ้ากรมพระราชวังบวรสถานมงคล จัดได้ดิบุกสองร้อยสามสิบสี่ปึก ถวายออกมาก่อน ขอให้สมเด็จพระเจ้ากรุงเวียดนาม ครอบครองสุริยราชสมบัติแผ่นดินเมืองญวนทั้งปวงให้อยู่เยนเปนศุขสืบไป อนึ่งณมรสุมปีขานอัฐศกนี้ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเจ้ากรมพระราชวังบวรสถานมงคลฝ่ายน่า ให้พระอินอากรแต่งสำเภาลำหนึ่ง จีนอิวเจียง เปนนายสำเภา จีนตัวงี ล้าตา จีนชุน ปั้นจุ๊ จีนวอ ผู้กำกับ คุมเอาสินค้าออกไปจำหน่ายณเมืองเอมุย แลสำเภาลำนี้ต่อไม้ยังหามีป้ายสำหรับสำเภาไม่ จะออกไปขอป้ายณเมืองจีน แลมีหนังสือนายสำเภาล้าต้า ฝากพระยาราชวังสรรเข้าไปให้กราบทูลว่าใช้ใบไปกับสำเภาหูทรง ครั้นไปถึงเข้าท่าขัดสนมรสุมกลัวใช้ใบไปเมืองจีนมิได้ เข้าทอดอยู่ปากน้ำเมืองกุยเยนกับสำเภาหูทรงด้วยกัน องโหกุนเจ้าเมืองกุยเยินได้ลงไปดูแลอนุเคราะห์อยู่ แลสำเภาลำนี้จะต้องค้างมรสุมต่อปีน่าจึงจะใช้ใบไปได้ แลณเดือน $\left. \begin{array}{}\mbox{๓} \\\mbox{๔}\end{array} \right\}$ ปีขานอัฐศก จะให้ผู้ตบแต่งออกไปแต่งสำเภาณเมืองกุยเยิน แลให้องไลโบช่วยกราบทูลแต่สมเด็จพระเจ้ากรุงเวียดนามให้ทราบ
หนังสือมาณวัน ๕ ๖ฯ ๑ ค่ำปีชวดฉศก