- ทางพิจารณาหาตัวผู้เขียนจดหมาย
- คำนำเรื่องซึ่งมีในจดหมายความทรงจำ
- คำบรรยายความเห็่นแลความคิดที่จะเรียบเรียงหนังสือนี้
- จดหมายเหตุ ตั้งแต่กรุงเก่าเสียแล้ว เจ้าตากมาตั้งเมืองธนบูรี
- ๑ - ๑๓๐
- ๑๓๑ - ๒๒๔
- ๒๒๕ - ๒๕๖
- อักษร (ก)
- ๑ พระราชสาส์นกรุงศรีสัตนาคนหุต มีมายังกรุงธนบุรี
- ๒ พระราชสาส์นกรุงธนบุรึ ถึง กรุงศรีสัตนาคนหุต
- ๓ ศุภอักษร เสนาบดีกรุงศรีสัตนาคนหุตกำกับพระราชสาส์น
- ๔ ศุภอักษรเสนาบดีกรุงธนบุรีกำกับพระราชสาส์น
- ๕ ศุภอักษรเสนาบดีกรุงธนบุรีรับรับสั่ง มีไปถึงเสนาบดีกรุงล้านช้าง
- ๖ พระราชสาส์นศรีสัตนาคนหุต
- ๗ พระราชสาส์นกรุงธนบุรีมีตอบไป
- ๘ ศุภอักษรเสนาบดีกรุงศรีสัตนาคนหุตกำกับพระราชสาส์น
- ๙ ศุภอักษรเสนาบดีกรุงธนบุรี กำกับพระราชสาส์นมีไปกรุงล้านช้าง
- ๑๐ ศุภอักษรพญาหลวงเมืองแสน อรรคมหาเสนาเมืองล้านช้าง ที่ส่งตัวขึ้นไปจากกรุงธน
- ๑๑ สมณสาส์นมาแต่กรุงศรีสัตนาคนหุต
- ๑๒ คำแปลสมณสาส์น
- ๑๓ สมณสาส์นพระสังฆราชกรุงธนบุรีมีตอบไป
- ศุภอักษรครั้งแผ่นดินเจ้ากรุงธนบุรีตอบไปกรุงศรีสัตนาคนหุต
- อักษร (ข) หมวดแรก พระราชสาส์น รัชกาลที่ ๑ มีไปมากับเมืองญวน
- อักษร (ข) หมวดที่ ๒
- อักษร (ข) หมวดที่ ๓
- อักษร (ข) หมวดที่ ๔ พระราชสาส์นรัชกาลที่ ๒ มีไปเมืองญวน
- (๑) พระราชสาส์น สมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา ปราบดาภิเศกใหม่
- (๒) พระราชสาส์นสมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๓) หนังสือ เจ้าพระยาพระคลังผู้ใหญ่ณกรุงเทพมหานครศรีอยุทธยา
- (๔) พระราชสาส์นพระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๕) พระราชปฏิสัณฐาน
- (๖) พระราชสาส์นสมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๗) พระราชสาส์น เจ้ากรุงเวียดนาม
- (๘) พระราชสาส์น พระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๙) พระราชสาส์น สมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๑๐) พระราชสาส์น สมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๑๑) พระราชสาส์น สมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๑๒) พระราชสาส์นพระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๑๓) พระราชสาส์นสมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๑๔) พระราชสาส์นพระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๑๕) พระราชสาส์นกรุงเวียดนาม
- (๑๖) พระราชสาส์นพระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๑๗) พระราชสาส์นพระมเหษี พระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๑๘) พระราชสาส์นสมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๑๙) พระราชสาส์นสมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๒๐) พระราชสาส์นสมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๒๑) พระราชสาส์นพระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๒๒) พระราชสาส์นพระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๒๓) พระราชสาส์นพระเจ้ากรุงเวียดนาม
- (๒๔) พระราชสาส์น สมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๒๕) หนังสือท่านเจ้าพระยาพระคลังผู้ใหญ่ณกรุงพระมหานครศรีอยุทธยาฯ
- (๒๖ เห็นจะเปนร่างครั้งแรก) พระราชสาส์นสมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๒๗ เห็นจะเปบฉบับที่แก้แล้วมีไป)
- (๒๘) หนังสือท่านเจ้าพระยาพระคลังผู้ใหญ่ ณะกรุงพระมหานครศรีอยุทธยา
- (๒๙) พระราชสาส์น สมเด็จพระเจ้ากรุงศรีอยุทธยา
- (๓๐) พระราชสาส์นพระเจ้ามินมาง
- (๓๑) พระราชสาส์นเจ้ากรุงเวียดนาม
- อักษร (ค) จาฤกแผ่นสิลา ว่าด้วยพระบรมธาตุมาแต่เมืองน่าน
- อักษร (ฆ) เรื่องนิพานวังน่า
คำนำเรื่องซึ่งมีในจดหมายความทรงจำ
บัดนี้จะขอเริ่มต้นด้วยเหตุการบ้านเมือง พอให้ความคิดเราเดินมาสู่เวลาที่กรมหลวงนรินทรเทวีทรงจดหมายฉบับนี้ โดยนึกถึงต้นเหตุพม่าตีกรุงเก่าก่อนแต่เวลาตีค่ายบางระจัน เหตุการเปนเช่นนี้
การเมืองพม่าที่จะเปนศึกกับเมืองเราครั้งใด เกิดขึ้นด้วยเจ้าแผ่นดินพม่าองค์นั้นมีอภินิหารปราบเมืองมอญ เมืองยักไข่รวมกันเข้าได้ครั้งไรเปนร้อนถึงเมืองเรา ด้วยหวังจะแผ่อำนาจรวมให้เปนอาณาเขตรอันเดียว
แต่เหตุที่เกิดขึ้นในเมืองพม่าตอนหลังระยะมาตีกรุงนี้ อยู่ข้างจะแปลกปลาด ดูเหมือนว่าที่กรุงเวลานั้นจะทราบการไม่ใคร่ทันท่วงที ว่าการผลัดเปลี่ยนอำนาจในเมืองพม่าได้ดำเนินไปอย่างไร ในแผ่นดินเจ้าฟ้าพร ซึ่งเรียกพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษฐ ตลอดมาจนเวลาเสียกรุง ถือเคร่งครัดในประเพณีที่ไม่ใช่สำคัญอันใดมาก หูตาไม่ใคร่ไวถือแบบเปนพื้น จึงได้โทรมมากอยู่แล้ว เหตุที่คนเกิดชั้นหลังในแผ่นดินนั้นดีไม่ทัน ฤๅไม่มีท่าทางที่จะดีได้ เพราะคนที่มีสติปัญญาแลฝีมือดี ๆ ได้ตายเสียตั้งแต่เกิดขบถทำลายวงษ์เจ้าแผ่นดินโบราณ เมื่อราวจุลศักราช ๙๖๐ ปีมา แต่นั้นมาก็ไม่เปนสมประดี ไม่มีเวลาที่เว้นจากฆ่ากันลงไปนานถึง ๔๐ ปีเลย เมื่อเปลี่ยนพวกกันอยู่เสมอไม่มีเวลาตั้งมั่น ความรู้แลความคิดก็เสื่อมลงไปทุกคราวเปลี่ยน
เมื่อแผ่นดินเจ้าฟ้าพรนี้ มอญซึ่งเปนชาติหนึ่งแต่ตกอยู่ในอำนาจพม่าไม่มีกระษัตริย์มาช้านาน ได้ตั้งแขงเมืองยกคนในชาติของตัวเองขึ้นเปนกระษัตริย์ ถึงว่าจะมีการหยุกหยิกกันในเมืองจนเรารู้คือสมิงทอหนีเข้ามาอยู่ในกรุงเก่า ก็ยังรักษาอำนาจต่อรบพม่าจนจับเจ้าแผ่นดินพม่าได้ เวลานั้นทางไมตรีเมืองเรากับพม่าดูสนิทสนมกันอยู่ แต่ไม่ได้คิดอ่านที่จะช่วยเหลือด้วยกำลังอย่างหนึ่งอย่างใด เพราะกำลังแย่งสมบัติกันเพลินอยู่ทางนี้
ในเหตุที่เจ้าแผ่นดินพม่าเสียเมืองตกมาเปนเชลยนั้น จึงมีอองไจยะนายบ้านมุกโชโบไม่ยอมอยู่ในอำนาจมอญ ตั้งตัวขึ้นต่อสู้มอญจนในที่สุดถึงยกทัพมาตีเมืองหงษาวดี ซึ่งเจ้าแผ่นดินพม่าของตัวยังเปนเชลยต้องขังอยู่ กลับเอาเจ้าแผ่นดินมอญไปเปนเชลยเหมือนกับที่มอญเอาเจ้าแผ่นดินพม่ามาเปนเชลยแต่ก่อนได้
เจ้าพม่าต้นเชื้อวงษ์นี้ ซึ่งเรารู้ชื่อว่ามังลอง เขาเรียกกันว่าอลองพญา แปลว่าโพธิสัตว์ ซึ่งตีเมืองยักไข่ได้ไม่ช้าก็คิดตั้งหน้าจะตีเมืองไทยทีเดียว ข้อที่ว่าที่กรุงจะไม่ทันรู้ตัวนั้น คือไม่รู้ตัวว่ามังลองจะได้มีอำนาจใหญ่โตสักเท่าใด เคยคบกับแผ่นดินพม่ามาก่อนนั้น ก็เปนเวลาพม่าอ้อแอ้อย่างเดียวกับเมืองไทยในเวลานั้น แลพเอินยิ่งร้ายไปกว่าก่อน คือเจ้าฟ้าพรซึ่งเปนเจ้าแผ่นดินสวรรค์คตเสีย เหลือแต่ลูกซึ่งกำลังเคี่ยวฆ่ากันจะหาที่มีความสามัคคีกันถึง ๒ คนพอเปนคู่คิดก็ไม่มี ทั้งเจ้าแผ่นดินก็เปนคนที่โฉดเขลา อันไม่มีใครเกรงใจที่จะกล่าวถึงแลประกาศโดยตรง ข้าราชการก็เกือบจะเรียกว่าไม่มีได้ เหลือแต่ชื่อตำแหน่งแล้วแต่จะหาใคร ๆ มาเปน ถ้าเปนลูกกระสุนปืนก็หลวมฤๅคับลำกล้องแทบทั้งนั้น
ในเมื่อแผ่นดินไทยได้เลื่อนลงมาถึงที่สุดแห่งความเสื่อมได้ปีเศษเท่านั้น ทัพมังลองเจ้าแผ่นดินพม่า ซึ่งกำลังมีอำนาจอุไทยขึ้นแก่กล้าก็ได้มาถึงพระนคร แต่เปนเคราะห์ดีชั่วคราว มังลองเจ็บแลตายเสียกลางทางในเมื่อได้เข้ามาตั้งประชิดกำแพงอยู่หน่อยหนึ่ง แต่ถึงดังนั้น ทางที่กองทัพเดินผ่านตั้งแต่เมืองกุยเข้ามา แลผ่านออกไปทางกำแพงเพชร์ ก็โทรมไม่ทันฟื้น แต่การที่เมืองพม่าผลัดแผ่นดิน ทำให้ศึกช้าลงไปได้อิก ๓ ปี จนเจ้าแผ่นดินพม่าล่วงไปอิกคนหนึ่ง ถึงคนที่สามชื่อ มังระ เปนเจ้าแผ่นดินขึ้น
สาเหตุที่พม่าจะเกิดศึกขึ้นใหม่คราวนี้ เมืองมฤท ตนาว เปนของเรา แต่เมืองทวายเปนของพม่า เมื่อเมืองพม่าผลัดแผ่นดินรหว่างมางล๊อกกับมังระ เมืองทวายฆ่าพม่าเสีย แล้วส่งบรรณาการเข้ามาที่กรุง พม่ารู้จึงได้ยกกองทัพมาตีเมืองทวาย แล้วเลยได้เมืองตนาวศรีแลมฤทด้วย ข้างฝ่ายกรุงเทพ ฯ ไม่ได้อุดหนุนฤๅคิดอ่านแก้ไขอย่างไรเลย กองทัพพม่าที่มาตีทวายนั้นเอง เห็นไม่มีใครต่อสู้ ก็เดินทัพเลยเข้ามาตีเอาเพชร์บุรี ราชบุรี กาญจนบุรี แล้วจึงได้รู้ จัดกองทัพออกไปรับตึงตัง ก็รับไม่อยู่แต่สักครั้งเดียว กองทัพพม่าครั้งนั้น มาไม่ได้เปนกระบวนทัพกระบวนศึก มาอย่างกองโจร แยกกันตีปล้นกวาดมาตามแต่จะมีอไรเปนผลประโยชน์อันจะพึงได้ ถ้าหากว่ามาเปนกองทัพจริง จะได้กรุงในเวลามาถึงนั้นทีเดียว นี่แยกย้ายกันไปเที่ยวเก็บริบปล้นสดมในที่ต่าง ๆ จนรอบไปแล้ว จึงได้เข้ามาถึงกรุง นานถึง ๓ ปีจึงได้พระนคร
จดหมายซึ่งกรมหลวงนรินทรเทวีทรงนี้ ท่านไม่ได้กล่าวถึงพม่ามากวนอยู่ตามหัวเมือง เพราะเปนการเหลือกำลังที่จะกล่าวถึง เหมือนคโมยเข้ามาปล้นอยู่รอบ ท่านตั้งค้นกล่าวเมื่อตีค่ายบางระจันซึ่งนับว่าเปนการต่อสู้เข้มแขงอยู่แห่งเดียว ตั้งต้นข้อความดังต่อไปนี้